"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
สุจิตต์ วงษ์เทศ : วรรณคดีไทย อักษรเขมร อักษรไทย มาจากไหน... ?



สุจิตต์ วงษ์เทศ
//www.sujitwongthes.com

วรรณคดีไทย อักษรเขมร อักษรไทย มาจากอักษรเขมร

อักษรไทย วิวัฒนาการมาจากอักษรอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ก่อน เช่น อักษรพราหมณ์ อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ

แล้วค่อยๆ ก่อรูปและดัดแปลงหรือประดิษฐ์คิดค้นเพิ่มเติมขึ้นตามความรู้จากประสบการณ์จริงและตามความจำเป็นของเผ่าพันธุ์ของตนขณะนั้น ทั้งนี้ โดยมีสภาพแวดล้อมทางศาสนา-การเมือง และสังคมเป็นเงื่อนไขสำคัญคอยกำหนด

ฉะนั้น อักษรไทยจึงไม่ได้เกิดจากการประดิษฐ์ ของใครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวเท่านั้น และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดมีขึ้นในปีหนึ่งปีใดเพียงปีเดียว

ความจำเป็นทางศาสนา-การเมือง และสังคม เพื่อประโยชน์ทางการปกครอง ทำให้มีอักษรไทยขึ้นมาใช้สื่อสารในบ้านเมืองแว่นแคว้นที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้นกว่าแต่ก่อน

ถ้าพิจารณาตำแหน่งทางภูมิศาสตร์กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีสนับสนุนอย่างแข็งแรงแล้ว จะเห็นว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออกที่เป็นรัฐอโยธยา-ละโว้ คือแหล่งหล่อหลอมและค่อยๆ ก่อรูปอักษรไทยขึ้น

ส่งผลให้มีวรรณคดีที่เป็นภาษาไทย แล้วเขียนด้วยอักษรไทย สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน


ภาษาไทย เข้าถึงประเทศไทย

ภาษาพูดตระกูลไทย เป็นตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่งของอุษาคเนย์ มีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว พบที่มณฑลกวางสี อยู่ทางใต้ลุ่มน้ำแยงซีในจีนภาคใต้ติดกับเวียดนาม

แล้วทยอยแพร่กระจายตามเส้นคมนาคมการค้าขายแลกเปลี่ยนทั้งทางบกและทางทะเลเลียบชายฝั่งมาทางตะวันตกถึงลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ราว 2,000 ปีมาแล้ว (หรือราว พ.ศ.500) มีหลักฐานโบราณคดียืนยันสอดคล้องกัน

เช่น ประเพณีฝังศพแบบครั้งที่สอง, เครื่องมือสัมฤทธิ์, ภาพเขียนสี, ฯลฯ


พูดไทย ยุคทวารวดี

คนใช้ภาษาพูดตระกูลไทย เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาก็กลายเป็นประชากรส่วนหนึ่งของยุคทวารวดี

ยุคทวารวดี ราวหลัง พ.ศ.1000 มีคนพูดตระกูลภาษาไทยแล้วบริเวณบ้านเมืองทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อ.ธิดา สาระยา อธิบายว่า "มีคนหลายเผ่าพันธุ์ปะปนกันอยู่ในดินแดนทวารวดี

ฉะนั้น ชาวทวารวดีจึงเป็นชนชาติผสม ประกอบด้วย มอญ-ไต-สาม-สยาม เป็นหลัก" (จากหนังสือ (ศรี)ทวารวดี ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2538 หน้า 183)

พวกสยาม หรือสาม มีหลายชาติพันธุ์ ตั้งหลักแหล่งอยู่ปนกัน โดยใช้ตระกูลภาษาไทยสื่อสารกัน

คนชั้นสูงและนักบวชรับอักษรปัลลวะจากทมิฬอินเดียใต้ มาปรับใช้ดัดแปลงตามความถนัดพื้นเมืองจนกลายเป็นอักษรแบบพื้นเมือง สมมุติเรียก อักษรทวารวดี

(ต่อไปข้างหน้าจะปรับเปลี่ยนไปเป็นอักษรเขมรกับอักษรมอญ)


ชาวสยาม จากเวียงจัน ยุคทวารวดี

เวียงจัน เป็นศูนย์กลางของพวกสยามที่สื่อสารด้วยภาษาตระกูลไทย ตั้งแต่ยุคทวารวดี หลัง พ.ศ.1000 แล้วมีบทบาททางการค้าภายใน ที่เชื่อมโยงเป็นเครือญาติกับกษัตริย์กัมพูชา

(ดังต่อไปข้างหน้าจะมีภาพสลักขบวนแห่ของชาวสยาม "เสียมกุก" หรือเสียมก๊ก อยู่บนปราสาทนครวัด ราว พ.ศ.1650)


อักษรเขมร

อักษรเขมรมีวิวัฒนาการมาจากอักษรทวารวดี (หรือปัลลวะ) ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1400

หลังจากนั้นก็ใช้แพร่หลายครอบคลุมทั้งที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยากับลุ่มน้ำโขงตั้งแต่เวียงจันในลาว และอีสานของไทย จนถึงเขมรกับเวียดนาม

คนไทยสมัยหลังเรียกอักษรเขมรว่า "อักษรขอม" ตามชื่อวัฒนธรรมขอม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ที่ต่อไปข้างหน้าจะปรับเป็นอักษรไทย)


อักษรมอญ

อักษรมอญมีวิวัฒนาการมาจากอักษรทวารวดี (หรือหลังปัลลวะ) ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1600 ยุคหลังอักษรเขมร และก่อนมีอักษรไทย


ภาษาไทย "ภาษากลาง" ทางการค้าภายใน

ภาษาตระกูลไทย คือที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า "ภาษาไทย" อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายว่าเป็น "ภาษากลาง" ทางการค้าภายใน (ประวัติศาสตร์แห่งชาติฯ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2549 หน้า 44-47) ดังนี้

หลัง พ.ศ.1700 สำเภาจีนเริ่มมีบทบาทการค้าทางทะเลมากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าหลากหลาย ซึ่งดินแดนภายในของไทยและเพื่อนบ้านสามารถป้อนสินค้าที่ต้องการได้ดี และมากชนิด

ส่งผลให้ชุมชนบนเส้นคมนาคมการค้าภายในเติบโตขึ้นเป็นเมืองใหญ่และรัฐน้อยศูนย์กลางการค้าภายใน เช่น เชียงใหม่, แพร่, น่าน, สุโขทัย, ศรีสัชนาลัย, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, นครพนม, โคราช, ฯลฯ มีประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากขึ้น โดยเฉพาะสุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, นครศรีธรรมราช

คนหลากหลายเผ่าพันธุ์เหล่านี้สื่อสารด้วยภาษากลางคือ ภาษาไทย

อ.นิธิ อธิบายอีกว่าผู้เผยแผ่ศาสนามวลชนยุคนั้นอย่างพุทธศาสนาเถรวาทสำนักลังกา ตัดสินใจใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางสำหรับเผยแผ่ อย่างน้อยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่าง จึงยิ่งทำให้ภาษาไทยกลายเป็นภาษากลางของคนหลากหลายชาติพันธุ์ในดินแดนแถบนี้มากขึ้น


คนไทย, ความเป็นไทย

เข้าใจว่า "คนไทย" และ "ความเป็นไทย" ที่กล่าวขวัญกันทุกวันนี้ จะเริ่มขึ้นราวหลัง พ.ศ.1700 ในบ้านเมืองบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อคนพูดภาษาไทย รับเถรวาทแล้วมีอำนาจมากขึ้นในการควบคุมการค้าภายใน

วรรณคดีเก่าสุดที่พบหลักฐานขณะนี้คือ กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ (ตอนท้าย) ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.1778 (มากกว่า 100 ปี ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1893)


อักษรเขมร ภาษาไทย

คนไทยตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1700 บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังไม่มีอักษรไทย

ราชสำนักอโยธยา-ละโว้ ใช้ภาษาเขมร อักษรเขมร แต่เมื่อไรที่เป็นเอกสารเพื่ออ่านกันในวงกว้างกว่าคนชั้นสูง ให้ลงถึงคนไทยที่อ่านออก ก็ใช้อักษรเขมร เขียนภาษาไทย เช่น คัมภีร์ทางศาสนา, จารึกเกี่ยวกับศาสนา, ฯลฯ

กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ (ตอนท้าย) พ.ศ.1778 เขียนด้วยอักษรเขมร ภาษาไทย เพราะยังไม่มีอักษรไทย


อักษรไทย ภาษาไทย

เมื่อใช้อักษรเขมร เขียนภาษาไทยนานเข้า ราชสำนักอโยธยา-ละโว้ที่มีคนไทยครองอำนาจก็ค่อยๆ ปรับอักษรเขมรให้เป็นอักษรไทย

ดังจะเห็นอักษรหลายตัวยังคงความเป็นอักษรเขมร เช่น ญ, ฎ, ฏ, ฐ, ณ, ฯลฯ รวมถึงเลขเขมรทั้งหมด แล้วเพิ่มตัวอักษรให้ถ่ายเสียงภาษาไทยจนครบ เช่น ฃ, ฅ เป็นต้น

กาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในโลก แล้วระบาดถึงราชสำนักในไทย มีส่วนสำคัญ ทำให้คนในวัฒนธรรมภาษาไทย อักษรไทย มีอำนาจในราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยา

มีตำนานเรื่องโรคระบาดนี้อยู่ในตำนาน นิทานหลายเรื่อง แต่เรื่องสำคัญมีอยู่ในพงศาวดารอยุธยาฉบับ วัน วลิต


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ


โสรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ



Create Date : 17 มีนาคม 2555
Last Update : 17 มีนาคม 2555 15:11:22 น. 0 comments
Counter : 2350 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.