การสื่อสารสิ่งสำคัญของครอบครัว
การสื่อสารสิ่งสำคัญของครอบครัว

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตในสังคม เพราะการสื่อสารเป็นการใช้ภาษาพูด หรือภาษาท่าทางเพื่อแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจถึงความคิด ความรู้สึกและความต้องการทั้งของตัวเรา และช่วยให้เราสามารถเข้าใจผู้อื่นด้วยเช่นกัน

การสื่อสารในครอบครัวเป็นการสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญ ยิ่งในสามีภรรยาการสื่อสารช่วยให้ชีวิตคู่มีความเข้าใจกันมากขึ้น แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าบางครอบครัวสื่อสารกันน้อยมาก ยิ่งอยู่กันนานยิ่งสื่อสารน้อยลง เพราะมักคิดเอาเองว่าน่าจะรู้อยู่แล้ว

ทั้งที่จริงๆ แล้วแม้คนเราจะอยู่ด้วยกันมานานแค่ไหน ก็ไม่มีใครรู้จักรู้ใจใครไปเสียทุกเรื่อง การพูดคุยสื่อสารกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้คนในครอบครัวเกิดความเข้าใจ ที่ตรงกัน ไม่แปลความหมายผิดๆ และไม่คิดไปเองจนเกิดความห่างเหินขึ้นในครอบครัว

ดังนั้นจงสื่อสารให้คนในครอบครัวรู้ถึงความรักความห่วงใยที่มีให้ต่อกัน ไม่ว่าจะโดยคำพูด การบอกรัก การชื่นชมกัน หรือใช้ภาษาท่าทาง เช่น การสัมผัส จับมือ โอบกอด เพื่อแสดงความห่วงใยซึ่งกันและกัน นอกจากนี้หากเกิดปัญหาหรือความขัดแย้ง การสื่อสารถึงความต้องการ ความคิดเห็น การแก้ปัญหา หรือการขอความช่วยเหลือก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน

การสื่อสารที่ดี ที่เหมาะสม ให้เกียรติซึ่งกันและกัน จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ ความผูกพันเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREExTURjMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOeTB3TlE9PQ==



Create Date : 05 กรกฎาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:33:00 น.
Counter : 586 Pageviews.

0 comment
วัยรุ่นกับความรับผิดชอบ
คอลัมน์ สดจิตวิทยา



การ ฝึกให้ลูกมีระเบียบวินัยหรือความรับผิดชอบนั้น อันที่จริงแล้วควรที่จะฝึกตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยฝึกให้ลูกรับผิดชอบตนเองตามพัฒนาการ ความสามารถของลูก สำหรับการฝึกระเบียบวินัยให้ลูกในวัยรุ่นนั้น พ่อแม่ควรเข้าใจธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงของวัยนี้ นั้นคือ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องการอิสระ ต้องการการยอมรับ มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ชอบการบังคับ เป็นวัยที่เริ่มรู้สึกต่อต้านคำสั่ง ดังนั้น การฝึกวินัยให้กับลูกในวัยนี้ด้วยการกำหนดทุกอย่างที่เขาควรทำคงไม่ใช่วิธี การที่ดีนัก เพราะการทำเช่นนั้น ลูกจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับ จึงอาจเกิดพฤติกรรมต่อต้านขึ้น

ดังนั้น การสร้างระเบียบวินัยให้กับลูกวัยรุ่น พ่อแม่ควรที่จะวางแผนการร่วมกับลูก ให้ลูกมีส่วนร่วม โดยพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางออกร่วมกัน ให้ลูกได้คิดได้ตัดสินใจด้วยตนเองโดยพ่อแม่คอยแนะแนวทางหรือเพิ่มทางเลือก ให้กับลูก ที่สำคัญพ่อแม่ควรรับฟังและเคารพในการตัดสินใจของลูก

การ ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นแนวทางที่ช่วยให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ ยอมรับในตัวเขาและข้อตกลงที่ตั้งไว้ก็มาจากความคิดของเขาเอง ลูกจึงให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนตนเองได้ง่ายขึ้น

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREF4TURjMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOeTB3TVE9PQ==



Create Date : 01 กรกฎาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:32:51 น.
Counter : 555 Pageviews.

0 comment
เทคนิคการดูแลลูกในวัยรุ่น
เทคนิคการดูแลลูกในวัยรุ่น

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อ แม่ที่มีลูกในวัยรุ่นวัยใส คงรู้สึกกังวลใจในการเลี้ยงดูลูกวัยนี้ ด้วยวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในบางครั้งจึงทำให้อารมณ์และพฤติกรรมของลูกวัยนี้เปลี่ยนแปลงไป

พ่อแม่หลายคนจึงพยายามสรรหาแนวทางการดูแลเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งสามารถทำได้โดย

- รับฟังความคิดเห็นของลูก พ่อแม่ควรมองโลกในแง่ดี รับฟังลูกด้วยความเข้าใจ หาข้อดีในความคิดและเหตุผล เคารพในการตัดสินใจของลูก

- ส่งเสริมให้ลูกรู้จักคิด ตัดสินใจ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้กำลังใจ ชื่นชม ในความคิดและพฤติกรรมที่ดีของลูก

- หลีกเลี่ยงการบังคับ แต่ให้ใช้การพูดคุย เสนอทางเลือก แนวคิดให้ลูกได้พิจารณา ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการคิดการตัดสินใจ

- เปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกฝน ทดลอง หรือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองในขอบเขตที่เหมาะสม โดยพ่อแม่เฝ้าดู และอยู่เคียงข้างเมื่อลูกต้องการ

- ให้โอกาสลูก เมื่อลูกทำผิดพลาดไม่ควรซ้ำเติม แต่ควรให้โอกาส ให้อภัย ยอมรับในข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และเป็นกำลังใจให้ลูกได้แก้ไขปรับปรุงตนเอง

แนวทางเหล่านี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พ่อแม่สามารถนำไปใช้กับลูกในวัยรุ่น หาเทคนิคและวิธีการให้เหมาะสมกับลูก ร่วมเรียนรู้ และพัฒนาลูกภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่น มีความรัก ความเข้าใจ ให้โอกาสลูกได้คิดได้ฝึกฝนด้วยตนเอง เพื่อให้ลูกในวัยรุ่นสามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREk0TURZMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOaTB5T0E9PQ==



Create Date : 28 มิถุนายน 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:32:44 น.
Counter : 419 Pageviews.

2 comment
จุดเริ่มต้นของชีวิต
จุดเริ่มต้นของชีวิต

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



วัยเด็กเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นวัยแห่งการสร้างบุคลิกภาพ อารมณ์ และวางรากฐานที่สำคัญของชีวิต

ครอบครัวจึงมีความสำคัญในการวางรากฐานให้กับลูกในวัยเด็กเป็นอย่างมาก เพราะในวัยต้นแห่งชีวิตเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน และพ่อแม่เป็นบุคคลที่เด็กต้องการใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุด

พ่อแม่จึงเป็นบุคคลสำคัญ ที่จะวางรากฐานพัฒนาลูก ในวัยเริ่มต้นแห่งชีวิต ความรักความเข้าใจเป็นพื้นฐานสำคัญที่พ่อแม่ควรให้กับลูก โดยครอบครัวใดที่มีความผูกพันเข้าใจกัน มีการพูดคุย โอบกอด อุ้มชู หยอกล้อ เล่นกับลูก อย่างใกล้ชิดช่วยให้บรรยากาศในบ้านน่าอยู่ อบอุ่น น่าเรียนรู้ ลูกจะมีสุขภาพจิตที่ดี มีจิตใจพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จึงทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม นอกจากนี้ยังช่วยให้พ่อแม่รู้จักและเข้าใจในอุปนิสัยความชอบของลูกได้ จึงช่วยให้พ่อแม่สามารถพัฒนาและตอบสนองลูกได้อย่างถูกทางเหมาะสมกับตัวของ ลูก

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวช่วยให้ พ่อแม่ ลูกมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง ลูกจะมีความมั่นใจในตัวพ่อแม่ว่าสามารถให้ดูแลให้ความรัก ความเข้าใจแก่เขาได้ ลูกจึงไว้วางใจและพัฒนาตนเองด้วยความมั่นใจตามศักยภาพของตน

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREkzTURZMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOaTB5Tnc9PQ==



Create Date : 27 มิถุนายน 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:32:35 น.
Counter : 468 Pageviews.

0 comment
สอนให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง
สอนให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อ แม่หลายคนคงเคยประสบปัญหาลูกไม่ค่อยยอมทำอะไรด้วยตนเองอยากได้อะไรก็เอาแต่ เรียกร้องให้พ่อแม่ทำให้ หรือเอาแต่งอแงไม่ยอมทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยตนเอง

การฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเองได้ตามพัฒนาการของลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็น แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพ่อแม่ควรฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเองตั้งแต่ลูกยังเล็กตามพัฒนาการของลูก อย่ามัวแต่คิดว่าลูกยังเล็กเกินไป โดยแนวทางที่พ่อแม่ควรทำคือ

- ทำข้อตกลงร่วมกันถึงกิจวัตรต่างๆ ที่ลูกต้องการทำในแต่ละวัน โดยพูดคุยตกลงร่วมกันกับลูกว่าอะไรที่ลูกต้องทำเอง เวลาใด และให้โอกาสลูกได้เลือกกำหนดเวลาแนวทางหรือตัดสินใจด้วยตนเอง

- ช่วงแรกพ่อแม่อาจเตือนลูกล่วงหน้าว่าเหลือเวลาเท่าไร ที่ลูกต้องหยุดเล่นหรือกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อไปทำหน้าที่หรือกิจวัตรที่ตกลง กันไว้ เพื่อให้โอกาสลูกได้เตรียมตัวเตรียมใจ

- เมื่อถึงเวลาที่กำหนดหลังจากได้เตือนลูกแล้ว หากลูกยังไม่ยอมหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ ให้ชวนลูกเก็บของเล่นหรือปิดทีวีด้วยคำพูดเรียบๆ แต่จริงจังว่าถึงเวลาแล้วที่ลูกต้องไปทำ..แล้วจูงมือหรืออุ้มลูกออกจากสิ่ง ที่ลูกทำอยู่

- ชมเชยเมื่อลูกทำตามข้อตกลงแม้แรกๆ เขาจะยังอิดออดหรือไม่เต็มใจ

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREkyTURZMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdOaTB5Tmc9PQ==



Create Date : 26 มิถุนายน 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:32:28 น.
Counter : 571 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend