bloggang.com mainmenu search


ในการวาดกิ่งไผ่ จะต้องจับพู่กันในลักษณะ “ชุงเฟ็ง” และในการวาดเส้นที่มั่นคงและเฉียบขาด คุณจะเรียนรู้และมีความชำนาญในการวาดเส้นทั้งหนาและบาง โดยการใช้แรงกดตามจังหวะที่ถูกต้อง ด้วยการฝึกฝนสมำ่เสมอ หมึกที่อยู่ในขนพู่กันควรจะมีความชุ่มและเข้ม ในขณะเดียวกัน ตัวพู่กันควรจะแห้ง เพื่อให้คุณสามารถใช้พู่กันได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วยิ่งขึ้น



การวาดกิ่งไผ่ ควรทำความเข้าใจว่ากิ่งไผ่นั้นงอกออกมาจากข้อไผ่ ดังนั้น ให้วาดจากลำต้นออกไปโดยการใช้ฐานของกิ่งเป็นตัวเชื่อมปล้องสองปล้อง กิ่งไผ่มีมากที่สุดที่บริเวณเหนือตอนกลางของลำต้น และจะพบว่ากิ่งไผ่ที่งอกออกไปทั้งสองด้านของข้อไผ่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่คุณวาดภาพ พยายามจัดกิ่งให้อยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกัน ในบทนี้จะมีภาพและเนื้อหา ซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นว่าจะวาดภาพในส่วนนี้ให้สวยงามได้อย่างไร

ให้สังเกตว่าในการวาดกิ่งไผ่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกับการวาดลำต้น ในการวาดให้ลากพู่กันอย่างมั่นคงและแข็งแรง จากฐานเป็นเส้นหนา แล้วค่อย ๆ บางลงจนถึงปลาย ดังแสดงไว้ในภาพนี้



เมื่อวาดกิ่งไผ่ออกจากลำต้นที่สมบูรณ์ กิ่งไผ่ที่วาดควรจะเริ่มต้นจากข้อที่ ๕ จากลำต้นที่แสดงไว้ในภาพ และในการวาดกิ่งไผ่จากลำต้นเพียงส่วนหนึ่ง กิ่งไผ่ที่วาดควรจะเริ่มต้นจากข้อที่ ๒ ดังแสดงไว้ในภาพล่างด้านขวา



ในภาพล่างแสดงให้เห็นว่ากิ่งไผ่งอกออกมาจากข้อไผ่ แล้วจึงแบ่งออกเป็นกิ่งไผ่เล็ก ๆ อีก ซึ่งภาพนี้ต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดอ่อน





ให้สังเกตความหนาของหมึกที่ใช้ในการวาดกิ่งไผ่ ทุกข้อต่อของกิ่งไผ่มีลักษณะสั้นและเป็นการใช้พู่กันวาดครั้งเดียว พูดอีกอย่างหนึ่งคือ แต่ละช่วงของกิ่งไผ่จะวาดเป็นเส้นสั้น ๆ แล้วก็หยุดนิดนึงแล้วจึงวาดช่วงต่อไปทีละขั้น ๆ การวาดกิ่งไผ่ไม่จำเป็นต้องปล่อยช่องว่างระหว่างช่วงเหมือนกับการวาดลำต้น



ให้วาดกิ่งไผ่ออกจากข้อของลำต้นเสมอ และให้สังเกตว่า กิ่งไผ่จะอยู่ในลักษณะสลับกันไป กิ่งหนึ่งงอกเอนออกไปทางซ้าย และอีกกิ่งหนึ่งงอกเอนออกไปทางขวา ให้คิดเสมอว่ากิ่งจะอยู่ในลักษณะซ้าย ขวา ซ้าย ขวา

ขณะที่ลำต้นของไผ่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก แต่การมอง กิ่งไผ่นั้นจะออกมาในลักษณะที่กิ่งหนึ่งอยู่ด้านหน้า และอีกกิ่งหนึ่งอยู่ด้านหลัง ดังภาพ



กิ่งไผ่ที่บอบบางมักจะงอกออกมาจากลำต้นของต้นไผ่อ่อน ก่ิงไผ่จะดูอ่อนไหวและละเมียดละไม ข้อไผ่มีขนาดเล็กและเรียบ อย่างไรก็ตาม ในการวาดให้จับพู่กันให้มั่นคงและเคลื่อนไหวตลอด



กิ่งเล็ก ๆ มักจะปรากฎขึ้นที่ข้อต่อเล็ก ๆ ในแต่ละส่วนของกิ่งด้วย พยายามใช้พู่กันอย่างรวดเร็วเมื่อวาดก่ิงไผ่ ให้ลากพู่กัน ลากไป ลากไป จนงานเสร็จเรียบร้อย



การวาดกิ่งไผ่แก่จะมีลักษณะมั่นคงและตรงไม่มีความนุ่มนวลอยู่เลย ในการวาดกิ่งไผ่ชนิดนี้ให้วาดโดยใช้หมึกแห้งและเส้นบาง และตรงข้อไ่ผ่ให้มีขนาดใหญ่กว่าข้อของกิ่งไผ่เล็กน้อย



กิ่งไผ่จะต้องแสดงความเอนเอียงของกิ่งที่แตกต่างกัน รวมทั้งจำนวนของใบที่อยู่บนกิ่งไผ่ พุ่มใบไผ่ที่บางเบาจะยื่นออกมาได้มั่นคงกว่า ในขณะที่พุ่มใบไผ่ที่หนาทำให้กิ่งไผ่ลู่ลง



นอกจากการเรียนรู้ว่าจะวาดกิ่งไผ่ได้อย่างไรแล้ว จิตรกรจะต้องเข้าใจตำแหน่งกิ่งในสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วย (การจัดวางลักษณะของกิ่ง) ตัวอย่างเช่น กิ่งห้อยลง ภาพแรกด้านล่างแสดงให้เห็นถึงกิ่งไผ่ที่ห้อยจากด้านขวาไปซ้าย ในขณะที่ภาพสองแสดงกิ่งไผ่ที่ห้อยจากซ้ายไปขวา





ในการวาดภาพกิ่งไผ่ที่ย้อยลง เช่นจากหน้าผาหรือนอกกำแพง หรือว่ากิ่งไผ่ที่กำลังแกว่งไกวจากขวาไปซ้ายนั้น ให้วาดกิ่งที่เป็นหลักก่อน จากบนลงมาด้านซ้ายแล้วจึงวาดกิ่งด้านข้างต่อไป จากนั้นให้หยุดและกดพู่กันเล็กน้อยที่ระหว่างข้อต่อ ในการวาดกิ่งที่ห้อยลง ให้ลดแรงกดและความหนาเมื่อกำลังจะไปถึงปลายกิ่ง ในการวาดกิ่งที่ห้อยจากต้นซ้ายไปขวาให้กลับตำแหน่งในการวาด



การจัดวางลักษณะของกิ่งในวันฝนตก หยาดฝนทำให้กิ่งไผ่มีน้ำหนักเพิ่งขึ้น ในการวาดให้เริ่มต้นกิ่งที่เป็นหลักก่อน แล้วจึงวาดส่วนที่เหลือให้เสร็จ จำไว้ว่ากิ่งสั้น ๆ จะโค้งงอเพียงเล็กน้อย ในขณะที่กิ่งที่ยาวและบอบบางจะห้อยลง



การจัดวางลักษณะของกิ่งในวันที่อากาศแจ่มใส กิ่งไผ่จะชูชันและสดชื่นในการวาด ให้คุณทำตัวให้สดชื่นกระฉับกระเฉงด้วย ขณะที่ลากพู่กันจากส่วนล่างไปส่วนบน และจะให้กิ่งมีความหนา บาง มากหรือน้อยเพียงใดได้ตามชอบใจ



การจัดวางลักษณะของกิ่งในวันที่มีลมแรง ตำแหน่งของก่ิงที่แสดงถึงว่าลมกำลังพัดอยู่ กิ่งไผ่ที่สั้นจะโน้มเพียงเล็กน้อย ขณะที่กิ่งไผ่ที่ยาวจะโน้มลงมากกว่าในการวาด ให้ใช้พู่กันในลักษณะที่มั่นคงและแข็งแรง หากลงพัดจากด้านซ้าย ก่ิงไผ่ที่อยู่ด้านซ้ายจะถูกบังคับให้ลู่ไปทางซ้าย แล้วจะไปทางขวาหรือในทางกลับกัน จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้การวาดภาพต้นไผ่ได้กลายเป็นศิลปะบริสุทธิ์อย่างแท้จริง








บทที่ ๖
การวาดข้อไผ่


ขณะที่การวาดข้อไผ่เป็นสิ่งสำคัญในตอนจบของการวาดภาพต้นไผ่ แต่การวาดข้อไผ่ก็เป็นเรื่องง่าย เพียงแต่ใช้หมึกเข้ม ๆ และขนพู่กันที่แห้ง​ โดยใช้นำ้หนักสีที่เข้มกว่านำ้หนักสีของลำต้น

การให้หมึกซึมเข้าไปที่ลำต้นต้องทำก่อนที่สีที่ลำต้นจะแห้ง เพื่อช่วยให้สีดูนุ่มและกลมกลืนกันกับข้อไผ่ ข้อไผ่แต่ละข้อควรจะมีขนาดใหญ่กว่าลำต้นเล็กน้อย และข้อไผ่นี้ใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างปล้อง ๒ ปล้องเข้าด้วยกัน

ในการที่จะวาดให้ข้อไผ่มองดูกลมนั้น ฝีแปรงของพู่กันควรจะโค้งจากซ้ายไปขวา อย่างข้อไผ่ให้เป็นตะขอหรือวาดแบบกระตุก ให้วาดให้ข้อไผ่จากมุม โดยให้ส่วนโค้งอยู่ด้านบนหรือล่างแล้วแต่กรณี ความจริงแล้ว การวาดข้อไผ่ให้ดูกลมเข้ากับลำต้นนั้นจะให้มุมมองที่น่าดูต่อภาพ ด้วยเหตุนี้พึงจำไว้เสมอว่า ข้อไผ่ ๒ แบบที่แตกต่างกัน (โค้งอยู่ด้านบนกับด้านล่าง) จะต้องไม่วาดรวมอยู่ในภาพเดียวกัน จิตรกรจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะวาดให้โค้งอยู่ด้านบนหรือล่าง ขึ้นอยู่กับมุมมององค์ประกอบของการวาดภาพต้นไผ่ว่าจะเป็นแบบใด

ภาพต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงการวาดข้อไผ่ที่ลงตัวสวยงาม ดังที่อธิบายไว้ข้างต้น







ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์
พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย
ราคา ๑๑o บาท






คราวนี้มีคลิปวาดไผ่มาฝากด้วย เจอในยูตู๊บมีคนโหลดไว้ตรึมเลย

//www.youtube.com/watch?v=-HKaZoXnwf8




//www.youtube.com/watch?v=p_JPnUAwAZQ




//www.youtube.com/watch?v=_36aaSBj8ew




บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com
ไลน์จากคุณเนยสีฟ้า


Free TextEditor


Create Date :04 กันยายน 2551 Last Update :15 กันยายน 2564 16:14:10 น. Counter : Pageviews. Comments :95