Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

 
มกราคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
23 มกราคม 2560

ปริศนาศรัทธาที่สาบสูญ : ปราสาทพระขรรค์ (2)








สิ่งที่ทำให้ปราสาทหลังนี้โด่งดังคือ การพบจารึกขนาดใหญ่นั่นเอง
จารึกสูง 1.8 ม. กว้าง 58 ซม. แต่ละด้านมีจารึก 72 บรรทัด
เป็นภาษาสันสกฤตแบบฉันท์ 7 มาตร 179 บท

จารึกเริ่มด้วยการสรรเสริญพระพุทธเจ้า ต่อด้วยพระโพธิสัตว์
และพระะนางปรัชญาปารมิตา ตามด้วยการเล่าสายสกุลการสืบสันตติวงศ์
ของพระเจ้าชัยวรมันว่า พระเจ้าศรีเศรษฐวรมัน โอรสของพระเจ้าศรุตวรมัน
มีพระขนิษฐานามว่า กัมพุชราชลักษมี เป็นมเหสีของพระเจ้าภววรมัน

มีพระราชโอรสคือ พระเจ้าหรรษาวรมัน (ที่3)
พระเจ้าหรรษาวรมันมีพระธิดานามว่า ศรีชยราชจุฑามณี
ต่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าศรีธรณีนทรวรมันที่ 2
มีพระราชบุตร 2 องค์ คือ พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ด้านพระปรีชาสามารถ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สู้รบจนชนะข้าศึกหลายครั้ง
พระองค์ได้มอบเมืองหลวงของข้าศึก ซึ่งมีทั้งพระราชวังที่สง่างามให้แก่
แม่ทัพนายกองคนสำคัญเป็นผู้ปกครอง เพื่อตอบแทนความดีความชอบ
ทั้งมอบธิดาหรือญาติให้แต่งงานด้วย

พระองค์ได้สร้างปราสาทหลังนี้ในพื้นที่ที่พระองค์ชนะข้าศึกด้วยพระขรรค์ชัยศรี
เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ จึงตั้งชื่อปราสาทว่า ชัยศรี ตามชื่อพระขรรค์
พระองค์ได้สร้างพระศรีชยวรเมศวร ซึ่งเป็นรูปบิดา เพื่ออุทิศแก่พระโพธิสัตว์โลเกศวร
รอบๆ พระโลกเกศวรที่ตั้งอยู่ใจกลางปราสาท มีพระเทวรูป 283 องค์
3 ทางทิศตะวันออก 32 ทางทิศใต้ 30 ทางทิศตะวันตกและ 40 ทางทิศเหนือ

สร้างเทวรูปองค์หนึ่งไว้ที่ยุ้งข้าว อยู่รอบแท่นบูชา 10 องค์ อยู่ที่ศาลาพัก 4 องค์
อยู่ที่สถานพยาบาล 3 องค์ ประตูทั้งสี่ 24 องค์ รวมพระเทวรูปทั้งหมด 430 องค์
นอกนั้นเป็นพระเทวรูปที่สร้างไว้ตามเกาะต่างๆ รวมเป็นพระเทวรูปทั้งหมด 515 องค์

วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ทรงบริจาคประจำวันเพื่อบูชา เช่น ข้าวสุก งา ถั่ว เนยเหลว นมข้น
นมสด น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำมันงา น้ำผลไม้ เครื่องนุ่งห่ม กำยาน ไม้จันทร์ ยางสน
เสื้อจีน เส้นไหม คนโท เงิน ทอง เพชรพลอย สำริด ชาม เหล็ก ตะกั่ว แพะ ม้า วัว
ปราสาทนี้มี 439 ห้อง มีคนอาศัยเป็นอาจารย์ 1 คน ผู้ช่วยอาจารย์ 15 คน
โยคี 308 คน ฝ่ายไศวะ 39 คน และบริวารอื่นๆ รวม 1000 คน

พระองค์ได้สร้างพระรัตนตรับส่งไปประดิษฐานที่วิหารใน 23 ตำบล
ศรีชยราชธานี ศรีชยันตครี ศรีชัสิงหวดี ศรีชยวีรวดี ละโว้ทยปุระ สุวรรณปุระ
ศัมพูกปัฏฏนะ ชยราชบุรี ศรีชยสิงหบุรี ศรีชยวัชรบุรี ศรีชยสตัมภบุรี สรีชยราชคีรี
ศรีชยวีรบุรี ศรีชยวัชรตีศรีชยเกษมบุรี ศรีวิชยาทิบุรี ศรีชยสิงหคราม
มัธยมครามกะ สมเรนทรครามะ ศรีชยบุรี วิหาโรตตรกะ ปูราวาส

พระองค์ได้สร้างวหนิคฤห 10 หลัง ไว้ริมสระน้ำยโศธร
สร้างวหนิคฤห 57 หลัง จากยโศธรปุระไปเมืองจัมปา
สร้างวหนิคฤห 17 หลัง จากยโศธรปุระไปเมืองพิมาย
สร้างวหนิคฤห 14 หลัง ไปยังเมืองต่างๆ เช่น ชยวดี
ชยสิงหวดี ชยวีรวดี ชยราชคีรี รวมทั้งสิ้น 121 หลัง

พระองค์ได้ทำสิ่งทั้งหมดนี้เพื่ออุทิศกุศลแด่พระราชบิดาให้พ้นวัฏสงสาร
เพื่อความเสถียรแห่งพระธรรมในอนาคต จารึกบทสุดท้ายกล่าวถึง
พระศรีวีรกุมารโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อีกพระองค์หนึ่ง
เป็นผู้มีการศึกษา เป็นนักรบ และเป็นผู้แต่งจารึกหลักนี้ไว้


คำว่า ยุ้งข้าวในจารึกนั้นน่าสนใจ ด้วยคล้ายกับอาคารปริศนาสองชั้นด้านหน้า
เพราะว่าชั้นสองของอาคารสามารถที่จะหลบพ้นการท่วมของน้ำ และสัตว์ต่างๆ ได้




สิ่งที่ผมสะดุดอีกอย่างคือ พระราชมารดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เป็นพระธิดาของพระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3 ดูไม่น่าจะเป็นไปได้

พระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3 (1609-1623)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (1623-1650)
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 (1650-1656)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (1656-1693)
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 (1693-1703)
พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 (1703-1708)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (1724-1763)

แม้ปี พ.ศ. ที่ครองราชย์อาจจะคลาดเคลื่อน แต่จารึกปราสาทพระวิหาร K. 383
บอกว่าพราหมณ์ผู้อภิเษกพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มีชีวิตผ่านมาถึง 5 รัชกาล นับแต่พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ซึ่งเรียงลำดับรัชกาลตรงตามนี้
ถ้าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ พ.ศ. 1724 ด้วยพระชนมายุ 50 ปีเศษ
พระองค์ควรประสูติในราวปี พ.ศ. 1670

หากพระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3 สิ้นรัชกาลในราวปี พ.ศ. 1623
แล้วพระนางศรีชัยราชจุฑามณีเกิดช้าที่สุด คือปีสุดท้ายของรัชกาล
เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประสูติ พระนางจะมีพระชนมายุเกือบ 50 พรรษา
แย้งกับธรรมเนียมโบราณ ที่แม้พระเจ้าชัยวรมันก็แต่งงานแต่พระชนมายุน้อย

แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไร เราย้อนกลับไปยังคำแปลที่เป็นภาษาอังกฤษ

XVIII. This daughter of Sri Harsavarman gave birth,
from this king to a hero, the king Sri Jayavarman


คำว่า ลูกสาวกับหลานสาว น่าจะต่างกันมากจนไม่น่าแปลผิด
จารึก K. 273 ที่ปราสาทตาพรหมก็เขียนด้วยข้อความเดียวกันกับปราสาทพระขรรค์
ต่างกันที่ในบทที่ 15 ปราสาทตาพรหมกล่าวว่า พระอัยกี ราชบดินทรลักษมี
มาจากหมู่บ้าน ราชปฏิสวาระ ในขณะที่ปราสาทพระขรรค์กล่าวว่า
สายตระกูทางแม่่ของพระนางคือ สุวีรวตี นอกจากตรงนี้ไม่มีจุดที่ต่างกัน

แล้วอาจมีข้อผิดพลาดใดบ้างที่เกิดได้ในการแปล คงต้องย้อนเรื่องราวกลับไป

เรื่องที่หนึ่งในชีวิตประจำวันพวกเค้าพูดภาษาเขมร แต่เพราะเป็นเรื่องของกษัตริย์
จารึกจึงต้องจดบันทึกด้วยตัวอักษรสันสกฤต ด้วยถือว่าเป็นภาษาชั้นสูง
แต่ตัวอักษรใดๆ ก็ตาม ย่อมออกแบบมาเพื่อรองรับภาษาพูดในสังคมนั้นๆ
จารึกจึงกลายเป็นภาษาเขมรที่สะกดด้วยอักษรสันสกฤตในแบบคาราโอเกะ
ดังนั้นมีโอกาสที่สะกดจะมีการบันทึกไม่ตรงเสียง ทำให้เกิดการแปลที่ผิดพลาด

เรื่องที่สอง ผู้ที่รู้ภาษาในสมัยนั้นมีเพียงกลุ่มตระกูลพราหมณ์ ไม่ได้มีโรงเรียนสอน
เมื่อผ่านคนยุคหนึ่งไปยุคหนึ่งย่อมมีความเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ลายมือไม่เหมือนกัน
มีการสึกกร่อน ผิดเพี้ยนไปตามกาลเวลา ที่สำคัญไม่มีพราหมณ์จากอินเดียโดยตรงมาแก้ไข
ซึ่งนักวิชาการเองใช้ข้อนี้ในการกำหนดอายุของจารึกได้จากวิวัฒนากรของตัวอักษร
แต่ในมุมของความผิดพลาด ย่อมมีโอกาสที่ผู้แปลสองคนจะเห็นตัวอักษรตัวเดียวกันเป็นคนละตัว

เรื่องที่สามภาษาพูดของคนในสมัยนั้น ก็ไม่ได้มีคงอยู่ครบทุกคำจนถึงปัจจุบัน
เหมือนกับคนไทยปัจจุบันต้องไปอ่านเรื่องลิลิตยวนพ่ายสมัยอยุธยาแบบงงๆ
เพราะเราไม่รู้ศัพท์บางคำที่ใช้กันในสมัยนั้นนั่นเอง จุดนี้เองที่ทำให้เมื่อแปลจารึก
โดยนักวิชาการสองคนจึงอาจมีเนื้อหาแตกต่างกัน เพราะว่าตีความคำที่ไม่รู้นั้นต่างกัน

แต่ถ้าจารึกไม่ได้เขียนผิด ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้อีกทางหนึ่ง
รัชกาลของพระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3 ไม่ได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 1623
พระองค์ยังมีพระชนมายุสืบมาจนมีพระธิดาในช่วงปลายพระชนมายุ
ที่ต่อมาจะได้แต่งงานกับพระเจ้าธรณิทรวรมันที่ 2


เพราะในช่วงรัชกาลพระจ้าชัยวรมันที่ 6 และพระเจ้าธาณินทรวรมันที่ 1 นั้น
ไม่พบปราสาทประจำรัชกาลที่สร้างเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในเมืองพระนครเลย
แต่กลับปรากฏปราสาทขนาดใหญ่ในภาคอีสานของไทยที่มีอายุร่วมสมัย
เช่น ปราสาทพิมาย ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทพนมรุ้งขึ้นมาแทน

เกิดอะไรขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านราชวงศ์จากศรียโศธรมาเป็นมเหนธรปุระ
หรือว่าจะเกิดการกลับทิศทาง เมืองพิมายกลายเป็นศูนย์กลางนครหลวงแห่งใหม่
ปล่อยให้พระเจ้าหรรษาวรมันที่ 3 ยังคงประทับอยู่ที่เมืองศรียโศธรปุระ
และส่งผ่านอำนาจมายังผู้ปกครองนาม นฤบดินธรวรมัน

ก่อนที่จะพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จะเข้ามายึดอำนาจในเมืองพระนครอย่างเด็ดขาด
และสร้างนครวัดเป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดสายอำนาจของราชวงศ์เก่าอย่างชัดเจน

เรื่องนี้ยังคงเป็นปริศนา




Create Date : 23 มกราคม 2560
Last Update : 25 มกราคม 2560 16:50:35 น. 9 comments
Counter : 1802 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณjackfruit_k, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสาวไกด์ใจซื่อ


 
มีปริศนาหลายเรื่องที่ยังรอคำตอบนะคะ

นั่นสิ 50 มีลูกได้ไหมน้อ แต่ก็เป็นไปได้นะคะ ถ้าเป็นคนที่ร่างกายแข็งแรงจริงๆ อะนะ

เพราะถ้าเอาตามหลักการของแพทย์ปัจจุบัน

การที่คนๆ หนึ่ง (ตามพุทธประวัติ) จะมีลูก 20 คนได้นี่ คนที่ยี่สิบก็ต้องมีตอนอายุไม่ใช่น้อยเช่นกันนะคะ 555

วันนี้โหวตเต็มแล้ว พรุ่งนี้มาโหวตให้นะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 23 มกราคม 2560 เวลา:12:57:24 น.  

 
อ่านตาม คิดตามแล้ว ก็ยังมึนตึ๊บอยู่ค่ะ

แก้ไขแล้วนะคะ นั่ง ๆ คิดว่า เออเนอะ คำอธิบายภาพ ควรจะอยู่ใต้ภาพนี่นา วางไว้ก่อนภาพตั้งหลายปีแน่ะค่ะ ไม่เคยมีใครทักเลย


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 23 มกราคม 2560 เวลา:17:56:47 น.  

 
เรื่อง ปี ดูขัดแย้งกับประวัติศาสตร์ของหลายโบราณสถานอยู่นะคะ
หลายตำนานด้วย


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มกราคม 2560 เวลา:20:07:10 น.  

 
เห็นหัวข้อสัมมนาแล้วค่ะ น่าสนใจทั้งสองหัวข้อเลย



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 24 มกราคม 2560 เวลา:5:04:40 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mariabamboo Photo Blog ดู Blog
kae+aoe Travel Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

มาโหวตนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 มกราคม 2560 เวลา:8:42:18 น.  

 
อ้าว ลืมตอบเมนท์

แกงป่าเราเคยกินมันเด็ดกว่านี้น่ะค่ะ

นี่มันรสคนกรุง 555

รสคนบ้านนอกอย่างเรา เข้มและจัดกว่านี้ค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 มกราคม 2560 เวลา:8:45:13 น.  

 
ขอบคุณค่ะ
เป็นเส้นทางขนานกับทางไปพนมรุ้งค่ะ
เส้นทางนี้ตรงไปบุรีรัมย์เลยค่ะ
ปราสาทไรหนออยู่เหนือสุดของบุรีรัมย์ อิอิ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 มกราคม 2560 เวลา:10:51:23 น.  

 
ไม่ได้ไปทานก๋วยเตี๋ยวกั้ง วันนั้นทานมาจากขลุงแล้ว
ไปชุมกฐินที่บ้านเพื่อนที่จันท์ยกปูมาทั้งหลั๋วเลย
แต่เพื่อนที่ไปงานไปทานก๋วยเตี๋ยวกั้งที่ ก๋วยเตี๋ยวขลุกขลิก
ริมน้ำจันทบูร
จาก รพ.กรุงเทพ ข้ามแม่น้ำ แล้วเลี้ยวขวาเลาะริมน้ำไปค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 มกราคม 2560 เวลา:12:46:59 น.  

 
ปล. พอดีตอนเด็ก ๆ เราเคยอยู่โรงเรียนคริสเตียน ก็เคยเรียนพระคัมภีร์ ก็เลยไม่สงสัย ตอนนี้ก็เลยเข้าไปเขียนเติมละค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 มกราคม 2560 เวลา:12:55:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]