bloggang.com mainmenu search




ตุ้ยเหลียน


คือกลอนคู่หรือกลอนสองบาทที่เขียนตามแนวยาวบนกระดาษสีแดงสองแผ่น สำหรับติดในบ้านหรือที่ประตูบ้าน ถ้าติดประตูบ้านมักเรียกว่า “เหมินเหลียน” หรือจะเรียกว่า “ชุนเหลียน” ซึ่งแปลว่า กลอนตรุษจีนก็ได้ เพราะโดยทั่วไป นิยมเปลี่ยนกระดาษกลอนคู่ใหม่กันในวันตรุษจีนแทนของเก่า

ตุ้ยเหลียนเป็นบทกวีที่มีความงดงาม ผู้เขียนต้องสันทัดในเชิงกาพย์กลอน มีหลักว่าทั้งสองบาทต้องมีจำนวนคำเท่ากัน เสียงสูงต่ำและการสัมผัสคล้องจองรื่นหู รู้จักเล่นคำ ที่สำคัญคือต้องมีคติสอนใจ มีความหมายที่เป็นมงคล ให้ผู้ที่อยู่อาศัยมีความสุขความเจริญ

ตุ้ยเหลียนติดได้ทุกแห่งภายในบ้าน ถ้าจะติดที่ประตูมีหลักที่ต้องปฏิบัติให้ถูกคือ กลอนบาทแรกที่ติดกำแพงประตูด้านขวาของผู้อ่าน บาทที่สองบนกำแพงด้านซ้าย เหนือประตูหากจะมีก็ต้องเขียนตามแนวขวาง ด้วยจำนวนคำที่น้อยกว่าราวครึ่งหนึ่ง

คนจีนเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนโดยนิสัย ตุ้ยเหลียนจึงเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาตั้งแต่ยุคซ่ง และเจริญสูงสุดในยุคหมิง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงคือ จักรพรรดิ์จูหยวนจังทรงโปรดการแต่งกลอนคู่มาก และสนับสนุนให้ข้าราชบริพารแต่งด้วย ตุ้ยเหลียนจีงแพร่หลายมากจนมีการรวบรวมเป็นเล่ม ถือเป็นวรรณกรรมที่มีค่าชนิดหนึ่ง

สมัยก่อนเจ้าของบ้านมักโชว์ฝีมือแต่งกลอนตุ้ยเหลียนเอง แต่ปัจจุบันคนมีเวลาน้อยลง สุนทรียภาพก็น้อยลงเพราะถูกธุริจการค้าเข้ามาแย่งที่ กลอนตุ้ยเหลียนยุคใหม่จึงผลิตกันง่ายๆ ไหลผ่านแท่นพิมพ์ออกมาเป็นโหลๆ หาความน่าสนใจได้ยาก

ยิ่งกว่านั้น คนจีนยุคใหม่ยังหันไปนิยมติดกระดาษแดงที่เขียนคำมงคลสั้น ๆเพียงคำเดียว เช่นคำว่า “ฝู” แปลว่า โชคดีมีสุข “โซ่ว” แปลว่า อายุยืน มีภาพประกอบและตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เช่น รูปเทพเจ้าอายุหมื่นปียืนถือลูกท้อ ปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูมังกร พืชพันธุ์ธัญญาหารล้นฉาง ซึ่งล้วนมีความหมายไปในทางขอพรให้มั่งมีศรีสุข

ที่นิยมทำกันมากที่สุดคือ การติดตัวอักษร “ฝู” ตีลังกากลับหัว เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งจักรพรรดิ์จูหยวนจังทรงกริ้วที่มหาดเล็กติดกระดาษแดงตัวอักษร “ฝู” กลับหัว หมาดเล็กหัวไวกราบทูลว่า ใครก็ตามที่เห็นตัวฝูกลับหัวก็ต้องอุทานออกมาว่า “ฝูเต้าเลอ” ซึ่งแปลได้สองความหมาย แปลว่า “ฝูตีลังกากลับหัวเสียแล้ว” หรือ “โชคลาภมาถึงแล้ว” ก็ได้ ถ้ามีคนเห็นแล้วอุทานร้อยครั้งพระองค์ก็จะมีโชคร้อยครั้ง จักรพรรดิ์ได้ฟังแล้วทรงพอพระทัย พระราชทานรางวัลให้มหาดเล็กหัวใสหลายสิบตำลึง

จากคอลัมน์ “คือความเป็นจีน” โดย พันหนีต๋า ในมิตชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๔- ๑o พฤษภาคม ๒๕๕o


หนังสือกลอนคู่ที่ซื้อจากร้านนานมี เล่มหนาปึ๊กเลย (ห้าร้อยกว่าหน้า) มีกลอนคู่ที่มีอักษรบาทละห้าตัว รวมทั้งหมดพันบท



กลอนคู่ในเล่ม





























ต่อไปนี้เป็นลายมือของข้าพเจ้าเอง ฝึกเขียนตุ้ยเหลียนไว้หลายบท จากหนังสือเล่มนี้แล้วก็เล่มอื่นด้วย อยากเขียนตัวหนังสือแบบนี้ได้เองมั่ก ๆ แต่รู้อักษรจีนแค่จิ๊บจ๊อยเลยทำได้แค่เขียนตามแบบ























ลายมือแบบนี้ก็ชอบ ออกแนวโบราณ ๆ หน่อย
ไม่แน่ใจว่าเป็นกลอนคู่หรือเปล่า เห็นว่าสวยดีเลยลองหัดเขียนดู




ขอบคุณคุณ Kim Bok Sil สำหรับบีจีค่ะ

Free TextEditor


Create Date :20 พฤษภาคม 2550 Last Update :1 มีนาคม 2555 18:48:16 น. Counter : Pageviews. Comments :65