bloggang.com mainmenu search


ชอบเขียนพู่กันจีนค่ะ แต่ถนัดเฉพาะเขียนตัวอักษรเพราะเคยเรียนมา ชอบรูปวาดจีนด้วยโดยเฉพาะรูปใบไผ่ เคยลองวาดดูคิดว่าน่าจะไม่ยาก ดูแล้วหลักการวาดใบไผ่จะคล้าย ๆ การลากเส้นเวลาเขียนตัวหนังสือ แต่ลองดูแล้วไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ ไม่คล่องมือเลยฝึกแต่เขียนตัวหนังสือ รู้สึกเหมือนเวลาฝึกวาดรูปที่เน้นความเหมือนกับต้นฉบับเท่านั้น ตอนนี้เลิกเรียนมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังพยายามหาเวลาเขียนอยู่เรื่อย ๆ ตอนที่เรียนฟังเหล่าซือพูดไม่ค่อยออกเท่าไหร่ เพราะท่านพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่ไม่เป็นปัญหาเพราะดูวิธีเขียนของท่านแล้วทำตาม ท่านสอนแบบไม่ได้เน้นทฤษฎีเท่าไหร่หนักไปทางฝึกเขียนซะมากกว่า ทีแรกกะว่าจะแปะให้ดูตัวหนังสือที่เขียนไว้เฉยๆ แต่ไหน ๆ เขียนบล็อคทั้งทีก็เลยไปหาเรื่องราวของการเขียนพู่กันจีนในเนทบ้าง หนังสือบ้าง ผสมกับความรู้ที่ได้เรียนเขียนออกมา สำรวจแล้ว หาเวบของไทยที่เขียนอธิบายเรื่องพู่กันจีนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวไม่ค่อยจะได้เลย ผิดกับเวบภาษาปะกิตจะมีหลายเวบมากแล้วข้อมูลเพียบทั้งนั้น แล้วจะค่อย ๆ ทะยอยเขียนไว้ในบล็อค ต้องขออภัยท่านผู้รู้ด้วยถ้าสิ่งที่บอกมีข้อผิดพลาด เพราะเขียนเท่าที่แปลออกและไม่ค่อยถนัดเรื่องทฤษฎีเท่าไหร่ ถ้าอยากอ่านเนื้อหาเพิ่มก็ตามไปใน link ที่ให้ไว้ได้ค่ะ

(ซูฝ่า) การเขียนพู่กันจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานคู่กับประเทศจีน ถือเป็นศิลปะขั้นสูงหนึ่งในสี่อย่างของชนชาติจีน คือ การเขียนพู่กันจีน การวาดภาพ การบรรเลงเครื่องสาย และการเล่นหมากรุกจีน นอกจากจีนแล้วการเขียนพู่กันจีนยังเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี เวียตนามและสิงคโปร์ ผู้ที่จะเรียนพู่กันจีนควรมีพื้นฐานภาษาจีน เพื่อที่จะรู้วิธีเขียนอักษรแต่ละตัวให้เป็น การเขียนพู่กันจีนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่เพียงสื่อสารความคิดของผู้เขียน ยังแสดงถึงลักษณะเส้นสายที่มีจังหวะการเขียนและองค์ประกอบของตัวหนังสือที่งดงาม บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของเจ้าของลายมือ และเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอย่างหนึ่งอีกด้วย นักเขียนพู่กันจีนที่มีชื่อเสียงของจีนมีอยู่หลายท่าน เช่น หวางซีจือ (ลูกชายท่าน หวางเสี้ยนจือก็ขึ้นชื่อว่ามีลายมืองดงามเช่นกัน), โอหยางสุน (เราชอบลายมือท่านนี้ที่สุดค่ะ), หลิวกงเฉวียน, ซูซื่อ, ซูเว่ย ฯลฯ ในงานของศิลปินตะวันตกสองท่านคือ Picasso และ Matisse จะเห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลของการเขียนพู่กันจีนด้วย

อักษรจีนจะมีโครงสร้าง ๓ ลักษณะ คือวงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม แต่ละตัวมีจำนวนขีดและจุดที่แน่นอน การฝึกเขียนพู่กันจีนต้องเริ่มฝึกด้วยการลอกจากแบบตัวหนังสือทีละตัว ทีละขีดให้แม่นยำ และจะเขียนให้เก่งก็ต้องฝึกฝนบ่อย ๆ เท่านั้น

อุปกรณ์ที่ใช้
๑. กระดาษ
๒. หมึกจีนหรือแท่งฝนหมึก
๓. พู่กัน
๔. จานรองหมึก
๕. ที่ทับกระดาษ
๖. ที่รองกระดาษเวลาเขียนกันหมึกซึม
๘. ตราประทับชื่อ

แบบตัวอักษรที่ใช้เขียนมี ๕ แบบคือ
๑. จ้วนซู กำหนดรูปแบบขึ้นมาในสมัยราชวงศ์เฉิน เป็นแบบที่เก่าที่สุดและยังใช้ฝึกเขียนจนทุกวันนี้ ตราประทับมักแกะสลักด้วยตัวหนังสือประเภทนี้
๒. ลี่ซู นิยมเขียนกันมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น ตัวหนังสือจะออกแป้น ๆ การเขียนเน้นที่การลากหางเป็นเส้นหนา ปัจจุบันใช้ในงานตกแต่งหรืองานศิลปะมากกว่า
๓. เฉ่าซู ลักษณะตัวหนังสือแบบหวัด
๔. สิงซู ลักษณะตัวหนังสือหัวดแกมบรรจง
๕. ข่ายซู ลักษณะตัวหนังสือแบบบรรจง

จ้วนซู



ลี่ซู



เฉ่าซู



สิงซู



ข่ายซู




ประเดิมบล็อคนี้ด้วยลายมือของเหล่าซือที่เขียนเป็นตัวอย่างให้นักเรียนดู อายุท่านจวนแปดสิบแล้วแต่มือเที่ยงมาก เขียนเส้นได้มีกำลังและสวยงาม























อุปกรณ์เบื้องต้นที่ต้องใช้ในการเขียนพู่กันจีน



คลิปฝึกเขียนอักษรตัวบรรจง

//www.youtube.com/watch?v=7Krxrwou5AY




//www.youtube.com/watch?v=bEgeR9jiptM




//www.youtube.com/watch?v=S11CsE8kzMY




//www.youtube.com/watch?v=3HIg6VQ8KKI



เวปเกี่ยวกับพู่กันจีน
wavedancing.net
wikipedia.org



บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com

Free TextEditor

Create Date :23 มิถุนายน 2549 Last Update :25 เมษายน 2562 22:07:51 น. Counter : Pageviews. Comments :84