สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ควรต้องรู้ไขมันดีและร้ายมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?






ไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง


ไขมันในเลือดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจขาดเลือด การเกิดภาวะ หลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) แตกต่างกันไปบ้าง ไขมันที่มีความสำคัญ มีดังนี้


โคเลสเตอรอล (Cholesterol)

เป็นไขมันที่มีความจำเป็นสำหรับเซลต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลสมอง เซลประสาท ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันนี้ได้เองที่ตับ (ผู้ป่วยโรคตับ หรือ มะเร็ง จึงมีโคเลสเตอรอลต่ำ) และ ได้จากอาหารด้วย

อาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารมันๆต่างๆ โดยเฉพาะที่ได้จาก ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อติดมัน หมูติดมัน หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ขาหมู เครื่องใน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง ไข่ปลา กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม แกงกะทิ เป็นต้น

เมื่อไปเจาะเลือดเพื่อตรวจโคเลสเตอรอล ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจ
โคเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) แต่ความจริงแล้ว ยังมี
โคเลสเตอรอลย่อยๆอีก คือ

แอล-ดี-แอล (LDL-Cholesterol)
วี-แอล-ดี-แอล (VLDL-Cholesterol)
เอช-ดี-แอล (HDL-Cholesterol)





LDL-C

จัดเป็นไขมัน"ตัวร้าย"ที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง (เกิดอัมพาต) หัวใจ (เกิดโรคหัวใจขาดเลือด) ไต (เกิดไตวาย) อวัยวะเพศ (หย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ) เป็นต้น พบว่าความผิดปกติเหล่านี้สัมพันธ์กับระดับ Total cholesterol และ LDL-C อย่างมาก


HDL-C

ตรงข้ามกับ LDL-C ไขมัน HDL-C นี้เป็น"พระเอก"ช่วยนำเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ออกมา แต่ทำงานช้ากว่าผู้ร้ายเสมอ ระดับไขมัน HDL-C ต่ำจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ในทาง กลับกันหากยิ่งสูงยิ่งดี ช่วยป้องกันโรคนี้ เราสามารถเพิ่ม HDL-C ให้สูงได้ด้วย การหยุดบุหรี่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก ยาบางชนิด ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนเล็กน้อย (แต่ไม่ขอแนะนำ) HDL-C นี้ก็ถูกควบคุมโดยพันธุกรรมเช่นกัน ดังนั้นบางรายทำอย่างไร HDL-C ก็ไม่สูงขึ้น





ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)

เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ Cholesterol แต่ก็มีความสำคัญเช่นกัน พบว่ามีความสัมพันธ์กับโรค หัวใจขาดเลือด แต่ความสัมพันธ์นี้อาจไม่ "แรง" หรือ "ชัดเจน" เหมือน cholesterol นัก พบได้บ่อย มากในผู้ที่อ้วน เบาหวาน ดื่มสุราประจำ หรือมีโรคบางชนิดอยู่ด้วย ที่ว่าความสัมพันธ์กับโรคหัวใจไม่ ชัดเจนก็เพราะผู้ที่มีไขมันชนิดนี้สูง มักมีปัจจัยเสี่ยงข้ออื่นๆของโรคหัวใจรวมอยู่ด้วย อีกทั้งยังไม่มี การศึกษายืนยันว่าการลดไขมัน Triglycerides จะลดโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด (แตกต่างจาก ไขมัน Cholesterol ที่มีการศึกษาแน่นอนว่าการลดระดับไขมัน Cholesterol ได้ประโยชน์ทั้งใน ผู้ที่ยังไม่มีโรคหัวใจ หรือ เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว)


Lipoprotein a หรือ Lp (a)

เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีน ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจขาดเลือดเช่นเดียวกันกับ LDL-C โดยทั่วไปไม่นิยมส่งตรวจเนื่องจากราคาแพงและไม่สามารถทำได้แพร่หลาย





ชนิดของไลโปโปรตีน

ไลโปโปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งไขมันชนิดต่างๆ จะมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ แกนกลางของไลโปโปรตีน จะเป็นไขมันชนิดที่ไม่มีขั้ว( nonpolar lipid) เช่น ไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอลเอสเตอร์ เป็นต้น และล้อมรอบด้วยไขมันชนิดที่สามารถละลายน้ำได้บางส่วน (amphipatic lipid) เช่น
ฟอสโฟลิปิด โคเลสเตอรอล เป็นต้น และมีโปรตีนบางชนิดที่เรียกว่า อะโปโปรตีน (apoprotein) แทรกอยู่ในชั้นของไขมันเหล่านี้โดยทำหน้าที่เป็นตัวรับ-ส่งสัญญาน (recepter) ไลโปโปรตีนจะแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ตามระดับชั้นเมื่อนำไปปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงกำลังสูง (Ultracentrifuge) โดยจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

1 ไคโลไมครอน (Chylomicrons) ทำหน้าที่หลักในการขนส่ง ไตรกลีเซอร์ไรด์ จากลำไส้เล็ก ไปยังตับ

2 วีแอลดีแอล (Very low density lipoprotein, VLDV) ทำหน้าที่ขนส่งไตรกลีเซอร์ไรด์ จากตับ ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ

3 แอลดีแอล (Low density lipoprotein, LDL) ประกอบด้วยโคเลส
เตอรอล เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งจะขนส่งโคเลสเตอรอลเหล่านี้ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ

4 เอชดีแอล (High density lipoprotein, HDL) ประกอบด้วยฟอสโฟลิปิดมากที่สุด และมี โคเลสเตอรอลรองลงมา จะทำหน้าที่ในการขนส่งไขมันเหล่านี้จากเนื้อเยื่อต่างๆไปกำจัดที่ตับ





การทำงานของไลโปโปรตีน

ไขมันชนิดต่างๆจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้เล็ก โดยกายย่อยให้เป็นกรดไขมันก่อนที่จะดูดซึม กรดไขมันต่างๆที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ผนังลำไส้เล็กจะรวมตัวกันอีกครั้งในรูปของไตรกลีเซอไรด์ ส่วนโคเลสเตอรอลสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลยโดยไม่ต้องย่อยก่อน

ไตรกลีเซอไรด์จะรวมตัวกับโคเลสเตอรอลและไขมันชนิดอื่นในอัตราส่วนหนึ่งเป็นไลโปโปรตีนที่เรียกว่า ไคโลไมครอน เข้าสู่ระบบน้ำเหลืองเพื่อไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน เป็นต้น ที่เนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยไตรกลีเซอร์ไรด์ให้เป็น กลีเซอรอลและกรดไขมันอยู่ คือ ไลโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ที่ขนส่งมาโดยไคโลไมครอน 80 % ถูกย่อยสลายที่เนื้อเยื่อเหล่านี้เพื่อไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานหรือสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน

ไคโลไมครอนที่ถูกย่อยเอาไตรกลีเซอร์ไรด์ออกไปจะถูกเรียกว่า ไคโลไมครอนเรมเนนท์ (chylomicron remnant) เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปย่อยสลายต่อที่ตับ

ไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลรวมทั้งไขมันชนิดอื่นๆ จะถูกย่อยสลายและนำไปผ่านกระบวนการผลิตสารชนิดใหม่ (hydrolysis and metabolism) เช่นการย่อยไตรกลีเซอร์ไรด์จนได้กรดไขมันเพื่อนำไปย่อยสลายต่อจนได้ อะเซติลโคเอ (acetyl coA) สร้างพลังงานให้กับร่างกาย หรือ สร้างน้ำดีจากโคเลสเตอรอล เป็นต้น





นอกจากตับจะย่อยสลายสารต่างๆแล้วตับเองก็ยังเป็นแหล่งสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอร์รอล และไขมันชนิดอื่นๆ ด้วยเช่นกันไขมันเหล่านี้จะรวมกับโปรตีนที่สร้างขึ้นในเซลล์ตับเป็นไลโปโปรตีนชนิดที่เรียกว่า วีแอลดีแอล เพื่อนำไขมันเหล่านี้ที่สร้างจากตับไปยั้งเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน เช่นเดียวกับไคโลไมครอน วีแอลดีแอลที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสเพื่อเอาไตรกลีเซอร์ออกไปจะมีโคเลสเตอร์รอลสูงขึ้นมากถึง 58% รวมทั้งมีการย่อยเอาอะโปโปรตีนบางตัวออกไปด้วย ทำให้มีความหนาแน่นสูงขึ้น เรียกว่า แอลดีแอล ทำหน้าที่ขนส่งโคเลสเตอรอลเหล่านี้ไปตามกระแสเลือด โดยปริมาณโคเลสเตอรอล 30 % ถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่างๆที่ต้องการโคเลสเตอรอล ส่วนอีก 70% ที่เหลือจะนำกลับไปยังตับ แอลดีแอลที่ขนส่งโคเลสเตอรอลไปตามกระแสเลือดสามารถที่จะจับกับเซลล์ของกล้ามเนื้อหลอดเลือดแดงได้

เนื่องจากที่หลอดเลือดเหล่านี้มีตัวรับ(recepter) อะโปโปรตีนที่อยู่บนแอลดีแอล ทำให้เป็นสาเหตุของการสะสมโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดมากขึ้นอันเกิดเนื่องจากการขนส่งของแอลดีแอลไลโปรตีนที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นที่ตับและลำไส้เล็กเช่นกัน คือเอชดีแอลจะทำหน้าที่หลักในการขนส่งอะโปโปรตีนไปให้กับไคโลไมครอนและวีแอลดีแอลเพื่อใช้ในกระบวนการ metabolism ของไลโปโปรตีนทั้งสองและรับโคเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อต่างๆกลับไปย่อยสลายที่ตับ หนังสื่อต่างๆ มักเรียกไลโปโปรตีนตัวนี้ว่าเป็น ไขมันดี


ค่าปกติของไขมันในเลือด

ความจริงแล้วไม่มีค่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากหากเอาผู้คนที่ปกติ แข็งแรงดีมาตรวจหาระดับ Cholesterol อาจพบว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 240 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งถือว่าผิดปกติ ดังนั้นเราเรียกว่า "ค่าที่แนะนำ" จะเหมาะสมกว่า ค่าที่แนะนำนี้เปลี่ยนแปลงไปตามความรู้ทางการแพทย์ สมัย 10-15 ปีก่อน ถือว่า ไขมัน Cholesterol ไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัมต่อดล. แต่ความรู้ในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงค่านี้เป็น Total Cholesterol น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล.และ LDL-C น้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อดล. ในผู้ที่ยังไม่เกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว ควรรักษาให้ต่ำกว่านี้ คือ LDL-C ควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อดล. ในอีก 5 ปีข้างหน้าตัวเลขเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปอีกแน่นอน

สำหรับไขมัน Triglycerides แนะนำให้ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล. และมีหลายท่านพยายามให้น้อย กว่า 150 มิลลิกรัมต่อดล. ซึ่งผมยังไม่เห็นด้วยนัก





การศึกษาเกี่ยวกับไขมัน Cholesterol สรุปได้ดังนี้

Total Cholesterol, LDL-C สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย อัมพาต การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ไขมัน Cholesterol สูงตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก หรือ วัยรุ่น มีโอกาสเกิดปัญหาจากโรคหัวใจ ขาดเลือดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

การลดระดับไขมัน Cholesterol ได้ประโยชน์แน่นอน ทั้งในกรณีที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ และ เกิดโรคหัวใจขึ้นแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ประโยชน์ทุกราย หรือ ทุกคน เราก็ไม่ ทราบว่าผู้ใดจะได้ประโยชน์ ผู้ใดจะไม่ได้ประโยชน์ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเรื่องของสถิติ ลดโอกาสเสี่ยงต่างๆลงเท่านั้น

การควบคุมไขมันให้ต่ำ ช่วยลดโอกาสเกิดอัมพาต (stroke) ด้วย
ในผู้ที่มีโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ควรให้ไขมัน LDL-C ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม ต่อดล. เนื่องจากจะช่วยชลอการตีบของหลอดเลือด และ ช่วยให้แผ่นไขมันไม่แตกง่าย การแตก ของแผ่นไขมันทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย (heart attack)
ในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง การควบคุมอาหารอย่างเดียวสามารถลดไขมันได้น้อย และ มักจะ ไม่ได้ระดับที่ต้องการ

การรักษาไขมันในเลือด เป็นการรักษาเพื่อหวังผลในระยะยาว หมายถึง ต้องควบคุมให้ไขมันใน เลือดต่ำอยู่ตลอดเวลา เป็นระยะเวลานาน อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป จึงจะได้ประโยชน์จากยา ดังนั้น การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากยา เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์





ยาที่ดีที่สุดสำหรับการลด LDL-C ในขณะนี้คือยากลุ่ม Statin ซึ่งมีหลายตัว ผลแทรกซ้อน จากยาต่ำมาก ยากลุ่ม Fibrate เช่น Gemfibrozil (Lopid) สามารถลด Triglycerides ได้ดี แต่สำหรับ LDL-C แล้วสู้กลุ่ม Statin ไม่ได้ ยา Cholestyramine (Questran) สามารถลด LDL-C ได้ดีเช่นกัน แต่รับประทานยาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานได้นานๆ

การลดไขมันในเลือดเป็นสิ่งที่ควรทำในผู้ที่มี Total Cholesterol มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อดล. ควรเริ่มต้นจากการควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ไขมันจากสัตว์ ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก หากไขมันในเลือดยังสูงอยู่ หรือ มีโรคหัวใจ ท่านควรรับประทานยา (แนะนำกลุ่ม Statin) และท่านต้อง เข้าใจว่าหากหวังผลในการชลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ ท่านต้องรับประทานยาสม่ำเสมอเป็น ระยะเวลานาน หลายปี แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าหากรับประทานยาแล้วจะไม่เกิดโรค เป็น เพียงลด "โอกาสเกิดโรค" เท่านั้น





Create Date : 14 ธันวาคม 2551
Last Update : 14 ธันวาคม 2551 17:53:12 น. 0 comments
Counter : 1566 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
14 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.