Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
3 กุมภาพันธ์ 2560

ปริศนาศรัทธาที่สาปสูญ : ปราสาทบันทายกเดย



เนื้อหาด้านล่างทั้งหมดเป็นสิ่งที่เขียนไว้แต่เริ่มซีรีย์ แต่ด้วยการตีความใหม่จึงถูกย้ายมาไว้ตรงนี้
เพราะเดิมทีเข้าใจว่าตัวปราสาทสร้างมาก่อนรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
แต่อ่านอีกครั้งพบว่า น่าจะเป็นหมู่บ้านที่นับถือพุทธมหายานจึงมีศาสนสถานมาก่อน
แต่ด้วยรูปแบบทางศิลปะ ปราสาทบันทายกเดย จัดเป็นปราสาทหลังที่สามในรัชกาล

ตามรูปนั้นเป็นการศึกษาโดยนักวิชาการฝรั่งเศสที่ผม capture มาจาก youtube
จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งศาสนสถานในยุคสมัยบายนออกเป็น 6 สมัย ได้แก่
หลังนครวัด ตาพรหม พระขรรค์ 1 พระขรรค์ 2 บายน 1 และสิ้นสุดที่บายน 2
แต่จากภาพจะเห็นได้ว่า การสร้างปราสาทแต่ละหลังไม่ได้สิ้นสุดลงเลยทีเดียว
แต่มีการต่อเติมตลอดเวลา เราจึงเห็นว่าปราสาทตาพรหม พระขรรค์ หรือบันทายกเดย
ที่แม้จะสร้างมาก่อนก็ตาม แต่มีซุ้มโคปุระที่เป็นรูปนหน้าพระโพธิสัตว์เหมือนกับปราสาทบายน

ส่วนบลอกเดิมถูกแทนที่ด้วยเรื่องปราสาทตาพรหม ซึ่งมีการสลักภาพอวทานชาดกที่น่าสนใจ




เวลาพูดถึงปราสาทในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็มักจะเริ่มที่ปราสาทตาพรม
แต่หลักฐานทางโบราณคดีชี้ว่า ปราสาทที่เก่าที่สุดคือ ปราสาทบันทายเดย
ที่ดูเหมือนว่าถูกสร้างมาด้วยวัสดุที่มีคุณภาพต่ำ และมีความซับซ้อนน้อย

กล่าวกันว่า สร้างในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13
ซึ่งหมายความว่าน่าจะมีมาก่อนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จะขึ้นมาครองอำนาจ
โดยเมื่อดูจากผัง อาจจะเป็นปราสาทสามหลังแบบศาสนสถานฮินดูมาก่อน
ด้วยรัชกาลที่ยาวนานจึงมีการต่อเติมตลอดเวลา จนมาเป็นแบบที่เห็น




คนไทยนิยมเรียกว่าบันทายกุฎี ซึ่งตรงกับความเชื่อของนักวิชาการต่างชาติว่า
ชื่อเดิมคือกุฏิ โดยอ้างจารึกสด๊อกก๊อกธมหลักที่ 2 ด้านที่2 บรรทัดที่ 3-6
ที่กล่าวถึงเรื่องราวของพราหมณ์ชเยนทรวรมันในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ว่า

ท่านได้รักษาพระศิวลึงค์ที่ประเสริฐยิ่ง อันคนในสกุลของท่านสร้างไว้ในปางก่อน
ที่เมืองอินทรปุระ ณ แคว้นในแผ่นดินที่ได้รับพระราชทานจากเจ้าเมืองภวปุระไว้
เมืองที่สร้างโดยภัทรโยคีผู้เป็นญาติ หลังจากได้ขอแผ่นดินกับพระเจ้าแผ่นดินแล้ว
ท่านได้สร้างเมืองกุฎิ ณ ที่นั้น ได้ตั้งวงศ์สกุลในเมืองนั้น

จารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 1 และ 3 ได้กล่าวถึงเมืองนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันว่า

ท่านผู้เป็นปราชญ์ได้ประทานดินแดนเป็นอันมากแห่งพายุยุทธะที่ท่านคุ้มครอง
แต่ขาดการบำรุงในเมืองเชงทนบของพระเจ้าสูรยวรมันให้แก่เจ้าเมืองกุฎิและวงศ์สกุล
ท่านผู้สร้างที่อาศัยเป็นต้น ... แก่เจ้าเมืองกุฎินั้นได้มอบอาศรมที่สร้างไว้อย่างสมบูรณ์
และประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอาศรมนั้น พร้อมด้วยทรัพย์ทั้งหลายไว้กับพระศิวะ






บรรทัดที่ 61-64 ได้เล่าย้อนกลับในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 อีกครั้งว่า


เมื่อพระบาทปรเมศวรได้เสด็จกลับจากชวาเพื่อมาครองนครอินทรปุระ
เสตงอัญศิวไกวัลยะซึ่งเป็นปราชญ์ราชครูได้ดำรงตำแหน่งเป็นราชปุหิตของพระองค์
เมื่อพระองค์เสด็จมาจากอินทรปุระ ศิวไกรวัลยะก็ตามเสด็จด้วยในฐานะพระกันทวารโหม
ข้าราชการส่วนพระองค์ พระบาทปรเมศวรทรงรับส่งให้นำญาติชายหญิงไปด้วย
เมื่อพวกญาติมาถึงวิษยะปูรวทิศะ ทรงพระราชทานที่ดินให้สร้างหมู่บ้านกุฎิแก่พวกเขา


นั่นคือความเชื่อมโยงถึงหมู่บ้านกุฎิกับปราสาทบันทายกเดยที่ผมค่อนข้างสงสัย
ว่าความเชื่อนี้มาจากอะไร บันทาย แปลว่าป้อม กเดยอาจมาจากกุฎิก็จริง
แต่ไม่มีใครบอกได้ว่า ที่ตั้งปราสาทแห่งนี้ในอดีตชื่อว่าหมู่บ้านหรือเมืองกุฎิจริงหรือเปล่า
เพราะเป็นทีทราบกันว่า ชื่อปราสาททุกแห่งในปัจจุบันไม่ใช่ชื่อในอดีตเลยสักแห่ง

เช่นเดียวกับหลายปราสาทก่อนหน้าที่พบว่ามีการสกัดทำลายรูปพระพุทธเจ้าออกไป
แต่ที่นี่พบอะไรมากกว่าที่อื่น





ในปี ค.ศ. 2001 ในระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดี โดยความร่วมระหว่าง
มหาวิทยาลัยโซเฟีย (Sophia University Angkor International Mission)
จากประเทศญี่ปุ่นกับองค์กรอัปสรา (Apsara Authority) ที่ปราสาทบันทายกุฎี
บริเวณอาคารขนาดเล็กทางด้านหน้าฝั่งทิศเหนือก่อนข้ามคูน้ำเข้าสู่ซุ้มประตูโคปุระ
ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่โซน D11 ในระหว่างการขุดลอกหน้าดินตะกอนทับถม

และตรวจชั้นดินของปราสาท ในหลุมขุดด้านหน้าประตูลึกประมาณ 2.5 เมตร
ก็ได้มีการขุดค้นพบ ประติมากรรมรูปเคารพวัชรยานตันตระ จำนวน 274 ชิ้น
ประมาณกันว่าเป็นชิ้นส่วนที่แตกหักของพระพุทธรูปนาคปรกขนาดต่าง ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่า 150 องค์ เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอีกกว่า 10 ชิ้น
หลักยันตรมณฑล ขนาดใหญ่ 1 หลัก และปราสาทจำลองมีซุ้ม 4 ทิศ 1 หลัก

แสดงให้เห็นหลักฐานที่สำคัญของการทุบทำลายพุทธศาสนานิกายตันตระยาน
อย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ผู้ที่หันมานับถือพระศิวะ



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2560 10:26:55 น. 11 comments
Counter : 1905 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณชีริว, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณtuk-tuk@korat, คุณเรียวรุ้ง, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณSertPhoto, คุณNoppamas Bee, คุณนกสีเทา


 
แสดงให้เห็นหลักฐานที่สำคัญ
ของการทุบทำลายพุทธศาสนา
นิกายตันตระยานอย่างเป็นระบบ
ที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
ผู้ที่หันมานับถือพระศิวะ

.......แหล่มเลยค่ะพี่
ได้ความรู้เพียบ


โดย: อุ้มสี วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:11:36:49 น.  

 
บันทายกเตยนี่ไม่เคยไปง่ะค่ะ ดูแล้วก็น่าจะเก่าแก่มากๆ จริงๆ นะคะ

วันนี้โหวตเต็มแล้ว พรุ่งนี้มาจัดการให้นะฮับ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:13:22 น.  

 
ลืมตอบ ภาชนะที่ใส่ตอนเสิร์ฟ มันจะมีเตาอุ่นข้างล่างด้วยค่ะ ทำให้เนื้อไม่เย็นก่อนเสิร์ฟให้ลูกค้าน่ะค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:42:18 น.  

 
ลองเสิร์ชหา พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อยากจะดูสิ่งก่อสร้างในสมัยนี้ (ที่ว่าหันมานับถือพระศิวะ)

มาเจอเรื่องนี้ค่ะ //www.thairath.co.th/content/23537

รัชกาลถัดมาจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ที่่เป็นรัชทายาท ถัดมาถึงจะเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 แล้วเป็นอะไรกับ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ...

พ่อขุนผาเมือง คือพระเจ้าศรินทรวรมัน พระราชบุตรเขยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อีก

จะว่าสนุกก็สนุก แต่ปนงงด้วยนะคะนี่


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:32:00 น.  

 
1 กิโลเมตร แป๊บ ๆ ค่ะ คุ้มมาก สวยมากเลยค่ะ

เห็นวิวหลายมุม หลายหาดด้วย เชียร์นะคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:33:27 น.  

 
บล็อกคุณผู้ชายเจ๋งจริงๆเลยครับ อ่านเยอะและเรียบเรียงความคิดเอง ไม่ได้เอาข้อความของที่อื่นมาลงทื่อๆ ^^ ชอบครับชอบ
เวลาอ่านเรื่องประวัติศาสตร์แถบนี้ผมชอบเลขปี พ.ศ. มากกว่า ค.ศ. แฮะ มันได้อารมณ์มากกว่า เทียบเคียงงกับยุคต่างๆของไทยไปด้วย (ผมยังจำเหตุการณ์ต่างๆเป็น ค.ศ. ไม่ได้ จะบวกเลขเองก็ขี้เกียจ)

หลายๆพื้นที่พอเปลี่ยนศาสนาแล้วทำลายของศาสนาเดิมออกไป น่าเสียดายครับ บ้านเราลายๆแห่งที่เปลี่ยนปราสาทขอมเป็นวัดแบบพุทธก็พอกัน


โดย: ชีริว วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:07:09 น.  

 
มาโหวตค่า

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sai Eeuu Food Blog ดู Blog
คนผ่านทางมาเจอ Health Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Review Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:1:34:44 น.  

 
เพิ่งกลับถึงบ้านค่ะ ยังหมดแรงอยู่
ไปงานเลี้ยงรุ่นมัธยมที่เชียงใหม่มา 3 วัน 3 คืน
กลับโคราชไปธุระที่บุรีรัมย์
กลับโคราชไปชลต่อ อิอิ จะว่าไปเที่ยวก็หมดแรงเหมือนกันนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:13:18 น.  

 
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

หวังว่าจะได้ไปเที่ยวเขมรซักครั้งก็ยังดี แล้วจะมาอ่านใหม่ทั้งหมดเลยค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:19:29:05 น.  

 
สวัสดีค่ะ

มาบ้านนี้ได้ความรู้เพียบเลย

ปราสาทพวกนี้ ด้วยกาลเวลาที่ล่วงผ่านเลยจนถึงยุคนี้ เห็นแล้วยังมีเค้าโครงความงาม

อยากรู้จังว่าในยุคสมัยนั้นจะงดงามสักแค่ไหนนะคะ

อยากไปเที่ยวเขมรเหมือนกัน แต่ตอนนี้ก็ดูพวกปราสาทพิมาย เขาพระวิหารไปก่อนนิ จะว่าไปเขาพระวิหารก็ยังไม่เคยขึ้นเลยสักครั้ง

ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:12:26:28 น.  

 
ตอนไปก็เห็นรูปสุดท้ายติดไว้ที่หน้าทางเข้าปราสาทค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:59:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]