Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
17 กุมภาพันธ์ 2553

มนตราแห่งศิลาทราย : ปราสาทนครวัด (4)



ผนังด้านทิศตะวันตก ฝั่งเหนือ รามายาณะ

เป็นตอนจบของเรื่องนี้ ในการศึกระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์ ณ กรุงลงกา
ภาพดูวุ่นวายด้วยการรบระหว่างลิงและยักษ์ หลายสิบคู่
แต่จุดสำคัญ คือ พระรามขี่หนุมานแล้วแผลงศร
และมีพระลักษณ์และพิเภกอยู่ด้านข้าง ซึ่งอยู่ตรงกลางภาพ

นอกจากภาพใหญ่ทั้งแปด ที่เสร็จสมบูรณ์เพียงหกภาพ
ในปรางค์มุมที่อยู่รอบกำแพงชั้นที่สองด้านหน้านั้น
มีภาพที่อยู่ตามผนังหรือกรอบประตูอีกด้านละ 12 ภาพ

แปลว่า หากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ไม่เสด็จสวรรคตเสียก่อน
ปรางค์มุมอีก 2 ด้านที่เหลือคงจะมีการแกะสลักอีก 24 ภาพ อย่างแน่นอน
เช่นเดียวกันกับ นางอัปสราที่ว่ากันว่ามีมากถึงสองพันนาง
ก็ยังมีบางส่วนที่ยังแกะสลักไม่เสร็จสมบูณร์ แต่ก็ทำให้คนรุ่นหลัง
ได้ทราบว่า วิธีการแกะสลักภาพนูนต่ำที่นครวัดนั้น มีขั้นตอนการทำอย่างไร

ภาพเล็กที่อยู่ปรางค์มุมตะวันตก ด้านใต้

การกวนเกษียณสมุทร พระศิวะกับฤษี พระกฤษณะ ทศกัณฑ์เขย่าเขาไกรลาศ
พระศิวะสังหารกามเทพ พระรามฆ่าพาลี พระศิวะเข้าฌาณ
พระวิษณุประทานพร การเล่นสงกานต์ทางเรือ
พระกฤษณะทวงเขาพระสุเมร พระรามตามกวางมารี

ภาพเล็กที่อยู่ปรางค์มุมตะวันตก ด้านเหนือ

พระรามชนะการประลองได้นางสีดา พระกฤษณะได้เขาสุเมรคืน
พระรามทำสัญญากับสุครีพ พระวิษณุบรรทม ภาพพระราชวัง
พระรามกับพระลักษฆ่ายักษ์ นางสีดาลุยไฟ พระรามยกพลกลับกรุงอโยธยา
หมุมานถวายแหวนนางสีดา พระรามกับพระลักษฌ์สู้กับยักษ์



ตัวปราสาทหลัก

ในสมัยโบราณ ชาวพระนครคงมีโอกาสเข้าถึงเพียงกำแพงชั้นที่สองนี้
หลังกำแพงคงมีเพียงกษัตริย์และพรามณ์ที่จะได้เหยียบย่างเข้าไป

ใจกลางของของนครวัดประกอบไปด้วยปรางค์หลักและปรางค์มุม 4 ทิศ
ที่เป็นตัวแทนของเขาพระสุเมร และทวีปทั้งสี่
ล้อมรอบด้วยกำแพงสลับทางเดิน ที่สมมุติเป็นภูเขาและทะเลเป็นชั้นๆ
ตามคติความเชื่อของจักรวาล ที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ ในมุมมองของชาวฮินดู

ปรางค์หลักสูงกว่า 60 เมตร ที่จุดสูงสุด อาจเคยใช้เป็นที่เก็บรูปเคารพที่สำคัญ
ซึ่งก็น่าจะเป็นรูปพระนารายณ์นั่นเอง พระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 คงจะขึ้นไปทำพิธี
และมีการปล่อยน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงมาข้างล่าง จากร่องรอยของท่อโสมสูตร
แต่ปัจจุบันจุดดังกล่าวเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปไปแล้ว

ข้างใต้ฐานปรางค์หลัก เป็นทรายละเอียดที่ลือกันว่าปะปนด้วยอัญมณีอันมีค่า
หากย้อนไปซักสิบปีก่อน อนุญาติให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นชมวิวจากข้างบนได้
แต่ปัจจุบันนั้น ไม่อนุญาติให้ขึ้นไปแล้ว

แสงอาทิตย์ยามเย็นยังคงสาดส่องปราสาทพระบรมวิษณุโลก

มันยังคงสงบนิ่ง และสร้างความตื่นตะลึงให้กับทุกคนที่มาได้เห็น

เหมือนเช่นที่มันยังคงเป็นเมื่อ 800 ร้อยปีก่อน



Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 17 กันยายน 2556 13:18:45 น. 7 comments
Counter : 1382 Pageviews.  

 


โดย: ชมจันทร์ วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:45:21 น.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:56:17 น.  

 
นึกว่าเฉพาะตอนเราไปเขาห้ามขึ้นชั่วคราว อดหมดเลยหรือคะเพิ่งทราบ แต่ก็บันไดชันมาก ๆ ด้วยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:14:13:14 น.  

 
1. ปกติมีเพียงกษัตริย์ ที่จะขึ้นไปพร้อมพราหมณ์
ก็เลยไม่จำเป็นต้องทำให้กว้าง ใหญ่ สะดวก ไปทำไม

2. ความชันและแคบ ทำให้สร้างปรางค์ได้สูง และงดงาม

3. ต้องการให้ผู้ที่ขึ้นไปต้องก้มตัวและเดินอย่างระวัง

ก่อนหน้านั้นที่ปราสาทบันทายศรีก็เดินเข้าไปข้างในได้

พอถึงยุคหลัง ก็เดินได้แค่ระเบียงรอบนอกแบบในปัจจุบัน


โดย: VET53 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:03:37 น.  

 


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:02:27 น.  

 
ขอบคุณที่ชมค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:19:41 น.  

 
บันไดชันแบบนี้ กว่าจะได้ไป ถึงคราวอายุเยอะ ขาสั่นแน่เลยค่ะ นี่ก็ไม่ค่อยกล้าขึ้นเท่าไหร่นะคะ เวลาเจอที่ไหนบันไดชันๆ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 21 ธันวาคม 2555 เวลา:18:30:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]