ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
วัดอรุณราชวราราม

ประวัติ วัดอรุณราชวราราม

...............วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร......................

สถานที่ตั้ง ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือพระราชวังเดิม และฟากตะวันออกของถนนอรุณอัมรินทร์ ระหว่างคลองนครบาลกับพระราชวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
ประวัติความเป็นมา
.................วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี มีชื่อเรียกเดิมว่า วัดมะกอก สมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดแจ้ง สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดมะกอกมาเป็นวัดแจ้งก็เพราะว่า เมื่อสมัยที่พระเจ้ากรุงธนบุรี
ได้ปราบศัตรูที่อยุธยาและคนไทยมีอิสระภาพขึ้นดังเดิมแล้ว แต่ไม่สามารถจะตั้งอาศัยอยู่ ณ ราชธานีเดิม คือกรุงเก่าต่อมาได้ จึงพากันล่องลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อหาที่ตั้งราชธานีใหม่ พอลงมาถึงหน้าวัดมะกอกนี้ ก็พอดีรุ่งแจ้ง พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้ยับยั้ง
กระบวนผู้คน ให้เทียบเรือพระที่นั่งเข้ากับท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชา พระมหาธาตุ คือพระพุทธปรางค์องค์เดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำข้างหน้าวัด ต่อมาได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นวัดแจ้งเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จมาประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิมข้างใต้วัดแจ้ง แต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๒๘ ทรง
มอบหน้าที่ให้บำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่หมดทั้งวัด แต่การปฏิสังขรณ์ ทำได้สำเร็จเพียงกุฏีสงฆ์ ส่วนพระอุโบสถและพระวิหารยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาลที่ ๑
..................... ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อ โปรดให้สร้างพระอุโบสถ และพระวิหารต่อจากที่เริ่มสร้างไว้แล้วในสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่พระอุโบสถโปรดให้สร้างพระระเบียงล้อมรอบ การสร้งพระอุโบสถและพระวิหารเสร็จแล้ว ยังโปรดให้
บูรณะพระอุโบสถและพระวิหารเก่าหน้าพระปรางค์หน้าวัด กับสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง การปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ สำเร็จเรียบร้อย ก็มีการฉลองและพระราชทานนามวัดนี้ใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม ต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาพระมหาธาตุหรือพระพุทธปรางค์ข้างหน้าวัด ขึ้นใหม่ให้เป็นที่งามสง่า พระปรางค์เดิมสูงเพียง ๘ วา ทรงพระราชดำริว่าควรจะเสริมสร้างให้ใหญ่สูงเป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร จึงโปรดให้กำหนดการลงมือขุดคลองรากทำเป็นฐาน แต่การยังไม่สำเร็จก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๒ เสียก่อน
..........................รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบมาจนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ทรงพระราชดำริถึงพระมหาธาตุที่วัดอรุณฯ ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระราชดำริไว้และค้างอยู่นั้น ควรจะดำเนินการให้สำเร็จดังพระราชประสงค์ จึงได้ทรงคิดแบบอย่างแล้วโปรดให้ลงมือสร้าง
พระพุทธปรางค์ เป็นพระมหาเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว ฐานวัดโดยรอบได้ ๕ เส้น ๑๗ วาในรัชกาลนี้ ยังโปรดให้สร้างพระมณฑป ขึ้นระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง กับสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ ขึ้น ๔ องค์ ในบริเวณด้านใต้
พระระเบียง และยังโปรดให้สร้างซุ้มประตูในย่างกลางพระระเบียง ตรงหน้าพระอุโบสถออกมา ทำเป็นยอดทรงมงกุฏ และสร้างยักษ์ยืนคู่หนึ่งประจำที่หน้าซุ้มประตูด้านนี้ด้วย
.....................เมื่อรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ต่อมาโปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น สร้างบุษบกยอดเป็นทรงปรางค์ขึ้นที่ผนังหุ้มกลอง ด้านหน้าพระอุโบสถ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิ์
แห่งหนึ่ง กับที่ผนังหุ้มกลองด้านหลังพระอุโบสถอีกแห่งหนึ่ง กับโปรดให้ประดับฝาผนังด้านนอกพระอุโบสถและพระวิหารด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ
...................อนึ่ง พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปั้นหุ่นด้วยฝีพระหัตถ์ นั้นยังไม่มีพระนาม จึงพระราชทานนามถวายว่า พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก และที่โปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ ณ พระพุทธบัลลังก์ของ
พระประธานองค์นี้ด้วย กับที่พระวิหารโปรดให้อัญเชิญพระอรุณ ที่อัญเชิญมาแต่เวียงจันทน์ มาประดิษฐานไว้ในพระวิหารอยู่ข้างหน้า พระพุทธชัมภูนุชมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร พระประธานในพระวิหารนั้นเมื่อการ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดสำเร็จแล้ว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม ดังที่เรียกกันจนถึงทุกวันนี้
ความสำคัญต่อชุมชน
.....................วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เมื่อสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นเป็นพระราชนิเวสสถานนั้น ได้ทรงเอากำแพงและป้อมวิชัยประสิทธิ์เป็นที่ตั้งพระราชวัง แล้วโปรดให้ขยายเขตพระราชวังขึ้นมาทางเหนือจนถึงคลองนครบาล เพราะฉะนั้นวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ จึงตกอยู่กลางพระราชวัง จึงให้ยกเว้นพระสงฆ์มิให้อยู่อาศัย วัดแจ้งจึงกลายเป็นวัดประเภท พุทธควาส อยู่สมัยหนึ่ง
.....................ความสำคัญของวัดอรุณราชวราราม เมื่อสมัยกรุงธนบุรีอีกเรื่อง คือ วัดอรุณราชวราราม เคยเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกตอยู่นานถึง ๕ ปี โดยเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๒๒ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ตีได้เมืองเวียงจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์ คือ พระแก้ว
มรกต กับพระบางลงมาด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ขึ้นไปรับล่วงหน้าพาล่วงลงมาตามลำแม่น้ำ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับถึง บางธรณี โปรดให้แห่ลงมา ณ กรุงธนบุรี ให้มีมหรสพสมโภชมาในกระบวนเรือระหว่างทาง เมื่อถึงวัดแจ้งโปรดให้
อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นที่สะพานป้อมต้นโพธิ์ ปากคลองนครบาล แล้วให้พักไว้ ณ โรงชั่วคราว โปรดให้มีมหรสพสมโภชโดยสังเขป ครั้นจัดการสร้างพระมณฑปขึ้นสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเสร็จแล้ว จึงเมื่อวันวิสาขปุรณมี เพ็ญกลางเดือน ๖ ปีชวด โทศก พ.ศ. ๒๓๒๓ โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้ในพระมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังระหว่างพระอุโบสถและพระวิหารเก่า มีการสมโภชใหญ่ ๗ วัน
๗ คืนพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ เป็นเวลาประมาณ ๕ ปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เสด็จมาสร้างพระมหานคร ณ ฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีเป็นราชธานี สร้างพระบรมมหาราชวัง แล้วโปรดให้สร้างพระอารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย
........................เมื่อการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเสร็จแล้ว โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากวัดแจ้งแห่ข้ามฟากมา ประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๒๗ ส่วนวัดแจ้ง ภายหลังที่อัญเชิญพระแก้วมรกตย้ายข้ามมาแล้ว ก็โปรดให้รื้อกำแพงพระราชวังตั้งแต่คลองนครบาลลงมาจนถึง
กำแพงพระราชวังเดิม กลายเป็นวัดอยู่นอกพระราชวัง จึงโปรดให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาต่อมาได้ จนกระทั่งปัจจุบันนี้
........................ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดอรุณราชวราราม เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
สิ่งสำคัญในพระอารามมีดังนี้
...............พระปรางค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของวัด ทางทิศใต้ เป็นของโบราณ เดิมมีขนาดสูง ๘ วา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อเสริมพระปรางค์องค์เดิมเพื่อให้ใหญ่สมเป็นพระมหาธาตุประจำกรุงรัตนโกสินทร์ มาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระปรางค์ สูง ๓๓ วาเศษ ก่ออิฐถือปูน
ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ อย่างงดงามประณีต บางลายใช้จานชามของโบราณที่มีลวดลายสวยงาม เป็นของเก่าหายาก เช่น ชามเบญจรงค์ มาประดับตกแต่ง และที่ยอดพระปรางค์มีมงกุฏมาประดิษฐานเหนือยอดนภศูล ทำให้แปลกกว่ายอดนภศูลที่อื่น ๆ
...............พระอุโบสถ เป็นพระอุโบสถที่ยกพื้นสูง หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ประทับในปราสาท ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้าน ฝีมืองดงามมาก เป็นภาพพุทธประวัติ ภาพผจญมาร ภาพเวสสันดรชาดก ฯลฯ พระประธานในพระอุโบสถมีพระนามว่า พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระอุโบสถวัดนี้ไม่มีกำแพงแก้ว แต่มีพระระเบียงแทน เป็นของที่สร้างขึ้นในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีทรวดทรงงามกว่าพระระเบียงในที่อื่น ๆ ทั้งหมด ที่ผนังระเบียงมีลายเขียนเป็นซุ้มเรือนแก้วลายดอกไม้ ใบไม้ มีนกยูงแบบจีนคาบอยู่ตรงกลาง พระพุทธรูปในพระระเบียงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งหมดรวมได้ ๑๒๐ องค์นอกจากนี้ยังมี หอระฆัง มณฑปพระพุทธบาทจำลอง พระวิหาร หอไตร เป็นต้น


Create Date : 16 สิงหาคม 2554
Last Update : 16 สิงหาคม 2554 12:28:56 น. 0 comments
Counter : 800 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.