ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
7 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
ฝน ๔ อย่าง

๑. ทรงแสดงเรื่องฝน ๔ อย่าง

คือ ๑. คำราม แต่ไม่ตก ได้แก่บุคคลผู้พูด แต่ไม่ทำ ๒. ตก แต่ไม่คำราม ได้แก่บุคคลผู้ทำ แต่ไม่พูด ๓. ทั้งไม่คำรามทั้งไม่ตก ได้แก่ บุคคลผู้ทั้งไม่พูดทั้งไม่ทำ ๔. ทั้งคำรามทั้งตก ได้แก่บุคคลผู้ทั้งพูดทั้งทำ.

ทรงแสดงเรื่องฝนในลักษณะเดิมอีก ๔ อย่าง แต่ อธิบายถึงคุณสมบัติของบุคคลต่างออกไป ประเภท ๑ ได้แก่ผู้เรียนรู้ธรรมะ ( ศาสนาของพระศาสดามีองค์ ๙ ) แต่ ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง. ประเภทที่ ๒ ได้แก่ผู้ไม่เรียนรู้ธรรมะ แต่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง. ประเภทที่ ๓ ได้แก่ผู้ทั้งไม่เรียนรู้ธรรมะทั้งไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง. ประเภทที่ ๔ ได้แก่ผู้ทั้งเรียนรู้ธรรมมะทั้งรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง.

ทรงแสดงเรื่องหม้อ ๔ อย่าง คือหม้อที่เปล่า แต่ปิด, เต็ม แต่เปิด, เปล่าและปิด, เต็มและปิด ( หม้อเปล่า เทียบด้วยไม่รู้อริยสัจจ์ ๔, หม้อเต็ม เทียบด้วยรู้อริยสัจจ์ ๔, หม้อเปิด เทียบด้วยมีกริยาอาการไม่น่าเลื่อมใส, หม้อปิด เทียบด้วยมีกริยาอาการน่าเลื่อมใส ).

ทรงแสดงเรื่องห่วงน้ำ ๔ อย่าง คือห่วงน้ำที่ตื้น มีเงาลึก. ที่ลึก มีเงาตื้น, ที่ตื้น มีเงาตื้น, ที่ลึก มีเงาลึก. ( ลึก, ตื้น เทียบด้วยไม่รู้ หรือรู้อริยสัจจ์ ๔ เงาตื้น, เงา ลึก เทียบด้วยมีกริยาอาการไม่น่าเลื่อมใสหรือน่าเลื่อมใส ).

ทรงแสดงมะม่วง ๔ อย่าง คือดิบข้างใน สุกข้างนอก, สุกข้างใน ดิบข้างนอก, ดิบข้างใน ดิบข้างนอก, สุกข้างใน สุกข้างนอก ( ดิบ หรือสุกข้างใน เทียบด้วยไม่รู้หรือ รู้อริยสัจจ์ ๔ ; ดิบ หรือสุกข้างนอก เทียบด้วยมีกริยาอาการไม่น่าเลื่อมใสหรือน่าเลื่อมใส ).

ทรงแสดงหนู ๔ ประเภท คือขุดรู แต่ไม่อยู่, อยู่ แต่ ไม่ขุดรู, ไม่ขุดรูและไม่อยู่, ขุดรูและอยู่ ( ขุดรูหรือไม่ขุดรู เทียบด้วยเรียนหรือไม่เรียนธรรมะ ; อยู่หรือไม่อยู่ เทียบ ด้วยรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือไม่ )

ทรงแสดงโคถึก ( โคมีกำลัง ) ๔ ประเภท คือร้าย ต่อโคของตน ไม่ร้ายต่อโคของผู้อื่น, ร้ายต่อโคของผู้อื่น ไม่ร้ายต่อโคของตน, ร้ายต่อโคของตน และร้ายต่อโค ของผู้อื่น, ไม่ร้ายต่อโคของตน และไม่ร้ายต่อโคของผู้อื่น ( ร้าย เทียบด้วยรุกรานหรือทำให้หวาดกลัว โคของตน ของผู้อื่น เทียบด้วยบริษัทของตนหรือของผู้อื่น ).

ทรงแสดงต้นไม้ ๔ อย่าง คือไม้กะพี้มีไม้กะพี้เป็น บริวาร, ไม้กะพี้มีไม้แก่นเป็นบริวาร, ไม้แก่นมีไม้กะพี้เป็นบริวาร, ไม้แก่นมีไม้แก่นเป็นบริวาร. ไม้กะพี้ เทียบ ด้วยบุคคลที่ทุศีล, ไม้แก่น เทียบด้วยบุคคลผู้มีศีล.

ทรงแสดงงูพิษ ๔ อย่าง คือพิษแล่น แต่ไม่ร้าย, พิษ ร้าย แต่ไม่แล่น, พิษทั้งแล่นทั้งร้าย, พิษทั้งไม่แล่นไม่ร้าย ( พิษแล่นหรือไม่แล่น เทียบด้วยขี้โกรธหรือไม่ ; พิษ ร้ายหรือไม่ร้าย เทียบด้วยมีความโกรธคงอยู่นานหรือไม่ ).

๒. ตรัสถามนายเกสี สารถีฝึกม้า

ว่า ฝึกอย่างไรบ้าง เขาตอบว่า ฝึกโดยวิธีหยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ทั้งหยาบทั้งละเอียดบ้าง ถ้าฝึกไม่ได้ก็ฆ่าเสีย เพื่อมิให้เสียชื่อสกุล อาจารย์. เมื่อเขาถามว่า ทรงฝึกคนอย่างไร ก็ตรัสตอบอย่างที่เขาตอบ โดยอธิบายว่า ฝึกโดยวิธีหยาบ คือชี้ความ ชั่วและผลของความชั่ว, วิธีละเอียด คือชี้ความดีและผลของความดี, วิธีทั้งหยาบทั้งละเอียด คือชี้ทั้งสองอย่าง. ฆ่าเสีย คือทั้งตถาคตและเพื่อนพรหมจารีไม่ว่ากล่าวสั่งสอนผู้นั้น.

ทรงแสดงม้าอาชาไนย ที่ดีของพระราชาประกอบด้วย องค์ ๔ คือความซื่อตรง, ฝีเท้า๑, ความอดทน, ความเสงี่ยม เปรียบด้วยภิกษุประกอบด้วยคุณธรรมทั้งสี่นี้ ก็เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก.

ทรงแสดงม้าอาชาไนยที่ดี ๔ ประเภท คือ ๑. เห็น เงาปฏักก็สำนึกตน ๒. ถูกปฏักแทงถึงขุมขนจึงสำนึกตน ๓. ถูกปฏักแทงถึงหนังจึงสำนึกตน ๔. ถูกปฏักแทง ถึงกระดูกจึงสำนึกตน. เทียบด้วยบุรุษอาชาไนย ๔ ประเภท คือ ๑. เพียงได้ฟังข่าวว่าคนอื่นทุกข์หรือตาย ก็เกิด สังเวช ตั้งความเพียร ทำให้แจ้งสัจจธรรมอันยิ่ง ๒. ต้องเห็นเองจึงเกิดความสังเวช แล้วตั้งความเพียร เป็นต้น ๓. ต้องเป็นญาติสายโลหิตของตน มีทุกข์หรือตายจึงเกิดสังเวช แล้วตั้งความเพียร เป็นต้น ๔. ต้องตัวเองได้รับ ทุกขเวทนากล้าแข็งเจ็บปวดจึงเกิดความสังเวช แล้วตั้งความเพียร เป็นต้น.

ทรงแสดงช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔ จึงนับว่าควรแก่พระราชา คือรู้จักฟัง, รู้จักฆ่า, รู้จักอดทน, รู้จักไป เทียบด้วยภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ เช่น เดียวกัน ชื่อว่าเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ( รู้จักฟัง คือฟังธรรม, รู้จักฆ่า คือฆ่าความคิดที่ชั่ว, รู้จักอดทน คืออดทนหนาว ร้อน, สัมผัสเหลือบ ยุง เป็นต้น, รู้จักไป คือไปในทิศที่ไม่เคยไป คือไปพระนิพพาน ).

ทรงแสดงฐานะ ๔ คือ ๑. ฐานะที่ไม่น่าพอใจ ทำเข้า ก็เป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ ๒. ฐานะที่ไม่น่าพอใจ แต่ทำเข้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๓. ฐานะที่น่าพอใจ แต่ทำ เข้าเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ ๔. ฐานะที่น่าพอใจ ทั้งทำเข้าก็เป็นไปเพื่อประโยชน์.

ทรงแสดงว่า ควรทำความไม่ประมาทในฐานะ ๔ คือในการละทุจจริต ๓ และมิจฉาทิฏฐิ ในการเจริญสุจริต ๓ และสัมมาทิฏฐิ. เมื่อทำเช่นนั้นได้ ย่อมไม่กลัวความ ตายในอนาคต.

และควรทำความไม่ประมาทในฐานะ ๔ คือไม่ กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, ไม่คิดประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความคิดประทุษร้าย, ไม่ หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง, ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. เมื่อทำเช่นนั้นได้ ก็จะไม่ สดุ้งหวาดหวั่น ไม่ต้องไปตามถ้อยคำของสมณะ ( ไม่ถูกจูงไปตามชอบใจ ).

ทรงแสดงเรื่องสถานที่ควรสังเวช แต่ก็ควรดูของ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่ง คือที่ซึ่งพระตถาคตประสูตร, ตรัสรู้, แสดงธรรมจักร ( แสดงธรรมครั้งแรก ),ปริ นิพพาน.

ทรงแสดงเรื่องภัย ( สิ่งที่น่ากลัว ) ๔ อย่าง คือความ เกิด, ความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย.

และภัยอีก ๔ อย่าง คือภัยอันเกิดจากไฟ, น้ำ, พระ ราชา, โจร.

๓. ทรงแสดงเรื่องภัย ๔ อย่าง

คือ ภัยอันเกิดจากการติ ตัวเองได้, ผู้อื่นติได้, การลงโทษ, ทุคคติ ( คติที่ชั่ว ).

ภัย ๔ อย่างสำหรับผู้ลงน้ำ คือภัยอันเกิดจากคลื่น, จระเข้, วังวน, ปลาร้าน ( คลื่นเปรียบด้วยความโกรธ, จระเข้เปรียบด้วยความเห็นแก่ปากแก่ท้อง, วังวนเปรียบ ด้วยกามคุณ ๕ คือรูป เสียง เป็นต้น ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ, ปลาร้ายเปรียบด้วยมาตุคามหรือหญิง ข้อ เปรียบเทียบเหล่านี้สำหรับภิกษุ ).

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือผู้ได้ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๔ แล้วติดใจในฌานทั้งสี่นั้น เมื่อสิ้นชีวิต ก็ไปเกิดเป็นพรหมมีอายุ ๑ กัปป์. เกิดเป็นอาภัสสพรหมมีอายุ ๒ กัปป์. เกิดเป็นสุภกิณหพรหมมีอายุ ๔ กัปป์, เกิดเป็นเวหัปผลพรหมมีอายุ ๕๐๐ กัปป์ ( ตามลำดับฌานที่ ๑ ถึง ๔ )หมดอายุแล้วก็อาจไปสู่นรก กำเนิดดิรัจฉานและภูมิแห่งเปรตได้อีก ส่วนอริยสาวกไปเกิดในที่นั้นแล้ว หมด อายุแล้วก็ปรินิพพานในภพนั้น นี้เป็นความต่างกันระหว่างบุถุชนผู้มิได้สดับกับอริยสาวกผู้ได้สดับ.

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือผู้ได้ฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จนถึงไม่ใช่ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิต ย่อมเกิดในเทพชั้นสุทธาวาส อันไม่ทั่วไปแก่บุถุชน.

ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท ผู้เจริญพรหมวิหาร ๔ เมื่อสิ้น ชีวิตแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลกตามลำดับชั้น ( เหมือนฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ ) เมื่อหมดอายุแล้ว อาจไปสู่นรก กำเนิด ดิรัจฉานและภูมิแห่งเปรตได้ ส่วนอริยสาวกเมื่อหมดอายุแล้วก็นิพพานในภพนั้น.

ทรงแสดงบุคคล ๔ อย่าง ผู้เจริญพรหมวิหาร ๔ แล้ว พิจารณาขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตย่อมเกิดในเทพชั้นสุทธาวาส อันไม่ ทั่วไปแก่บุถุชน

ทรงแสดงว่า ความอัศจรรย์ ๔ ประการ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ๑. เมื่อก้าวลงสู่พระครรภ์ ๒. เมื่อประสูติ ๓. เมื่อ ตรัสรู้ ๔. เมื่อทรงแสดงธรรมจักร จะมีแสดงสว่างอันโอฬารปรากฏขึ้น ก้าวล่วงเทวานุภาพ ส่องไปในที่แสงพระ จันทร์พระอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง ทำให้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ๆ จำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า แม้ผู้อื่นก็ มีมาเกิดในที่นี้.

ทรงแสดงความอัศจรรย์ ๔ ประการ ที่ปรากฏ เพราะ เหตุเช่นเดียวกันอีก คือสัตว์ที่มีความยินดีในอาลัย ( กามคุณ ๕ ), มีความยินดีในมานะ ( ความถือตัว ), มีความยินดี ในความไม่สงบระงับ, มีความยินดีในอวิชชา ( ความไม่รู้ ) เมื่อฟังธรรมที่พระตถาคตทรงแสดง อันเป็นเครื่องนำ ออกซึ่งสิ่งเหล่านั้น ย่อมตั้งจิต เพื่อรู้ทั่วถึง ( ธรรมเหล่านั้น ).

ทรงแสดงความอัศจรรย์ ๔ อย่างในพระอานนท์ คือ บริษัทที่เป็นภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา เข้าไปหา ก็ชื่นใจด้วยการดู, ชื่นใจด้วยการกล่าวธรรม ยังไม่ทันอิ่ม พระอานนท์ก็นิ่งเสีย ( ก่อน ).

ทรงแสดงความอัศจรรย์ ๔ อย่างในพระเจ้าจักรพรรดิ์ เช่นเดียวกับพระอานนท์ เป็นแต่เปลี่ยนบริษัทเป็นกษัตริย์, พราหมณ์, คฤหบดี, สมณะ เปลี่ยนจากกล่าวธรรมเป็นมี พระดำรัส แล้วตรัสเปรียบพระอานนท์ว่าเป็นเช่นนั้น.

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
..........................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.




Create Date : 07 สิงหาคม 2554
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2564 12:55:40 น. 1 comments
Counter : 798 Pageviews.

 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
..........................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:12:54:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.