"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
สิงโตในมุทราศาสตร์


จันทรวารวรสวัสดิ์ มานมนัสภิรมย์ปรีดิ์ ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ค่ะ


สิงโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง


ลักษณะการวางท่า

ลักษณะการวางท่าของสิงโต มีด้วยกันหลากหลายเพราะความพยายามที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างตราหรือธง แต่ในยุคกลางลักษณะการวางท่าของสิงโตมีอยู่เพียงไม่กี่ท่าที่ใช้กัน สิ่งที่มักจะสร้างถกเถียงกัน (โดยเฉพาะในตราอาร์มของฝรั่งเศส) คือความแตกต่างระหว่างสิงโตในท่าเดินว่าเป็น “เสือดาว” หรือไม่ ลักษณะการวางท่าหลักของสิงโตในตราอาร์มก็ได้แก่:


ชื่อท่า

“Rampant”
“ยืนผงาด” เป็นท่าที่พบบ่อยที่สุด เป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า ตำแหน่งของขาหลังของท่านี้ก็แตกต่างกันออกไป บางท่าก็จะยืนกางขาบนสองเท้าหลัง หรือยืนบนขาเดียว อีกขาหนึ่งยกขึ้นพร้อมที่จะตะปบ คำว่า “rampant” มักจะไม่ใช้ โดยเฉพาะในนิยามของตราในสมัยต้นๆ เพราะเป็นท่าที่ใช้กันเป็นปกติ

ข้อสังเกต: บางครั้งท่านี้ก็เรียกว่า “segreant” แต่เป็นท่าเดียวกับที่ใช้สำหรับกริฟฟินและมังกร

“Passant”
“ยืนยกเท้าหน้า”
“ยุรยาตรยกเท้าหน้า”

“ยืนยกเท้าหน้า” เป็นท่ายืนขณะที่ยกอุ้งเท้าหน้า สามขายืนบนดิน “สิงโตของอังกฤษ” เป็นสิงโตที่มีคำนิยามว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าสีทอง” (lion passant guardant Or) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่มาเพิ่มเติมเพื่อเกียรติยศ (Augmentation of honour)

ข้อสังเกต: สิงโตที่ใช้ท่านี้อาจจะเรียกว่า “เสือดาว”

“Statant”
“ยืน” / “ยุรยาตร” เป็นท่าที่ทั้งสี่เท้าอยู่บนพื้น และขาหน้ามักจะชิดกันท่านี้เป็นท่านิยมใช้สำหรับบนเครื่องยอดมากกว่าที่จะท่าที่ใช้เป็นตราบนโล่หลัก

“Salient”
“กระโจน” เป็นท่าที่ยืนบนขาหลังสองขาชิดกัน และสองขาหน้ายกขึ้นพร้อมกันในท่าพร้อมที่จะกระโจน ท่านี้หาดูได้ยากสำหรับการใช้กับสิงโต แต่เป็นท่าที่ใช้ได้กับสัตว์อื่นๆ บนตราได้


“Sejant”
“นั่ง” เป็นท่านั่งคร่อมที่ขาหน้าทั้งสองขาอยู่บนพื้น[7]

“Sejant erect”
“นั่งยกเท้าหน้า” เป็นท่านั่งแต่หลังตรง และขาหน้าทั้งสองยกขึ้นในท่าเดียวกับท่ายกขาหน้าของท่า “Rampant” ที่บางครั้งทำให้เรียกท่านี้ว่า “Sejant-rampant”

“Couchant”
“นอนสง่า” เป็นท่านอนแต่ยกหัว

“Dormant”
“หลับ” เป็นท่านอนก้มหัวหนุนอุ้งเท้าหน้าและปิดตาเหมือนหลับ

ลักษณะการวางท่าอื่นนอกจากนี้ก็ยังเป็นการและบรรยายอย่างละเอียด สิ่งที่น่าสังเกตคือตราอาร์มจะมีด้านซ้าย และ ขวา (dexter และ sinister) ของผู้ถือโล่

ฉะนั้นเมื่อวาดเป็นรูปด้านซ้ายของโล่จึงเรียกว่าด้านขวา (sinister) เพราะเป็นด้านขวาของผู้ถือโล่ และ ด้านขวาของโล่จึงเรียกว่าด้านซ้าย (dexter) เพราะเป็นด้านซ้ายของผู้ถือโล่ (ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายของคำ เพราะตามปกติแล้วคำว่า “dexter” แปลว่า “ขวา” และ คำว่า “sinister” แปลว่า “ซ้าย”)

หัวสิงห์โดยทั่วไปแล้วจะบรรยายว่าหันหน้าไปทางขวา ซึ่งเมื่อวาดเป็นรูปจึงหันไปทางซ้ายของผู้ดูโล่ นอกจากจะระบุเป็นอื่น ถ้าร่างทั้งร่างของสิงห์หันไปทางขวา ก็เท่ากับหันไปทางซ้าย (to sinister) หรือ “contourné” ถ้าร่างทั้งร่างของสิงห์หันมาหน้ามาทางผู้ดูก็จะเรียกว่า “ประจันหน้า” (affronté) ถ้าหันแต่หัวมาทางผู้ดูก็จะเรียกว่า “หันหน้า” (guardant หรือ gardant) ถ้าหันข้ามไหล่ไปทางด้านหลักก็จักเรียกว่า “เอี้ยวคอ” (regardant)

ถ้าบรรยายว่า สิงโต (หรือสัตว์อื่น) ทำท่า “ขลาด” (coward) ก็จะเป็นท่าที่เอาหางซ่อนไว้ระหว่างขาหลัง หรือบางครั้งหางก็อาจจะเป็น “หางปม” (nowed), “หางแฉก” (queue fourchée) หรือ “สองหาง” (double-queued) ตราของราชอาณาจักรโบฮีเมียใช้สิงห์หางแฉก

สิงห์หันหน้า
(Lion guardant)

สิงห์เอี้ยวคอ
(Lion regardant)

สิงห์ขลาด
(Lion coward)


สิงห์หางแฉก
(Lion with forked tail)

สิงห์หางไขว้
(Lion with Crossed tail)

สิงห์หางบิด
(Lion with Crossed tail (reverse))

สิงห์หางปม
(Lion with tail nowed)


สิงโต หรือ เสือดาว

สิงห์ยืนยกเท้าหน้า: สิงโต หรือ เสือดาวสิงโตในตราอาร์มของเวลส์และอังกฤษใช้ลักษณะการวางท่าที่เรียกว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าหันหน้า” (“passant gardant”)

การระบุว่าเป็นสัตว์ชนิดใดเป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงกันเป็นอย่างมาก บ้างก็ว่าท่านี้เป็นท่าของเสือดาวไม่ใช่สิงโต แต่สัตว์ที่ปรากฏบนตรามีขนหัวอย่างสิงโตตัวผู้ โดยทั่วไปแล้วก็จะเรียกว่าสิงโต

การใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์


สิงโตมีปีกที่เป็นสัญลักษณ์ของนักบุญมาร์คซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองเวนิส (รายละเอียดของภาพเขียนโดยวิตโตเร คาร์พัชชิโอ, ค.ศ. 1516) สิงโตเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์มาตั้งแต่สมัยหิน

นักล่าสัตว์ในระหว่างยุคน้ำแข็งของอารยธรรมออริยาเชียน (Aurignacian) ใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์มากว่า 30,000 ปีโดยแสดงภาพสิงโตตัวเมียล่าสัตว์ที่มีท่าทางผยองที่ไม่ต่างไปจากสิงโตร่วมสมัย

หลังจากนั้นก็มีการใช้สิงโตตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ในการเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์และผู้นำทางการสงคราม

ภาพเขียนในที่เก็บศพที่นาคาดา (Naqada) ในอียิปต์เป็นภาพที่เขียนก่อนที่อารยธรรมของอียิปต์จะเริ่มขึ้นในแอฟริกาเหนือเป็นภาพของสิงโตสองตัวยืนทำท่าพิทักษ์ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพสำหรับสักการะ


สฟิงซ์ฟาโรห์ฮัตเชปซุต ของอียิปต์ที่มีลักษณะที่แปลกที่มีหูกลมปรากฏบนประติมากรรมที่สร้างราวระหว่างปี 1503 ถึง 1482 ก่อนคริสต์ศักราช สิงโตมีบทบาทในหลายวัฒนธรรมโบราณหลายวัฒนธรรมต่อมา

ในอียิปต์โบราณ บางครั้งฟาโรห์ก็จะใช้สฟิงซ์ซึ่งเป็นสิงโตตัวเมียที่มีหัวเป็นคนเป็นสัญลักษณ์ สฟิงซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือมหาสฟิงซ์แห่งกิซา

ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการบันทึกก็เป็นที่ทราบกันว่าสิงโตเป็นสัตว์ล่าเหยื่อที่ดุร้ายที่สุดพันธุ์หนึ่งในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณและแอฟริกา และมาเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมโบราณในฐานะผู้กล้าหาญ นักต่อสู้ และผู้พิทักษ์ของอาณาจักร

ตำนานอียิปต์มีสิงโตที่ได้แก่บาสต์ และเซ็คห์เม็ดในบรรดาเทพชั้นสูงของอียิปต์ ประมุขที่เป็นชายมักจะกล่าวว่ามีความเกี่ยวข้องกับลูกของเทพีเช่นมาเฮส (Maahes)

ขณะที่ผู้ปกครองอียิปต์ในนูเบีย (Nubia) ก็ได้บันทึกถึงการสักการะเดดุน (Dedun) ว่าเป็นเทพของความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นลูกชายของสิงโตนูเบีย แต่นูเบียมิได้รวมเทพไว้ในบรรดาเทพชั้นเอก

ในสมัยโบราณสิงโตเป็นสัตว์ที่พบกันเป็นปกติในบริเวณทางฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลเมดิเตอเรเนียน และในกรีซและตะวันออกกลาง

ในตำนานเทพเจ้ากรีกสิงโตมีบทบาทหลายอย่าง ประตูเมืองไมซีเนียมีสิงโตสองตัวยืนประกบคอลัมน์กลางที่เป็นสัญลักษณ์ของเทพองค์สำคัญของวัฒนธรรมกรีกยุคแรก ที่สักการะกันมาตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสต์ศักราช

ต่อมาในตำนานเทพเจ้ากรีก สิงโตนิวเมียน (Nemean Lion) สร้างเป็นรูปสัตว์กินคน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสองสิ่งที่เฮราคลีสได้รับการมอบหมายให้ทำ ในเรื่องอันโดรคลีส (Androcles) หนึ่งในนิทานอีสป

ตัวเอกของเรื่องเป็นทาสที่หนีจากนายที่ช่วยดึงหนามที่ตำเท้าสิงโต ต่อมาเมื่อถูกจับตัวได้และถูกโยนให้สิงโตกินเพื่อเป็นการลงโทษ แต่สิงโตจำได้และไม่ยอมฆ่า ในพระธรรมปฐมกาลของคัมภีร์ฮิบรู ชาวอิสราเอลไลท์ใช้สิงห์แห่งยูดาห์เป็นสัญลักษณ์

การเป็นสัตว์ที่เป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวงมีรากฐานมาจากอิทธิพลของหนังสือฟิซิโอโลกัส (The Physiologus) ซึ่งเป็นหนังสือของคริสเตียนยุคแรกที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของสัตว์ที่เผยแพร่ไปยังวัฒนธรรมหลายวัฒนธรรม และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมตะวันตก

หนังสือฟิซิโอโลกัสเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นภาษากรีกในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาลาตินราวปี ค.ศ. 400 AD และต่อมาในภาษาอื่นๆ หลายภาษาของตะวันออกกลาง

เนื้อหาของหนังสือมีอิทธิพลต่อปรัชญาความคิดเกี่ยวกับความหมายของสัตว์ในยุโรปเป็นเวลากว่าพันปี และเป็นหนังสือที่มาก่อนหนังสือเรื่องสัตว์ (books of beasts) ของยุคกลาง

ในประวัติศาสตร์สมัยต่อมาการใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์ก็แพร่หลายมากขึ้นเพื่อแสดงความมีอำนาจเช่นในการตั้งชื่อเช่นเฮนรีสิงห์ ความนิยมการใช้สิงห์จะเห็นได้จากสิงห์ที่ปรากฏในตราอาร์มต่างๆ เป็นจำนวนมาก

ตัวอย่างของสิงโตที่ใช้ในตรา

สิงห์ยืนผงาด
ตราอาร์มของราชอาณาจักรโบฮีเมีย
ตราแผ่นดินของฟินแลนด์
สิงห์แห่งยูดาห์บนตราประทับของเทศบาลเมืองเยรุซาเล็ม
ตราอาร์มของเมืองเลออนในเสปน

ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรโมร็อกโก
ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ตราแผ่นดินของนอร์เวย์
ตราแผ่นดินของสกอตแลนด์


สิงห์ยืนยกเท้าหน้า
ตราแผ่นดินของเดนมาร์ก
ตราแผ่นดินของอังกฤษ
ตราแผ่นดินของเอสโตเนีย
ตราแผ่นดินของมอนเตเนโกร


สิงห์นอน
ตราอาร์มของ
Rødøy Municipality
นอร์เวย์


สิงห์ตะวันออก
ตราแผ่นดินของอินเดีย
ตราแผ่นดินของศรีลังกา
ธงชาติธิเบต


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารศุภสวัสดิ์ มานมนัสสวัสดิ์สิริ ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 11:29:11 น. 0 comments
Counter : 1151 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.