bloggang.com mainmenu search


การวาดใบไผ่อย่างมีศิลปะเป็นสิ่งสำคัญของการวาดภาพต้นไผ่ที่ประสบผลสำเร็จ "ใบ" บอกถึง "อารมณ์" ของต้นไผ่ และจะมีการวางรูปแบบของใบไผ่ที่แตกต่างกันมากมาย บางครั้งใบไผ่ก็อยู่ใกล้กัน บางครั้งก็ห่างกันและบางครั้งก็ไขว้หรือทับกัน นอกจากนั้นยังมีใบไผ่ที่พัดไหวตามลม และใบไผ่ที่สงบนิ่ง ใบไผ่ที่อยู่ท่ามกลางแสงอาทิตย์และสายฝน มันจะเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป ขอให้เรียนรู้การวาดใบไผ่โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

ในการวาดใบไผ่ให้วาดใบเอียง ๆ และฝีแปรงของพู่กันควรจะมีพลังอารมณ์ที่เด็ดเดี่ยวโดยการวาดครั้งเดียว หากลังเลไม่แน่นอนใจ ใบจะดูหนาและขาดความแหลมคม การวาดใบต้องใช้ความเข้มแข็งของข้อมือในการใช้พู่กัน ไม่ใช่การเคลื่อนไหวนิ้วมือ แต่ละครั้งที่ลงพู่กันไปควรจะมีแรงกดและสร้างความแหลมที่ปลายใบ ให้สังเกตว่าส่วนฐานของใบจะต้องกลมและเต็ม จากนั้นเรียวเล็กลงไปจนถึงจุดตรงปลาย ในการให้ได้ผลเช่นนี้จะต้องวาดพู่กันอย่างรวดเร็ว กดพู่กันลงที่ส่วนฐานของใบ แล้วค่อย ๆ ปล่อยแรงกดขณะที่พู่กันเคลื่อนไปตามใบ และจากนั้นเรียวลงไปจนถึงปลายใบให้สังเกตดังตัวอย่าง





กดพู่กันให้กว้างที่บริเวณฐานและลดแรงกดและความหนาลงจนไปถึงปลาย


การวาดใบไผ่ ให้ใช้หมึกที่มีความเข้มข้นของน้ำหนักสีระดับกลางและโทนสีที่แตกต่างกันตามต้องการ หากกิ่งไผ่เป็นสีเข้ม ใบควรจะเป็นสีเข้มด้วย และหากกิ่งเป็นสีอ่อน ใบก็ควรจะเป็นสีอ่อน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในภาพ ให้แยกลำต้นที่อยู่ด้านหน้าจากต้นที่อยู่ด้านหลัง โดยการใช่ช่องว่างที่เหมาะสม หมึกสีเข้มใช้กับใบที่อยู่ด้านหน้า และหมึกสีอ่อนใช้กับใบที่อยู่ด้านหลัง

ในการวาดภาพใบไผ่ที่อยู่เป็นกลุ่ม ให้ใช้นำ้หนักหมึกสีเข้มกับใบไม้ที่อยู่ด้านหน้า และใช้นำ้หนักหมึกสีอ่อนสำหรับใบที่อยู่ด้านหลัง จากนั้นให้วาดใบที่อยู่กับก่ิงหลักด้านหน้าก่อน แล้วจึงวาดใบที่อยู่ด้านข้างที่ด้้านหลังดังภาพ



การวาดใบอ่อนและใบแก่ของไผ่ได้แสดงไว้ในภาพข้างล่าง ใบอ่อนมีลักษณะแคบและสั้นกว่า ขณะเดียวกันก็ดูอ่อนโยนและมักจะผลิออกจากปลายกิ่ง ส่วนใบแก่จะกว้างและยาวกว่า ตลอดจนมีลักษณะกิ่งใบแข็งแรง



ใบแก่


ภาพบนแสดงให้เห็นว่าใบที่อยู่ติดกับลำต้น ไม่ควรยื่นออกไปมากและควรเชื่อมต่อกัน ในขณะที่ใบที่อยู่ไกลออกไปควรจะคลี่ออกและดูเจริญเติบโต

การวาดใบแบ่งขั้นตอนออกเป็น ๒ ขั้นตอนคือ
๑. ใบชี้ขึ้นข้างบน
๒. ใบชี้ลงข้างล่าง

นอกจากนั้นใบไผ่ในวันที่อากาศสดใสจะชี้ขึ้นข้างบน ขณะที่ใบไผ่ในวันที่ฝนตกมักจะชี้ลงข้างล่างเสมอ





คราวนี้เรามาเรียนรู้การวาดใบไผ่ในวันที่อากาศแจ่มใส จากการลงพู่กัน ๑ - ๗ ครั้ง​ (หนึ่งครั้งต่อใบ ๑ ใบ) และแต่ละลีลาของปลายพู่กันมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป











การลงพู่กันต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดใบไผ่
ต่อไปนี้จะได้เรียนรู้การวาดใบแก่ หรือใบไผ่ที่เห็นในวัันฝนตกเมื่อใบชี้ลง





ด้วยการฝึกฝนคุณจะพบว่า คุณสามารถวาดภาพเหล่านี้โดยเพียงแต่กวาดพู่กันจีนอย่างรวดเร็ว และภาพก็จะเสร็จเรียบร้อยในเวลอันสั้นและรวดเร็ว



ในลักษณะนี้เรียกว่า "หางนกนางแอ่น" ซึ่งมี ๓ สไตล์ด้วยกันคือ ปรกติเอนไปทางขวา เอนไปทางซ้าย (ลงพู่กัน ๓ ครั้ง ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ใบ)







ให้สังเกตการจัดใบเป็นกลุ่มโดยการรวมลักษณะการลงพู่กันข้างต้นเข้าด้วยกันนั้น มีรูปแบบเป็นอย่างไร ดังภาพที่แสดง



ในการวาดกลุ่มของใบไผ่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้วาดใบไผ่ด้วยการลงพู่กัน ๕ ครั้ง ดังภาพที่แสดงแล้วรวมเข้าด้วยกัน







ภาพนี้เป็นวิธีหนึ่งของการลงพู่กัน ๑o ครั้งในการวาดใบไผ่ ซึ่งใบด้านบนโน้มลงและกลืนไปกับใบด้านล่าง รูปแบบของใบไผ่และกลุ่มของใบไผ่มีมากมายหลายวิธี มันจะช่วยให้จิตรกรมีเสรีภาพในการแสดงออก







ในการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกนั้น เราจะต้องพิจารณาจำนวนรูปแบบต่าง ๆ ของใบซึ่งจะช่วยเสริมภาพที่ปรากฏออกมา เช่น การลงพู่กันซึ่งแสดงออกถึงใบที่อยู่ปลายสุดของกิ่งในวันที่ฝนโปรยลงมา ใบเหล่านี้จะถูกวาดให้อยู่ในลักษณะชี้ลงและอยู่ในแนวตั้ง



ภาพชุดต่อไปแสดงให้เห็นใบไผ่ที่มีลักษณะเอนอย่างง่าย ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นใบไผ่ที่อยู่ปลายกิ่งขณะที่ลมกำลังพัดอย่างแรง


ใบไผ่เมื่อถูกลมพัดกระหน่ำทำให้เอนไปด้านขวา


ใบไผ่เมื่อถูกลมพัดเบา ๆ ทำให้เอนไปทางด้านซ้าย


ภาพชุดต่อไปแสดงให้เห็นถึงการลงพู่กันอย่างง่าย ๆ (ทั้งในแนวดิ่งหรือเอนไปทางซ้ายหรือเอนไปทางขวา) รวมทั้งแสดงว่าใบที่ปลายกิ่งมีรูปแบบอย่างไรในวันที่อากาศแจ่มใส ใบต้องดูสวยงามและสดชื่น คุณควรจะรู้แบบฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ เพราะมันจะทำให้คุณสามารถวาดรูปได้หลากหลาย




รูปแบบของใบไผ่ที่สดชื่นมีความเป็นประกาย จะพบได้ที่ปลายกิ่งไผ่ในวันที่อากาศอบอุ่นกำลังสบาย ในการวาดใบไผ่ไม่ควรปฏิบัติดังนี้

ห้ามวาดใบไผ่ที่มีลักษณะเหมือนกับใบพืชที่มีลักษณะกลมมน หรือเมื่อวาดให้เรียวก็ใช้การวาดแบบรวดเร็ว ดังภาพที่แสดง



ใบไผ่มีลักษณะพิเศษในตัวมันเอง ซึ่งจะต้องคงลักษณะนี้ไว้ ใบไผ่ไม่ควรจะวาดแยกออกมาแบบแข็ง ๆ เหมือนนิ้วมือทั้งห้านิ้วของเราเอง หรือว่าสานกันไปมาดังภาพที่ได้แสดง







การจัดใบไผ่ขั้นพื้นฐานมี ๒ อย่างคือ ในแนวนอนกับแนวตั้ง ซึ่งการผสมผสานของการจัดกลุ่มใบเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดความสง่าและสวยงาม ก่อนอื่นเราจะศึกษาการจัดใบในแนวนอน ซึ่งใบต่าง ๆ จะอยู่รวมกลุ่มในแนวนอน ใบหนึ่งอยู่เหนืออีกใบหนึ่ง ดังภาพแสดงการจัดกลุ่มใบด้านล่าง



ในการจัดกลุ่มให้สวยงามเช่นนี้ จะต้องวาดใบตามลำดับดังแสดงไว้ในภาพต่อไปนี้



ขั้นแรก ต้องวาดใบแถวบน (หนึ่งถึงสี่) ดังแสดงไว้ในภาพ A
ขั้นสอง ให้วาดใบในแถวที่สอง (ห้าถึงแปด) ดังแสดงไว้ในภาพ B
ขั้นสาม ให้วาดใบในแถวที่สาม (เก้าถึงสิบสี่) ดังแสดงไว้ในภาพ C
จากนั้นการจัดรูปแบบใบเป็นอันสมบูรณ์





ให้ทำความเข้าใจด้วยว่าส่วนประกอบของต้นไผ่ ขึ้นอยู่กับการที่ใบไผ่ตัดกันไปมาในแนวตั้ง กลุ่มใบที่นำมาเป็นรูปแบบจะเลือกมาจากการประกอบของใบไผ่ในแนวนอนแล้วนำมาประกอบในแนวตั้ง กลุ่มใบกลุ่มหนึ่งเหนือกลุ่มใบอีกกลุ่มหนึ่งเป็นลำดับ ใบที่วาดลงไปต้องมีความแตกต่างเช่น กลุ่มใบบางกลุ่มแยกออกไปเป็นลักษณะตัว Y บางกลุ่มก็แยกออกจากกันและกันและอื่น ๆ แต่ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า การจัดกลุ่มใบโดยทั่วไปนั้นจะต้องชัดเจนและไม่สับสนต่อสายตา ใบที่วาดออกมาควรจะมีความเด่นและตัดกันไปมาเพื่อแสดงสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดในกลุ่ม



ในการจัดกลุ่มใบให้เป็นยอดดังภาพ ต้องวาดตามขั้นตอนด่อไปนี้





การจัดกลุ่มใบในแนวนอน (เป็นชั้น) สามารถจัดแถวได้ถึง ๕ แถว และหลังจากจัดใบให้ซ้อนกันเป็นชั้นได้ ๓ หรือ ๔ ชั้นในแนวตั้ง แถวสุดท้ายควรจะทำให้สมบูรณ์โดยให้ใบอยู่ในลักษณะห้อยลงตามธรรมชาติของต้นไผ่ ภาพต่อไปนี้แสดงการจัดกลุ่มใบที่สมบูรณ์ ภาพ A - E แสดงขั้นตอนในการวาด

ขั้นแรก ให้วาดใบไม้แถวบนสุดในแนวนอนก่อน (๑-๔) โดยลงพู่กัน ๔ ครั้ง ดังแสดงไว้ในภาพ A
ขั้นที่สอง วาดใบไม้ในแถวที่สอง (๔-๘) ใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" โดยให้เอนไปด้านซ้ายและขวาดังที่แสดงไว้ในภาพ B
ขั้นที่สาม วาดใบไม้แถวที่สาม (๙-๑๔) ใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" เช่นเดียวกัน ดังแสดงไว้ในภาพ C
ขั้นที่สี่ วาดใบไม้แถวที่สี่ (๑๕-๑๘) ใช้ "หางนกนางแอ่น" เช่นกัน ดังแสดงไว้ในภาพ D วาดใบที่ ๑๗ และ ๑๘ ให้กระดกขึ้นเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความพุ่งให้แก่กลุ่ม
ขั้นที่ห้า วาดใบไม้แถวที่ห้า (๑๙-๒๔) โดยใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" ดังแสดงไว้ในภาพ E ให้ตกแต่งใบในแถวนี้เล็กน้อย เพื่อให้กลุ่มใบไผ่มีความสมบูรณ์

การจัดกลุ่มใบในแนวตั้งได้แสดงไว้ในภาพล่าง


การจัดกลุ่มใบในแนวตั้ง ได้แสดงไว้ในภาพ
โดยการวาดใบตามขั้นตอนจาก ๑ - ๑๒ จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์



การจัดกลุ่มใบในแนวตั้ง เริ่มต้นวาดใบที่ ๑ และ ๒ (ด้านซ้้ายใช้การลงพู่กันแบบ "หางปลา") แล้วเพ่ิมใบที่ ๓ ลงไป จากนั้นให้วาดใบที่ ๓ ลงไป จากนั้นให้วาดใบที่ ๔ และ ๕ โดยลงพู่กันแบบ "หางปลา" แล้วเพิ่มใบที่ ๖ ใบที่ ๗ ไปจนถึง ๑o เป็นการผสมการวาดใบแบบหางปลาคู่เข้าด้วยกัน สุดท้้ายให้จบด้วยการวาดใบแบบหางปลาที่ส่วนบนเพือให้ภาพที่สมบูรณ์

ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์ พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย ราคา ๑๑o บาท






เอาคลิปวาดไผ่มาฝากอีก คนวาดยังกะเสก ปาดพู่กันเร็ว ๆ ภาพออกมางามขนาดเลย
//www.youtube.com/watch?v=Q8LhJxOAupI



คลิปวาดไผ่แบบลงสี
Create Date :06 ตุลาคม 2551 Last Update :7 ธันวาคม 2552 11:43:51 น. Counter : Pageviews. Comments :50