bloggang.com mainmenu search


ภาพจากเวบ
https://www.the-gallery-of-china.com/chinese-bamboo-painting-2.html


ในการวาดภาพต้นไผ่นั้นคุณจะต้องเรียนรู้ส่วนต่าง ๆ ของต้นไผ่ ๔ ส่วนด้วยกันคือ ลำต้น ข้อไผ่ กิ่งไผ่ และใบไผ่ เราจะพิจารณาส่วนต่าง ๆ นี้ตามลำดับ จากลำต้นซึ่งเป็นพื้นฐานไปยังข้อไผ่ จากข้อไผ่ไปยังกิ่งก้านและกิ่งก้านไปยังใบไผ่ ตามธรรมชาติของงานศิลปะนั้น ภาพๆหนึ่งสามารถพูดได้มากกว่าพันคำ (ดังที่ขงจื้อเคยกล่าวไว้) คุณจะได้รับความรู้โดยใช้ภาพซึ่งจะเป็นส่วนขยายเนื้อหา ในบทนี้คุณจะเรียนรู้การวาดลำต้นของไผ่

ในการวาดลำต้น จะต้องจับพู่กันในแนวตั้งและปลายพู่กันควรจะถูกปิดบัง “ปิดบัง” ในที่นี้หมายถึงปลายพู่กันงอขึ้นเข้าไปในด้านล่างของพู่กัน ดังที่แสดงไว้ในภาพ ซึ่งทำให้ปลายพู่กันทู่ขึ้น ในกลุ่มจิตรกรชาวจีนเรียกลักษณะของพู่กันนี้ว่า “chung – feng” โดยสร้างลำต้นให้มีความหนาและตรง ดังภาพ



หมึกที่ลำต้นจะมีสีที่อ่อนกว่าที่ใบไผ่ น้ำหนักของสีหมึกที่แตกต่างกันจะบอกตำแหน่งของลำต้นที่แตกต่างกัน และลำต้นทั้งหมดจะต้องมีความแตกต่างของโทนสี ดังที่ปรากฎอยู่ตามธรรมชาติ

เมื่อจับพู่กันแบบชุนเฟ็งแล้ว ลากพู่กันจากด้านล่างไปยังด้านบนของลำต้น ดังนั้นภาพของลำต้นจะต้องมีความกลมเป็นธรรมชาติ ปล้องไผ่แต่ละปล้องจะถูกแบ่งโดยข้อไผ่ ดังนั้นคุณจึงสามารถวาดปล้องไผ่แต่ละปล้องไผ่แต่ละส่วนได้ อย่างไรก็ตาม พยายามให้โทนของสีเป็นรูปแบบเดียวกันในแต่ละปล้อง โดยทั่วไปแล้วโทนสีของปล้องไผ่จะซีดกว่าข้อไผ่และใบไผ่

ในการวาดลำต้นของไผ่ พยายามให้พู่กันแห้ง และดังที่อธิบายไว้แล้วว่าให้ใช้เส้นตรง และเริ่มวาดจากฐานขึ้นไปด้านบนโดยวาดแต่ละปล้อง ๆ ไป ตามลำต้นของไผ่นั้น ตรงส่วนระหว่างข้อต่อทั้งด้านบนและด้านล่างจะเป็นส่วนที่สั้นที่สุด ความยาวของปล้องเพิ่มขึ้นในช่วงตอนกลางของลำต้น ส่วนขนาดของลำต้นที่บริเวณโคนจะอ้วนและสั้น แล้วค่อย ๆ เรียวลงและผอมปลายลำต้น ดังภาพที่แสดง




การให้โทนสีกับลำต้น ให้สังเกตว่าส่วนของปล้องไผ่ระหว่างข้อไผ่ จะมีโทนของสีหมึกอ่อนกว่าบริเวณข้อไผ่ ให้วาดส่วนที่เป็นปล้องก่อน แล้วย้อนไปวาดที่บริเวณข้อไผ่



จากภาพให้วาดไผ่แต่ละปล้องในคราวเดียวกันไปจนถึงปลายปล้องไผ่ และพยายามรักษาโทนของสีหมึกให้สม่ำเสมอกันในแต่ละปล้อง



เมื่อวาดลำต้น ให้วาดจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน โดยส่วนล่างจะมีความกว้างแล้วค่อย ๆ แคบลงจนถึงด้านบน





ตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ให้ใช้หมึกสีอ่อนสำหรับลำต้นเสมอ เมื่อลำต้น ๒ ลำอยู่คู่กัน ดังที่แสดงไว้ในภาพ ลำไผ่ที่อยู่ด้านหน้าควรจะมีสีเข้มกว่าลำไผ่ที่อยู่ด้านหลัง มีโทนน้ำหนักสีที่อ่อนกว่า นอกจากนั้น เมื่อไผ่สองลำอยู่ในระยะใกล้ชิดกัน พยายามอย่าให้ช่องว่าง ข้อไผ่และโทนของน้ำหนักสีหมึกเหมือนกัน




ในการวาดภาพลำต้นของไผ่ ๒ ต้น ที่พาดผ่านกันอยู่ดังแสดงไว้ในภาพนั้น ไผ่ลำใหญ่ที่อยู่ด้านหน้าให้ใช้โทนสีเข้มกว่าลำไผ่ที่อยู่ด้านหลัง เมื่อมีลำไผ่สองสามลำอยู่ด้วยกัน ควรจะมีโทนสีทั้งเข้มและอ่อนแตกต่างกันด้วย ดังแสดงไว้ในภาพ

เมื่อมีไผ่ ๓ ลำ หรือมากกว่าอยู่ในภาพ จะต้องมีการพิจารณาถึงขนาดของต้นไผ่ รวมทั้งน้ำหนักโทนสีทั้งเข้มและอ่อนที่มีความแตกต่างกันด้วย ในกรณีเช่นนี้จะมีการสร้างรูปแบบที่น่าสนใจขึ้นมา

การวาดไผ่ ๓ ต้นพาดผ่านกัน




ภาพไผ่ ๔ ต้น ให้สังเกตการสร้างรูปแบบ ทั้งโทนของสีและตำแหน่งของลำต้น



ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลำต้นนั้น ขอให้เราพิจารณาหน่อไผ่ที่มักจะไผล่ขึ้นมาใกล้ ๆ กับต้นไผ่ต้นเดิม ในการวาดหน่อไผ่นั้น ครั้งแรกพู่กันจะดูดซึมหมึกสีอ่อนเข้าไปในขน และจากนั้นจึงจะดูดหมึกสีเข้มเข้าไปที่ปลายพู่กัน ในการวาดก็เช่นกันให้ใช้หมึกสีเข้มสำหรับปลายหน่อไผ่ และหมึกสีอ่อนสำหรับส่วนของหน่อ ในทางกลับกัน ให้วาดกาบไผ่ทางด้านขวาแล้วจึงไปด้านซ้ายโดยลากเส้นใยบนกาบไผ่ทุกใบ ก่อนที่หมึกจะแห้งสนิท นอกจากนั้น ให้เติมใบที่ผลิออกมาใหม่ที่ปลายของหน่อไผ่แต่ละหน่อด้วยหมึกสีเข้ม


ภาพแสดงการวาดหน่อไผ่


ภาพต่อไปแสดงรากของต้นไผ่ ต้นไผ่มักจะมีรากงอกอยู่ในพื้นดินที่เป็นหิน แต่บางครั้งบางส่วนของรากไผ่อาจจะปรากฏอยู่เหนือพื้นดิน โดยมีรากเล็ก ๆ งอกออกมาจากข้อไผ่ รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ของลำต้นช่วยเพิ่มความงามให้กับศิลปะการเขียนต้นไผ่ที่มีรายละเอียด เรื่องราวของรูปแบบ ซึ่งนำมาซึ่งอารมณ์ของศิลปินอีกด้วย






ข้อเท็จจริงที่จะต้องทำความเข้าใจประการหนึ่งเกี่ยวกับต้นไผ่ คือเมื่อต้นไผ่ยังอ่อนอยู่จะมีใบอ่อนและกาบใบจะยงคงอยู่ที่ข้อไผ่ ในการวาดจึงต้องมีลักษณะเช่นในภาพ เมื่อลำไผ่โผล่ออกมาจากพื้นดินทรายจะเห็นรากเส้นเล็ก ๆ ห้อยระย้าจากลำต้นที่โผล่ขึ้นมาดังที่เห็นในภาพ




ในการวาดภาพลำต้นแก่ ๆ ให้ใช้พู่กันที่ชำรุดเป็นบางครั้งบางคราวและลากพู่กันขึ้นอย่างมั่นคงและแน่วแน่ เพื่อสร้างลำต้นที่ผุพัง เส้นสำหรับลำต้นแก่ ๆ ควรจะมั่นคงและแข็งแรง ดังที่แสดงในภาพ


บางส่วนของลำต้นไผ่แก่









วิธีการที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการเรียนรู้ว่าจะทำอะไร ก็คือรู้ว่าไม่ควรทำอะไร ในตอนจบของบทการวาดรูปลำต้น เราจะแสดงให้คุณเห็นว่าไม่ควรวาดลำต้นอย่างไร ข้อห้ามสองสามอย่างจะช่วยทำให้คุณเป็นจิตรกรที่ดีขึ้น

ห้ามวาดจนสุดกรอบภาพของคุณ และวาดปล้องไผ่ที่มีขนาดเดียวกันหมดจนถึงยอด ดังที่แสดงในภาพ การวาดภาพพเช่นนี้จะทำให้ดูซ้ำซากน่าเบื่อ ภาพแข็งทื่อและมีสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมชาติ



ห้ามใช้โทนสีเรียบเหมือนกันหมด จะต้องมีการใช้พู่กันจีนวาดโดยมีการให้น้ำหนักสีที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดความกลมขึ้นที่ลำต้น นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงการวาดปล้องไผ่ที่มีขนาดเท่ากันหมด ควรให้มีขนาดที่แตกต่างกัน



ห้ามวาดต้นไผ่ที่อยู่ในแนวนอน ให้มีความโค้งมากเกินไป ต้นไผ่ในแนวนอนนั้น ส่วนมากจะใช้เป็นแค่ส่วนประกอบเพิ่มเติม ต้นไผ่จะโค้งงอไปทางทิศใดทิศหนึ่งได้เล็กน้อย แต่พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้ปล้องไผ่มีความโค้ง ให้จำไว้เสมอว่า ส่วนที่อยู่ระหว่างข้อไผ่จะต้องอยู่ในแนวตรงเสมอ

ความโค้งของลำต้นควรจะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อปล้อง ไม่ใช่ที่ปล้องไผ่


ควรหลีกเลี่ยงความโค้งที่บริเวณปล้องไผ่ ดังที่แสดงในภาพ


ดังที่แสดงในภาพ ห้ามวาดลำต้นสองต้นหรือมากกว่าให้อยู่ในแนวขนาดซึ่งกันและกัน และไม่ให้ข้อต่อของปล้องไผ่อยู่ในระดับเดียวกันด้วย ในภาพลำต้นให้เน้นที่ความอิสระสบาย ๆ และควรหลีกเลี่ยงความเป็นระเบียบ



ห้ามวาดข้อไผ่ที่มีขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับปล้องไผ่ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ขาดความเป็นสัดส่วน ถึงแม้ว่าในบางครั้งต้นไผ่ชนิดนี้มีจริงตามธรรมชาติก็ตาม ให้วาดข้อและปล้องให้เหมาะสมกับปล้องไผ่เพื่อองค์ประกอบของภาพที่สวยงาม



อย่าให้ปล้องไผ่ที่อยู่ระหว่างข้อของลำต้นมีขนาดแตกต่างกันมาก ให้วาดปล้องไผ่โดยลากพู่กันครั้งเดียวตลอดจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน (จากปล้องหนึ่งไปยังอีกปล้องหนึ่ง) ขนาดในแต่ละส่วนของปล้องลำไผ่จะต้องรักษาให้อยู่ในรูปเดียวกันตลอดทั้งลำต้น








คลิปฝึกวาดต้นไผ่ ตอนแรก
//www.youtube.com/watch?v=-HKaZoXnwf8



ตอนสอง
//www.youtube.com/watch?v=p_JPnUAwAZQ





ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์
พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย
ราคา ๑๑o บาท



บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com
ไลน์จากคุณเนยสีฟ้า


Free TextEditor



Create Date :14 สิงหาคม 2551 Last Update :15 กันยายน 2564 16:13:25 น. Counter : Pageviews. Comments :42