บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 มกราคม 2552
 

6 ลักษณะ(โหงวเฮ้ง)ผู้ให้บริการที่น่านับถือ

 


...



ภาพคุณหมอจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ] 


...


 


...


หนังสือพิมพ์ The New York Times ตีพิมพ์เรื่อง "อุปนิสัย 6 ประการของคุณหมอที่ได้รับความนับถืออย่างสูง" ของท่านอาจารย์นายแพทย์ไมเคิล คาห์น ซึ่งรวบรวมมาจากวารสารแพทย์ NEJM


เรื่องนี้ไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นคุณหมอเท่านั้น พวกเราที่ทำงานบริการ หรือต้องการเป็น "คนที่น่ารัก (nice)" ก็นำข้อคิดเหล่านี้ไปใช้ได้เช่นกัน ผู้เขียนขอนำเสนอแบบ "ไทย(หลาย)คำ อังกฤษ(น้อย)คำ" เพื่อให้พวกเราเก่งภาษาอังกฤษพอที่จะแข่งขันกับนานาชาติได้ครับ


...


อุปนิสัย 6 ประการของคนทำงานบริการ หรือผู้ให้บริการที่น่านับถือได้แก่


(1). Ask permission & wait = ขออนุญาตและ "รอ" สักพัก




  • ก่อนที่เราจะเข้าไปในห้อง... ไม่ว่าจะเป็นเข้าไปหาคนไข้ในห้องพัก เข้าไปในห้อง "ส่วนตัว" ของลูกค้า เช่น ห้องพักในโรงแรม รถของลูกค้า ฯลฯ ควรขออนุญาตก่อน และควร "รอ" ให้คนไข้หรือลูกค้าปรับตัว เตรียมตัว ไม่พรวดพราดเข้าไปก่อนได้รับอนุญาต (ยกเว้นจำเป็นหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน)



...




  • พวกเราคงจะมีประสบการณ์ไปใช้บริการปั๊มพ์น้ำมัน พนักงานปั๊มพ์น้ำมันชั้นดีจะขออนุญาตก่อนวางป้ายฟองน้ำแข็ง "โปรดดับเครื่องและงดสูบบหรี่" ไว้บนกระโปรงรถด้านหน้า



...


(2). Introduce yourself & show your ID = แนะนำตัวและแสดงบัตร




  • ทุกวันนี้มีโจรผู้ร้าย หรือพวกชอบ "สวมรอย" ฉวยโอกาสมากมาย ทำให้ที่ไหนๆ ก็ดูไม่ค่อยปลอดภัย การแนะนำตัว่ง่ายๆ ว่า เราเป็นใคร เช่น ดิฉัน... จากงานต้อนรับโรงแรม... ฯลฯ จะทำให้ผู้มารับบริการสบายใจขึ้น



...




  • เมื่อแนะนำตัวแล้ว ควรแสดงบัตรประจำตัว (ID badge / identity badge = เครื่องหมาย / แถบ / บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่) ด้วย โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ ที่มีคนจำนวนมากอาจทำให้ผู้มาใช้บริการไม่รู้ว่า ใครเป็นใคร



  • การแนะนำตัวง่ายๆ สร้างความประทับใจแรกพบได้มาก... อย่างน้อยก็ดีกว่ายิ้มเฉยๆ โดยไม่พูดอะไรสักคำ



...



(3). shake hands = จับมือ




  • แนะนำตัวแล้วควรทักทายอะไรง่ายๆ เช่น จับมือ (ถ้าเป็นฝรั่งหรือชาวตะวันตก) ฯลฯ คนไทยเราไหว้นี่ละดีแล้ว ดีกว่าการจับมือมากมาย สุภาพกว่า และสร้างความประทับใจได้มากกว่าด้วย



  • ถ้าไม่สะดวกใจจะไหว้หรือจับมือ... การผงกหัว (nod) หรือคำนับสักหน่อยก็ยังดีกว่าทำตัวแข็งทื่อไร้ชีวิตชีวา



...


(4). sit down = นั่งลง




  • นั่งลงและยิ้ม (ถ้าเหมาะสม)... คำแนะนำนี้เป็นคำแนะนำของฝรั่ง (ชาวตะวันตก) ทว่า... ถ้าเป็นคนไทยหรือชาวเอเชีย การนั่งในห้องของผู้มาใช้บริการหรือลูกค้าอาจต้องขออนุญาตก่อน



  • ต้นฉบับวงเล็บเรื่อง "ยิ้ม (smile)" ไว้ว่า "ถ้าเหมาะสม (if appropriate)" เนื่องจากบางเวลาก็ควรทำตัวสงบเสงี่ยมไว้มากกว่า เช่น ลูกค้ากำลังโกรธ คนไข้อาการหนัก ฯลฯ



...



(5). explain your role = บอกหน้าที่การงาน




  • ถ้าไปเยี่ยมคนไข้ก็ควรบอกคนไข้ว่า เราเป็นใคร เช่น เป็นนักกายภาพบำบัด เป็นพยาบาล เป็นหมอ ฯลฯ



  • ถ้าทำงานบริการอื่นๆ ก็ควรบอกผู้มาใช้บริการเช่นกันว่า เราเป็นใคร เช่น เป็นแม่บ้าน ขอเข้ามาทำความสะอาดห้อง ฯลฯ



...


(6). ask how they feel = ถามว่า รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง




  • เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำสอนของท่านอาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ที่ไปบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปี 2527 ท่านบอกว่า พวกพยาบาลพวกหมอนี่... ชอบ 'large talk' (พูดเรื่องจริงจัง มีสาระ) จริงๆ แล้ว... เวลาพบคนอื่นควรจะคุยกันเรื่อง 'small talk' (พูดเรื่องเบาๆ ทักทาย บันเทิง) ก่อนเสมอ



...




  • ท่านเล่าว่า ท่านป่วยไปพักในโรงพยาบาล 3-4 วัน ได้ยินพยาบาลกับหมอถามเรื่องเดิมทุกวันคือ ถ่ายเบากี่ครั้ง ถ่ายหนักกี่ครั้ง ซึ่งทำให้รู้สึก "ห่างเหินเสียเหลือเกิน"



  • จริงๆ แล้วน่าจะถามว่า "เป็นอย่างไรบ้าง (ครับ/ค่ะ)" , " สบายขึ้นบ้างไหม (ครับ/ค่ะ)" , หรือทักทายเรื่องดินฟ้าอากาศ เช่น "วันนี้หนาวขึ้นนะ (ครับ/ค่ะ)" ฯลฯ ทักทายกันก่อนแล้วค่อยคุยเรื่องจริงจัง



...




  • ขอให้สังเกตว่า โทรศัพท์มือถือมีอุปกรณ์เสริม 'small talk' (สมอลล์ ทอล์ค = พูดเล่น พูดทีเล่นทีจริง ทักทาย คุยกันเล่นๆ ฯลฯ) ไม่มีอุปกรณ์เสริม 'large talk' (ลาร์จ ทอล์ค = พูดจริงจัง พูดเรื่องสาระ สนทนาวิชาการ ฯลฯ)



  • ทีนี้ถ้าเวลามีจำกัดล่ะ... บางทีการหานักศึกษาฝึกงาน อาสาสมัคร ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ฯลฯ ไปคุยกับคนไข้หรือผู้มารับบริการบ้าง อาจจะทำให้อะไรๆ ดีขึ้นได้



...



อาจารย์หมอคาห์นยกตัวอย่างว่า ผู้ให้บริการที่ดีควรทำตัวคล้ายๆ กับพนักงานบริการที่ร้านแอปเปิล ซึ่งพนักงานดูจะกระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการเสมอ


เมืองไทยเราก็มีการยกตัวอย่าง "คุณครูกูเกิ้ล" ซึ่งดูจะกระตือรือล้น และเต็มใจให้บริการตอบคำถาม (บนอินเตอร์เน็ต) 24 ชั่วโมงเช่นกัน


...


เมืองไทยเรามีชื่อเสียงในเรื่องการให้บริการที่ดี ถ้าพวกเราใส่ใจทำงานของเราให้ดีขึ้นบ้าง... คนละเล็กละน้อย ไม่จำเป็นต้อง "ดีพร้อม" แบบพนักงานร้านแอปเปิ้ล หรือคุณครูกูเกิ้ล คนไทยจะแข่งขันกับนานาชาติได้แน่นอนครับ


 


ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       


 


หัวข้อเรื่องตอนนี้คือ 'The six habits of highly respectful physicians'  แปลว่า "นิสัย 6 ประการของคุณหมอที่ได้รับการนับถืออย่างสูง"


 




  • 'habit' > [ แฮบ - บิท - ท(t) ] > [ Click ] , [ Click ]



  • 'habit' > noun = นิสัย อุปนิสัย ลักษณะ การกระทำที่เคยชิน



  • 'habits' > เติม 's' บอกความเป็นพหูพจน์ คือ นิสัยหลายอย่าง



...


 


ที่มา                                                         





  • Thank nytimes.com > Michael W. Kahn M.D. The six habits of highly respectful physicians > [ Click ] > December 1, 2008. / Source > NEJM, nytimes



  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านนำไปใช้เผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 18 มกราคม 2552.








Free TextEditor


Create Date : 18 มกราคม 2552
Last Update : 18 มกราคม 2552 12:06:47 น. 2 comments
Counter : 776 Pageviews.  
 
 
 
 

ขอบคุณค่ะคุณหมอ
ขอนำไปใช้นะคะ

 
 

โดย: Big Spender วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:13:42:53 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากๆ ครับ...
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:13:11:48 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com