Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มีนาคม 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
14 มีนาคม 2560

ปริศนาบนศิลาที่หลับใหล : ปราสาทบันทายฉมาร์ (1)



เราได้เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่เมืองเสียมเรียบ
น่าเสียดายว่าไม่สามารถที่จะถ่ายรูปมาให้ชมได้
วันนี้เป็นวันสุดท้ายในทริปการเดินทาง ปราสาทที่เราพลาดไปในครั้งก่อน
ปราสาทที่อยู่ไม่ไกลจากดินแดนประเทศไทย ปราสาทบันทายฉมาร์

เรื่องราวของปราสาทมหึมาหลังนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีก่อน
เมื่อผมได้หยิบนิตยสารเล่มหนึ่งขึ้นมาจากแผง The Earth 2000
กล่าวถึงเรื่องการบุกเบิกการเดินทางในประเทศเขมรหลังสงครามสงบ
บอกได้ว่าสมัยนั้น แค่ปราสาทบันทายฉมาร์ก็เดินทางไปได้ยากแล้ว

มิไยจะต้องคิดถึงการไปเที่ยวนครวัดที่ต้องหยุดพักค้างแรมกันกลางทาง
โดยระหว่างนั้นจะได้เห็นชาวเขมรถืออาร์ก้าหรืออาร์พีจีเดินเลี้ยงวัวเป็นเรื่องธรรมดา
ระยะทาง 50 กิโลเมตรจากชายแดนไทย ไปบันทายฉมาร์ต้องใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง
เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ปราสาทแห่งนี้เผยตัวออกสู่โลกกว้างอีกครั้ง

แม้จะอยู่ห่างไกลจากเมืองพระนคร แต่ปราสาทบันทายฉมาร์ก็เป็นที่รู้จัก
ของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20
เริ่มจาก Etienne Aymomier เดินทางมาถึงในปี พ.ศ. 2426
และเป็นคนแรกที่ได้อ่านศิลาจารึก K. 227 ที่พบอยู่ในปราสาท
ต่อมา Lunet de Lajonquiere ได้เดินทางมาสำรวจในปี ค.ศ. 2446

George Grosilier ผู้ที่เกิดและทำงานในกัมพูชามาตลอดชีวิต
ได้ตีพิมพ์บทความที่ทุกคนต้องอ้างอิงเมื่อพูดถึงที่นี่ เพราะเป็นการให้ภาพ
ที่ละเอียดของบันทายฉมาร์นับแต่ถูกทิ้งร้างไปจนได้ถูกค้นพบใหม่อีกครั้ง
ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร L’llustration ฉบับวันที่ 3 เม.ย. 2480

แต่ปราสาทบันทายฉมาร์น่าจะเป็นที่รู้จักมาแต่สมัยอยุธยา ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 1
มีบันทึกในพงศาวดารว่าโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์มาเป็นเมืองสุรินทร์
ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่า ชื่อนั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บันทายฉมาร์
ปราสาทนี้คงเป็นที่รู้จักเพราะอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่าง ช่องเสม็ด-โตนเลสาป



เราไม่มีทางเข้าใจปราสาทหลังนี้ จนกว่าจะได้อ่านหลักศิลาจารึก K227
ศิลารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมบนขวาหักไปเล็กน้อย ทำจากหินทรายสีเขียว
กว้าง 46 ซม.สูง 102 ซม. หนา 19 ซม. จำนวน 1 ด้าน ยาว 29 บรรทัด

พบตกอยู่ที่ซอกกรอบประตูหน้าด้านขวาของปราสาทหลักด้านหน้าสุด
พ.ศ. 2475 ศ. เซเดส ตีพิมพ์คำอ่านใน Inscriprion du Cambodge
โดยได้รับหมายเลขกำกับว่า ศิลาจารึก K. 227

พ.ศ. 2483 เกิดสงครามอินโดจีน ประเทศไทยรุกเข้าประเทศกัมพูชา
ปราสาทบันทายฉมาร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพิบูลสงคราม
15 มิ.ค. 2488 ก่อนสิ้นสุดสงครามโลก ทหารไทยได้ทำสำเนาจารึกส่งกลับมา

พ.ศ. 2489 ไทยส่งมอบเมืองที่ยึดครองกลับคืนให้แก่ฝรั่งเศส
เพื่อแลกกับการไม่คัดค้านที่ไทยจะเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ
พ.ศ. 2508 กรมศิลปากรเผยแพร่คำแปลลงในหนังสือประชุมศิลาจารึก
ภาคที่ 3 โดยกำหนดเป็นศิลาจารึกหลักที่ 58 ปราสาทบันทายฉมาร์

พ.ศ. 2510 หลังความล้มเหลวในการบริหารประเทศของกษัตริย์สีหนุ
และการแทรกแซงจากต่างชาติ นำไปสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด
พ.ศ. 2518 กลุ่มเขมรแดงยึดกรุงพนมเปญจากรัฐบาลลอล นอล
ตามมาด้วยการล้มเขมรแดงจากกลุ่มเฮงสัมรินเข้าสู่ยุคเขมรสามฝ่าย



พ.ศ. 2534 มีการลงนามในสนธิสัญญาปารีส เพื่อให้ทุกฝ่ายวางอาวุธ
พ.ศ. 2536 มีการเลือกตั้งในกัมพูชาครั้งแรกนำทางไปสู่สันติภาพในที่สุด
และในปีนี้นี่เองนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ได้เดินทางไปยังปราสาทบันทายฉมาร์
ลงภาพและเขียนบทความลงในนิตยสาร The Earth 2000 ในปี พ.ศ. 2537

ภาพของพระสัตว์อวโลกิเตศวรพันกรสร้างความตะลึงลานแก่ผู้คน
ใบสั่งของเศรษฐีของประเทศเพื่อนบ้านถูกส่งถึงมือทหารในพื้นที่
เครื่องเจาะตัดภาพสลักพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 ใน 8 ภาพออกไป
เหลือสมบูรร์ติดปราสาทเพียง 2 และกลายเป็นกองหินอยู่ที่ปลายอีกด้าน 2 ภาพ

ธ.ค. 2541 ศ. Claude Jacque พบศิลาจารึกวางขายอยู่ในศูนย์การค้า
วัตถุโบราณย่านสี่พระยา เพียงกวาดตาท่านก็จำได้ว่าเป็นของจริง
มันหนักกว่า 100 กก.เจ้าร้านของเสนอขายให้ในราคา 8000 ดอลล่าห์
แต่ศาสตราจารย์เดินลงมาแล้วไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ม.ค. 2542 ที่ด่านตรวจยาเสพติดของตำรวจทางหลวงกบินทร์บุรี
เจ้าหน้าที่ตรวจพบกระสอบบรรจุก้อนหินในรถพิคอัพคันหนึ่ง
เมื่อนำส่งกรมศิลปากรตรวจสอบพบว่าเมื่อนำก้อนหิน 167 ก้อนมาเรียงกัน
สามารถต่อได้เป็นภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจำนวน 2 ภาพ

ก.พ. 2543 รัฐบาลไทยนำส่งศิลาจารึก K. 227 และภาพสลัก
พระโพธสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร และ 10 กรคืนแก่รัฐบาลกัมพูชา
ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงพนมเปญ
เหลือพระโพธิสัตว์ที่ไม่สามารถตามกลับมาได้อีก 2 ภาพ

ปัจจุบันบนกำแพงตะวันตกจึงยังปรากฏภาพพระโพธิสัตว์เพียง 2 ภาพ
ภาพที่ 1 เป็นพระโพธิสัตว์ 22 กร ถัดไปคือช่องประตู
ภาพที่ 2 เป็นพระโพธิสัตว์ 32 กร หลังจากนี้เป็นช่องว่างที่หายไป

ภาพที่ 3 เป็นพระโพธิสัตว์ 10 กร อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ
ภาพที่ 4 เป็นพระโพธิสัตว์ 6 กร อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ
ภาพที่ 5 เป็นพระโพธิสัตว์ 8 กร เป็นภาพที่หายไป
ภาพที่ 6 เป็นพระโพธิสัตว์ 8 กร เป็นภาพที่หายไป
ภาพที่ 7 เป็นพระโพธิสัตว์ 4 กร อยู่ที่พื้นปราสาทยังไม่ได้จัดเรียง
ภาพที่ 8 เป็นพระโพธิสัตว์ 16 กร อยู่ที่พื้นปราสาทยังไม่ได้จัดเรียง

ถ้าปาฏิหารย์มีจริง วันหนึ่งท่านคงได้คืนกลับไปยังปราสาทจนครบสมบูรณ์
แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้น ผมจะพร่ำบ่นมนตราและเสกให้พระโพธิสัตว์ทั้งแปด
ออกมาปรากฏอยู่ตรงหน้าเหมือนเมื่อครั้งที่นักสำรวจได้เดินทางมาพบ อีกครั้ง








Create Date : 14 มีนาคม 2560
Last Update : 15 มีนาคม 2560 13:44:24 น. 4 comments
Counter : 1630 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ


 
มาเที่ยวต่อหละ

รอวันที่ได้ไปอีกรอบนะคะ

ญี่ปุ่นจะมีรีวิวมั้ยคะ รออ่านเลยค่าา

วันนี้โหวตเต็มแล้วง่ะ พรุ่งนี้มาโหวตให้นะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:10:25:34 น.  

 
พระโพธิสัตว์มีพระกรต่างกัน
หมายถึงว่ามีพระโพธิสัตว์หลายองค์หรือเปล่าคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:10:42:18 น.  

 
มาโหวตให้ค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Review Travel Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 16 มีนาคม 2560 เวลา:8:34:02 น.  

 
สงสัยเหมือนพี่ตุ๊กค่ะ พระโพธิสัตว์มีพระกรแตกต่างกัน มีความหมายแฝงอะไรหรือเปล่าคะ

มนตราของคุณผู้ชายฯ สำเร็จสวยงามสมดังใจค่ะ ภาพเล็กไปนิดแต่เป็นแนวยาว อ่านคำอธิบายประกอบไปด้วย ภาพชัดขึ้นเยอะค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 16 มีนาคม 2560 เวลา:18:36:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]