"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
21 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
ศึกสีจีวร หรือผ้าเหลืองควรมีสีเดียว?

ศึกสีจีวร! หรือผ้าเหลืองควรมีสีเดียว?

 

 

หลังจากคำสั่งประกาศจากคณะสงฆ์ธรรมยุต เรื่องการถือครองผ้าไตรจีวรสีพระราชนิยม เกิดเป็นความขัดแย่งในหมู่สงฆ์ เมื่อพระสายอรัญวาสีหรือสายพระป่า และคณะสงฆ์หนเหนือประกาศยึดสีจีวรเดิมของตน

กลายเป็นเหมือนระลอกคลื่นความขัดแย้ง ที่ซ่อนปมบางอย่างในหมู่คณะสงฆ์ที่ช่วงชิง

ดร.สวัสดิ์ อโณทัย คณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ออกมาวิเคราะห์ว่า สิ่งนี้เปรียบเสมือนการชิงไหวชิงเชิงการเมืองในหมู่สงฆ์ กลายเป็นระลอกคลื่นความขัดแย้ง ที่แฝงมาในสีจีวรที่แตกต่าง จนสังคมเริ่มจับจ้อง เหตุใดสงฆ์ไทยจึงต้องแบ่งข้าง

แม้ล่าสุด สมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในฐานะรักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตจะบอกแล้วว่า ข้อบังคับดังกล่าวนั้นเน้นใช้เฉพาะกับพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี หรือพระเมืองเท่านั้น แต่การประกาศครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกๆ ที่สีจีวรดูจะมีความสำคัญขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญบางอย่าง!!

สังฆภัณฑ์บริการ

หลังจากประกาศการถือครองผ้าไตรจีวรโดยกำหนดให้ใช้สีเดียวกันคือ สีพระราชนิยม เพื่อให้มีความเรียบร้อยและเป็นอันหนึ่งอันเดียวของคณะสงฆ์ธรรมยุต จากแต่เดิมที่จีวรมีอยู่หลากหลายสี ทั้งสีเหลือง สีพระราชนิยมหรือพระราชทาน สีแก่นขนุน สีแก่นขนุนดำ และสีกรักดำ โดยแต่ละวัดก็มีการเลือกใส่ที่แตกต่างตามความเหมาะสมที่ต่างกัน

ภัทรวดี ดุลย์ประภา อายุ 22 ปี เจ้าของร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ (ร้านตังเส็ง) ในตัว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ บอกว่า ทางร้านจะมีขายทั้งเป็นชุดผ้าไตรจีวร และขายแยกเป็นจีวร สบง และผ้าอาบ ซึ่งมีอยู่ 3 สีด้วยกัน คือ สีเหลืองทอง สีราช (สีพระราชนิยม) และสีกรัก โดยสีจีวรที่คนส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อมากที่สุด จะเป็นเนื้อผ้าโทเรสีราช เพราะหลายวัดในละแวกใกล้เคียงจะนิยมใช้สีดังกล่าว ส่วนสีกรักจะมีคนซื้อไปถวายน้อยมาก

ต่อกรณีที่จะมีเปลี่ยนสีจีวรของคณะธรรมยุตเป็นสีพระราชนิยมนั้น ภัทรวดี มองว่า ดี เพราะนอกจากจะช่วยให้พระสงฆ์ครองจีวรไปในสีเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการรับกิจนิมนต์ต่างๆ แล้ว ยังช่วยสร้างความสะดวกให้แก่พุทธศาสนิกชนในการเลือกซื้อจีวร หรือชุดผ้าไตรจีวรอีกด้วย

"ช่วยป้องกันในเรื่องของการซื้อผิดค่ะ เวลาที่พุทธศาสนิกชนจะซื้อไปถวายตามวัดต่างๆ เพราะบางท่านอาจไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลมาก่อนว่าในแต่ละวัดจะใช้จีวรเป็นสีอะไร การเปลี่ยนเป็นสีเดียวกันก็น่าจะส่งผลดีตรงนี้ด้วย" เจ้าของร้านตังเส็งให้ความเห็น

ดูเหมือนว่าหากมองในแง่ของศาสนิกชน คำประกาศใช้จีวรสีเดียวดูจะส่งผลให้เกิดความสะดวกในการจัดซื้อจีวรมาถวายเพื่อทำบุญอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม ศรีเพชร ศรีตุลยโชค อายุ 59 ปี เจ้าของร้านสิริมงคล ร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ย่านตลาดนางเลิ้ง กลับให้ความเห็นที่ต่างออกไป

โดยเธอให้ความเห็นกรณีให้พระสงฆ์คณะธรรมยุต เปลี่ยนสีจีวรจากสีกรักเป็นสีพระราชนิยมว่า ไม่ได้ส่งผลอะไร เพราะถึงแม้จะประกาศให้คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติใช้สีพระราชนิยม แต่ยังมีนิกายอื่นที่ใช้สีเหลืองทอง หรือสีกรักอยู่

"ทางร้านจะขายเป็นชุดผ้าไตรจีวร และขายแยกเป็นจีวร มีทั้งสีเหลืองทอง สีพระราชนิยมขึ้นอยู่กับปัจจัยของผู้ซื้อว่าจะเลือกซื้อแบบไหน เพราะถ้าเป็นชุดผ้าไตรจีวร ราคาจะแพง อยู่ที่ประมาณ 1,000 กว่าบาท ถ้าเป็นจีวรอย่างเดียว ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 400 บาท แต่ถ้าจะให้ครบเซต ชุดผ้าไตรจะมีครบชุดค่ะ ทั้งจีวร สบง (ผ้านุ่ง) อังสะ (เสื้อ) ผ้าอาบ (ผ้าขาวม้า)" ศรีเพชร เจ้าของร้านสิริมงคลให้ข้อมูล

อย่างไรก็ดี ในส่วนของร้านอื่นๆ จากการลงพื้นที่ของทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live พบว่า หลายๆ ร้านเห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนสีจีวรให้เป็นสีเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลไปในทิศทางเดียวกันว่า การครองจีวรสีเดียวกัน จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการออกไปรับกิจนิมนต์

แต่อาจจะมีปัญหาสำหรับจีวรสีอื่นๆ อย่างสีเหลืองทองที่บางร้านจะมีสต๊อกอยู่มาก ถ้ามีการเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีพระราชนิยม อาจทำให้เสียรายได้ในส่วนนั้นไป

แก่นแท้ที่จีวรห่อหุ้ม

“ผ้าไตรจีวร” เป็นชื่อเรียกของผ้า 3 ผืนที่ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์ มีที่มาจากเมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช พบหลังฐานว่าได้ใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่า จีวร แต่ทว่าในยุคสมัยดังกล่าว ผ้าเป็นสิ่งที่หาได้ยาก พระภิกษุในยุคนั้นจึงใช้เศษผ้ามาเย็บติดกัน ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเห็นผ้าจีวรที่ติดจากผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงเกิดเป็นจีวรลายคันนาออกแบบโดยพระอานนท์

ต่อมาเกิดจีวรหลายประเภทขึ้น กระทั่งมีการกราบทูลถามถึงจีวรที่พระศาสดาอนุญาตซึ่งมีทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย จีวรทำจากเปลือกไม้ ทำด้วยไหม ทำด้วยฝ้าย ทำด้วยขนสัตว์ ทำด้านผ้าป่าน และทำด้วยเจือกัน

และหลังจากพุทธศาสตร์เจริญรุ่งเรืองอีกหลายปีต่อมา เกิดนิกายของพุทธศาสนาขึ้นมากมาย สีของจีวรก็มีขึ้นตามความศรัทธาของแต่ละนิกาย ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ตามพระวินัยปิฎกก็มีระบุไว้ชัดเจนถึงสีจีวรว่า ให้ใช้จากสีน้ำฝาดไม้แก่นขนุนย้อม

ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสตร์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายถึงความเป็นมา เบื้องหลังที่หลายคนสนใจถึงความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นของความหลากหลายในสีจีวรที่เป็นในปัจจุบันว่า พุทธศาสนาในประเทศไทยเดิมได้รับอิทธิพลมาจากหลากหลากนิกาย แต่ไม่มีการแบ่งแยกชัดเจน มีลักษณะเกิดเป็นกลุ่มเป็นสำนักต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์เป็นศูนย์กลาง

“จริงๆ พุทธศาสนาในประเทศไทย มันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีสายต่างๆ อยู่แล้ว มีมาจากลังกา จากพม่าจากที่อื่นๆ แต่มันไม่ได้แบ่งชัดหากแต่เกิดเป็นกลุ่มของครูบาอาจารย์ ซึ่งการแบ่งว่ามาจากอาจารย์ท่านใด สายใครสายมันก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่ได้แบ่งกันชัดเจนจนแยกเป็นนิกาย

“โดยสายหากจะมีการแบ่งก็จะแบ่งเป็นแบ่งเป็นคามวาสี - สายวัดป่าที่เน้นปฏิบัติธรรมกรรมฐานไป กับอรัญวาสี - วัดบ้านคือก็อ่านคัมภีร์เป็นหลัก ซึ่งก็ไม่ค่อยมีใครไปดู ว่าต่างกันตรงไหนบ้างอาจจะต่างกันที่สีจีวรหรือเปล่า? หรือต่างกันแค่ว่า สายป่าเน้นปฏิบัติธรรม พระสายบ้านอ่านคัมภีร์เท่านั้น”

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด “ธรรมยุต” กับ “มหานิกาย” นั้น เขาเผยว่ามาจากที่ในอดีตรัชกาลที่ 4 ท่านทรงเห็นว่าพระที่มีอยู่อาจจะไม่เคร่งวินัยนัก หลังจากที่บวชกับพระสายมอญ กลายเป็นนิกายธรรมยุตในภายหลัง ขณะที่พระสายเดิมที่ไม่มีชื่อก็ถูกตั้งชื่อเรียกรวมๆ ว่า “มหานิกาย”

“แต่เดิมรัชกาลที่ 4 ท่านอุปสมบทที่วัดมหาธาตุอยู่ พอท่านเจอพระมอญก็ไปบวชในสายนั้น มีชื่อเรียกว่ากัลยาณีวงศ์ ต่อมาสายนี้จึงกลายเป็นสายธรรมยุตขึ้นมา ขณะที่พระสายอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมและหลากหลายก็ถูกเรียกรวมเป็น มหานิกาย

“หลังจากนั้นสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นมา มีกลุ่มเป็นทางการขึ้นมาเป็นสายโน่นสายนี้ ตอนหลังมาก็แบ่งตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็น 2 นิกายหลักคือ มหานิกายกับธรรมยุต”

แต่แม้จะแบ่งพระออกเป็น 2 นิกาย ดร.ชาญณรงค์ ก็มองว่าทั้ง 2 นิกายไม่ได้มีข้อแตกต่างอะไรที่เด่นชัด ความต่างเป็นเพียงแค่เรื่องปลีกย่อยที่ไม่ใช่สาระสำคัญ

“สายธรรมยุตอาจจะมีจารีตตามแบบที่สืบทอดมาจากกัลยาณีวงศ์ ส่วนมหานิกาย ก็จะความหลากหลายตามลักษณะที่มีอยู่เดิม ความต่างมันไม่ชัดเหมือนวัดป่ากับวัดบ้าน แล้วหลังๆ มานี้ นิกายธรรมยุตก็มีการรวมวัดป่าหลวงปู่มั่น หลวงพ่อเต๋า หลวงปู่ฝั้น ซึ่งก็มีลักษณะต่างกันทีเดียว”

เมื่อวัดป่ากับวัดบ้านที่แตกต่างกันก็มีอยู่ในทั้ง 2 นิกายในสายตาของ ดร.ชาญณรงค์ จึงไม่เห็นความต่างมากมายนักของทั้ง 2 นิกายนี้ ความต่างที่เห็นชัดอย่างเดียวอาจจะมีวิธีการห่มจีวรที่ต่างกัน โดยในส่วนของสีจีวรนั้น ในสังคมไทยปัจจุบันถือว่ามีความหลากหลายอยู่แล้ว

“มันไม่ได้มีกฎตายตัว สายธรรมยุตมันก็จะคละกันไป อย่างวัดหาธาตุแต่เดิมก็สีทอง หลังมาก็เป็นสีกรัก แต่วัดอื่นอย่างวัดโพธิ์จะสีส้มทองๆ ตลอดไม่ค่อยเปลี่ยน ขณะที่ในต่างจังหวัดแถวภาคอีสานเขาอาจจะโอเค อยู่ๆ เปลี่ยนโดยที่ชอบใจ ชอบสี คือมันไม่ได้มีกฎอะไรที่บอกว่าต้องเปลี่ยน

แต่บางวัดเห็นว่า มันรักษาความสะอาดง่ายหรือว่ามันดูเศร้าหมองดี แล้วแต่อุปนิสัยเจ้าอาวาสวัดแต่ละวัด เดี๋ยวนี้บางทีวัดเดียวกันใส่ 2 สีก็มี คือมันไม่ได้มีระเบียบอะไร ต้องบอกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เปลี่ยนสีมาใส่สีนี้”

ข้อสังเกตหนึ่งของเขาคือ สีจีวรนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญมากนัก โดยเฉพาะกับพระในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่ดูจะจริงจังกับจีวรคงจะมีแต่พระที่อยู่ในภาคกลางและกรุงเทพฯ

“บางภาคเขาอยากเปลี่ยนอะไรก็ตามใจเขา ที่ซีเรียสจะมีกรุงเทพฯและภาคกลาง ลักษณะการห่มมันต่างกัน ระหว่างธรรมยุตกับมหานิกายภาคกลาง สีก็จะต่างกันแต่ธรรมวินัยไม่ต่างกันเท่าไหร่ ที่ต่างกันเห็นชัดก็มีธรรมยุต เวลาไปสวดมีคนถวายเงินท่านจะไม่รับเงิน จะรับให้ใบปวารนา ส่วนมหานิกายไม่ต้องมีใบปวารณาก็ได้ ไม่ค่อยสำคัญ”

ในส่วนของประเด็นความขัดแย้งที่ล่าสุด สมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารถึงขั้นต้องออกมาสยบกระแสลือลุกลามว่า อาจมีการเมืองในหมู่สงฆ์ เขาเห็นว่าระหว่าง ธรรมยุตกับมหานิกายนั้น ความขัดแย้งยังอยู่ แต่ก็ต้องนับถอยไปนานกว่า 40 ปีแล้ว เรียกว่าเป็นความขัดแย้งของคนยุคเก่าก็ว่าได้

“ตอนนี้ไม่มีแล้ว สมัยก่อนมันก็แรงอยู่ แต่มันเป็นความขัดแย้งของคนรุ่นเก่าที่ตอนนั้นก็ถึงขั้นมานั่งด่ากัน มานั่งวิจารณ์กันตลอด ถึงขนาดที่ว่าหลวงพ่อวัดหนึ่งบิณฑบาตรไปทะเลาะกับเณรที่อยู่คนละนิกายก็มี แต่สมัยนี้เป็นมิตรกันนะ”

เขามองว่า หากระหว่างนิกายก็คงไม่มีปัญหา เพราะประกาศเรื่องสีจีวรนั้นมีผลเฉพาะกับนิกายธรรมยุตอย่างเดียว

“ตอนมาร่วมราชพิธีเขาก็ไม่ได้ใช้สีเดียวกันอยู่แล้วครับ เป็นสีใครสีมัน ทางวังก็ไม่ได้ห้ามอะไร”

อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งท้ายว่า การเปลี่ยนสีจีวรนั้น ไม่ได้มีสาระสำคัญใดๆต่อวงการสงฆ์ไทยมากนัก และคงไม่ได้ส่งผลให้พัฒนาไปในด้านใด

“มันก็เปลี่ยนสีจีวรไม่ได้ทำให้อะไรเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งที่ปัญหาในวงการสงฆ์มันมีอีกเยอะ”

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2557 10:23:16 น. 0 comments
Counter : 2495 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.