บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
3 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 
ปรับฐานเงินเดือนให้พนักงาน...

การปรับเงินเดือนพนักงาน นั้น โดยทั่วไปมี 3 ลักษณะ คือ
  1. การปรับฐานเงินเดือนประจำปี

  2. การปรับฐานเงินเดือนเมื่อมีเหตุจำเป็น หรือ ตามสัญญา

  3. การปรับฐานเงินเดือนเนื่องจาก ฐานเงินเดือนทั่วไปมีการปรับตัว

ซึ่งการปรับเงินเดือน ทั้ง 3 แบบนั้น มีผลกระทบ ทั้งทางตรง และ ทางอ้อมกับพนักงาน อีกทั้ง วิธีการหรือขั้นตอน และ จุดประสงค์ในการปรับยังแตกต่างกันไป

1. การปรับฐานเงินเดือนประจำปี
การปรับฐานเงินเดือนประจำปีนั้น ไม่ได้ยึดติดว่า ต้องปรับฐานเงินเดือนกันช่วงเดือนใด แต่โดยปกติแล้ว ก็จะปรับฐานกันตอนที่มีเทศกาล เป็นหลัก เช่น วันปีใหม่ วันตรุษจีน หรือถ้าเป็นทางฝรั่งก็จะเป็นวันคริสต์มาส แต่บางบริษัทฯ ก็ไม่ได้ปรับเงินเดือนกันช่วงนี้อย่างเดียว ยังมีการปรับตามความสดวกเช่น ปรับเงินเดือนตอนเดือน มีนาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ความวุ่นวายในการปิดปีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำให้มีเวลาในการไตร่ตรองผลงานของพนักงานได้มากขึ้นด้วย หรือ บางองค์การ ก็จะมีการปรับ 2 ครั้ง คือ ปรับกลางปี และ ปรับปลายปี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขึ้นกับนโยบายทางด้านการบริหารของแต่ละบริษัทฯ

การปรับฐานเงินเดือนนั้น จะขึ้นกับองค์ประกอบของแต่ละบริษัทฯ ว่าสามารถเพิ่มรายจ่ายได้มากเท่าใด โดยปกติจะใช้ข้อมูลของปีนี้เป็นตัวประมาณการ ใช้อัตราเงินเฟ้อของประเทศเป็นตัวตั้ง และ ต้องคำนึงถึงบริษัทฯคู่แข่งว่า ปรับเงินเดือนประมาณเท่าใดเมื่อปีก่อนๆด้วย... แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การปรับฐานเงินเดือนประจำปี ส่วนใหญ่การจะปรับในแต่ละครั้ง จะมองที่ผลกำไรของบริษัทฯว่า มีสัดส่วนลดลง มากน้อยเพียงใด เมื่อปรับไปแล้ว

ลักษณะการปรับเงินเดือน จะมีหลายอย่าง แต่เท่าที่ใช้กันในปัจจุบัน จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. การปรับฐานเงินเดือนเป็นรายบุคคล เป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ ของฐานเงินเดือนเดิม หรือ จำนวนเงินที่จะเพิ่มให้ในแต่ละเดือนเลย การปรับเช่นนี้จะแตกต่างกันในแต่ละคน และ แต่ละคนก็จะไม่ขึ้นกับใครเลย ซึ่งส่วนใหญ่จำนวนเงินหรือเปอร์เซ็นต์ จะถูกกำหนดโดยหัวหน้างานหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ

2. การปรับฐานเงินเดือนรวมแต่ละแผนก ซึ่งจะเป็นการกำหนด จำนวนเปอร์เซ็นต์ หรือ จำนวนเงิน ของ เงินเดือนรวมของแต่ละแผนกว่า แต่ละแผนกจะได้ปรับเป็นจำนวนเท่าใด และจะกระจายเงินเดือนเหล่านั้น ให้กับทุกคนในแผนกเท่าๆกัน

3. การปรับฐานเงินเดือนแบบผสม เป็นการปรับฐานเงินเดือนที่คำนึงถึงเงินเดือนรวมของแต่ละแผนก และ เมื่อได้จำนวนเงินมาว่าสามารถปรับได้เท่าใด ถึงจะมีการปรับฐานเงินเดือนของแต่ละคน เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่รับผิดชอบ และ ผลงานของแต่ละคนในปีที่ผ่านมา

ตัวอย่างเช่น
การปรับเงินเดือนขององค์กรสมัยใหม่ จึงขึ้นกับผลงานที่ผ่านมาว่าเขาทำได้ดีเพียงใด โดยกำหนดพื้นฐานเปอร์เซ็นต์การปรับเงินเดือนเอาไว้ก่อน เช่น 5% ของเงินเดือน จากนั้น ก็เอาการประเมิณผลงานมาเป็นตัววัด ซึ่งถ้าแค่ดีก็ได้ 100% ของยอดเปอร์เซ้นต์ที่ตั้งไว้ หมายถึง 5% เต็ม ถ้าดีมากก็ 120% (=6%) ถ้าดีเลิศ ก็อาจจะถึง 150% (=7.5%) แต่ถ้าไม่ค่อยดี อาจจะเหลือแค่ 80% (=4%) หรือ 50% (=2.5%)หรือ อาจจะไม่ปรับเงินเดือนเลยหากทำงานแล้วไม่ดีเอาเสียเลย...


การปรับฐานเงินเดือนไม่ว่าจะเป็นแบบใด จะคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้เป็นหลัก เช่น
  • กำไรโดยรวมของบริษัทฯ ว่า บริษัทฯมีกำไรมากขึ้น มากน้อยเพียงใด

  • นโยบายการแบ่งผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นมากน้อยเพียงใด

  • แนวความคิดเกี่ยวกับบุคคล ของเจ้าของกิจการ หรือ หัวหน้างาน

  • ประเภทของแผนกว่าเป็นแผนกที่หารายได้ หรือ แผนกที่ใช้จ่ายเงิน

  • ผลงานของแต่ละแผนก หรือ แต่ละบุคคล

  • ผลงานพิเศษที่ทำขึ้นมาในช่วงเวลาที่ผ่านมา

  • ความสำคัญของบุคคลที่จะปรับให้กับระบบงานที่มีอยู่

  • ความมุ่งหวังของบริษัทฯ ที่มีต่อบุคคลนั้นๆ ถึงความคุ้มค่าในอนาคต

  • จำนวนคนในกลุ่มที่จะมีการปรับว่ามากน้อยเพียงใด


สิ่งเหล่านี้มีผลกับการปรับฐานเงินเดือนทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น ในภาครัฐบาล ในส่วนของ ภาคประชาชน นั้น มีจำนวนพนักงานข้าราชการจำนวนมาก การยื่นขอมติรัฐบาลเพื่อปรับเงินเดือน ไม่ค่อยได้รับอนุมัติ สมมุติภาพให้เห็นว่า ถ้าข้าราชการพลเรือนทั้งหมดทั่วประเทศมี จำนวนคนประมาณ 2 ล้านคนทั่วประเทศ แค่ปรับเงินเดือนให้คนละ 500 บาท ซึ่งเมื่อคิดเป็นจำนวนต่อคนแล้วไม่มาก แต่รัฐบาลจำเป็นต้องมองใจภาพรวม ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นถึง 1000 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่มหาศาล จึงทำให้การตัดสินใจที่จะให้นี้ จะส่งผลกับการพัฒนาประเทศโดยรวม ดังนั้น ถ้าหากเลื่อนการตัดสินใจได้ ก็จะเลื่อนการตัดสินใจไป หรือ อาจจะให้นำกลับไปศึกษาอีกรอบก็เป็นได้

ผู้บริหารควรมองในมุมของผู้ได้รับการปรับฐานเงินเดือน เพื่อใช้ในการบริหาร และ การกระตุ้นให้เกิดการทำงานมากขึ้น ดังนั้น ผู้บริหารควรที่จะ มององค์ประกอบให้รอบด้านก่อนการตัดสินใจปรับเงินเดือนนั้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ การปรับเงินเดือนในแต่ละครั้งจะมีผลทางด้านดี และ ด้านไม่ดี ดังนี้

1. การที่เราปรับเงินเดือนน้อยไป จะทำให้ลูกน้องอาจจะไม่อยู่กับเรา เพราะเห็นว่าปรับน้อยเกินไป ค่าใช้จ่ายไม่พอเพียง

2. การปรับมากเกินไป ก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม หากรายได้ไม่เพิ่มด้วยแล้ว ก็เท่ากับ กำไรลดลง

3. การปรับเงินเดือนตามผลงานที่สามารถตรวจวัดได้ จะเหมือนกับมีความยุติธรรม แต่แท้ทีจริงแล้ว มีงานอีกหลายงานที่ไม่สามารถตรวจวัดได้แต่เป็นงานที่ต้องทำ และ สมควรทำ เช่น การพูดให้กำลังใจเพื่อให้พนักงานทำงานให้เต็มที่ ซึ่งเป็นงานที่ตรวจวัดไม่ได้ แต่ต้องทำ และถ้ามองในมุมกลับกัน หากคนทำงานทำแต่ผลงานที่วัดได้ แล้ว ละเลยงานที่เกี่ยวกับคุณภาพ หรือวัดไม่ได้แล้ว ก็จะทำให้องค์กรไม่พัฒนาเช่นกัน

4. ค่าจ้างพนักงานถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลกำไรเช่นกัน นั่นหมายถึง ถ้าคุณเพิ่มเงินเดือนให้กับพนักงาน แน่นอนเท่ากับคุณกำลังเพิ่มรายจ่ายของบริษัทฯ ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุน สิ่งที่ตอบแทนจากการลงทุน ก็คือ การที่พนักงานทำงานให้เราได้อย่างเต็มที่ หรือ อยู่กับเราได้ ทำให้คุณภาพของงานดีขึ้น หรือ อย่างน้อย ต้องไม่เลวลง...

5. การปรับฐานเงินเดือนล่าช้ากว่าที่อื่น ทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่ได้เหมือนคนทั่วไป แต่จะส่งผลดีกับองค์กรทางด้าน พนักงานจะลาออกหลังการปรับเงินเดือน ก็จะเลยช่วงของการรับสมัครพนักงานใหม่ไปแล้ว ทำให้พนักงานอยู่ในองค์กรได้นานขึ้น หรือ อาจจะทำให้มีอัตราการออกจากงาน ต่ำด้วย

6. การไม่ปรับฐานเงินเดือนให้พนักงานเลย ซึ่งอาจจะเกิดจากพนักงานไม่มีผลงาน หรือ บริษัทฯไม่มีกำไร/ขาดทุน ปัญหาเหล่านี้สามารถสื่อสารให้พนักงานเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ในกรณีที่ บริษัทฯมีกำไร แต่ไม่ยอมที่จะปรับฐานเงินเดือนพนักงาน เลย เป็นกรณีที่ทำให้เกิดการลาออกของพนักงานค่อนข้างมาก ผุ้บริหารบางคนใช้วิธีการนี้ในการบีบให้พนักงานออก โดยอ้างว่าขาดทุน เพราะ การขาดทุน หรือ กำไรของบริษัทฯทั่วไปที่ไม่ใช่มหาชน จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเป็นจริงหรือไม่ (อาจจะรู้ได้จากพนักงานบัญชี) แต่ถ้าหากไม่ปรับฐานเงินเดือน อันเนื่องจากเป้าหมายของกำไร ไม่ตรงเป้า นั่นแสดงให้เห็นถึงการเอาเปรียบขององค์กร และ จะทำให้พนักงานเริ่มเอาเปรียบองค์กรบ้างหรือ ไม่สามารถอยู่กับองค์กรได้ ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานสูงขึ้นด้วย


2. การปรับฐานเงินเดือนเมื่อมีเหตุจำเป็น หรือ ตามสัญญา
บางองค์กรจะมีการปรับฐานเงินเดือน อันเนื่องจากให้สัญญากับพนักงานว่า หากทำงานพ้นระยะทดลองงานก็จะปรับให้ ลักษณะเช่นนี้ไม่มีทุกองค์กร แต่หากองค์กรใดใช้ลักษณะนี้ ก็ต้องยึดกับคำมั่นสัญญาให้กับพนักงาน การปรับก็ต้องปรับให้กับพนักงาน ตามที่สัญญาไว้ ไม่เช่นนั้น พนักงานอาจจะไม่ให้ใจกับการทำงานเท่าที่ควร และ เมื่อไว้ใจองค์กร หรือ ผู้บริหารไม่ได้เสียแล้ว ก็จะไม่สามารถอยู่ทำงานกับองค์กรได้

บางครั้ง งานบริหาร ก็จำเป็นต้องปรับฐานเงินเดือนของพนักงานในกรณีพิเศษ การจะปรับฐานเงินเดือนของพนักงานในกรณีพิเศษ อาจจะใช้กับ การปรับฐานเงินเดือนให้เพื่อรั้งให้พนักงานทำงานกับองค์กรได้นานขึ้น หรือมีเหตุจำเป็นจริงๆ สำหรับพนักงานท่านนั้นเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ การปรับแบบกรณีพิเศษมักเกิดขึ้นหลังจากพนักงานที่เป็น Key Man ลาออก และจะปรับเงินเดือนเพื่อให้พนักงานท่านนั้นทำงานต่อไป การปรับเช่นนี้ ในภาษาคนทำงานเรียกว่า "ลาออกแล้วปรับเงินเดือน" ซึ่งระยะยาวแล้ว จะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่พึงประสงค์ได้ หัวหน้างานจึงควรจะหลีกเลี่ยงลักษณะเช่นนี้


3. การปรับฐานเงินเดือนเนื่องจาก ฐานเงินเดือนทั่วไปมีการปรับตัว
ลักษณะนี้เกิดในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น รัฐบาลมีการปรับรายได้พนักงานรายวันเพิ่มขึ้น การปรับฐานเงินเดือนของพนักงาน ก็จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหารว่า สมควรที่จะปรับมากน้อยเพียงใด ควรจะปรับตาม หรือ คงเงินเดือนเหล่านั้นไว้เนื่องจากอัตราค่าจ้างสูงกว่าอยู่แล้วเป็นต้น

สาเหตุการปรับฐานเงินเดือนที่เพิ่งพบเห็นในประเทศไทย มีอีกลักษณะหนึ่ง ในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย

1. หลายๆองค์กรมีการปรับฐานเงินเดือนลง ลดอัตราค่าจ้างลง เพื่อรักษาให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ การลดฐานเงินเดือนลง จะส่งผลให้พนักงานรู้สึกไม่ดีกับองค์กร และ เป็นตัวชี้ว่า องค์กรไม่มีเสถียรภาพมากพอ

2. บางองค์กรก็ให้เลือกระหว่างการปรับฐานเงินเดือนลง กับ การให้บางคนออกก่อนเกษียร ซึ่งบางองค์กรจะเลือก การปรับฐานเงินเดือนลง และ ค่อยสื่อให้พนักงานรับทราบ แต่บางองค์กรเลือกที่จะเอาพนักงานที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ได้ประสิทธิภาพออก หรือบางองค์กรก็ผสมทั้งสองอย่าง เพื่อปรับปรุงระบบทั้งระบบให้อยู่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายลงเป็นหลัก

3. บางองค์กรก็ให้พนักงานเลือกที่จะเกษียรก่อนกำหนด เพื่อลดจำนวนพนักงานลง หลายๆองค์กรก็ใช้โอกาสนี้ในการปรับองค์กรให้มีความกระชับขึ้น เพื่อสามารถเปลี่ยนแปลง องค์กร และ ลดค่าใช้จ่ายไปในตัว

4. บางองค์กรก็ปรับฐานเงินเดือนลง ทั้งๆที่บริษัทฯ ไม่ถูกกระทบ แต่เนื่องจากบริษัทฯอื่นมีการปรับฐานเงินเดือนลง ตนเองเลยปรับลงบ้าง เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งองค์กรลักษณะนี้เป็นองค์กรที่เอาเปรียบพนักงาน ทำให้พนักงานไม่มีใจทำงานให้ และ อาจจะสูญเสียพนักงานดีๆ หลังจากที่สภาพการณ์กลับมาเป็นปกติด้วย

5. บางองค์กรก็ยังคงเงินเดือนเท่าเดิม แต่รณรงค์ให้มีการประหยัดค่าใช้จ่ายลง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งแค่นี้ก็สามารถทำให้องค์กรผ่าวิกฤติไปได้แล้วเช่นกัน ซึ่งองค์กรลักษณะนี้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งสูง และ เป็นองค์กรที่พนักงานส่วนใหญ่ ใฝ่ฝันในการทำงานร่วมด้วย



โดยสรุปแล้ว การปรับฐานเงินเดือนนั้น ขึ้นอยู่กับองค์กร และ การให้ความสำคัญในเรื่องหนึ่งเรื่องใดขององค์กร รวมทั้ง ผลกำไรขององค์กร ซึ่งให้การปรับฐานเงินเดือนมาบริหารจัดการพนักงาน หรือ กระตุ้นให้เกิดการทำงาน หรือ ให้ลาออกก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้บริหารแต่ละท่านในแต่ละสถานการณ์


Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 9 ตุลาคม 2550 14:05:09 น. 23 comments
Counter : 10940 Pageviews.

 
5% ของเงินเดือนทั้งปีหรือเงินเดือนแค่เดือนเดียวคะ
อยากรู้ประดับความรู้น่ะค่ะ


โดย: mungkood วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:33:00 น.  

 




ดีค่ะ




โดย: หนี่หนีหนี้ (แพรวขวัญ ) วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:40:26 น.  

 
คุณ wbj คะ มีแต่หลักสูตรสอนให้เป็นหัวหน้างานที่ดี แต่ไม่มีใครสอนให้เป็นลูกน้องที่ดีเลยค่ะ...

เรื่องเงินเดือน ขอให้ขึ้นบ้างก็พอค่ะ


โดย: ชิด-ชิด เข้ามาอีกหน่อย วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:19:09:51 น.  

 
ตั้งแต่ทำงานมาไม่เคยถูกปรับเงินเดือน นอกจากว่าจะลาออก ค่อยปรับขึ้นให้


โดย: เสียงซึง วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:19:28:38 น.  

 
เงินต่อเดือน x 5% จะเท่ากับ เงินเดือนที่ได้ทั้งปี x 5% แล้วเฉลี่ยจ่ายต่อเดือนครับ

ผมหมายถึงปรับเงินเดือนนะครับ มันเป็นเพียงตัวเลขสมมุติเท่านั้น...


โดย: wbj วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:20:29:29 น.  

 
คุณ ชิด-ชิด เข้ามาอีกหน่อย ครับ ผมเขียนไว้กลุ่ม หัวหน้าลูกน้อง กับใน At-Office นะครับ เข้าไปอ่านได้ครับ


โดย: wbj วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:20:31:23 น.  

 
ขอบคุณค่ะที่อธิบาย
ตอนแรกงง นึกว่าเป็นโบนัส
ขอโทษทีค่ะ อ่านไม่เคลียร์


โดย: mungkood วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:20:52:52 น.  

 
อยากให้เงินเดือนขึ้นบ้างครับ


โดย: T_Ang วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:23:29:52 น.  

 
ระยะเวลาในการปรับเงินเดือนพนักงานที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร ระยะห่างแค่ไหน ทุกๆ 6 เดือน หรือทุก 1 ปี คะ


โดย: aeh IP: 58.147.65.108 วันที่: 12 กรกฎาคม 2549 เวลา:13:30:19 น.  

 
ถ้าหัวหน้างานส่วนใหญ่ ต่างพยายามประเมินลูกน้องตัวเองให้ดีเกินจริงเพื่อจะได้ปรับเงินเดือนเยอะๆ เราจะมีวิธีควบคุมให้ ใกล้เคียงความเป็นจริงได้อย่างไรคับ


โดย: สงสัย IP: 203.155.94.129 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:11:28:31 น.  

 
ถ้าหัวหน้างานส่วนใหญ่ ต่างพยายามประเมินลูกน้องตัวเองให้ดีเกินจริงเพื่อจะได้ปรับเงินเดือนเยอะๆ เราจะมีวิธีควบคุมให้ ใกล้เคียงความเป็นจริงได้อย่างไรคับ


โดย: สงสัย IP: 203.155.94.129 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:11:32:55 น.  

 
คุณสงสัย เขียนเมล์ไปเชิญเลยหรือเนี่ย... ยินดีอย่างยิ่ง

ถ้าหัวหน้างานประเมินลูกน้องเกินความเป็นจริงนั้น สามารถควบคุมได้ครับ แต่นั่นหมายถึง ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการประเมินผลงานใหม่ด้วย ถ้าคุณสงสัยมีอำนาจหน้าที่เพียงพอกับการตัดสินใจขององค์กร หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว ผมก็จะขอออกความคิดเห็นคร่าวๆให้ครับ

การจัดระบบการประเมินผลไม่ให้หัวหน้างานประเมินผลงานเกินความเป็นจริงนั้น ต้องจัดระบบการประเมินผลงานให้ตรวจวัดในสิ่งที่ตรวจวัดได้ แต่ถ้าต้องการตรวจวัดสิ่งที่ตรวจวัดไม่ได้อย่างชัดเจน ก็ต้องกำหนดตารางการตรวจวัดออกมาให้ชัดเจนเป็นหลัก เป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่สามารถทำได้ครับ

ถ้าแบ่งงานได้แล้ว ก็ต้องให้ List เป้าหมายของแต่ละคนไว้ตอนต้นปี สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามระยะเวลา เช่น ครึ่งปี แล้วแต่ระบบที่จะสร้างครับ..

การ List เป้าหมายนั้น ควรจะแบ่งประเภทเป็น ประเภทปริมาณ ซึ่งส่วนใหญ่ตรวจวัดได้ เห็นผลแน่นอน กับ ประเภทคุณภาพ คือ ถ้ามีสิ่งต่างๆเหล่านี้แล้ว จะทำให้ระบบงานดีขึ้น แต่ถ้าไม่ทำก็ยังอยู่ได้ โดยแบ่งอัตราส่วนให้เหมาะสม ส่วนใหญ่จะแบ่ง 80:20 หรือไม่ก็ 70:30 ครับ แต่นั่นก็ขึ้นกับ ตำแหน่งหน้าที่ด้วย ซึ่งถ้าตำแหน่งยิ่งสูงขึ้นมากเท่าไหร่ การควบคุมคุณภาพก็ควรจะมีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้จัดการขึ้นไปอาจจะเป็น 50:50 หรือ 30:70 ก็แล้วแต่ความรับผิดชอบของแต่ละคนในเนื้องาน

การประเมินผล อาจจะใช้ 5 scale เข้าช่วย หมายถึง กำหนดค่าตัวเลขออกเป็น 5 ขั้น แต่ละขั้นควรมีเป้าหมายให้เห็นชัดเจนไว้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น
จะได้ 5 คะแนน ก็ต่อเมื่อ ทำงานได้มากกว่า 120% ของค่าเฉลี่ยที่กำหนด
จะได้ 4 คะแนน ก็ต่อเมื่อ ทำงานได้ 100-120% ของค่าเฉลี่ยที่กำหนด
จะได้ 3 คะแนน ก็ต่อเมื่อ ทำงานได้ 90-100% ของค่าเฉลี่ยที่กำหนด
จะได้ 2 คะแนน ก็ต่อเมื่อ ทำงานได้ 80-90% ของค่าเฉลี่ยที่กำหนด
จะได้ 1 คะแนน ก็ต่อเมื่อ ทำงานได้ 70-80% ของค่าเฉลี่ยที่กำหนด
และได้ 0 คะแนน ก็ต่อเมื่อ ทำงานได้ต่ำกว่า 70% ของค่าเฉลี่ยที่กำหนด

ซึ่งถ้าแต่ละหัวข้อสามารถกำหนดได้ลักษณะนี้ จะทำให้เกิดความโปร่งใสขึ้น

เมื่อได้งานของแต่ละคน ก็ต้องให้เขากำหนดน้ำหนักของแต่ละงานเอาไว้เพื่อจะได้ให้ทั้งผู้ประเมิน และ ผู้ถูกประเมินรับทราบถึงความสำคัญของแต่ละงานว่า ควรจะเน้นในจุดใด

จากนั้น เวลาคำนวนให้เอาคะแนน คูณกับ น้ำหนัก เพื่อเป็นการแจกแจงออกมาว่า เขาทำงานได้มากน้อยเพียงใด และหารด้วย ค่าน้ำหนักรวมทั้งหมด เพื่อจะได้เห็นค่าเฉลี่ยนจริงๆ ของแต่ละคนว่าอยุ่ระดับใดจริงๆ

คุณต้องสร้างให้ระบบมีความยืดหยุ่น และ ควบคุม ตรวจวัดเป็นรูปธรรมได้จริงๆ จึงจะทำให้ระบบทั้งหมดดำเนินไปได้ด้วยตัวของมันเอง หากมีการประเมินเกิน ก็ให้เอาเอกสารข้อมูลมาสนับสนุนได้ คุณแค่กำกับไม่เกิน 1-2 ครั้ง แค่แย้งไปก็จะทำให้พวกเขารู้แล้วว่า ผลงานของแต่ละคนต้องมีสิ่งมายืนยันเป็นรูปธรรม เมือเขาเกิดการเรียนรู้ พวกเขาก็จะประเมินในรูปแบบ เดียวกันเหมือนกัน ตามระบบที่ออกแบบมาครับ

รายละเอียดในแต่ละเรื่องมีมาก หากมีปัญหาอะไร ก็เขียนเมล์มาถามได้เลยครับ เพราะใน Blog ผมไม่ค่อยได้ตามสักเท่าไหร่ (มันเยอะจนไม่สามารถตามได้นะครับ)


โดย: Wiboon Joong (wbj) IP: 203.170.167.178 วันที่: 8 สิงหาคม 2549 เวลา:16:02:38 น.  

 
งานที่ทำสวัสดิการไม่ดีถึงแม้จะเป็นองค์กรใหญ่ก็ตามแต่ขวัญและกำลังขององค์กรไม่ดีมีพนักงานออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนเก่าทำงานหนักแต่เด็กใหม่ให้คอยช่วยแต่ทำอะไรไม่เป็นเวลาปรับตำแหน่งให้แต่พนักงานเก่าไม่ปรับให้ดังนั้นถ้ามีงานที่ดีสวัสดิการที่งานมีความมั่นคงให้ติดต่อที่01-4061936 (ประกันไม่ทำ)


โดย: อยากได้งานใหม่ IP: 202.5.86.40 วันที่: 11 กันยายน 2549 เวลา:19:46:51 น.  

 
อยากถามว่าอายุ 31 ขวบ เงินเดือนประมาณ 23000
ทำงานมา 8 ปี ตำแหน่งเดิม โอเคหรือเปล่า รู้สึกว่าหน้าที่ไม่ก้าวหน้า แต่บริษัทขึ้นเงินให้ทุกปี แต่ตำแหน่งไม่มี


โดย: noonoki IP: 117.47.115.141 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:21:50:15 น.  

 
เวปอ่านยากค่อดๆ
โหลดก็ช้า
๊ผมอายุไม่ถึง 30
ทำงานมา 9 เดือน
ตอนนี้ได้ 23000 + 3000


โดย: ผมเก่ง IP: 124.120.169.126 วันที่: 23 เมษายน 2551 เวลา:20:20:35 น.  

 
อยากทราบว่าที่จะขึ้นเงินเดือนนั้น พนักงานราชการจะได้ไหมค่ะ เป็นเงินเดือนหรือค่าครองชีพค่ะ ที่จะปรับให้ ยังเข้าใจคาดเคลื่อนค่ะ ระหว่างขึ้นเงินเดือนหรือค่าครองชีพ ใครตอบได้บ้างค่ะ สงสัยจังเล้ย


โดย: ลูกจ้าง IP: 125.26.82.183 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:32:17 น.  

 
ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 จะเลื่อนระดับเป็น พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 4 ได้เมื่อไหร่ค่ะ กรณีเงินเดือนถึงหรือต้องรอประกาศของแต่ละกรมฯ จะเปิดสอบค่ะ ใครรู้บ้าง ช่วยตอบทีค่ะ


โดย: ลูกจ้าง IP: 125.26.82.183 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:34:23 น.  

 
ท่านมีปัญญาท่านที่ 14

ไม่มีตำแหน่งก้อช่างมัน เศรษฐกิจแบบนี้
เอาเงินไว้ก่อนดีกว่า


โดย: มะไหร่จะรวย IP: 58.10.99.173 วันที่: 29 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:10:24 น.  

 
เมื่อวันที่ 31 พค. 2551 ไปประชุมเรื่องการปรับให้ลูกจ้างประจำเข้าสู่ระบบแท่ง/และให้ได้รับบำนาญ เหมือน ข้าราชการ มา จะผลักดันให้ได้เมื่อปีงบประมาณ 2552 แต่ลูกจ้างจะเข้าข้าราชการจะต้องมีคุณสมบัติตรงประมาณ 4 ข้อ คือวุฒิการศึกษา ฯลฯ มีเจ้าหน้าที่จากสำนักนายกรัฐมนตรี กพร. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และวิทยากรจากกรมบัญชีกลางก็มา ได้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นนิดหน่อยจากที่เคยรับฟังมา ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ เคยได้ยินมาบ้างหรือเปล่าค่ะ ว่าจะเป็นไปได้ไหมค่ะ


โดย: ลูกจ้าง IP: 125.26.79.100 วันที่: 2 มิถุนายน 2551 เวลา:15:38:33 น.  

 
ผมไปสัมภาษณ์มา ประมาณ 1 เดือนเขาแจ้งว่าโอเคเลือกผม ต้องเริ่มทำงาน 1 เดือน และถ้าโอเคจะส่งเรื่องให้นายแต่พอมาอีกวันกลับบอกว่าให้รอก่อน เพราะงานยังไม่เร่งมาก ผมก็ไปเปิดประกาศรับสมัคร ตำแหน่งนั้นยังเปิดรับอยู่ อ้าวผมก็งงมากเลย ไหงบอกผมว่ายังไงก็รับให้รอก่อนตอนนี้ชักไม่มั่นใจ หรือเขากลัวผมเสียใจ จึงไม่กล้าบอกผม แต่พูดถึงเขาน่าจะส่งเรื่องถึงเจ้านายก่อนค่อยมาบอกมันจะรู้สึกดีกว่านี้ เพราะจะได้ไม่ต้องมีความหวัง ความก้าวหน้าก็เป้นสิ่งที่ทุกคนต้องการนะครับ อยากจะฝากกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าควรจะนำเสนอเจ้านายแล้วค่อยโทรแจ้งผุ้สมัคร ก่อน ถ้าเขาไม่เอาก็ค่อยหาคนใหม่จะดีกว่า ดีกว่าเขายอมรับแล้วมาบอกว่ายังไม่มีกำหนดทำงาน มันแปลกๆ


โดย: นคร IP: 125.24.216.144 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:48:19 น.  

 
ดิฉันทำงานบริษัท 2 ที่ ก่อนที่จะรับมาเริ่มงานบอกว่าพ้นทดลองงานจะปรับเงินให้แต่พอถึงเวลาแล้วกลับเงียบเฉยเลย ที่แรกก็เจอบอกจะปรับเท่านี้แต่ถึงเวลาให้น้อยเกินคาดบอกว่าประสบการณ์เยอะมีปัญหาที่วุฒิ พอเราออกบอกว่าจะปรับให้ใหม่ ขอโทษตอนเราอยู่ทำไมไม่รักเราพอเราไปกลับรักเราซะนี่ พอได้ที่ใหม่ก็มาเหมือนกันพ้นทดลองงานจะปรับให้ งานก็เกินเงินเดือนจริงๆ สุดท้ายบอกว่าให้ช่วยๆกันเพราะปัญหาเศรษฐกิจไม่มีเงินให้ พอมีเด็กออกดันปรับให้เฉยเลย งงจัง เจ้านาย คนที่รู้เสียใจนะประสบการเกือบ 13 ปี ทุกคนถามเรื่องเงินเดือนโคตรอายเพราะมันน้อยเกินคิดมากๆ จากคนมีไฟ ตอนนี้ไฟหมดแล้ว


โดย: ดาริน IP: 125.24.216.144 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:58:12 น.  

 
ต้องการทราบฐานเงินเดือนแรงงานในปัจจุบันว่าระดับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี start อยู่ที่เท่าไหร่คะ และถ้ามีประสบการณ์ 1 ปีขึ้นไป ในตลาดแรงงานปัจจุบันจะอยู่ที่เท่าไหร่คะ ต้องการทราบข้อมูลด่วนคะ


โดย: สังสัยอยากทราบข้อมูลคะ IP: 125.25.42.122 วันที่: 3 ธันวาคม 2552 เวลา:15:23:20 น.  

 
ตอนแรกได้หมื่นหนึ่ง ปรับให้ 18500 พอถึงรอบปรับอีกที ปรับลงมาเปน1900
ไม่ไหวค่ะ


โดย: อออัญ IP: 125.24.242.204 วันที่: 21 กรกฎาคม 2557 เวลา:16:10:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.