ปลูกฝังความมีน้ำใจ
ปลูกฝังความมีน้ำใจ

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



ในสังคมยุคที่มีการแก่งแย่งแข่งขันเช่นในปัจจุบัน ผู้คนต่างคนต่างอยู่ น้ำใจดูจะหายากขึ้น ทั้งที่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนมีความเอื้ออาทร มีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยให้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การ ปลูกฝังให้ลูกรู้จักช่วยเหลือแบ่งปันและมีน้ำใจจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อ แม่ควรให้ความสำคัญ เพราะช่วยให้ลูกสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น การสอนให้ลูกรู้จักการแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น อาจเริ่มจากขณะที่พ่อแม่ทำงานบ้านก็ให้ลูกมานั่งเล่นอยู่ใกล้ๆ เพื่อลูกจะได้เรียนรู้ เลียนแบบ และอยากที่จะช่วยทำ ซึ่งพ่อแม่ควรให้โอกาสลูกได้ลองทำ แม้จะไม่เรียบร้อยหรือพ่อแม่ต้องเสียเวลาทำซ้ำอีกครั้ง เพราะนอกจากเป็น การฝึกให้ลูกมีน้ำใจแล้ว ยังช่วยให้ลูกสามารถพึ่งพาตนเองได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การที่พ่อแม่แสดงความมีน้ำใจต่อกัน รู้จักแสดงความขอบคุณ ขอโทษต่อกันก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นแบบอย่างอันดีให้กับลูก

น้ำใจ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่มีคุณค่าต่อการใช้ชีวิตในสังคม หากคนเรามีน้ำใจให้แก่กัน ช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน สังคมก็จะมีความสุขด้วยน้ำใจของผู้คน

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREkyTURVMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB5Tmc9PQ==



Create Date : 26 พฤษภาคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:52:10 น.
Counter : 452 Pageviews.

1 comment
อดทนและรอคอย
อดทนและรอคอย

สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต



พ่อแม่ทุกคนคงอยากเห็นลูกของตนเป็นเด็กที่เข้าใจเหตุผล รู้จักที่จะรอคอย ไม่ใช่เอาแต่ใจตนเองและต้องได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ

การ สอนให้ลูกมีความอดทน รู้จักการรอคอย รับฟังเหตุผล และควบคุมอารมณ์ของตนได้อย่างเหมาะสมกับวัยของลูกนั้น พ่อแม่สามารถเริ่มได้โดยใช้คำพูดจูงใจง่ายๆ เช่น ทานข้าวให้หมดก่อนแล้วค่อยทานขนม หรือหากพ่อแม่ยังทำงานไม่เสร็จอาจบอกให้ลูกรอโดยหาของเล่นให้ลูกเล่นเพื่อ ความเพลิดเพลินขณะรอ แต่หากลูกออกฤทธิ์ หรือกรีดร้อง ไม่ควรตีหรือแสดงอาการโกรธเกรี้ยวแต่ควรดึงความสนใจของลูกไปยังสิ่งอื่น หรือเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ลูกแสดงออก และให้คำชมเชยหรือให้ความสนใจกับลูกเมื่อลูกสามารถอดทนรอหรือควบคุมตนเองได้ อย่างเหมาะสม

การที่ลูกรู้จักอดทนรอคอยจะช่วยให้ลูกพัฒนาไปสู่ความมีเหตุผล ไม่เอาแต่ใจตนเอง รู้จักคิด และเข้าใจผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNakkxTURVMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB5TlE9PQ==



Create Date : 25 พฤษภาคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:52:00 น.
Counter : 443 Pageviews.

0 comment
ทางแก้เด็กติดเทคโนโลยี
ทางแก้เด็กติดเทคโนโลยี

เก็บเรื่องมาเล่า

ชนา ชลาศัย




ปัญหา เด็กติดเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเกม โทรศัพท์ หรืออื่นๆ ทางแก้ควรเริ่มต้นที่ครอบครัว จากรายงานของ "ทรายกุศล" นิตยสาร "รักลูก" เดือนพ.ค. เก็บความจากคำแนะนำของกรมสุขภาพจิต และศูนย์เฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี มูลนิธิกระจกเงา ให้คำแนะนำดังนี้

1.กำหนดเวลาให้ลูก

เด็ก วัย 3 ขวบเป็นช่วงเวลาที่เริ่มรับเทคโนโลยี เช่น โทรทัศน์ได้บ้างแล้ว ช่วงเวลานี้พ่อแม่ต้องรู้จักตั้งกฎกติกาสำหรับลูกเพื่อให้ซึมซับและเข้าใจ สิ่งเหล่านี้ เช่น การเล่นเกม ดูโทรทัศน์ หรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่สำคัญต้องกำหนดเป็นกฎกติกาแน่นอน ไม่ใช่วันไหนอารมณ์ดีก็ปล่อย วันไหนอารมณ์ไม่ดีก็งด จะทำให้เด็กสับสน

2.คัดสรรสิ่งดีๆ

พ่อ แม่ต้องเป็นคนเลือกสรรสิ่งที่ลูกจะดูหรือเล่น ว่าสิ่งไหนเหมาะและไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น ไม่ซื้อโทรศัพท์ให้ลูกใช้เพราะตามใจโดยไม่จำเป็น หรือซื้อคอมพิวเตอร์หรือเกมให้ลูกโดยที่ไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและไม่ เหมาะกับการเรียนรู้ตามวัยของเด็ก

3.ใช้เวลาร่วมกัน

วางตาราง เวลาสำหรับการใช้เวลาร่วมกันกับลูก ว่าจะอยู่กับลูกได้ตอนไหนบ้าง อาจจะดูรายการเด็กกับลูกสักครึ่งชั่วโมง อ่านหนังสือก่อนนอนให้ฟัง หรือใช้เวลาร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ

4.ไม่มีเทคโนโลยีในห้องลูก

เช่น ทีวีหรือคอมพิวเตอร์ เพราะพ่อแม่จะไม่สามารถควบคุมได้เลย เด็กๆ อาจจะเล่นเกมหรือดูทีวีไปเรื่อยๆ ไม่นานก็จะกลายเป็นติด ดังนั้นควรให้เป็นสื่อกลางที่อยู่ในห้องส่วนรวมมากกว่า

5.พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

ไม่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมให้ลูกเลียนแบบ เช่น ไม่เล่นอินเตอร์เน็ตจนดึกดื่นหามรุ่งหามค่ำ พูดง่ายๆ คือไม่ติดเกมเสียเอง

6.ส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะกับลูก

พ่อ แม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูก อาจแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน หรือหากิจกรรมที่ลูกสนใจและเกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการให้ลูกได้ทำ

7.สอนลูกใช้เทคโนโลยีให้เป็น

ควรสอนตั้งแต่เล็กๆ จนเด็กเกิดความเคยชินและเรียนรู้ว่าสิ่งใดเหมาะสม นอกจากนี้ต้องให้ความอบอุ่น และดูแลเอาใจใส่ลูกหลานอย่างใกล้ชิด

ลูกใครๆ ก็รัก แต่ต้องรักให้เป็นด้วย

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hOekkxTURVMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB5TlE9PQ==



Create Date : 25 พฤษภาคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:51:52 น.
Counter : 475 Pageviews.

2 comment
หัวใจดวงน้อย ของคนเป็นพี่
หัวใจดวงน้อย ของคนเป็นพี่

คอลัมน สดจากจิตวิทยา



สํา หรับพ่อแม่ที่มีน้องใหม่ขณะที่พี่คนโตอายุไม่ห่างกันมากนักคงประสบปัญหาพี่ อิจฉาน้องบ้าง แม้จะมีการเตรียมตัวมาอย่างดีแต่ก็อาจมีบ้างที่พี่คนโตเกิดน้อยใจและอิจฉา น้อง

นั้นเพราะเมื่อมีน้องใหม่แม่ที่เคยเป็นของเขาคนเดียวจะต้องแบ่ง เวลาส่วนใหญ่ไปดูแลน้องที่ยังเล็ก โดยคิดว่าพี่น่ะโตพอจะช่วยตนเองได้บ้างแล้ว จากที่เคยเป็นที่หนึ่งเป็นจุดสนใจก็มีน้องเข้ามาในชีวิต นอกจากนี้ คนรอบข้างก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกรู้สึกน้อยใจได้เช่นกัน นั้นคือ เมื่อมีน้องใหม่คนรอบข้างมักให้ความสนใจน้องเล่นทักทายแสดงความเอ็นดูน้อง โดยลืมไปว่าพี่ก็อยู่ข้างๆ แถมในบางครั้งเมื่อพบเจอพี่ก็มักทักทายโดยการถามถึงน้องว่าน้องเป็นอย่างไร ชื่ออะไร อยู่กับใคร เป็นคำถามซ้ำๆ ที่คนพี่มักพบเจออยู่เสมอจนรู้สึกน้อยใจ สูญเสียความมั่นใจและอิจฉาน้อง ที่น้องแย่งความรักความสนใจทั้งจากแม่และคนรอบข้างไปจากตนเอง

สิ่ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องระมัดระวังและให้ความสนใจจิตใจดวงน้อยของพี่ ให้มาก โดยให้เวลากับลูก อาจให้คุณพ่อหรือคนในครอบครัวช่วยดูแลน้อง พยายามพูดคุยกับลูก ชวนลูกให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมและการสนทนา เมื่อคนอื่นถามถึงน้องอาจพูดให้ลูกฟังว่าเพราะพวกเขารักและเอ็นดูหนูจึงถาม ถึงน้อง เพื่อมิให้ลูกรู้สึกน้อยใจและสูญเสียความมั่นใจในตนเอง

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREl4TURVMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB5TVE9PQ==



Create Date : 21 พฤษภาคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:51:41 น.
Counter : 463 Pageviews.

0 comment
โลกแห่งนิทานของเด็ก
โลกแห่งนิทานของเด็ก

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์ - กรมสุขภาพจิต



ในช่วงนี้เราคงได้เห็นสื่อและสังคมออกมาให้ความสำคัญกับนิทานสำหรับเด็กกันมากขึ้นนั้นเพราะนิทานมีประโยชน์และช่วยพัฒนาได้อย่างมากมาย

เด็ก ช่วงวัยที่มีจินตนาการและความฝัน นิทานจึงเป็นสื่อที่เชื่อมโยงโลกแห่งจินตนาการเข้ากับโลกของความจริง เป็นการผสมผสานระหว่างประสบการณ์และจินตนาการอันกว้างไกลได้อย่างลงตัวแน่ นอนนิทานมิได้มีแต่ความบันเทิงแต่นิทานยังมีประโยชน์มากมายนั่นคือ

- นิทานสามารถช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับลูกได้ ทั้งการฟัง การพูด การจับใจความ การใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เมื่อพ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง ลูกจะซึมซับประโยคที่เขาได้ยิน และพยายามจับใจความของเรื่องราว การใช้ภาษา วิธีการพูด แนวทางการเล่าเรื่อง

- นิทานช่วยพัฒนานิสัยรักการอ่าน เมื่อลูกเห็นพ่อแม่นั่งอ่านนิทานให้ลูกฟัง ลูกจะเกิดความสนใจ และอยากที่จะทดลองอ่านนิทาน นิทานจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกได้เป็นอย่างดี

- นิทานช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก นิทานเป็นตัวเชื่อมให้พ่อแม่ลูกได้ใช้เวลาแห่งความสุขร่วมกัน แม้เป็นเวลาเพียงน้อยนิด แต่เป็นเวลาที่มีคุณค่าที่ทำให้ลูกได้รับรู้ถึงความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ ถ่ายทอดมากับนิทานในแต่ละเรื่อง

คุณค่าของนิทานมิใช่เพียงเนื้อหา หรือความสนุก สนานเท่านั้น แต่คุณค่าอันยิ่งใหญ่อยู่ที่นิทานเป็นสิ่งที่เชื่อมสายใยแห่งความรักระหว่าง พ่อแม่ลูกไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREUxTURVMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB4TlE9PQ==



Create Date : 15 พฤษภาคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2557 13:51:33 น.
Counter : 477 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend