พูดคุยกับลูกในเรื่องเพศ
พูดคุยกับลูกในเรื่องเพศ

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



เรื่อง เพศเป็นปัญหาที่พ่อแม่ค่อนข้างหนักใจและกังวลว่าลูกจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะ สมกับวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น วัยที่กำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว

พ่อแม่ จึงมีหน้าที่ต้องสื่อสารให้ลูกเข้าใจว่า เรื่องเพศไม่ใช่เพียงเรื่องบนเตียง หรือการมีเพศสัมพันธ์ แต่สิ่งสำคัญคือการมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งในด้านการแสดงออกทางเพศ การปฏิบัติต่อเพศตรงข้าม โดยควรเน้นให้ลูกชายเคารพศักดิ์ศรีของเพศหญิงไม่เอารัดเอาเปรียบ ทำร้ายทารุณ ส่วนลูกสาวเน้นให้เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของตน รวมถึงสิทธิและการป้องกันภัยทางเพศที่อาจเกิดขึ้น

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญและสื่อสารให้ลูกเข้าใจและมีทัศนคติที่เหมาะสมเพื่อเป็นรากฐานที่ดีให้กับลูก

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREEyTURFMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdNUzB3Tmc9PQ==



Create Date : 06 มกราคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:41:39 น.
Counter : 445 Pageviews.

0 comment
เมื่อพี่อิจฉาน้อง
เมื่อพี่อิจฉาน้อง

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



หลาย ครอบครัวอาจประสบกับปัญหากับลูกเมื่อครอบครัวกำลังมีเจ้าตัวน้อยมาเป็น สมาชิกใหม่ โดยเจ้าคนโตมักไม่เข้าใจเกิดความอิจฉาและคิดว่าน้องมาแย่งสิ่งต่างๆ ไปจากตน

เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นพ่อแม่ควรเข้าใจว่าการที่พี่อิจฉาน้องใหม่ของครอบ ครัวนั้น เป็นเรื่องปกติ และพบได้ในเด็กอายุ 1-3 ปี เนื่องจากเขาเคยเป็นที่หนึ่งมาตลอด เคยได้รับความสนใจจากพ่อแม่เต็มร้อย แต่เมื่อมีน้อง พ่อแม่ต้องแบ่งเวลาเลี้ยงน้องซึ่งเล็กกว่าและยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ทำให้ความสนใจและเวลาที่เคยได้จากพ่อแม่ลดลง ลูกจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะเรียกความสนใจให้กลับมาดังเดิม ซึ่งอาจแสดงพฤติกรรมเรียกร้องให้แม่กอด ให้อุ้มมากขึ้น เรียกร้องให้พ่อแม่เล่นหรือให้เวลากับเขามากขึ้น หรือบางรายอาจแสดงพฤติกรรมถดถอย กลับไปเป็นเหมือนเด็กเล็กๆ เช่น ฉี่ราดโดยไม่ยอมบอก ดูดนิ้ว ติดขวดนม หลังจากที่เลิกได้แล้ว หรืออาจก้าวร้าวมากขึ้น แกล้งน้องแรงๆ พฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถป้องกันได้หากพ่อแม่เข้าใจและให้เวลากับลูกคนโตบ้าง

การมีน้องใหม่จะไม่ใช่เรื่องวุ่น หากพ่อแม่มีการเตรียมพร้อมที่ดี ให้ลูกได้มีส่วนร่วมและรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น

ให้เวลา และความเข้าใจแก่ลูกเพื่อให้ลูกเติบโตเป็นพี่ใหญ่ที่น่ารักของทุกคนในบ้าน

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREU1TVRJMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB4T1E9PQ==



Create Date : 19 ธันวาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:39:41 น.
Counter : 520 Pageviews.

2 comment
สร้างความไว้วางใจ
สร้างความไว้วางใจ

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีความคิดอ่านเป็นของตนเอง และรู้สึกว่าตนเองโตแล้ว สามารถรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ได้ดีพอ ดังนั้นวัยรุ่นส่วนใหญ่จึงต้องการให้พ่อแม่ไว้วางใจ เชื่อใจ และให้อิสระแก่ตนเอง

การทำให้พ่อแม่เชื่อใจไว้วางใจ และเข้าใจได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเราที่แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเรา มีความรับผิดชอบ น่าเชื่อถือและสามารถดูแลตนเองได้เช่น

- หากอยากมีอิสระก็ต้องรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองให้เรียบร้อยเช่น อยากไปเที่ยวก็ต้องทำงานบ้านให้เสร็จเสียก่อน

- หากต้องการสิ่งใดก็ควรพูดคุยสื่อสารกับพ่อแม่ให้เข้าใจ อย่าคิดว่าพ่อแม่จะเข้าใจได้เองเพราะวัยและยุคสมัยแตกต่างกัน

- หากมีเรื่องขัดแย้งกับพ่อแม่ไม่ควรแก้ปัญหาโดยวิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่นหนีออกจากบ้าน ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติด แต่ควรหาเพื่อน หรือผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจเพื่อพูดคุยปรึกษา

สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางเบื้องต้นที่แสดงให้พ่อแม่เห็นว่าเราเติบโตขึ้นและมี ความรับผิดชอบในระดับหนึ่งที่พ่อแม่สามารถเชื่อใจและวางใจในตัวเรา ที่สำคัญวัยรุ่นควรเข้าใจว่าที่พ่อแม่จุกจิกจู้จี้ กับเราก็เพราะรักและห่วงใยในตัวเรานั้นเอง

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREUzTVRJMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB4Tnc9PQ==



Create Date : 17 ธันวาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:39:32 น.
Counter : 431 Pageviews.

0 comment
ข้อควรระวังในการเลี้ยงลูก
ข้อควรระวังในการเลี้ยงลูก

สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์ /กรมสุขภาพจิต



การเลี้ยงลูกพ่อแม่ควรระมัดระวังและคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

- การเปรียบเทียบลูก การที่พ่อแม่อาจเปรียบเทียบลูกกับเด็กอื่น หรือเปรียบเทียบกันเองในหมู่พี่น้อง สิ่งเหล่านี้จะสร้างปมด้อยและความรู้สึกด้านลบให้กับลูก และพัฒนาความรู้สึกอิจฉาให้เกิดขึ้น จงระลึกไว้เสมอว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งความสามารถ ความชอบ พื้นฐานนิสัยใจคอ รวมถึงการอบรมเลี้ยงดู

- การตามใจลูกหรือทะนุถนอมลูกมากเกินไป พ่อ แม่บางคนแสดงความรักลูกด้วยการตามใจ พยายามทำทุกสิ่งกับลูก ไม่ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง ลูกต้องการอะไรรีบทำรีบหามาให้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกทำอะไรเองไม่เป็น พึ่งตนเองไม่ได้ เอาแต่ใจและเข้ากับคนอื่นได้ยาก

- การลงโทษลูกอย่างรุนแรงเช่น ดุด่าหรือตีอย่างรุนแรง ขังไว้คนเดียวในห้อง ทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก ไม่กล้าเข้าหา ไม่กล้าพูดคุยปรึกษา อาจหาทางออกผิดๆ เช่นหนีออกจากบ้าน พาลเกเร คบเพื่อนไม่ดี ติดยา

- การให้สิ่งของทดแทน พ่อ แม่บางคนคิดว่าการให้สิ่งของแก่ลูกสามารถทดแทนเวลาและความรักได้ ทั้งที่จริงแล้วสิ่งที่ลูกต้องการ คือ เวลา การเอาใจใส่ใกล้ชิด การโอบกอด พูดคุย จากพ่อแม่ มิใช่สิ่งของเงินทอง ที่สำคัญเด็กที่ได้รับแต่สิ่งของทดแทนความรักมักเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ด้วยวิธีต่างๆ ต้องการสิ่งของจากพ่อแม่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เห็นคุณค่าของสิ่งของ ความรักและคุณค่าของคน

สิ่งเหล่านี้เป็นข้อควรระวังสำหรับพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูก เพราะ การดูแลของพ่อแม่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการเติบโตของลูก

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNakV4TVRJMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB4TVE9PQ==



Create Date : 11 ธันวาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:39:23 น.
Counter : 424 Pageviews.

1 comment
บทบาทความเป็นพ่อ
บทบาทความเป็นพ่อ

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



ธันวาคม เดือนสำคัญสำหรับพ่อ เดือนที่ให้เราหวนรำลึกถึงพระคุณและความสำคัญของผู้เป็นพ่อ สำหรับพ่อหลายท่านที่อาจรู้สึกไม่ค่อยสนิทกับลูก หรือลูกๆ ไม่ค่อยกล้าเข้าหา อาจด้วยบทบาทหน้าที่ ที่ทำให้ไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับลูก หรือบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่อาจดูน่าเกรงขามสำหรับลูก

จึงอาจทำให้คุณพ่อบางท่านรู้สึกห่างหรือไม่ค่อยสนิทสนมกับลูกเท่ากับแม่ที่ คอยดูแลรู้จักลูกอย่างใกล้ชิด ดังนั้นวันนี้คุณพ่อทั้งหลายลองมาดูบทบาทของพ่อยุคใหม่ที่ลูกปรารถนา

- พ่อที่ทำหน้าที่ของพ่อด้วยความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข คอยปกป้องคุ้มกันภัย ให้ความรู้สึกอบอุ่นมั่นคงปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

- พ่อที่พร้อมช่วยลูกเสมอ เป็นพ่อที่ลูกสามารถเข้าหาใกล้ชิดได้ตลอดเวลาไม่ต้องหวั่นเกรงสิ่งใด พร้อมจะให้กำลังใจ คำปรึกษา แก่ลูก ช่วยสอนการบ้าน แก้ปัญหาต่างๆ สนับสนุนให้ลูกกล้าที่จะเผชิญปัญหาหรืออุปสรรคที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่

- พ่อที่มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี มีเวลาให้กับลูก ทำตัวสนิทสนมเล่นกับลูก แสดงความรักห่วงใยและชมเชยลูกอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งเหล่านี้คือบทบาทของพ่อที่จะช่วยให้ลูกกล้าที่จะเข้าหาใกล้ชิดปรึกษาพูด คุย ได้อย่างสะดวกใจ เพราะลูกจะรู้สึกถึงความมั่นคงอบอุ่น และมั่นใจว่าพ่อสามารถช่วยเขาได้ด้วยความเต็มใจ

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREExTVRJMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB3TlE9PQ==



Create Date : 05 ธันวาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:39:15 น.
Counter : 429 Pageviews.

2 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend