ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี

นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
เดือนเมษายนนี้ มีวันสำคัญที่ควรกล่าวถึงอยู่ ๒ วัน คือวันที่ ๖ เมษายน เป็นวันมหาจักรี ซึ่งเป็นวันรำลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ และองค์พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการปกครองประเทศอยู่ ๓ ประการ คือ

“ตั้งใจอุปถัมภ์ภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขัณฑเสมา รักษาประชาชนแลมนตรี”

ในพระราชปณิธานทั้ง ๓ ประการนี้ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงบำเพ็ญให้เป็นไปได้ครบสมบูรณ์ทุกประการ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดแก่ปวงชนชาวไทย ที่ต้องรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวแล้ว ด้วยความภักดีเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนวันสำคัญอีกวันหนึ่งก็คือ วันที่ ๑๓ เมษายน อันเป็นวันสงกรานต์ เป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ของไทย ที่มีการสืบทอดมายาวนานแต่โบราณกาล เป็นโอกาสที่คนไทยได้มีการ บำเพ็ญบุญกุศลในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริงด้วยการเล่นสาดน้ำและการละเล่นอื่นๆ รวมทั้งมีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ อันเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ มีบิดา มารดา เป็นต้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุพการี คือ บุคคลผู้กระทำอุปการะก่อน และกตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ผู้อื่นทำแก่ตนแล้วทำตอบแทน เป็นบุคคลหาได้ยากยิ่ง เพราะคนเราถูกความโลภ ความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ครอบงำ จึงมีใจคับแคบ ไม่ทำอุปการะแก่คนอื่น ไม่กระทำตอบแทนต่อคนที่มีอุปการะแก่ตน

ความจริงแล้ว พ่อแม่นั้นเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร เฝ้าเลี้ยงดูทะนุถนอมมิให้ได้รับทุกข์และความเดือดร้อน อาหารที่พ่อแม่เลี้ยงดูลูกน้อยนั้น ถ้าว่าตามธรรมะแล้วจะมี ๔ ประการ คือ ๑.กพฬิงการาหาร อาหาร คือ คำข้าว รวมไปถึงน้ำนม และอาหารขบเคี้ยวอื่นๆ อันจะทำให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตตามควรแก่วัย ๒.ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ คือ ความถูกต้อง เกี่ยวข้องสัมผัส จะเห็นได้ว่าเวลาที่แม่ให้นมลูก แม่ก็มองลูก นัยน์ตาที่ไร้เดียงสาของลูกกับสายตาของแม่ที่มีความรักความปรานีก็ประสานกัน ทำให้เกิดความรักความอบอุ่น ได้ยินเสียงแม่พูดปลอบประโลมใจ กอดจูบลูกน้อย ถ่ายความรักจากใจไปสู่ลูก แม้แต่เพลง กล่อมนอน ก็เป็นผัสสาหารที่ลูกอยากได้ และก็หลับไปพร้อมความสุข ๓.มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ มโนสัญเจตนา ที่หมายถึงการกระทำของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ถ้าพ่อแม่ทำดีต่อลูก ลูกก็จะเติบโตเป็นคนดี เรียกได้ว่าเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๔.วิญญาณาหาร อาหาร คือ ความรู้ (ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง วิญญาณปฏิสนธิ) คือ การจะสอนให้ได้เรียนรู้การเดิน การนั่ง การพูดจา การกิน สอนให้ลูกเป็นคนดี ให้ได้เล่าเรียนศิลปวิทยาการ เมื่อเติบโตครอง เรือนได้แล้ว ก็จะให้แต่งงาน และแบ่งทรัพย์สมบัติให้ครอบครอง

เมื่อพ่อแม่ทำอุปการะดังกล่าวมานี้แล้ว สมควรที่ลูกจะพึงกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ อย่าให้ใครมาดูถูกว่าเป็นคนอกตัญญู ไม่รู้จักบุญคุณของพ่อแม่ และภาพที่พ่อแม่ถูกทอดทิ้งให้ อยู่ตามลำพังก็จะไม่มีให้เห็นแน่นอน คนที่มีความกตัญญูจึงได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นคนดี เป็นคนควรคบหาสมาคมด้วย ดังพุทธภาษิตว่า “ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี”

ส่วนคนอกตัญญูนั้น เป็นคนที่น่ารังเกียจ ไม่มีใครปรารถนาจะคบหาสมาคมด้วย เพราะพ่อแม่ตัวเองยังทอดทิ้งได้ คนอกตัญญูจึงเป็นคนชั่วที่ควรประณาม พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ถึงจะให้แผ่นดินทั้งหมดแก่คนอกตัญญู ก็ไม่อาจจะทำให้เขายินดี มีความรู้สึกถึงบุญคุณได้”

คนกตัญญูกตเวที นอกจากจะได้มีความเจริญรุ่งเรืองในทางโลกแล้ว ยังสามารถปฏิบัติตนให้บรรลุคุณธรรมชั้นสูงมีมรรคผลนิพพาน เป็นต้น ผิดกับคนอกตัญญูที่จะหาความเจริญ ใดๆ ไม่ได้เลย

บุคคลผู้เป็นตัวอย่างของความกตัญญูกตเวที ในพระพุทธศาสนานั้นมีจำนวนมาก แต่ในที่นี้จะขอยกมากล่าวสักหนึ่งท่าน คือ พระสารีบุตร ในสมัยที่ยังเป็นอุปติสสปริพาชก ได้ฟังธรรมในสำนักของท่านพระอัสสชิเถระ ต่อมาได้บวชในพระพุทธศาสนา และเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นคนกตัญญูมาก เมื่อทราบว่าพระอัสสชิเถระอยู่ในทิศใด เวลานอนท่านจะหันศีรษะไปทางทิศนั้น เป็นการแสดงความเคารพ

มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ราธะ มีร่างกายซูบผอม ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีใครให้การอุปสมบทแก่พราหมณ์นี้ พระพุทธเจ้าทราบความประสงค์ของพราหมณ์แล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า ใครนึกถึงอุปการคุณของพราหมณ์นี้ได้บ้าง พระสารีบุตรทูลว่าระลึกได้ว่าพราหมณ์นี้เคยถวายข้าวทัพพีหนึ่ง จึงทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรให้การอุปสมบทแก่ราธะพราหมณ์ เป็นการแสดงความกตัญญู

ในเวลาที่โยมมารดาของพระสารีบุตรป่วยหนักใกล้มรณกาล พระสารีบุตรไปแสดงธรรมโปรดมารดาผู้เป็นมิจฉาทิฐิให้กลายเป็นสัมมาทิฐิ มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงนับว่าท่านเป็นผู้มีความกตัญญูต่อบุพการี ที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง

อีกอย่างหนึ่ง ในพระไตรปิฎก มีความตอนหนึ่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็บุตรใดแล ยังมารดา ผู้ไม่มีศรัทธา ให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล ยังมารดาบิดาผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นอยู่ในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีปัญญาทราม ให้ดำรงมั่นอยู่ในปัญญา ภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล กิจนั้น จึงชื่อว่าเป็นอันบุตรทำแล้ว ทำตอบแทน แล้ว และทำยิ่งแล้วแก่มารดาบิดา”

เพราะฉะนั้น บุตรผู้กตัญญูด้วยการเลี้ยงบำรุงพ่อแม่ด้วยเครื่องบำรุงทั้งหลายตลอดเวลา ร้อยปีก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนคุณได้หมดสิ้น แต่ถ้าได้กระทำตามคำกล่าวข้างต้นนี้แล้ว จึงจะถือเป็นการตอบแทนที่แท้จริง

(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 77 เม.ย. 50 โดย ธมฺมจรถ)

-------------------
Ref.
//www.manager.co.th/Dhamma/view...=9500000044125


มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
เครื่องหมายของคนดี

ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้
เมื่อเขาละโลกไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนแสวงหาความสุข จึงต้องดิ้นรนไขว่คว้า หาสิ่งที่ตนคิดว่าจะทำให้เป็นสุขได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถยนต์ บุคคลอันเป็นที่รัก หรือหน้าที่การงานที่มั่นคง

เมื่อได้สิ่งเหล่านี้มาครอบครองสมความปรารถนาแล้ว ตอนแรกๆ อาจจะมีความรู้สึกพึงพอใจ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งต่างๆ ก็เสื่อมสลายลง ความสุขที่เคยมีก็จางหาย คงเหลือไว้เพียงความทุกข์ทรมาน

เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าสิ่งภายนอกที่เราเคยแสวงหามานั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เพราะความสุขที่แท้จริงต้องยั่งยืน มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง เราปรารถนาเมื่อไร ก็ให้ความสุขได้เมื่อนั้น ซึ่งผู้รู้ทั้งหลายค้นพบว่า แหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่แท้จริง อยู่ภายในตัวของเรานี่แหละ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ และเข้าถึงได้ด้วยการทำใจให้หยุดนิ่ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ‰าตรัสไว‰ใน มาตุโปสกสูตร ว่า

ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เมื่อเขาละโลกไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์Ž

บิดามารดาเป็นบุพการีชนที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และหมั่นหาโอกาสตอบแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านให้ได้ เพราะผู้รู้อุปการคุณที่บิดามารดามอบให้ด้วยใจบริสุทธิ์แล้ว กระทำการตอบแทนพระคุณท่าน บัณฑิตเรียกว่า คนมีความกตัญญูกตเวที เป็นผู้มีคุณธรรมสูงส่ง นับว่าเป็นอภิชาตบุตร เป็นลูกแก้ว เกิดมาแล้วยังใจบิดามารดาให้แช่มชื่นเบิกบาน การที่ลูกๆ หาโอกาสตอบแทนพระคุณท่านเป็นประจำสม่ำเสมอ ถือว่าเข้าถึงความเป็นผู้ที่หาได้ยากยิ่งในโลก

อันที่จริงคุณธรรม คือ ความกตัญญูนี้ สามารถทำให้เกิดขึ้นในจิตใจของทุกๆ คนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ อยู่ในเพศภาวะใด หรือสถาพใดก็ตาม หากได้ตระหนักในคุณความดีของผู้อื่นอยู่เสมอ มองให้เห็นคุณค่าของทุกๆ คน ที่ถ่ายทอดสิ่งที่ดีงามมาสู่ตัวเรา คุณธรรมนี้จะเจริญงอกงามขึ้น เช่นถ้าเป็นศิษย์ให้รู้คุณของครูอาจารย์ หากเป็นลูกก็ให้รู้คุณของบิดามารดา ถ้าใครมีคุณธรรมอย่างนี้อยู่ในใจแล้ว จะเป็นที่เคารพศรัทธา ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย

*ดังเรื่องของพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น โสณกุมาร ในพระชาตินั้น ได้มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ท่านมีน้องชายชื่อว่า นันทกุมารŽ เมื่อเจริญวัยขึ้น พ่อแม่ปรึกษากันว่า จะให้ลูกทั้ง ๒ ครองเรือนเพื่อสืบสกุลต่อไป แต่โสณกุมารกลับบอกกับพ่อแม่ว่า ลูกยังไม่อยากจะนึกถึงเรื่องการมีครอบครัว อยากจะอยู่ปรนนิบัติรับใช้คุณพ่อคุณแม่ไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อคุณพ่อคุณแม่ล่วงลับไป ลูกจะออกบวชแสวงหาโมกขธรรมŽ ส่วนนันทกุมารซึ่งเป็นน้องชาย ก็มีความคิดเช่นเดียวกับพี่ชาย

เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คนทั้ง ๔ จึงตัดสินใจออกบวช อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ดาบสผู้เป็นลูกทั้ง ๒ ก็ได้ช่วยกันบำรุงบิดามารดา ตั้งแต่ตื่นเช้าก็จัดเตรียมไม้ชำระฟัน และน้ำล้างหน้า ปัดกวาดเสนาสนะ ให้สะอาดร่มรื่น แล้วออกไปหาผลไม้ ที่มีรสอร่อยมาให้บิดามารดาบริโภค ถึงยามเย็นก็ต้มน้ำอุ่นให้อาบ ปรนนิบัติท่านทั้งสองอย่างดีเยี่ยมเสมอมา

วันหนึ่ง ดาบสน้องชายคิดว่า เราจะให้บิดามารดาบริโภคผลไม้ที่เราหามา จึงรีบลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ก่อนพี่ชาย ออกไปหาผลไม้ลูกใหญ่บ้างเล็กบ้าง เท่าที่พอจะเก็บหามาได้ จากที่ที่ตนเคยเก็บเมื่อวานบ้าง รีบนำมาให้บิดามารดาบริโภค ส่วนโสณดาบสโพธิสัตว์ ซึ่งได้อภิญญา ๕ พอรุ่งเช้าก็ออกไปยังที่ไกลๆ หาผลไม้ที่มีรสอร่อย ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีรสดีกว่าที่น้องชายหามา เมื่อนำไปให้ ท่านทั้ง ๒ ก็บอกว่า ได้บริโภคผลไม้ ที่น้องชายนำมาให้แล้วŽ ดังนั้นผลไม้ดีๆ ที่โสณดาบสนำมาก็เน่าเสียไป เป็นอยู่อย่างนี้หลายวัน

พระโพธิสัตว์จึงได้บอกกับน้องชายว่าเจ้ามีความปรารถนาดีต่อพ่อและแม่ แต่อย่าได้ทำอย่างนี้อีกเลย เพราะผลไม้ที่เจ้านำมานั้น มีขนาดไม่เท่ากัน สุกๆ ดิบๆ เมื่อบริโภคนานเข้า จะทำให้ท่านมีอายุสั้นŽ แต่น้องชายก็ไม่ได้ทำตาม เพราะมีแต่ความปรารถนาดีอย่างเดียว ยังขาดปัญญารอบรู้ เมื่อไม่ยอมเชื่อฟัง โสณดาบสจึงขับไล่น้องชายให้ไปอยู่ที่อื่น เพื่อให้ไปบำเพ็ญสมณธรรมให้เต็มที่ จะได้เป็นที่พึ่งแก่ตน ส่วนบิดามารดานั้น ท่านจะเป็นผู้ดูแลเอง

เมื่อน้องชายได้ฟังดังนั้น ก็สำนึกผิดในความดื้อรั้นของตน ไม่สามารถจะอยู่ในที่นั้นได้ จึงหลีกเร้นไปอยู่คนเดียว ปรารภความเพียรอยู่ในป่าลึก จนสามารถทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้ แล้วคิดว่า จะนำพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีปมาขอขมาพี่ชาย เพื่อจะได้มีโอกาสมาปรนนิบัติดูแลบิดามารดาอีก

ดังนั้น นันทดาบสจึงได้เหาะไปเฝ้าพระเจ้ามโนชะ ได้ทูลว่าจะนำราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งหมดมาถวายแก่พระองค์ ด้วยอานุภาพของตน และจะช่วยคุ้มครองทหารในกองทัพ ไม่ให้ได้รับอันตราย พระเจ้ามโนชะตอบตกลง จึงออกทำศึกโดยการดูแลของนันทดาบส ฉะนั้นการทำศึกของพระราชาทุกๆ ครั้ง จึงได้รับชัยชนะมาตลอด และไม่มีการเสียเลือดเนื้อเลยแม้แต่น้อย

จนเวลาล่วงไป ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน นันทดาบสก็สามารถรวบรวมราชสมบัติของพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีปได้ โดยไม่ต้องมีการเสียเลือดเนื้อแม้เพียงหยดเดียว พระเจ้ามโนชะได้ฉลองชัยร่วมกับพระราชาทั้งหลาย ที่สามารถรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น โดยที่พระราชาทั้งหมด ก็มีความสมัครสมานสามัคคี ด้วยอานุภาพของนันทดาบส

พระราชาเหล่านั้นต่างก็นึกถึงคุณของนันทดาบส จึงตั้งใจจะยกราชสมบัติให้ แต่ท่านปฏิเสธ และได้บอกความประสงค์ของท่านให้ทราบว่า อยากจะขอเชิญมหาบพิตรทั้งหมด ไปช่วยขอขมาโทษโสณดาบส ผู้เป็นพี่ชายของตน เพื่อตนเองจะได้อยู่บำรุงบิดามารดาต่อไปŽ พระเจ้ามโนชะ และพระราชาทั้งหลายก็รับคำ จากนั้นก็ได้พาพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์ ไปยังอาศรมของโสณดาบส

วันนั้น โสณดาบสรำพึงถึงน้องชายที่หายไปถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เช่นกัน ว่าไปอยู่ที่ไหน จึงตรวจดูด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นว่าน้องชายกำลังพาพระราชา ๑๐๑ พระองค์ พร้อมด้วยบริวารเดินทางมาเพื่อจะขอขมา จึงเหาะมาทางอากาศให้พระราชาทั้งหมดได้นมัสการ เมื่อได้เห็นอานุภาพของโสณดาบส พระราชาต่างพากันสักการบูชา โสณดาบสปฏิสันถารเป็นอย่างดี จากนั้นท่านได้เนรมิตหนทางให้ราบเรียบ สะดวกสบายสำหรับการเดินทางไปยังอาศรม แล้วทูลเชิญพระราชาทั้งหมด เสด็จไปเยี่ยมชมอาศรม

นันทดาบส พระเจ้ามโนชะ และกษัตริย์อีก ๑๐๑ พระองค์ แวดล้อมไปด้วยกองทัพอันทรงเกียรติ เข้าไปขอขมาโทษต่อพระโพธิสัตว์ ให้อดโทษต่อน้องชายที่ไม่เชื่อฟัง ซึ่งท่านก็อดโทษให้ เพราะใจจริงนั้นก็ไม่ได้โกรธเคืองเลย แต่ต้องการจะลดทิฏฐิมานะ ให้น้องชายเชื่อฟังบ้างเท่านั้นเอง

จากนั้นพระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่านันทะเอ๋ย พี่ดีใจที่น้องได้ที่พึ่งสำหรับตนแล้ว เรื่องในอดีตนั้นพี่ยกโทษให้ เธอจงดูแลมารดาบิดา อย่าได้ประมาท จงปฏิบัติต่อท่านให้ดี ให้ท่านบริโภค แต่ผลไม้ที่ดีมีรสเลิศ จงบำรุงท่านอย่างดีที่สุดในทุกเรื่องŽ นันทดาบสดีใจที่พี่ชายยกโทษให้ แล้วทั้งสองก็ได้ช่วยกันบำรุงบิดามารดาจนตลอดชีวิต ครั้นละโลกแล้ว ทั้งหมดก็ไปสู่สุคติ

จะเห็นได้ว่า บัณฑิตในการก่อน ท่านกตัญญูรู้คุณต่อบุพการีถึงขนาดนี้ แม้แต่ราชสมบัติที่มีอยู่ทั่วทั้งชมพูทวีป ก็มีค่าน้อยนิด ไม่อาจจะเปรียบเทียบกับบุญกุศลมหาศาลที่ได้ดูแลรับใช้บิดามารดา ท่านถือว่าการตอบแทนพระคุณเป็นหน้าที่ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เป็นสิ่งดีเลิศ ประเสริฐกว่าการได้ครอบครองทรัพย์สมบัติทั้งหมดในโลก จึงยอมสละราชสมบัติที่มาถึง เพียงเพื่อให้ได้อุปัฏฐากบำรุงบุพการี

ฉะนั้น พวกเราทุกคน ต้องหมั่นบำรุงท่านทั้ง ๒ ให้ดี เพราะมารดาบิดา คือพระอรหันต์ของลูก ต้องตอบแทนคุณท่าน ให้สมกับที่ท่านเลี้ยงดูเรามา โดยตอบแทนแบบผู้มีปัญญา คือชักชวนให้ท่านมีศรัทธา ให้ท่านได้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน คือเข้าถึงพระธรรมกาย ท่านจะได้มีที่พึ่งที่แท้จริงในชีวิต ถ้าทำได้เช่นนี้ เราจะได้ชื่อว่าเป็นลูกแก้วยอดกตัญญู


Create Date : 13 สิงหาคม 2554
Last Update : 14 กันยายน 2554 11:13:49 น. 1 comments
Counter : 10532 Pageviews.

 
anumothana sathu sathu sathu


โดย: pinky IP: 14.207.180.224 วันที่: 14 สิงหาคม 2554 เวลา:11:28:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.