วิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียว10,000 เมกกะวัตต์ เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรและเพิ่มผลผลิตการเกษตร(ตอนที่2 )

มีคำถามมากมายเรื่องหญ้าพลังงานเนเปียร์ปากช่อง 1 ทำพลังงานสีเขียว 10000 เมกกะวัตต์  ที่กำลังจะส่งเสริมปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์และพลังงานสีเขียวดังนี้

 

 

 

1.เป็นหญ้าวัชพืชหรือไม่...ไม่เป็นอย่างแน่นอนเพราะออกดอกแล้วไม่ค่อยติดเมล็ดจึงขยายพันธ์ด้วยตัวเองไม่ง่าย ต้องนำท่อนพันธ์ไปปลูกเหมือนออ้ย ถ้าดูแลไม่ดีในระยะแรกจะตายและไม่เติบโต

2.ปลูกแล้วทำให้ดินเสื่อมเหมือนปลูกมันสำปะหลังหรือไม่.... หญ้าชนิดนี้ปลูกในบ้านเรามานานกว่า20ปีแล้ว มีคุณสมบัติในการยึดหน้าดินไม่ให้เกิด erosion และปรับปรุงดิน มีแปลงตัวอย่างปลูกหญ้ารูซี-แพงโกล่า ในดินทรายและดินลูกรัง พบว่าแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ดินมีลักษณะร่วนซุย ดินมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้นเมื่อเปรียบเที่ยบกับแปลงหญ้ารูซี-แพงโกล่า

 

 

 

3.รายได้เป็นอย่างไร ...หญ้านี้ปลูกง่าย ใช้ปุ๋ยและสารเคมีน้อยมาก ไม่ค่อยมีโรคแมลงรบกวน แต่ถ้าน้ำท่วมขังหรือกระทบภาวะแห้งแล้งยาวนานผลผลิตจะตกต่ำ ปลูกครั้งเดียวเก็บเกียวได้หลายปี กรณีผลผลิตทั่วไปที่ 35 ตันต่อไร่ต่อปี ราคารับซื้อหญ้าสด 300 บาทต่อตัน เกษตรกรจะมีรายได้ 10500 บาทต่อไร่ต่อปี สูงกว่า การปลูกมันสำปะหลังและการปลูกข้าวนาปี กรณีเกษตรกรปลูกคนละ 20 ไร่ จะมีรายได้ 210000 บาทต่อครอบครัวต่อปีหรือมีรายได้ 17500 บาทต่อเดือน ถ้าหนึ่งครอบครัวมี 2 แรงงาน จะมีรายได้คนละ 8750 บาทต่อเดือนหรือเทียบเท่าค่าแรงวันละ 300 บาท และจุดเด่นของหญ้าชนิดนี้จะสร้างรายได้ให้เกษตรกรทุก 50 วันสามารถเก็บเกี่ยวไปขายได้ ณ.วิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียว 1 ชุมชน 1 เมกกะวัตต์

 

 

 

4. เอาพื้นที่การเกษตรไปปลูกหญ้า 7-10 ล้านไร่ จำนวน 10000 เมกกะวัตต์ จะแย่งที่ดินปลูกพืชอาหารและทำให้อาหารขาดแคลนราคาแพงขึ้น....ประเด็นนี้สำคัญมากดูเหมือนจะใช่แต่ไม่ใช่ ดังข้อมูลต่อไปนี้

 

 

     4.1 ประเทศไทยมีที่ดินทำการเกษตร รวมที่บุกรุกป่าสงวนด้วยจำนวน 160 ล้านไร่ ถ้าใช้ปลูกหญ้าพลังงาน 7 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 4 เท่านั้นเอง แต่ถ้ามองว่าเกษตรกรปลูกหญ้าพลังงานแล้วมีรายมั่นคง มีกำไร มีความสุข กว่าการปลูกพืชอย่างอื่นก็ควรส่งเสริม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรทีผลิตได้มากเกินความต้องการ และรัฐบาลต้องประกันราคา และรับจำนำ โดยเฉพาะพื้นทีปลูกข้าวได้ 400 กก.ต่อไร่นั้นน่าสนใจเพราะเกษตรกรจะรายได้ต่ำและขาดทุน มายาวนานกว่า 10ปี แล้ว มีหนี้สินพอกพูนกับสถาบันการเงินและหนี้นอกระบบจนรัฐบาลต้องพักชำระหนี้ หลายรายเป็น NPL จนถูกยึดที่ดินทำกินก็มี  

 

 

 

     4.2 วิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวหรือสถานีผลิตก๊าซชีวภาพจำนวน 10000 แห่งทั่วประเทศนั้น นอกจากการผลิต biogas นำไปผลิตไฟฟ้า และ นำไปทำ biomethane-CBG เติมรถยนต์ทั่วไทย แล้วยังเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทั้งปุ๋ยน้ำและปุ๋ยเม็ด ราคาถูกของชุมชน เพราะโรงงานผลิต biogas นั้นมีเทคโนโลยีระบบการย่อยแบบกระเพาะวัว คือมี 4 ขั้นตอน เศษเหลือของระบบคือมูลวัวเรานี่เอง มีผลการวิเคราะห์แล้วว่ามี NPKและคุณสมบัติอื่นไกล้เคียงกันมาก โรงงานขนาด 1 เมกกะวัตต์ใช้หญ้าสด 40000 ตัน มีกากเหลือออกมาเป็นปุ๋ยอินทีรีย์ชีวภาพ 8000 ตัน ถ้ามี 10000 แห่ง จะมีผลผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 80 ล้านตัน สามารถเอาไปเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้จำนวนมหาศาล ดังนั้นพื้นที่การเกษตรที่เอามาปลูกหญ้าพลังงาน 7 ล้านไร่ เอามาทำพลังงานแล้วได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอีก 80 ล้านตัน ผลผลิตการเกษตรโดยรวมจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ35.... จึงไม่สมควรกล่าวอ้างว่าจะไปแย่งพื้นทีปลูกอาหารและจะทำให้ขาดแคลนอาหาร...แท้จริงแล้วหญ้าตัวนี้คือพืชอาหารเลี้ยงวัวเนื้อ วัวนม แพะ แกะ ฯล ให้เราบริโภคไม่ต้องนำเข้า  ตอนนี้มีบางคนเอาหน่อออ่นทีมีลักษณะเหมื่อนหน่อไม้ฝรั่งทำแกงแทนหน่อไม้ได้แล้ว และ สุดท้ายมันคือแหล่งรายได้ที่มั่นคงของเกษตรกรให้มีรายได้วันละ 300 บาท สำหรับการซื้ออาหารดีๆมาบริโภค รวมทั้งการปลดหนี้สิน และส่งลูกหลานเข้าเรียนมหาวิทยาลัย...จากหญ้าริมทางสู่พลังงานยั่งยืน........หรือ เนเปียร์เขียวทองร่ำรวยทั่วไทย ครับ

 

 

 

 




Create Date : 11 มีนาคม 2556
Last Update : 11 มีนาคม 2556 17:25:05 น.
Counter : 2394 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
2
5
7
8
9
14
17
18
19
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog