สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
กะบังลมหย่อน

กะบังลมหย่อน ในความหมายของโรคเฉพาะสตรีเป็นคนละเรื่อง กับ "กะบังลม" ที่เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเมื่อมีการหายใจเข้า-ออก


กระบังลมหย่อน คือ การที่มีการหย่อนของผนังด้านหน้าหรือด้านหลังของช่องคลอดและ/หรือมีการเคลื่อนต่ำลงมาของมดลูก ภาวะเช่นนี้มักพบได้ในสตรีที่มีบุตรมาก มีการคลอดบุตรยาก และสตรีสูงอายุ หรือวัยหมดประจำเดือนแล้ว กะบังลมหย่อนเกิดขึ้นเนื่องจากมีการยืดอย่างมากหรือการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือของเอ็นที่ยึดมดลูกและกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้มีการหย่อนลงมาของกระเพาะปัสสาวะ แล้วมาดันผนังช่องคลอดให้มีการหย่อนห้อยด้วย สำหรับมดลูกนั้นทำให้มีการเคลื่อนต่ำลงมา กะบังลมหย่อนเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ แต่ละลักษณะมีการแก้ไขแตกต่างกัน แต่อาจแบ่งให้เห็นง่ายๆ เป็น ๒ ลักษณะ คือ


๑. การหย่อนของผนังช่องคลอด ลักษณะนี้จะปรากฏภายในช่องคลอด ทำให้มีความรู้สึกแน่นและบวมในช่องคลอด อาจรู้สึกถ่วงเล็กน้อย เวลาไอหรือจามอาจมีปัสสาวะเล็ดออกมา

๒. การเคลื่อนต่ำลงมาของมดลูก อาจอยู่ในระยะการเคลื่อนต่ำอยู่ภายในช่องคลอด หรือปากมดลูกโผล่พ้นช่องคลอดออกมา หรือตัวมดลูกโผล่พ้นลงมาจนกระทั่งมีการปลิ้นของผนังช่องคลอด


อาการที่มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาอยู่ในช่องคลอดจะรู้สึกแน่น ถ่วงและหน่วง ทำให้อยากเบ่ง บางคนถ่ายปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สำหรับรายที่มดลูกเคลื่อนต่ำจนบางส่วนหรือทั้งหมดพ้นช่องคลอดออกมา จะเห็นเป็นก้อนเนื้อจุกคาอยู่ บางรายมีการเสียดสีกับผ้านุ่งอาจเกิดเป็นแผล มีตกขาวลักษณะผิดปกติ ปัสสาวะลำบาก บางครั้งปัสสาวะคั่งทำให้ปวดท้องน้อยเพราะ มีปัสสาวะอยู่เต็มในกระเพาะปัสสาวะ รายแบบนี้ต้องไปพบแพทย์ด่วน เพื่อช่วยเรื่องการถ่ายปัสสาวะก่อน เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีอันตรายจากกระเพาะปัสสาวะแตกได้

เมื่อมีกะบังลมหย่อนจะปล่อยทิ้งไว้เฉยๆได้หรือไม่ มีอันตรายอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการหย่อนลักษณะใด ถ้าเป็นการหย่อนของผนังช่องคลอด เพียงรู้สึกรำคาญว่ามีอะไรแน่นๆบวมๆ ไม่มีอาการผิดปกติทางปัสสาวะ ให้ฝึกขมิบช่องคลอดวันละประมาณ ๒๐๐ ครั้ง จะช่วยให้ช่องคลอดกระชับขึ้น การไอหรือจามจะไม่มีปัสสาวะเล็ดออกมา แต่ถ้าเป็นการเคลื่อนต่ำของมดลูกและมีความผิดปกติทางปัสสาวะ ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อชี้แนะวิธีการรักษาที่หมาะสม โดยเฉพาะรายที่มีการปลิ้นของผนังช่องคลอดออกมา มีแผล มีตกขาวผิดปกติ มีความผิดปกติทางปัสสาวะ สำหรับการรักษาและการป้องกัน มีทั้งการรักษาโดยการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและอธิบาย ความสำคัญอยู่ที่การป้องกัน กะบังลมหย่อนสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดด้วยตนเอง โดยการปฏิบัติ ดังนี้

๑. ระยะตั้งครรภ์ เมื่อฝากครรภ์ให้ถามถึงวิธีบริหารร่างกาย สำหรับระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด

๒. ระยะคลอด ปฏิบัติเรื่องการเบ่งตามคำแนะนำของแพทย์และพยายาบาล

๓. ระยะหลังคลอด พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ลุกขึ้นนั่ง และเดินโดยเร่งที่สุด พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากเกินไป เช่น การลากหรือเข็นของหนัก ขมิบช่องคลอดวันละ ๑๐๐-๒๐๐ ครั้ง ซึ่งการขมิบช่องคลอดนี้สามารถทำได้ตลอดไป

ประการสำคัญควรเว้นการตั้งครรภ์ให้ห่างพอสมควร เพื่อให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานได้รับการพักผ่อน และคืนตัวอยู่ในสภาพเดิม มีความแข็งแรงพอที่จะรองรับตัวเด็ก รก น้ำคร่ำ และการเบ่งสำหรับการมีบุตรในครั้งต่อๆไป




ขอบคุณข้อมูลจากเว็ปไซด์หมอชาวบ้าน
อ.จริยาวัตร คมพยัคฆ์




Create Date : 26 มิถุนายน 2552
Last Update : 26 มิถุนายน 2552 9:22:37 น. 0 comments
Counter : 1068 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
26 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.