"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
23 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
มหากาพย์กิลกาเมช


จารึกมหากาพย์กิลกาเมช ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ในอัคคาเดียนมหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของเมโสโปเตเมียโบราณ เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมประเภทนิยายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

นักวิชาการเชื่อว่ามหากาพย์เรื่องนี้ มีกำเนิดมาจากตำนานกษัตริย์สุเมเรียนและบทกวีเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนานที่ชื่อว่า กิลกาเมช ซึ่งถูกรวบรวมเอาไว้กับบรรดาบทกวีอัคคาเดียนในยุคต่อมา

มหากาพย์ชุดที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบันปรากฏในแผ่นดินเหนียว 12 แท่งซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล

มีชื่อดั้งเดิมว่า ผู้มองเห็นเบื้องลึก (He who Saw the Deep; Sha naqba īmuru)

หรือ ผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชันทั้งปวง (Surpassing All Other Kings; Shūtur eli sharrī) กิลกาเมชอาจจะเป็นผู้ปกครองที่มีตัวตนจริงในอดีตระหว่างราชวงศ์ที่ 2 ของยุคต้นของสุเมเรีย (ประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล)

สาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกิลกาเมช ผู้กำลังท้อใจกับการปกครองของตน กับเพื่อนของเขาชื่อ เอนกิดู ซึ่งเข้ารับภารกิจเสี่ยงภัยร่วมกับกิลกาเมช

เนื้อหาส่วนใหญ่ในมหากาพย์เน้นย้ำถึงความรู้สึกสูญเสียของกิลกาเมชหลังจากเอนกิดูเสียชีวิต

และกล่าวถึงการกลับเป็นมนุษย์อีกครั้งพร้อมกับเน้นย้ำเรื่องความเป็นอมตะ เรื่องราวในหนังสือเล่าถึงการที่กิลกาเมชออกเสาะหาความเป็นอมตะหลังจากการเสียชีวิตของเอนกิดู

มหากาพย์เรื่องนี้ได้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ส่วนวีรบุรุษกิลกาเมชก็ได้เป็นตัวเอกอยู่ในวัฒนธรรมมวลชนยุคใหม่


ประวัติ

มีแหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นต้นฉบับและข้อมูลพิเศษหลายชิ้นที่พบว่ามีอายุอยู่ในช่วงที่แตกต่างกันเป็นเวลา 2,000 ปี ทว่าเฉพาะข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดและต้นฉบับอื่นๆ ที่มีอายุใกล้เคียงกันเท่านั้นที่พบว่ามีเนื้อหาสำคัญโดดเด่นพอจะพิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับการแปล

ดังนั้น มหากาพย์ฉบับสุเมเรียนโบราณ กับฉบับอัคคาเดียนซึ่งมีอายุน้อยกว่า เป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกอ้างอิงถึงมากที่สุด และยอมรับเป็นฉบับมาตรฐานในการศึกษาปัจจุบัน

มหากาพย์ฉบับมาตรฐานนี้เป็นหลักเกณฑ์ในการแปลมหากาพย์ยุคใหม่ ส่วนแหล่งข้อมูลเก่าแก่อื่นๆ ใช้สำหรับเติมเต็มฉบับมาตรฐานเมื่อมีช่องว่างของคูนิฟอร์มมากเกินไป

(พึงทราบด้วยว่า ได้มีการจัดทำฉบับปรับปรุงแก้ไขตามข้อมูลใหม่ๆ ออกมาตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และตัวมหากาพย์เองก็ยังไม่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แม้จนปัจจุบัน)

มหากาพย์ในต้นฉบับสุเมเรียนที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3 ของอูร์ (Ur) คือระหว่าง 2150-2000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนฉบับอัคคาเดียนที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในช่วงต้นๆ ของสหัสวรรษที่ 2

มหากาพย์อัคคาเดียนฉบับ "มาตรฐาน" ประกอบด้วยแผ่นดินเหนียว 12 แผ่น บันทึกโดย Sin-liqe-unninni ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่าง 1300-1000 ปีก่อนคริสตกาล ค้นพบอยู่ในหอจารึกของ Ashurbanipal ที่ Nineveh

ปัจจุบัน มหากาพย์กิลกาเมชเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การแปลมหากาพย์ในยุคใหม่ครั้งแรกเกิดขึ้นในราวคริสต์ทศวรรษ 1880 โดย จอร์จ สมิท การแปลเป็นภาษาอังกฤษในครั้งหลังๆ นี้

รวมถึงการแปลครั้งหนึ่งซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากนักเขียนชาวอเมริกัน จอห์น การ์ดเนอร์ และจอห์น ไมเยอร์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1984

ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 เบนจามิน ฟอสเตอร์ได้เรียบเรียงฉบับ Norton Critical ขึ้นโดยเติมเต็มช่องว่างมากมายที่มีอยู่ในชุดมาตรฐานโดยอาศัยหลักฐานอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้า

มหากาพย์ฉบับมาตรฐานชุดล่าสุดเป็นการเรียบเรียงอย่างระมัดระวังโดย แอนดรูว์ จอร์จ ตีพิมพ์เป็นฉบับพิเศษ 2 เล่ม เป็นฉบับที่แสดงเนื้อหาต่างๆ อย่างสมบูรณ์ที่สุด

ทั้งยังจัดพิมพ์แบบสองภาษาเทียบเคียงกันด้วย ฉบับแปลของจอร์จชุดนี้ได้ตีพิมพ์เป็นฉบับสำหรับผู้อ่านทั่วไปโดยสำนักพิมพ์เพนกวินคลาสสิกเมื่อปี ค.ศ. 2003

แต่ในปี 2004 สตีเฟน มิตเชลล์ได้ออกผลงานมหากาพย์ฉบับโต้แย้ง ซึ่งเป็นผลงานการแปลของเขาจากการแปลของเหล่าบัณฑิตก่อนหน้า เขาเรียกงานชิ้นนี้ว่า "ฉบับแปลอังกฤษใหม่"

การค้นพบวัตถุโบราณอายุประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาลที่มีความเกี่ยวข้องกับ Enmebaragesi แห่ง Kish ผู้ปรากฏชื่ออยู่ในตำนานว่าเป็นบิดาของศัตรูคนหนึ่งของกิลกาเมช

ทำให้มหากาพย์เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ในทางประวัติศาสตร์มากขึ้น และช่วยยืนยันว่ากิลกาเมชน่าจะมีตัวตนจริง

โครงเรื่อง

นักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อ ออสเตน เฮนรี ลายาร์ด เป็นผู้ค้นพบมหากาพย์ฉบับมาตรฐานในหอสมุดของ Ashurbanipal ใน Nineveh เมื่อปี ค.ศ. 1849 ซึ่งเขียนเอาไว้ด้วยภาษาบาบิโลนมาตรฐาน

ใช้อักษรแบบอัคคาเดียนซึ่งเป็นแบบที่ใช้สำหรับจารึกงานวรรณกรรมโดยเฉพาะ เขียนขึ้นโดย Sin-liqe-unninni ในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่าง 1300-1000 ปีก่อนคริสตกาล

ข้อแตกต่างระหว่างฉบับมาตรฐานอัคคาเดียนกับฉบับสุเมเรียนโบราณ คือคำเปิดเรื่องที่แตกต่างกัน ฉบับโบราณขึ้นต้นด้วยคำว่า

"ผู้ยิ่งใหญ่เหนือปวงราชัน"
ในขณะที่ฉบับมาตรฐานขึ้นต้นว่า

"ผู้มองเห็นในห้วงลึก"

คำว่า nagbu (ลึก) ในภาษาอัคคาเดียนยังมีความหมายถึง "ความลึกลับไม่อาจหยั่งรู้" ได้ด้วย อย่างไรก็ดี แอนดรูว์ จอร์จ เชื่อว่ามันอ้างถึงความรู้พิเศษบางอย่างที่กิลกาเมชนำกลับมาด้วยหลังจากได้ไปพบ Uta-Napishti (Utnapishtim)

เขาได้รับความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรแห่งเออาโดยมองเห็นผ่านน้ำพุแห่งปัญญา โดยทั่วไปแล้วผู้แปลเห็นว่ากิลกาเมชได้รับความรู้ว่าจะบูชาพระเจ้าได้อย่างไร ทำไมมนุษย์จึงต้องตาย จะเป็นกษัตริย์ที่ดีได้อย่างไร

และธรรมชาติที่แท้ของการมีชีวิตที่ดี Utnapishtim ในตำนานน้ำท่วมโลกเล่าเรื่องของเขาให้กิลกาเมชฟัง ซึ่งสอดคล้องเกี่ยวพันกับมหากาพย์บาบิโลนเรื่อง Atrahasis

จารึกแผ่นที่ 12 มีเนื้อหาที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องต่อกับจารึก 11 แผ่นก่อนหน้า ในเวลาต่อมาจึงมักจะนำเรื่องราวในจารึกแผ่นที่ 12 นี้รวมเข้าไปในเรื่องด้วย ทั้งที่ในช่วงต้นของจารึกบรรยายถึงเรื่องราวสมัยที่เอนกิดูยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งดูไม่ค่อยสอดคล้องกันนัก

ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องตอนท้ายของจารึกแผ่นที่ 11 ที่คล้ายจะจบบริบูรณ์ไปแล้ว เรื่องราวมหากาพย์ดูเหมือนจะถูกวางกรอบโครงสร้างไว้เป็นวงกลม โดยที่ประโยคเริ่มต้นของมหากาพย์เป็นประโยคเดียวกันกับประโยคสุดท้ายในจารึกแผ่นที่ 11 ทำให้เรื่องสามารถดำเนินต่อไปแบบเป็นวงกลม

และเป็นอันสิ้นสุด จารึกแผ่นที่ 12 เป็นเหมือนฉบับสำเนาของเรื่องราวก่อนหน้านั้น สมัยที่กิลกาเมชส่งเอนกิดูไปนำสิ่งของของตนมาจากดินแดนใต้พิภพ แต่เอนกิดูตายเสียก่อน

และหวนกลับมาหากิลกาเมชในรูปของวิญญาณตามธรรมชาติของโลกใต้พิภพ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกินไปจากความฝันของเอนกิดูในโลกใต้พิภพตามที่ปรากฏในจารึกแผ่นที่ 7


อิทธิพลต่อมหากาพย์ในยุคหลัง

นักปราชญ์กรีกชื่อ Ioannis Kakridis กล่าวว่ามีถ้อยคำสำนวนจำนวนมาก รวมถึงรูปแบบของเรื่องมหากาพย์กิลกาเมชที่ปรากฏชัดว่า มีอิทธิพลต่อมหากาพย์โอดิสซีย์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมกรีกประพันธ์โดย โฮเมอร์

ตำนานส่วนที่เกี่ยวกับน้ำท่วมโลกในมหากาพย์กิลกาเมชยังมีความเกี่ยวข้องกับตำนานน้ำท่วมโลกของโนอาห์ ในพระคัมภีร์ไบเบิลด้วย

ตำนานของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ในวัฒนธรรมชาวอิสลามและซีเรีย ก็น่าเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากตำนานของกิลกาเมชเช่นกัน อเล็กซานเดอร์ได้เดินทางร่อนเร่ไปในดินแดนแห่งความมืดและความน่าสะพรึงกลัว

เพื่อค้นหาสายน้ำแห่งชีวิต เขาได้เผชิญหน้ากับสิ่งแปลกประหลาด ได้พบกับน้ำที่ค้นหา แต่ก็ไม่สามารถเป็นอมตะได้ เช่นเดียวกับกิลกาเมช


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์โสรวาร - เปรมปรีดิ์มานวัฒนา ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 23 ตุลาคม 2552
Last Update : 24 ตุลาคม 2552 20:28:15 น. 0 comments
Counter : 1554 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.