bloggang.com mainmenu search


๓. จานรองหมึก ทำด้วยหินเรียบเนื้อละเอียด ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีหลุมตื้นๆด้านบน มีทั้งแบบทรงสี่เหลี่ยมแบนๆธรรมดาไปจนถึงแกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง อยากใช้แบบไหนก็เลือกซื้อมาเลย เมื่อใช้งานแล้วควรล้างให้สะอาดและเช็ดให้แห้งทุกครั้ง เพราะหมึกส่วนผสมของกาวอยู่ด้วย เมื่อหมึกแห้งจะล้างออกยาก นอกจากนี้ถ้าเป็นหมึกที่ใช้วาดภาพ หมึกเก่าและใหม่จะผสมกันทำให้สีออกมาไม่สวยงามและพู่กันเสื่อมสภาพเร็ว



๔. กระดาษ คุณภาพดีที่สุดคือ กระดาษสวนจื่อ ผลิตในมณฑลอันฮุยเป็นกระดาษสาสีขาว มีอยู่ ๒ ชนิด แบบที่ดูดซึมหมึกได้ดีเมื่อวาดด้วยพู่กัน เหมาะสำหรับใช้เขียนตัวหนังสือ อีกชนิดหนึ่งลงสารส้มไว้ทำให้ไม่ดูดซึมหมึก เหมาะสำหรับวาดภาพที่ต้องเก็บรายละเอียด นอกจากกระดาษแล้วบางครั้งจิตรกรจะวาดภาพลงบนผ้าไหมชนิดบาง โดยต้องลงสารส้มและแป้งเปียกก่อนจะนำไปใช้งาน นอกจากกระดาษสวนแล้วยังมีการใช้กระดาษเหมียนในบางโอกาส กระดาษเหมียนทำจากฝ้ายและสามารถดูดซึมน้ำได้ดี และถือเป็นกระดาษดิบ (Raw Paper) ซึ่งในเมืองไทยเรียกว่า “กระดาษสา” กระดาษชนิดนี้เมื่อเคลือบด้วยยางสนและสารส้มก็จะเปลี่ยนเป็นกระดาษไม่ดูดซึม เหมาะกับงานที่ต้องใช้ผิวกระดาษขรุขระเท่านั้น กระดาษสวนอย่างดีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระดาษข้าวมีขนาดใหญ่ ๔, ๕, และ ๖ ฟุตต่อม้วน ดังนั้นจึงวาดภาพใหญ่ ๆ ได้ กระดาษมีเกรดที่แตกต่างกันและมีชื่อเรียกที่ต่างกันไป เช่น กระดากสวนเยนเหมียน กระดาษสวนยูเพน กระดาษสวนกังสองชั้น กระดาษสวนกังชั้นเดียว กระดาษสวนที่ได้มาจากการต้มและตี กระดาษสารส้มสวนซับเฉียน กระดาษสวนเต้าหู้ จิตรกรจีนจึงมีกระดาษมากมายให้เลือกนำไปใช้งาน

***ร้านนานมีขายแผ่นละ ๔o บาท ที่ O.C.A.จะซื้อได้ถูกกว่าเกือบครึ่ง สำหรับคนที่เริ่มเขียนควรใช้กระดาษที่มีตารางสำเร็จรูป แบบที่แปะลายมือเหล่าซือในบล็อคที่แล้ว จะกะระยะในการเขียนตัวหนังสือได้ง่ายหน่อย

๕. ตราประทับชื่อ เริ่มประดิษฐ์ใช้เมื่อ ๓,ooo ปีมาแล้ว ใช้กันในหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทำจากวัสดุต่าง ๆ มีทั้ง หยก งาช้าง ไม้และหินอ่อน มีหลายขนาดและรูปแบบแล้วแต่ลักษณะการใช้งาน ด้านบนแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลา สิงโต มังกรและอื่น ๆ ด้านล่างแกะสลักชื่อ-สกุลของเจ้าของ หรือคำที่เป็นมงคล บางชนิดแกะสลักยศหรือตำแหน่งการงาน ใช้ประทับแทนลายเซ็นบนงานศิลปะ บทกวีและจดหมาย ปัจจุบันตราประทับที่ใช้กันมี ๓ ชนิดคือ ตัวอักษรสีแดงบนพื้นสีขาว, ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีแดง, ตัวอักษรสีขาวและแดงผสมกัน หารูปได้แค่สองแบบแรก



ตราประทับแบบต่างๆ



ตัวอย่างตัวอักษรของตราประทับ แบบแรกเป็นลายพระหัตถ์ของพระเจ้าเฉียนหลง



หมึกที่ใช้กับตราประทับ



ที่จริงในเวบมีรายละเอียดอีกเยอะ แต่กลัวแปลผิดเพราะมีศัพท์เฉพาะเยอะ
อยากอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมก็ตามlinkนี้ไปเลยค่ะ

https://www.logoi.com/notes/seals/


https://en.wikipedia.org/wiki/Seal_(Chinese)


https://www.geocities.com/heartland/8833/seal.html


***ตราประทับที่ใช้อยู่สั่งทำที่ร้าน Jade Gallery เป็นร้านเล็กๆอยู่ที่ชั้นสามในศูยน์การค้าอมรินทร์พลาซ่า

๖. ผ้ารองเขียนกันหมึกซึม จะใช้กระดาษชานอ้อยก็ได้

๗. หนังสือแบบเขียนตัวอักษรจีน เอาไว้เป็นแบบฝึกเขียนตัวหนังสือ

ข้อมูลจากเวบที่ให้linkไว้ในทั้งสองบล็อคและหนังสือ "เส้นสายภู่กันจีน" โดย ณัฐพัฒน์ เรียบเรียง

ตัวหนังสือแบบหวัดก็ชอบเขียนค่ะ เพื่อนเคยยืมตัวหนังสือที่เขียนนี้ไปดูแล้วเอาไปลงในหนังสือพิมพ์จีนให้ พอเห็นแล้วก็เป็นปลื้มซ้าาาาาา ความที่ข้อความมันยาวไปหน่อยเขาก็เลยต้องย่อขนาด ตัวหนังสือก็เลยเล็กมาก





ตัวหนังสือที่เขียน












































































บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor

Create Date :21 กรกฎาคม 2549 Last Update :27 พฤษภาคม 2564 14:03:35 น. Counter : Pageviews. Comments :42