Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

 
มกราคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
9 มกราคม 2560

ปริศนาความศรัทธาที่สาบสูญ : บทเริ่มต้นแห่งการเดินทาง (1)




3 พ.ค. 2555 ผมยืนอยู่หน้าห้างเซ้นทรัลบางนา ด้วยใจที่เต้นรัว
เพราะเป็นครั้งแรกที่โอนเงินไปให้คนอื่นที่ไม่ใช้บริษัททัวร์ที่จัดนำเที่ยว
การเดินทางแบบหารเฉลี่ยครั้งแรกในชีวิต ตลอดเวลา 3 วันนั้นตื่นเต้นมาก
ไม่รู้ว่าคนจัดนั้นเป็นคนอย่างไร จะพาพวกเรามาทิ้งไว้หรือเปล่า

และนั่นก็เป็นเบื้องหลังของเรื่องราวในซีรีย์ ตามหานคราที่หลับใหล
ที่เรามีโอกาสได้ไปในสถานที่ที่น้อยคนจะได้ไปถึง ปีระมิดแห่งเกาะแกร์
และปราสาทเบ็งเมเลีย สถานที่ที่หลับใหลอยู่ภายใต้เงาของกับระเบิดใต้ดิน
จากคนแปลกหน้า เราทั้งหมดกลับกลายมาเป็นเพื่อนกัน จนกระทั่งวันหนึ่ง

ที่ใครบางคนในกลุ่มทักมาว่า เราน่าจะไปเที่ยวเขมรกันอีกสักครั้ง
ตราบเท่าที่เรายังมีแรงกันอยู่ และนี่คือจุดเริ่มต้นแห่งการเดินทางในครั้งนี้
แผนการเดินทางไม่มีอะไรมาก ไปตามหาปราสาทที่เราพลาดไปในครั้งก่อน
ปราสาทบันทายฉมาร์ที่เคยมีภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเลื่องลือไปทั่ว

3 พ.ค. 2559 คนที่หลงใหลปราสาทกัมพูชากลับมาพบกันอีกครั้ง
บางคนในกลุ่มบอกว่าอยากไปปราสาทนครวัด ผมก็คงไม่ว่าอะไร
แต่ถ้าตัดสถานที่แห่งนี้ออกไป ก็แทบจะเรียกได้ว่าเราย้อนรอยไปในช่วงเวลา
ของเหล่าปราสาทที่ถูกสร้างมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เลยทีเดียว
ดังนั้นก่อนที่จะได้อ่านเรื่องราวใดๆ ผมอยากจะพาไปรู้จักกับ พุทธมหายาน

เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า จากขนบการสร้างปราสาทเพื่อบูชาแด่เทวะฮินดู
ที่เป็นประเพณีสืบต่อกันมานับแต่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เมื่อสี่ร้อยปีก่อน
ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างศาสนสถานเพื่ออุทิศแด่พระพุทธเจ้า
แล้วพุทธมหายาน นิกายวัชรยานที่เผยแพร่อยู่ในเวลานั้นคืออะไร



พุทธมหายาน

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน
สาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์ 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก
ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน
จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เกิดเป็นพระธรรมปิฎก

ธรรมวิสัชนาที่ท่องต่อกันไว้โดยพระเถระผู้ใหญ่ที่มาประชุมสังคายนาครั้งแรก
คณะสงฆ์ยังคงยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่บัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด
แต่หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี
ในเวลานี้พระสงฆ์ที่ได้รับการสั่งสอนโดยตรงจากพระพุทธเจ้าได้หมดไป

พระสงฆ์รุ่นใหม่จึงเป็นกลุ่มที่ได้รับการสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ที่ตนเคารพ
เมื่อมีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัย
เช่น พระอรหันต์สามารถถูกมารยั่วยวนในความฝันจนอสุจิเคลื่อนได้หรือไม่
เมื่อความเห็นต่างกันพระสงฆ์กลุ่มนี้จึงแยกออกไปตั้งนิกายของตนเอง

เรียกว่า มหาสังฆิกะ

เมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศก พุทธศาสนาก็มีกลุ่มย่อยถึง 18 นิกาย
แต่อย่างไรก็ตามคงนับว่าเป็นหินยาน ซึ่งมีความเชื่อในการบรรลุธรรมที่เหมือนกัน
เพียงแต่มีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติบางอย่างที่ต่างกัน
โดยมีเพียงนิกายเถรวาทสายเดียวที่ยังคงใช้พระไตรปิฎกที่เป็นต้นฉบับภาษาบาลี

หลังการเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศก
พุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลง ในศาสนาพุทธศตวรรษที่ 7 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์
ที่เรียกตนเองว่ามหายานขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าพัฒนาจาก
นิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย

โดยยึดหลักฐานว่าในสมัย พระเจ้ากนิษกะมหาราช แห่งราชวงศ์กุษาณะ
ทรงเป็นอุปถัมภ์พุทธศาสนานิกายมหายานในราชอาณาจักรของพระองค์
โดยทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศเทียบได้กับพระเจ้าอโศก
เป็นจุดเริ่มต้นของพุทธสาสนานิกายมหายานที่เผยแพร่ไปตามเส้นทางสายไหม

พุทธศาสนานิกายมหายานเติบโตขึ้นจนพุทธแบบหินยานในอินเดียได้หายไป
เหลือเพียงนิกายเถรวาทที่ไปหยั่งรากเติบโตอยู่ในศรีลังกา และสุวรรณภูมิทวีป
นั่นอาจเป็นเพราะพุทธศาสนาก็ต้องปรับตัวเพื่อที่จะเอาชนะศาสนาพราหมณ์
ที่พัฒนาการในคำสอนและหลักการต่างๆ จนกลับมาเป็นที่นิยมในอินเดียอีกครั้ง



ความคิดหลักของหินยานคือพระพุทธเจ้าได้ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานไปแล้ว
ทำให้ที่ไม่มีเทพเจ้าหรือศาสดาให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นข้อยึดเหนี่ยว
ต่างจากศาสนาพราหมณ์ที่มีเทพเจ้ามากมายที่ยังคงอยู่ให้เคารพบูชา
พุทธศาสนามหายานจึงสร้างแนวความคิดว่า พระพุทธเจ้านั้นยังคงอยู่

เกิดเป็นแนวคิดที่เรียกกันว่า ตรีกาย อันหมายถึงกายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า
นิรมาณกาย หมายถึง กายมนุษย์ พระศากยมุนีผู้มาประสูติอยู่บนโลก
สั่งสอนธรรมแก่สาวกและดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา

สัมโภคกาย หมายถึง กายที่ประทับในแดนพุทธเกษตรต่างๆ มีลักษณะเป็นทิพย์
มีอายุที่ยืนยาวเป็นนิรันดร์ และรุ่งเรืองแผ่ซ่านปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
และธรรมกาย หมายถึง กายอันไร้รูปร่างเป็นสภาวธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด
หลักแห่งความรู้ ความกรุณา และความสมบูรณ์ หมายพุทธองค์ที่เป็นองค์เทพเจ้า

หินยานอาจมุ่งมั่นการทำสมาธิ พิจารณาอริยสัจ 4 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
แต่มหายานเน้นการปฏิบัติดั่งพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นเหตุให้สามารถบรรลุพุทธภูมิ
ด้วยแนวคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีหัวใจแห่งพุทธะ สามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

แม้จะสามารถบรรลุนิพพานได้ ก็จะยังรั้งรอเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์
ให้พ้นสังสารวัฏวัตเสียก่อน เมื่อหมดแล้วตนเองจะไปนิพพาน จึงเรียกว่ามหายาน
พระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานจึงมีมาก พระพุทธเจ้าเองก็มีจนไม่อาจคำนวณได้
และพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ย่อมโปรดสรรพสัตว์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า

นอกจากวินัยของเถรวาทแล้ว พุทธมหายานยังเน้นเรื่องการบำเพ็ญโพธิสัตว์ 10
• ทานปารมิตา หรือ ทานบารมี
• ศีลปารมิตา หรือ ศีลบารมี
• กฺษานฺติปารมิตา หรือ ขันติบารมี
• วีรฺยปารมิตา หรือ วิริยบารมี
• ธฺยานปารมิตา หรือ ฌานบารมี
• ปฺรชฺญาปารมิตา หรือ ปัญญาบารมี
• อุปายปารมิตา หรืออุบายบารมี
• ปฺรณิธานปารมิตา หรือประณิธานบารมี
• พลปารมิตา หรือ พลบารมี
• ชฺญานปารมิตา หรือ ญาณบารมี



ดังนั้นจึงมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหินยานและมหายานเช่น
หากมีสตรีตกน้ำ พระในนิกายเถรวาทไม่สามารถแตะต้องสตรีได้
แต่มหายานมองว่าไม่ผิดวินัยเพราะเป็นไปเพื่อการโปรดสัตว์
พระแถรวาทฉันเนื้อสัตว์ได้เพียงแต่ห้ามบอกว่าตนนั้นต้องการฉัน
แต่มหายานไม่ต้องการให้ศาสนิกชนทำบาปจึงเลือกฉันอาหารเจ

เมื่อเกิดนิกายมหายาน ก็มีการตีความพระไตรปิฏกโดยคณาจารย์
เกิดเป็นคัมภีร์หรือพระสูตรขึ้นมากมาย เช่น คัมภีร์ที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์
คัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นด้วยภักติ และที่โด่งดังที่สุดคือปรัชญาศูนยตา
กำเนิดโดยท่านนาคารชุน นักปรัชญาอินเดีย ซึ่งมีชีวิตในช่วง พ.ศ. 700 – 800

เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน
ผลงานสำคัญคือ มาธยมิกการิกา อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยตวาท
แม้แนวคิดเรื่องมหายานจะดึงดูดให้คนอินเดียหันมาสนใจศาสนาพุทธเพิ่มขึ้น
แต่ศาสนาพราหมณ์ก็วิวัฒนาการกลายเป็นศาสนาฮินดูที่ทำให้มีผู้นับถือมากขึ้น

พุทธศตวรรษที่ 12 พุทธมหายานได้เกิดนิกายสำคัญคือ ตันตระยาน
ที่จะได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์ปาละ ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน
โดยเป็นการนำนิกายโยคาจารย์และฮินดูแบบตันตระมาปรับใช้กับศาสนาพุทธ
สร้างการเข้าถึงนิพพานโดยอาศัยท่าทางการสื่อสารถึงพระพุทธที่เป็นเทพเจ้า



Create Date : 09 มกราคม 2560
Last Update : 11 มกราคม 2560 14:12:32 น. 6 comments
Counter : 1033 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี


 
ว้าววว อัพบล็อกใหม่แล้วววว

เมื่อไหร่จะเปลี่ยนตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นคะ คนแก่ปวดตาค่ะ 55555

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Best Review Food Blog ดู Blog
เกศสุริยง Education Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 9 มกราคม 2560 เวลา:14:18:36 น.  

 
อุ๊ยยย น่ารักที่สุดค่ะะะ อ่านง่ายขึ้นเยอะเลยยย

ขอบคุณนะค้าา แหะๆ


เปลี่ยนหน้าบล็อกแล้วค่ะ เผื่อจะคอมเมนท์ได้ 5555555555


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 9 มกราคม 2560 เวลา:16:22:42 น.  

 
สวัสดีอีกรอบค่าาา

ถ้าได้ไปร่วมงานนะคะ จะบอกเค้าให้ค่ะ จำชื่อร้านได้มั้ยง่าาา


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 9 มกราคม 2560 เวลา:18:41:09 น.  

 
อ่านคอมเมนท์แรกของเต้ย ยังคิดว่า ตัวหนังสือก็อ่านชัดเจนดีนี่นา เจ้าเต้ยจะแก่ขนาดไหน มองไม่เห็น พี่ยังเห็น 555 พออ่านคอมเมนท์ต่อมา อ๋อ เพิ่งแก้ไขนี่เอง

เคยเจอกระทู้ทริปหารเฉลี่ยในพันทิปเหมือนกัน ไม่กล้าไปค่ะ

อยากไปเขมรให้ได้ซักครั้งในชีวิตนะคะนี่

*** ป้ายโบสถ์ไม้ตาลเยอะมากค่ะ เยอะจน ลองเข้าไปดูหน่อยดีกว่า


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 9 มกราคม 2560 เวลา:19:55:12 น.  

 
เป็นเรื่องที่พยายามปะติดปะต่อมาตลอด ขอบคุณค่ะ
วัดที่อุทัย ไม่ทราบค่ะ
เมืองเพนียด ไม่ได้ไปค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 มกราคม 2560 เวลา:20:24:10 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะ
ไม่ได้เข้ามาโหวตบล็อกนี้นานมาก
วันนี้ซะหน่อย
หลังๆ มานี้
อุ้มเข้าพิพิธภัณฑ์บ่อยมาก


โดย: อุ้มสี วันที่: 10 มกราคม 2560 เวลา:1:04:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]