บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 มกราคม 2552
 

12 วิธีฟังให้เป็น(how to listen)

 


...



ภาพ 'Listen to Learn (= ฟังเพื่อเรียน)' > [ CommunicationNation ]


...



เป็นที่ทราบกันดีว่า การฟังเป็นทักษะที่สำคัญมากในการเรียนรู้ และ "รับความรู้สึก" ของคนเรา ท่านอาจารย์เดฟ เกรย์ ประธานบริษัท Xplane (น่าจะตั้งชื่อตามศัพท์ 'explain' = อธิบาย) กล่าวไว้ในเรื่อง 'how to listen' (วิธีการฟังให้เป็น) ในบล็อกของท่านว่า


นักฟังที่ไม่ดีมีส่วนทำให้คนพูดเสียความรู้สึก เปรียบเหมือนหมอที่สั่งยาโดยไม่ฟังคนไข้ ท่านกล่าวประโยชน์ของการฟังที่ดีไว้ว่า การฟังที่ดีนั้นเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกที่ดีไปพร้อมๆ กัน


... 


ทีนี้จะ "ฟังให้เป็นอย่างไร" อาจารย์เกรย์แสดงไว้ 10 วิธี ผู้เขียนขอเรียบเรียงใหม่ให้เข้ากับบรรยากาศแบบไทยๆ ดังต่อไปนี้


...



(1). เปิดใจฟัง




  • การเตรียมใจให้ว่าง (หยุด 'multitasking' หรือ "ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน" แบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ไว้ชั่วคราว) ฟัง สังเกตกิริยาท่าทาง และรับรู้ความรู้สึกของผู้พูด



...



(2). ฟังให้ถึงแก่น




  • ตั้งใจฟังทั้งเนื้อเรื่อง (ที่กำลังพูด) และบริบท (context = เนื้อหารอบๆ บริบท ทั้งก่อนหน้าและภายหลัง) เพื่อฟังให้ถึงแก่นทั้งสาระ และ "เบื้องหลัง" ของการพูด



  • เวลาฟังควรหมั่นตั้งคำถามสำคัญๆ โดยเฉพาะตอบโจทย์ให้ได้ว่า คนพูดพูดเรื่องอะไร ('what') อยากได้อะไร ('want') รู้สึกอย่างไร และต้องการให้ "เรา (คนฟัง)" ทำอะไร นั่นคือ ทำไมคนพูดถึงได้พูดเรื่องนี้ ('why')



...



(3). ระวังใจลอย




  • คนเรา "คิด" ได้เร็วกว่า "ฟัง" ทำให้เหลือช่องว่างเวลาระหว่างการฟังค่อนข้างมาก คนทั่วไปมักจะปล่อยใจให้ลอยไปเรื่องอื่น (distracted = be out of track = ออกนอกเรื่อง)



  • การกลับไปตอบโจทย์ของการฟัง 3 ข้อบ่อยๆ ได้แก่ 'what > want > why' หรือคนพูด "พูดอะไร > อยากได้อะไร > ทำไมถึงพูด (คาดหวังอะไรจากคนฟัง)" จะทำให้ใจลอยน้อยลง (ใจหนอใจ จมลงบ้างก็ดี...)



...



(4). ใช้ภาษาท่าทางเชิงบวก




  • ภาษาท่าทาง (body language) ที่บอกว่า เราตั้งใจฟังได้แก่ สบตา (ควรสบตาประมาณ 70-80% ของเวลาทั้งหมด ไม่ใช่ 100% เพราะถ้าสบตา 100% จะทำให้เหมือน "จ้องเขม็ง" ทำให้คนพูดอึดอัด)



  • การพยักหน้า (nodding) และโน้มตัวไปข้างหน้าเป็นครั้งคราวก็เป็นภาษาท่าทางที่บอกเหมือนกันว่า เราตั้งใจฟัง



...



(5). ลดภาษาท่าทางเชิงลบ




  • ภาษาท่าทางเชิงลบที่ควรระวัง เช่น หาว (ถ้าหาวจริงๆ ก็ควรรีบขอโทษ หรือชี้แจง เช่น เมื่อคืนนอนไม่พอ ฯลฯ)



  • ภาษาท่าทางที่แย่ที่สุดคือ หลับไปเลย (ผู้เขียนนี่เป็นบ่อยเลย) หรือแย่ยิ่งกว่าแย่คือ หลับด้วยกรนด้วย 



...



(6). ใช้คำอุทานเชิงบวก




  • แทรกคำอุทานเชิงบวกหรือเสียงที่สร้างความรู้สึกดีๆ เช่น ครับ(ค่ะ), อือม์, อือฮึ, อ๋อ ฯลฯ ถ้าใช้หลายๆ แบบสลับกันจะดูดีกว่าใช้คำเดิมบ่อยมากๆ เช่น พูดกัน 3 นาทีแทรก "อ๋อ" ไป 30 ครั้ง... ฯลฯ แบบนี้อาจจะมากไป



  • อย่าลืมว่า "น้ำตาล" ใส่มากแล้วเอียน เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำพูดของเพื่อนเภสัชกรตอนเป็นนักศึกษาท่านหนึ่ง ท่านเล่านิยามความงามของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีไว้ว่า "ความงามคือความพอดี"



...



(7). ลดคำอุทานเชิงลบ




  • ระวังคำอุทานเชิงลบหรือเสียงที่ทำลายความรู้สึก เช่น เอ๊ะ ฯลฯ



  • ผู้เขียนสังเกตคนที่พูดคำว่า "เอ๊ะ" บ่อยมากคนหนึ่ง (มีความสุขบนคอคนอื่น หรือชอบ "ขัดคอ") ติดตามไป 9 ปีพบว่า คนนั้นเป็นมะเร็ง ซึ่งก็ไม่แปลกใจอะไร เพราะเห็นคนเป็นแบบนี้มาหลายรายแล้ว



...



(8). บันทึก




  • อาจารย์หมอที่โรงพยาบาลสมิติเวชเล่าว่า เรื่องบันทึกนี่... คนไข้ญี่ปุ่นเก่งที่สุด เวลาไปหาหมอจะเตรียมตัวไปอย่างดี... สมุด ดินสอ ปากกาพร้อม ดีไม่ดีเตรียมเทปบันทึกเสียงไปด้วย และทำอย่างตั้งใจจริง เนื่องจากครั้งต่อๆ ไปจะจำได้หมดว่า ไปหาหมอหนก่อนๆ หมอพูดอะไรไปบ้าง



  • ความเป็นคนช่างเรียนรู้ของคนญี่ปุ่นมีส่วนสำคัญในการทำให้ชาติบ้านเมืองของเขาเจริญก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง



...



(9). ช่วยสรุป




  • การช่วยสรุปประเด็นว่า เราเข้าใจที่คนอื่นพูดมาแบบนี้ๆ เป็นระยะๆ อาจช่วยให้ผู้พูดรับรู้ว่า เรากำลังตั้งใจฟัง และช่วยแก้ไขให้ถ้าเราเข้าใจผิด



...



(10). ไม่สวน




  • คนเราฟังและคิดตามได้เร็วกว่าพูด... เรื่องนี้อาจทำให้เราพูดสวนกลับไปได้ทั้งๆ ที่อีกฝ่ายยังพูดไม่จบดี ทำให้ผู้พูดไม่ค่อยพอใจได้



...




  • วิธีที่ดีคือ "เว้นวรรค" หรือ "เว้นลมหายใจ" หลังผู้พูดพูดเสร็จสัก 2 วินาที โปรดสังเกตว่า แผ่นเสียงหรือ CD ที่วางขายนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่มี "เว้นวรรค" ระหว่างเพลง



  • เพลงประเภท "เมดเลย์ (medley)" หรือเพลงที่ติดกันเป็นพืดนั้นมียอดขายน้อยกว่าเพลงทั่วไปมาก เนื่องจากฟังมากๆ แล้วเหนื่อย... เหนื่อยเหมือนคนไข้โรคถุงลมโป่งพองหายใจ (แน่นอนว่า ลดความเสี่ยงโรคนี้ได้ด้วยการไม่สูบบุหรี่)



...



(11). ไม่ด่วนสรุป




  • การรีบด่วนสรุปเปรียบคล้ายการกินผลไม้ที่ยังไม่สุกดี ทำให้ไม่ได้อรรถรสของการฟังเท่าที่ควร ทางที่ดีคือ สรุปไว้สักส่วนหนึ่งก่อน แล้ว "รอ" ให้เวลาผ่านไปสักพักจึงทำการทบทวน และสรุปส่วนที่เหลือ



...



(12). ฟังแบบไม่คิดตาม




  • โลกเราไม่ใช่โลกที่จะต้องไปคิดตามคนพูดเสมอไป อาจารย์หมอทางด้านโรคจิตแนะนำว่า เวลาฟังคนไข้โรคจิตพูด... "ให้ฟัง สักแต่ฟัง อย่าไปคิดตาม" เพราะคิดตามแล้วจะบ้าตาม เพราะฉะนั้นเวลาฟังคนบางคนพูด... อย่าไปคิดตาม



...




  • เทคนิคนี้สำคัญมาก... ถ้าหมอทุกคนคิดตามคนไข้ไปหมด ผู้เขียนคิดว่า ตอนนี้โลกเราคงจะเหลือหมออยู่ไม่กี่ราย (เพราะอะไรบอกไว้แล้ว)



  • เพราะฉะนั้นให้เลือกก่อน (ถ้าเลือกได้) ว่า เราควรจะพูดกับใคร ไม่ควรพูดกับใคร และเวลาฟังใคร... ไม่ควรคิดตาม



...



กล่าวกันว่า สุดยอดศิลปะของการพูดคือ "การหยุดพูด (เพื่อฟัง)" สุดยอดศิลปะของการฟังคือ "การหยุดฟัง (คำพูดของคนบางคน)"


ผู้เขียนสังเกตเด็กๆ ที่มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก... ส่วนใหญ่จะเป็น "นักฟัง" มากกว่า "นักพูด" สังเกตคนสูงอายุที่มีลูกหลานแวดล้อมมาก (ไม่กำพร้าลูกหลาน)... ส่วนใหญ่จะเป็น "นักฟัง" มากกว่า "นักพูด"


...


การเป็นนักฟังที่ดี (ตามที่อาจารย์เกรย์แนะนำมา) ทำให้เป็นคน "น่ารัก" , "น่าคบ" ไปไหนมักจะไม่เหงา


ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีโอกาสพัฒนาไปสู่ความเป็น "นักฟังที่ดี" สำเร็จครับ


...



ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       


 


ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้คือ คำว่า 'listen' แปลว่า ฟัง คำนี้ไม่เหมือนคำว่า 'hear' ซึ่งแปลว่า ได้ยิน (อาจจะไม่ตั้งใจฟังก็ได้)




  • 'listen' > [ ลิส - เสิ่น ] > verb / กริยา = ฟัง > [ Click ] , [ Click ]



  • 'hear' > [ เฮี่ย ] > verb / กริยา = ได้ยิน > [ Click ] , [ Click ]



[ ฟัง + ออกเสียงตาม > คลิกลำโพงหรือธงชาติ ]


 


ให้ย้ำเสียง (ทำให้เสียงหนัก) ตรงเสียงที่ใช้อักษรตัวหนาและขีดเส้นใต้ เสียงสุดท้ายที่ใช้ตัวเอียง ให้พูดเบาคล้ายเสียงกระซิบ อย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ


...


 


ที่มา                                                         





  • Thank [ Dave Gray ] > CommunicationNation.Blogspot.com > How to listen > [ Click ] > November 8, 2005.



  • บล็อกของเรามุ่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค... ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้



  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 6 มกราคม 2552.








Free TextEditor


Create Date : 06 มกราคม 2552
Last Update : 6 มกราคม 2552 22:21:48 น. 0 comments
Counter : 996 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com