bloggang.com mainmenu search


ทำบล็อคพู่กันจีนถ้าไม่บอกวิธีเขียนก็คงไม่ครบเครื่อง แต่รี ๆ รอ ๆ อยู่นานกว่าจะลงมือเขียนบล็อคนี้ เพราะตอนที่เรียนเหล่าซือก็ไม่ได้บอกวิธีเป็นขั้นเป็นตอน ท่านเขียนให้ดูแล้วให้เขียนตาม ต้องหาข้อมูลในเวบและหนังสือสอนเขียนพู่กันจีนที่เพื่อนที่เรียนพู่กันจีนด้วยกันเคยให้ไว้ ผสมกับความรู้ที่เคยเรียนมา ผิดพลาดประการใดขออำภัยไว้ก่อนละเน้อ

ก่อนอื่นก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย มีพู่กันจีน กระดาษ จานรองหมึก หมึกจีน หนังสือตัวอย่างอักษรไว้ฝึกเขียน ทั้งหมดนี่หาซื้อได้ที่ร้านนานมีแถวเยาวราช ขั้นเริ่มต้นจะใช้อุปกรณ์แบบไม่แพงมากก็ได้ แต่พู่กันจีนให้ใช้อย่างดีจะดีกว่า อ้อ แล้วต้องมีกระดาษหรือผ้ารองซับหมึกเวลาเขียน (เราใช้กระดาษชานอ้อย) ถ้าไม่มีหนังสือตัวอย่างอักษรก็เข้าเวบนี้ https://www.wfu.edu/~moran/callig.html มีตัวอย่างอักษรค่ะ

กระดาษฝึกเขียน เริ่มหัดใช้กระดาษมีตารางแบบนี้จะกะระยะได้ง่ายหน่อย แต่ถ้ามีกระดาษเขียนพู่กันจีนอยู่แล้ว จะใช้กระดาษชานอ้อยที่รองเขียนมาตีตารางด้วยหมึกดำก็ได้ค่ะ แผ่นนึงวัดเฉพาะตารางกว้าง - ยาวด้านละสิบแปดเซ็นต์ ขนาดช่องตารางเล็กๆกว้าง - ยาวด้านละเซ็นต์ครึ่ง ตอนที่เรียนเหล่าซือให้เขียนแผ่นละสี่ตัว เวลาเขียนพยายามให้ตัวหนังสืออยู่ตรงกลางแต่ละช่อง




มีอุปกรณ์แล้วก็มารู้วิธีเขียนกัน เริ่มต้นด้วยการตั้งท่าให้ถูกต้อง เวลาเขียนพู่กันจีนจะนั่งหรือยืนเขียนก็ได้แล้วแต่จะถนัด ในรูปคือลักษณะการนั่งและยืนที่ถูกต้อง









วิธีจับพู่กัน


ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลางจับพู่กัน สามนิ้วนี้เป็นนิ้วหลักเวลาเขียน นิ้วนางกับนิ้วก้อยอยู่ด้านล่าง คอยประคองพู่กัน จับพู่กันช่วงกลางด้าม ให้ตัวพู่กันตั้งตรงเป็นเส้นฉากกับโต๊ะเสมอเวลาเขียน





เวลาเขียนใช้มืออีกข้างช่วยรองรับ หรือจะยกข้อมือสูงก็ได้





เส้นตัวหนังสือของจีนมีหลักๆดังนี้

๑. เป็นจุด


๒. เส้นขีดจากซ้ายไปขวา


๓. เส้นขีดจากบนลงล่าง


๔. เส้นขีดเฉียงจากขวาไปซ้าย


๕. ขีดเฉียงจากซ้ายไปขวา


๖. ขีดตวัดจากล่างซ้ายขึ้นไปขวา


๗. เส้นลากหักมุม





ตัวหนังสือที่รวมการเขียนเส้นทั้งหมดไว้ในตัวเดียวกัน




คลิปวิธีเขียน



การเขียนพู่กันจีนจะมีเส้นหนักและเบา ต้องลงน้ำหนักมือให้เหมาะถึงจะเขียนตัวหนังสือได้สวย ตัวอย่างขีดด้านล่างที่แปะให้ดู เส้นด้านในแต่ละขีดแสดงให้เห็นการลงน้ำหนัก (ตรงที่เป็นขีดหรือเส้นหนาใช้วิธีลงกดพู่กันเส้นที่เขียนก็จะหนา ส่วนเส้นที่เล็กก็ยกพู่กันให้สูงขึ้น) สังเกตดู เส้นที่ขีดจากบนลงล่างอย่างหมายเลข ๓ ต้องเขียนเส้นให้ตรงเสมอ แต่เส้นที่ขีดจากขวาไปซ้ายอย่างหมายเลข ๒, ๖, และ ๘ จะเขียนเป็นเส้นเฉียง ด้านซ้ายจะต่ำกว่าด้านขวา และนอกจากจุดและขีดอย่างหมายเลข ๑ กับ ๒ แล้ว ทุกตัวจะเริ่มด้วยเส้นหนาและจบด้วยปลายแหลม (เพราะงี้เราเลยบอกให้ใช้พู่กันดีหน่อย ไม่งั้นเวลาเขียนปลายพู่กันจะไม่รวมกัน ทำให้เขียนเส้นแหลมไม่สวย) เวลาเขียนตอนจบให้ยกพู่กันแล้วสะบัดปลายพู่กันเล็ก ๆ เส้นก็จะเรียวแหลมสวย ยังมีเส้นที่เขียนยากคือเส้นหมายเลข ๖ และ ๘ ที่ปลายเส้นเป็นตะขอและเส้นลากหักมุม เส้นที่เป็นตะขอต้องต้องกดพู่กันให้เส้นหนาขึ้น แล้วยกพู่กันสะบัดปลายพู่กันขึ้นหรือลงให้ปลายเรียวแหลม ส่วนเส้นลากหักมุม อย่างในหนังสือตัวนี้ เวลาเขียนส่วนที่เป็นเส้นโค้ง ถ้าวาดพู่กันไม่หวานเส้นก็จะไม่สวย





ตัวหนังสือของจีนมีเยอะเส้นก็จริง แต่ก็มีหลักให้จำง่าย ๆ คือ
๑. เขียนจากบนลงล่าง
๒. เขียนจากซ้ายไปขวา
๓. เขียนจากด้านนอกก่อนด้านใน
๔. เขียนตรงกลางก่อน จากนั้นเขียนด้านซ้ายแล้วค่อยเขียนด้านขวา(อันนี้ไม่มีในตัวอย่าง)


ลำดับการเขียนเส้นแต่ละเส้น




















ดูวิธีเขียนชัด ๆ อีกที


จุด ลักษณะจะเป็นทรงสามเหลี่ยม เริ่มเขียนด้วยการค่อย ๆ จรดปลายพู่กันให้เส้นเป็นปลายแหลม แล้วกดพู่ไปด้านข้าง วนลงล่าง จากนั้นวนขึ้นไปที่จุดเริ่ม





เส้นขีดจากซ้ายไปขวา เริ่มด้วยการกดพู่กันให้เส้นหนา แล้วยกพู่กันขีดให้เส้นช่วงกลางบางลง จบด้วยการกดพู่กันให้เส้นหนาขึ้นเท่าช่วงแรก ตรงที่กากะบาทเป็นช่วงที่ลงน้ำหนักมาก





เส้นขีดจากบนลงล่าง วิีธีเขียนเหมือนเส้นขีดจากซ้ายไปขวา





เส้นขีดเฉียงจากขวาไปซ้าย เริ่มด้วยกดพู่กันให้เป็นเส้นหนา ลากเส้นไปทางซ้าย ตอนปลายขีดให้ยกพู่กันให้เส้นเป็นปลายแหลม





เส้นขีดเฉียงจากซ้ายไปขวา เริ่มด้วยเส้นบาง ลากเส้นไปด้านล่างทางขวา ค่อย ๆ กดพู่กันให้เส้นหนาขึ้น แล้วลากเส้นตรงไปทางขวา





เส้นที่เป็นตะขอ เขียนเหมือนเส้นที่สองแต่พอถึงตรงปลาย กดพู่กันถอยหลังนิดนึง แล้วตวัดปลายขึ้นให้แหลม





อันนี้คล้ายแบบที่สี่แต่ขีดสั้นกว่า







สองขีดสุดท้ายใช้เขียนในคำนี้ อ่านว่า "ห่าว" แปลว่า "ดี"





ตัวอย่างอักษรที่เหล่าซือเขียน










อันนี้เราเขียนเอง คัดจากหนังสือ ถ้าไม่ถนัดเขียนตัวใหญ่ ๆ จะเขียนตัวเล็กแบบนี้ก็ได้ค่ะ









เวบเกี่ยวกับการเขียนพู่กันจีน
https://www.zein.se/patrick/chinen9p.html
https://www.wfu.edu/~moran/callig.html
https://afe.easia.columbia.edu/china/language/callig.htm
https://www.shambles.net/pages/learning/Mandarin/Mwriting/


บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่


Create Date :14 กันยายน 2550 Last Update :28 พฤศจิกายน 2565 9:14:30 น. Counter : Pageviews. Comments :76