บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
All Blogs
 
อุบาสิกา ถวิล - บทที่หก - ขุนพลตั้งทัพ

เมื่อตัดสินใจลงมื่อก่อสร้าง โดยเรื่องการเงินจะใช้วิธีหาไป ใช้ไปดังนั้น ก็จำต้องมีคนเป็นหัวหน้า รับผิดชอบการดำเนินงาน และเนื่องจากไม่มีเงินเป็นค่าจ้างประจำหัวหน้างานเพราะถ้าจ้างเป็นค่าแรงแล้ว ต้องใช้เงินในอัตราค่อนข้างสูง แต่ถ้าเป็นคนที่ทำงานนี้ด้วยศรัทธาย่อมสามารถตัดปัญหา เงินค่าจ้างก้อนนั้นลงไปได้

หลวงพ่อรองเจ้าอาวาสตัดสินใจ ออกปากรับงานนี้ทันที ยอมออกจากงานธุรกิจการค้ารายได้เดือนละเป็นหมื่นบาทสมัยนั้น มาขอทำงานให้ โดยมีอาหารตามมีตามเกิดวันละ ๓ มื้อเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน การกระทำของท่านประทับใจหมู่คณะมาก โดยเฉพาะอาจารย์วรณี ถึงกับออกปากจ่ายค่าอาหารรายเดือนให้ และขอเป็นเจ้าภาพ เมื่อถึงเวลาบวช นอกจากนั้นยังรับทำบ้านพักหลังเล็ก สำหรับคุมงาน เป็นบ้านหลังเล็กใต้ถุนสูง ข้างบนมีห้องนอน นอนได้ ๒ คน ห้องทำงาน ส่วนข้างล่าง มีที่สำหรับประกอบอาหารได้ สิ้นค่าวัสดุก่อสร้างไป ๓ พันบาท

ขณะนั้นคุณวันชัย แซ่จิว สำเร็จการศึกษา จากเกริกวิทยาลัยมาใหม่ๆ ยังไม่ทันทำงานที่ใด หมู่คณะขอร้องให้ช่วยงานหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส อีกแรงหนึ่ง คุณวันชัยเป็นบุตรชายคนเล็ก ของครอบครัวฐานะดี เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ ทั้งครอบครัว คุณวันชัยจึงมาวัดตั้งแต่เด็กๆ ชีวิตในครอบครัวค่อนข้างสุขสบาย ไม่มีงานสิ่งใดให้ต้องทำ ยิ่งงานบ้านทุกชนิด ไม่เคยทำมาก่อนเลย เพราะมีพี่สาวหลายคน แต่ยามที่ต้องไปอยู่ท้องนา กับหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส คุณวันชัยต้องทำทุกอย่าง ทั้งในบ้านนอกบ้าน ทำกับข้าว หุงข้าว ทำความสะอาดที่พัก เสื้อผ้า จิปาถะ แรกๆ ทำกับข้าว เป็นแต่เรื่องไข่ ไข่ต้ม ไข่ทอด ไข่ตุ๋น ในที่สุด จึงไปซื้อตำรากับข้าวมาทำ จากคนที่สุดแสนสบาย มาเป็นคนที่ทนลำบากตรากตรำได้ทุกชนิด เช่นเดียวกับหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส คุณวันชัยคือ หลวงพี่สีลวัณโณ ในเวลาต่อมา

การดำเนินงานขุดคูน้ำรอบที่ดิน เราเตรียมกันว่า จะถือเอาวันมาฆบูชา เป็นวันปฐมฤกษ์ ซึ่งจะตรงกับวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ ในวันงาน อาจมีคนมาร่วมในพิธี ๑๐๐ - ๒๐๐ คน เราควรมีแบบแปลนแผนผังวัด ให้ผู้ร่วมงานได้ชมด้วย ที่ประชุมของมูลนิธิฯ ลงมติให้เรียนเชิญอาจารย์ช่างผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนช่างที่มีชื่อเสียง เพิ่งปลดเกษียณอายุราชการ อาจารย์ท่านนั้นก็ยินดี รับให้ความช่วยเหลืออย่างดี

ครั้นนั้นแลลแปลนโดยสังเขบของวัด ได้มาจากทิพยจักขุญาณ ของผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ผล แต่เนื่องจากผู้เห็นไม่ใช่สถาปนิก จึงได้แต่เล่าภาพที่เห็น ให้คนที่พอวาดภาพได้ฟัง คนฟังนำมาเขียนให้ชัดเจน อีกทอดหนึ่ง ก่อนงานมาฆบูชาปีนั้น หมู่คณะจำเป็นจะต้องออกติดต่อขอความช่วยเหลือ จากเอกชนและหน่วยงานต่างๆ เราจึงอยากได้แบบแปลนและแผนผังของวัดมาก เพื่อใช้ประกอบในการติดต่อ จึงจำเป็นต้องหมั่นไปหาอาจารย์ช่างดังกล่าวบ่อยๆ

เมื่อหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส ต้องไปมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในท้องนา อันเป็นที่สร้างวัดเสียแล้ว คนที่จะดำเนินงานติดต่อกิจการต่างๆ จึงเหลืออยู่คนเดียวในเวลานั้น ได้แก่คนร่างเล็กเพื่อนของท่าน

แต่การติดต่องานต่างๆ โดยเฉพาะกับสถานที่ราชการ ไม่เหมาะที่คนวัยหนุ่มๆ อย่างหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส หรือเพื่อนของท่านคนนั้น หรือแม้เหล่านักศึกษารุ่นน้องที่อยู่ในคณะ เพราะล้วนแต่เป็นเด็กหนุ่มหน้าอ่อน อายุยี่สิบเศษ จะชี้แจงกับใคร ว่าจะร่วมใจกันสร้างวัด มักไม่มีใครเชื่อ จึงมักถูกผู้คนที่ไปติดต่อด้วย กล่าวถึงกันว่า " มีพวกไอ้ตี๋กลุ่มหนึ่ง มาเที่ยวบอกเรื่องการสร้างวัด ไม่รู้มาหลอกต้มกันรึเปล่า " ทั้งนี้เพราะเด็กหนุ่มทุกคนในหมู่คณะ ล้วนแต่มีผิวชาว มีเชื้อสายจีนกันแทบทุกคน

เมื่อเป็นดังนี้ การติดต่องานสำคัญๆ ป้าจึงมักต้องออกหน้าไปด้วย เพราะเป็นคนสูงวัยกว่า และเป็นข้าราชการชั้นเอกในเวลานั้น พอมีศักดิ์ศรี พูดให้คนฟังเชื่อถืออยู่บ้าง

เมื่อหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส ต้องออกจากงาน ไปมีชีวิตประจำวันอยู่ที่ท้องนาสร้างวัด ท่านต้องรับงานดำเนินการสร้างวัด ทุกเรื่องตามลำพังคนเดียว งานเริ่มแรกได้ตกลงกับลูกนาที่เช่านาอยู่เดิม ใครเลิกทำนาและย้ายไปอยู่ที่อื่น เจ้าของที่ดินก็จ่ายเงินให้ พอไปประกอบอาชีพใหม่ได้ ส่วนผู้ใดต้องการรับจ้างทำงานให้วัด ทางวัดก็จะรับเข้าทำงานหมดทุกคน

เวลานั้นทางมูลนิธิฯ ยังไม่ได้ยกที่ดินให้เป็นของกรมการศาสนา เรายังทำเหมือนเป็นสำนักสงฆ์ ให้ชื่อว่าศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม เพราะต้องสร้างเสนาสนะสงฆ์ให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะขออนุญาตตั้งเป็นวัดต่อไป

งานของหลวงพ่อรองเจ้าอาวาสขณะนั้นหนักมาก นอกจากเรื่องของวัดเราเอง ต้องรับสมัครคนงาน ควบคุมดูแลไม่ให้คดโกงค่าแรง ติดต่อขอความช่วยเหลือจากที่ต่างๆ ที่เป็นภาระยุ่งยาก คือเรื่องต้องเป็นธุระ ดูแลสารทุกข์สุกดิบชาวบ้าน ต้องผูกไมตรีจิตคนในหมู่บ้าน เลิกงานแล้วในตอนเย็น ต้องขึ้นบ้านโน้นลงบ้านนี้ ใครเจ็บป่วยก็ช่วยดูแลรักษา มียาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ ถ้าอาการหนักก็ช่วยนำส่งโรงพยาบาลให้ ความสุภาพอ่อนโยน ทั้งกิริยามารยาทอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้ชาวบ้านรักใคร่นับถือโดยทั่วหน้ากัน

ความดีของหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส ผูกไมตรีได้กับคนนิสัยดี มีคุณธรรมได้เป็นพื้นใจ แต่กับคนพาล กลับเห็นคนดีเป็นคนอ่อนแอร่ารังแก คิดจะเอารัดเอาเปรียบ จึงปรากฏว่ามีการลักขโมยเกิดขึ้น บางครั้งเรือของเราหายติดกันทุกคืน ลำแรกหาย เราก็ต้องรีบซื้อ เพราะเวลานั้นพื้อนนามีน้ำเจิ่งนอง จะไปที่ใด ใช้เรือถ่อหรือพายไปสะดวกกว่าเดินลุยน้ำและหญ้ารก ทั้งงูก็มีชุกชุม พอซื้อมาแทน ตกกลางคืนก็หาย หายติดกันอยู่ถึง ๓ คืน เป็น ๓ ลำ เครื่องสูบน้ำก็ในทำนองเดียวกัน หายเครื่องแล้วเครื่องเล่า

ยังมีพวกเอาเปรียบ ในคูน้ำที่ขุดขึ้นมีปลาเข้าไปอยู่มาก กลางคืนพวกนี้ก็นำเครื่องมือดักปลา พร้อมกับตะเกียง มาจับปลากันเป็นที่สนุกสนาน เหยียบคันดินที่ขุดไว้พังทลายลงมา บางทีกลางวันแท้ๆ ก็พาโคกระบือมาทั้งฝูง ต้อนเข้ามากินหญ้า สัตว์เหล่านั้นก็เดินป่ายปีนบนดินที่ขุดเป็นคันคูไว้ ดินพังยิ่งกว่าคนเดิน

ปัญหาจากสถานที่สร้างวัด มีเกิดขึ้นเรื่องแล้วเรื่องเล่า เพื่อนร่วมงานที่รู้ใจ ทำงานแทนกันได้ก็ไม่มี บางทีไปปรึกษาหารือกับหลวงพ่อเจ้าอาวาส ความเห็นไม่ตรงกันเสียอีก เถียงกันไปมา คุณยายฯ ท่านก็ไม่ห้าม ท่านเห็นว่าการปรึกษาหารือ ต้องแสดงความคิดเห็น และชี้แจงกันด้วยเหตุผล แต่ท่านก็สั่งว่า " ทะเลาะกันได้แต่โกรธกันไม่ได้ "

เมื่องานขยายขึ้น เครื่องมือเครื่องใช้ก็มีเพิ่มขึ้น ถ้าวางทิ้งกลางแจ้ง ของย่อมถูกขโมยได้ง่าย บ้านพักหลังน้อยกระจ้อยร่อย ของหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส ไม่พอเก็บแม้แต่แค่จอบเสียม ป้าจึงนึกถึงบ้านเรือนไทยของพ่อกับแม่ ซึ่งท่านอาศัยอยู่ในปัจจุบันนั้น ใคร่จะไปขอท่านมา ให้เป็นอาคารอเนกประสงค์ในการก่อสร้าง ให้เป็นทั้งที่พักอาศัย ทั้งผู้ที่อยู่ประจำและผู้มาเยี่ยมเยียน เป็นที่เก็บเครื่องมือ เป็นครัว ฯลฯ ป้าจึงคิดชวนน้องชาย ซึ่งขณะนั้นรับราชการกรมป่าไม้อยู่จังหวัดชลบุรี ไปขอบ้านของพ่อแม่ คิดว่าถ้าตนไปขอคนเดียว ท่านทั้งสองอาจลังเล แต่ถ้าร่วมใจกันทั้งพี่ทั้งน้องคงสำเร็จ

ดังนั้น พอน้องมาเยี่ยม ป้าก็ปรึกษาด้วยว่า " ที่ท้องนาสร้างวัดน่ะ ไม่มีที่เก็บของใช้ ขโมยชุกมาก พวกเราเองก็เริ่มไปอยู่กันหลายคน พี่คิดว่าต้องมีที่พักหลังใหญ่หน่อย ทั้งอาศัยอยู่ทั้งเก็บของ แต่เราก็รู้กันอยู่ เรามีเงินจำกัดเต็มที แค่เงินค่าจ้างคนงานขุดดิน ก็ต้องรอวันอาทิตย์ คุณยายฯ จึงรวบรวมให้แต่ละอาทิตย์ ได้เงินมาก็พอแต่ค่าจ้างขุดดิน ไม่เหลือเฟือให้ทำอย่างอื่น เราจะเอาเงินที่ไหนมาสร้างบ้านพักเพิ่มได้ล่ะ เรื่องบ้านพักและที่เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเนี่ย จะทำแบบกางเต้นท์ไม่ได้แน่ ท้องนาลมแรงจัด เดี๋ยวก็ปลิวไปหมด ต้องสร้างแน่นหนาเป็นบ้านนั่นแหละ เมื่อเงินไม่มียังงี้ พี่ว่าเราสองคนไปขอบ้านของพ่อแม่ มาทำบุญสร้างวัดซะเลยดีมั้ย "

น้องก็พูดว่า " แหม มันก็ไม่ใช่บ้านที่ทิ้งขว้างแล้วนะพี่ เป็นบ้านที่พ่อแม่กำลังอาศัยอยู่ ขอมาแล้ว ท่านก็ไม่มีที่อยู่ ท่านจะให้เรารึเปล่า "

ป้าก็บอกว่า " พ่อกับแม่รักเราสองคนมากนะ ถ้าเราช่วยกันขอ ท่านคงยอม จะได้เป็นบุญติดตัวท่านไปในเบื้องหน้า " พูดถึงเรื่องบุญ น้องชายก็เห็นด้วย จึงตกลงพากันไปขอบ้านมาทำวัด บ้านพ่อแมของป้าเป็นเรือนไทยสองหลังแฝด (ปัจจุบันอยู่ที่ลานกัลปพฤกษ์ ธุดงคสถานของวัด) มีอายุนานเท่าอายุของป้า ตอนก่อนป้าเกิด พ่อกับแม่ปลูกกระท่อมไม้ไผ่อยู่ พอท่านคลอดป้าออกมาแล้ว คิดกันว่าอยากให้ลูกมีที่วิ่งเล่น จึงคิดสร้างบ้าน สมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายห้ามตัดไม้ พ่อของป้าชวนเพื่อนรักอีก ๒ คนเดินทางเข้าป่าไปราว ๓ วัน ถึงป้าจอมบึง จังหวัดราชบุรี เลือกหาต้นไม้ทำเสาและกระดานพื้นบ้าน ตัดแล้วทำแพลอยมาในฤดูน้ำหลาก จนออกปากคลองถึงแม่น้ำกลอง จ้างเรือยนต์ลากจูงขึ้นมา ราว ๑ กม. ก็ถึงหมู่บ้านที่อยู่ จ้างคนเลื่อยทำแผ่นกระดาน พ่อเล่าว่า ท่านกับเพื่อนต้องลอยคออยู่ในน้ำ ลากแพกันมาเป็นหลายวัน ส่วนแม่ของป้าก็ขายเครื่องประดับทองคำ หมดทุกชิ้น เป็นทองคำหนักราว ๔๐ บาท ให้เป็นค่าจ้างคนจีนชาใไหหลำ ปลูกเป็นบ้านเรือนไทย ฝาบ้านเป็นกระดานไม่สัก พื้นบ้านเป็นกระดานไม้แดง มีนอกชานกว้าง แถมด้วยครัวหลังเล็กอีกหนึ่งหลัง

คำบอกเล่าพิเศษที่พ่อบอกกับหลวงพ่อเจ้าอาวาส เมื่อวันทำบุญเลี้ยงพระสมภาร ๙ วัดในโอกาสยกบ้านให้ มีว่า " ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นยังไงครับ เมื่อครั้งสร้างบ้านนั่น มันมีความรู้สึกบอกตนเองว่า บ้านนี้ต่อไปภายหน้า ไม่ได้อยู่ตรงที่ปลูกนี้หรอก จะต้องรื้อไปปลูกที่อื่น แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นที่ไหน ผมเลยบอกช่างว่า อย่าใช้ตะปูตอกบ้านของผม แม้แต่ตัวเดียว ให้ใช้ไม้ทำลูกสลักสอดไว้ แทนตะปู เมื่อไหร่ต้องย้ายบ้าน เนื้อไม้จะได้ไม่เสียหาย เพียงถอดลูกสลักออก ก็รื้อออกได้เป็นชิ้นๆ แล้วนำไปประกอบขึ้นไหม่ก็เป็นอันเสร็จ "

เมื่อป้ากับน้องชายพูดขอบ้านสองหลังของพ่อแม่ มาใช้สร้างวัดนั้น ท่านทั้งสองปรึกษากันไม่นาน ก็ออกปากยกให้ ป้าสงสัยมาก จึงถามว่า " บ้านสองหลังนี้ พ่อกับแม่รักมันมากสร้างมากับมือ และก็เป็นบ้านหลังที่กำลังอาศัยอยู่ ไม่มีที่อื่นอีก เงินจะซื้อบ้านใหม่ก็ไม่มี ให้ไปแล้วก็คงต้องอาศัยครัวหลังเล็ก และนอกชานผุๆ อยู่ พ่อกับแม่ไม่เสียดายจริงๆ นะคะ "

ท่านทั้งสองตอบว่า " เห็นลูกสองคมีศรัทธา ในการสร้างวัดมาก ถึงแม้พ่อกับแม่จะรักบ้านนี้แค่ไหน แต่ก็ไม่มากเท่าความรักที่มีต่อลูก จึงได้ตัดใจยกให้ อีกอย่างก็คิดกันว่า บ้านมีแค่สองหลังแต่ลูกมีถึง ๓ คน ไม่รู้จะแบ่งกันยังไง ให้วัดก็ตัดปัญหาไป แล้วก็คงเป็นบุญติดตัวพ่อแม่ไปชาติหน้า อย่างที่หนูใหญ่บอกนั่นแหละ "

ขอบ้านได้แล้ว เราก็ยังไม่ได้ทำการรื้อย้ายในทันที เพราะยังไม่มีรถขนและค่ารื้อถอนรวมทั้งค่าติดตั้งปลูกขึ้นใหม่ จึงได้รอไว้ ที่ท้องนาก็ใช้เพิง มุงด้วยใบมะพร้าวชั่วคราวพอคลสยร้อนจากแสงแดดไปก่อน จนอีกปีเศษต่อมา แม่ของป้าพอมีเงินเหลือ จากค่าเช่านา จึงจ้างช่างรื้อและนำมาปลูกให้ที่ท้องนา โดยควบคุมการรื้อและปลูกใหม่ด้วยตนเองทั้งหมด ยิ่งมาเห็นบ้านของท่าน ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ ทั้งพักอาศัย เก็บเครื่องใช้ ใต้ถุนได้ใช้ทำครัว ท่านยิ่งปลื้มใจมีศรัทธาเต็มเปี่ยม เป็นการทำมหาทานครั้งสุดท้าย จากนั้นอีกครึ่งปีก็ถึงแก่กรรม ผลบุญจากการถวายบ้าน ทำให้แม่ไปเกิดเป็นเทพธิดาในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์

ก่อนรื้อบ้านมาปลูก พ่อกับแม่ป้าทำบุญเลี้ยงพระฉลอง หลวงพ่อเจ้าอาวาส ได้ไปร่วมพิธีด้วย ขณะที่พระภิกษุทั้ง ๙ รูปกำลังสวดมนต์ก่อนฉันภัตตาหารอยู่นั่นเอง ได้มีหนูตัวหนึ่งวิ่งช้าๆ ขึ้นมาทางบันไดบ้าน ไม่วิ่งไปทางพระภิกษุรูปอื่น วิ่งตรงมาใกล้ๆ หัวเข่าหลวงพ่อฯ ป้าเห็นหลวงพ่อฯ หลับตาสักครู่หนึ่ง ป้าก็มองหาหนูไม่พบ ไม่รู้หายไปไหน ทั้งที่บ้านก็ไม่มีอะไรรกให้หลบได้ หลังสวดมนต์เสร็จหลวงพ่อฯ ถามป้าว่า " พี่หวิน แถวนี้มีใครเป็นผู้หญิงกลางคน ตายตอนนี้บ้างมั้ย "

ป้าหันไปถามพ่อกับแม่ ได้รับคำตอบว่า " มีอยู่ เพิ่งตายเมื่อเย็นวานนี้เอง เมื่อคืนก็นิมนต์พระสวด คงจะสวดต่ออีก ๔ คืน " ป้าเก็บความสงสัยไว้ ได้โอกาสจึงนมัสการถามหลวงพ่อฯ ท่านอธิบายให้ป้าฟังว่า หนูตัวนั้นไม่ใช่หนูธรรมดา กายละเอียดคือผู้หญิงคนนั้น เป็นคนมีอันจะกิน แต่ไม่ได้ทำบุญอะไรไว้ พอตายลงศพยังไม่ทันออกจากบ้าน พวกลูก๐ ก็ทะเลาะแย่งสมบัติกัน ผู้ตายเองเกิดเป็นเปรตหนู อยากได้บุญ จึงวิ่งมาขอส่วนบุญ

ป้าฟังแล้วรู้สึกสงสารเปรตหนูตัวนั้นมาก มิน่าเล่าคนอยู่ออกเต็มบ้าน มันไม่กลัวคนเหมือนหนูธรรมดาทั่วไปเลย มันวิ่งช้าๆ ผ่านคนหลายคน และเฉพาะเจาะจงมาขอบุญจากพระภิกษุ ที่รู้ว่าเป็นพระปฏิบัติมีบุญมาก

ป้าได้เล่าเรื่องหนูให้แม่ฟัง แม่ยืนยันว่าที่หลวงพ่อฯ บอกนั้นเป็นความจริง และยืนยัน คนตายเป็นคนรวยในหมู่บ้านนั้น และลูกก็แย่งสมบัติกัน ดังคำที่หลวงพ่อพูดไว้ทุกประการ ป้าจึงพูดให้แม่ดีใจว่า แม่ของป้าไม่ได้ตระหนี่เหมือนคนนั้น แม่ " รื้อรัง " ถวายวัดเป็นบุญใหญ่ เท่ากับสร้างวิมานไว้ก่อนตาย ตายแล้วจะได้เป็นนางฟ้าอยู่สวรรค์ ขอให้แม่ภูมิใจในการบริจาคตลอดไป นึกถึงบุญนี้บ่อยๆ แม่จะได้บุญเพิ่มทุกครั้งที่นึก

ป้าพูดกับแม่อย่างนี้ เพราะนึกถึงว่า การทำทาน ถ้าจะให้มีอานิสงห์มาก ต้องทำด้วยเจตนาบริบูรณ์ทั้ง ๓ เวลา คือก่อนทำ กำลังทำ และภายหลังทำไปแล้ว การตามนึกถึงบุญที่ทำไว้แล้ว เรียกว่า อปราปรเจตนา บุญเกิดได้ใหม่อีก เพราะมีกุศลจิต

การทำบุญสิ่งใด ถ้าเจตนาไม่ครบทั้งสามกาล บุญที่เกิดขึ้นก็ลดลงไปตามส่วน เช่นเราจะทำทานด้วยการใส่บาตร ไม่มีเวลาเตรียมสิ่งขิงด้วยตนเอง มีคนอื่นตระเตรียมไว้ให้พร้อมคนเตรียมได้บุญส่วนที่เป็น ปุพพเจตนา คือเจตนาก่อนทำ ไปเรียบร้อยแล้ว คนใส่บาตร จึงได้บุญเฉพาะที่เป็นบุญจเจตนา เจตนาขณะลงมือทำ ส่วนใครตามนึกถึงบุญที่ทำไว้แล้วภายหลังอยู่อีก ผู้นั้นก็ย่อมได้บุญส่วนที่เป็น อปราปรเจตนา เจตนาที่ตามมาในภายหลัง

ดังนั้นใครก็ตามต้องการได้บุญเต็มที่ ต้องขวนขวายทำบุญให้ครบทั้ง ๓ กาล นอกจากนั้นถ้าเป็นเรื่องทำทาน ก็ต้องถือหลักอื่นอีก ๓ ประการ ประกอบด้วย จึงจะได้ผลบุญเป็นมหาศาลคือ

ต้องมีผู้รับทาน ที่มีความบริสุทธิ์ เช่นผู้ทรงศีล จะเป็นศีลห้า ศีลแปด ศีล ๒๒๗ อย่างใดก็ได้ ต้องมีผู้ให้ทานเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย คืออยู่ในศีล ในธรรม มีความประพฤติดี และท้ายที่สุด ของที่นำมาทำทาน ต้องเป็นของที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ เช่นได้มาจากสัมมาชีพต่างๆ ไม่ใช่สิ่งของที่ได้มาจากความทุจริต

เมื่อทำทานครบหลัก ๔ ประการดังกล่าวไว้นี้แล้ว ถือว่าเป็นการทำทาน ที่จะให้ผลเป็นจำนวนมากเป็นพิเศษ ส่วนที่ทำทานแล้ว จะให้ได้ผลบุญทันตาเห็น ภายใน ๗ วัน ผู้รับ ต้องเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ

เพราะฉะนั้นการทำทานทุกครั้ง จึงใคร่ครวญ เพราะวัตถุเป็นของหายาก กว่าจะหาเงินมาซื้อหาได้ ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก จึงต้องเลือกบริจาค ไม่ใช่ดูเพียงว่า ให้ผู้รับ เป็นผู้ขาดแคลนเท่านั้นก็พอ ถ้าคิดเพียงเท่านี้แล้ว อาจเป็นการทำบุญที่ขาดทุน คือไปสนับสนุนให้ผู้รับ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลยทำให้เกียจคร้าน



Create Date : 23 เมษายน 2551
Last Update : 23 เมษายน 2551 11:14:04 น. 0 comments
Counter : 1103 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.