สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ไตวาย ไม่ตายไว - การล้างไต




สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง มักจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นมานานๆ โรคไตอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งนิ่วในไต สำหรับการรักษานั้นปัจจุบันมี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการล้างไตโดยการฟอกเลือด

การล้างไต ทำให้โรคไตวายหายหรือไม่ ?
การล้างไต ไม่ทำให้โรคไตวายหาย แต่เป็นการทำงานแทนไต คือ ล้างเอาน้ำและของเสียออกจากร่างกาย เมื่อหยุดล้างไต ของเสียในเลือดก็จะสะสมขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จึงต้องล้างไตเป็นประจำ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้

เมื่อล้างไตแล้วผู้ป่วยจะดีขึ้นไหม ?
ถ้าล้างไตได้พอเพียงและสม่ำเสมอ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ ไม่ซึม มีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควร แต่ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร มารับการล้างไตเป็นประจำ และรับประทานยาหลายขนาน

ล้างไตแล้วผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร ?
ผู้ป่วยจะอยู่ได้นานเท่าไร ขึ้นอยู่กับโรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมีร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นไตวาย มักมีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ มักจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน สำหรับผู้ป่วยไตวายที่มีแต่โรคไต ไม่มีโรคร้ายแรงอื่นร่วมอยู่ด้วย มักอยู่ได้นานกว่า 5 ปี ถ้าล้างไตดีๆ





ค่าใช้จ่ายในการล้างไตแพงมากไหม ?
ค่าใช้จ่ายในการล้างไต ในปัจจุบันยังมีราคาแพง เพราะเครื่องมือและอุปกรณ์มีราคาแพง โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการล้างไต ด้วยการฟอกเลือดประมาณ 2 - 3 หมื่นบาทต่อเดือน การล้างไตต้องทำประจำ ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากในระยะยาว มูลนิธิโรคไตพยายามให้บริการล้างไต ด้วยการฟอกเลือดในราคาถูก แต่มีจำนวนเครื่องฟอกเลือดจำกัด ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้หมด โรงพยาบาลของรัฐ ก็พยายามเพิ่มบริการฟอกเลือด แต่ก็รับได้จำกัดเช่นกัน จึงให้การรักษา ด้วยการล้างทางหน้าท้องมากกว่า ค่าใช้จ่ายของการล้างไต โดยวิธีล้างทางหน้าท้อง ถูกกว่าการฟอกเลือดประมาณ 10 - 20 %

มีข้อพิจารณาอย่างไรบ้าง ในการตัดสินใจว่าควรล้างไตหรือไม่ ?
เนื่องจากการล้างไต ต้องทำไปตลอด ผู้ป่วยและญาติต้องตัดสินใจว่า จะรักษาอย่างไร จะล้างไต หรือเพียงประคับประคอง ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจว่า ควรล้างไตหรือไม่ ได้แก่

1. ความต้องการของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ล้างไตประจำ ต้องปรับวิถีชีวิตของตนเองพอสมควร ต้องจำกัดอาหารหลายอย่าง ไปโรงพยาบาลรับการฟอกเลือด หรือล้างไตทางหน้าท้องเป็นประจำ รับประทานยาหลายขนาน บางครั้งอาจมีอาการเพลียและเหนื่อย ผู้ป่วยบางคนปรับตัวไม่ได้
2. ความต้องการของญาติ ญาติเป็นผู้รับภาระในการดูแลผู้ป่วยมาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และต้องพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเป็นประจำ ญาติจึงมีส่วนสำคัญในการเลือกการรักษา
3. สภาพของผู้ป่วยเอง มีโรคร้ายแรงอื่นร่วมหรือไม่ ทุพพลภาพหรือไม่ ถ้าป่วยหนักจากโรคร้ายแรงอื่นด้วย การล้างไตก็ไม่ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นเท่าใดนัก จึงไม่เหมาะสมที่จะล้างไต
4. ฐานะทางเศรษฐกิจ การล้างไตมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องทำประจำ ผู้ป่วยและญาติต้องดูว่า การรักษาระยะยาว จะทำให้ครอบครัวเดือดร้อนหรือไม่

ก่อนตัดสินใจล้างไต ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ประกอบกับคำแนะนำของแพทย์ ดูว่ามีกำลังพอหรือเปล่า เพราะญาติต้องรับภาระมาก ในการดูแลเป็นเวลานาน





จะปรึกษาและรักษาโรคไตได้ที่ไหนบ้าง ?
โรงพยาบาลรัฐบาลที่มีการล้างไต มีเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งมีเครื่องฟอกเลือดจำนวนไม่เพียงพอ ต่อจำนวนผู้ป่วยไตวาย จึงให้การรักษาส่วนใหญ่เป็นแบบล้างทางหน้าท้อง (CAPD)

มูลนิธิโรคไตให้บริการฟอกเลือด ด้วยราคาถูก ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ถึงแม้จะมีเครื่องฟอกเลือดมาก แต่ก็ยังไม่พอ ต่อความต้องการของผู้ป่วยไตวาย จึงจำกัดไว้เฉพาะผู้ป่วยไตวาย ที่อายุน้อย และรอเปลี่ยนไตอยู่

เนื่องจากบริการล้างไตของภาครัฐไม่เพียงพอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้บริการ ของโรงพยาบาลเอกชนที่มีบริการล้างไต ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีฟอกเลือด






ขอขอบคุณข้อมูลจาก นายแพทย์ถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย
แผนกอายุรกรรม
วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 4 - //www.ram-hosp.co.th/books





 

Create Date : 24 เมษายน 2552
0 comments
Last Update : 24 เมษายน 2552 9:06:08 น.
Counter : 1954 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 
24 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.