Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคตาแห้ง น้ำตาเทียม ... นำมาฝาก





6 อาการ สัญญาณโรคตาแห้ง

https://www.bumrungrad.com/th/Infographic/6-signs-dry-eyes-diagnosis-causes

1. คันตา แสบตา ระคายเคืองตา

2. รู้สึกเหมือนมีฝุ่นอยู่ในตา

3. แพ้แสง แพ้ลม

4. บริเวณตาขาวมีสีแดงจากการอักเสบ

5. ตามัวในบางขณะ

6. รู้สึกไม่สบายตาเมื่อตื่นนอน

"ตาแห้ง"

สุขภาพตาโดย ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย All About Eye by RCOPT

https://www.facebook.com/AllAboutEyebyRCOPT/posts/959051797545393:0

"ตาแห้ง" อีกภาวะที่พบได้บ่อยทางจักษุวิทยาโดยเฉพาะยุคที่ต้องทำงานผ่านหน้าจอกันทั้งวัน มาเรียนรู้กันเพิ่มเติมจาก บทความนี้โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต

ตาแห้ง(Dryeye หรือ Xerophthalmia) เป็นภาวะที่ฟิล์มน้ำตา หรือTear film ที่ฉาบอยู่บริเวณผิว/เนื้อเยื่อส่วนหน้าของลูกตา (Ocularsurface) มีจำนวนหรือคุณภาพไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นผิว/เนื้อเยื่อส่วนหน้าของลูกตาจึงก่อให้ผิว/เนื้อเยื่อส่วนหน้าของลูกตาเกิดการระคายเคืองจึงก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา ไม่สบายตา

ในภาวะปกติฟิล์มน้ำตาที่ผิว/เนื้อเยื่อส่วนหน้าของลูกตามีด้วยกัน 3 ชั้นจากชั้นนอกสุดไปถึงชั้นในสุด ได้แก่

1. ชั้นไขมัน สร้างจากต่อมที่เรียกว่า Meibomian gland ที่อยู่ภายในเปลือกตา/หนังตา

2. ชั้นสารน้ำ สร้างจากต่อมน้ำตาที่เรียกว่า Lacrimal gland

3. ชั้นน้ำเมือก สร้างจากเซลล์ที่เรียกว่า Goblet cell ในเยื่อบุตาและในกระจกตา

ทั้งนี้

-หากน้ำตาชั้นไขมันบกพร่อง มักเกิดจากโรคของเปลือกตา/หนังตาที่มีการเสียหายของต่อม Meibomian gland (เช่น ผู้ป่วยโรค Rosacea/โรคผิวหนังชนิดหนึ่งโรคเปลือกตา/หนังตาอักเสบเรื้อรัง) ซึ่งเรียกว่า ภาวะต่อม Meibomian ไม่ทำงาน (Meibomian gland dysfunction เรียกย่อว่าภาวะ MGD)

- หากชั้นสารน้ำบกพร่อง จะเกิดภาวะ Keratoconjunctivitis sicca เรียกย่อว่า ภาวะ KCS เช่น ในโรค Sjogren (โรคโอโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งซึ่งมีผลให้ต่อมต่างๆที่มีหน้าที่สร้างสารหล่อลื่น/สารน้ำเสียหายทำงานได้น้อยลง จึงส่งผลให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อต่างๆแห้งผิดปกติ) ภาวะต่อมน้ำตาไม่ทำงาน,ภาวะตาปิดไม่สนิทจากอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า, ตลอดจนโรคเอดส์

- หากขาดน้ำเมือก มักพบใน ภาวะลูกตาได้รับภยันตรายจากสารเคมี,โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง, ภาวะขาดวิตามินเอ,โรคริดสีดวงตาเรื้อรัง ตลอดจนจากการแพ้ยาต่างๆที่ทำให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังรอบๆตาร่วมกับเยื่อบุตา (เช่น โรคสะตีเวนส์จอห์นสัน/Steven’s Johnsonsyndrome)

** ตาแห้งมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของตาแห้งได้แก่

- มีการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ จากพยาธิสภาพของต่อมต่างๆที่สร้างน้ำตา(อ่านเพิ่มเติมในบทความ กายวิภาคและสรีรวิทยาของตา หัวข้อกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบน้ำตา)

- ส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เนื่องจากน้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ ทำให้น้ำตาค่อนข้าง Hypertonic /มีความเข้มข้นมากเกินไป(บางคนใช้คำว่า เค็มเกินไป = too salt) น้ำตาชนิดนี้จะทำลายปลายประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุตาและกระจกตาทำให้ทำงานไม่ได้สมดุล จึงมีการสร้างน้ำตาน้อยลง

- อายุมากขึ้น เซลล์ต่อมน้ำตาจะเสื่อมเช่นเดียวกับเซลล์ทุกชนิดของร่างกายการสร้างน้ำตาจึงน้อยลง

- เป็นโรคเบาหวาน เพราะจะส่งผลให้เกิดการอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อของเซลล์ต่อมน้ำตาจึงสร้างน้ำตาลดลง

- ทำ เลสิก (Lasik) มา ซึ่งการทำ เลสิกจะมีการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระจกตา (Corneal nerve) ทำให้ไม่มีตัวกระตุ้นให้สร้างน้ำตาทำให้การสร้างน้ำตา ลดลงชั่วคราวช่วง 1-6 เดือนแรกหลังจากนั้นการสร้างน้ำตาก็จะกลับมา

- ใช้คอนแทคเลนส์/เลนส์สัมผัส (Contact lens) พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ที่มีภาวะตาแห้ง

- ตาที่ได้รับอุบัติเหตุทำให้หนังตา ไม่แนบกับผิวลูกตา น้ำตาจึงระเหยได้ง่ายตาจึงแห้งง่าย

- การใช้ยาบางชนิดประจำ เช่น ยาหยอดตารักษาต้อหินยารับประทานที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานของระบบประสาท (Anticholinergic drug) รวมทั้งประสาทต่อมน้ำตา จึงลดการสร้างน้ำตา เช่น ยาลดความดันโลหิตยาคลายเครียด ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยารักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinsondisease) ยาบรรเทาโรคหวัด ยารักษาโรคภูมิแพ้ในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine)เป็นต้น

** ตาแห้งมีอาการอย่างไร?

อาการที่เข้ากับโรคตาแห้งได้แก่

-มีความรู้สึกฝืดในตาเหมือนไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง

-ระคายเคืองตา

-ไม่สบายตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา

-ตาพร่า แพ้แสง

-ตามัวลง อาจเห็นภาพๆเดียวซ้อนเป็น 2 ภาพได้

ทั้งนี้อาการต่างๆที่กล่าวข้างต้น จะเป็นมากขึ้นเมื่อใช้สายตามากขึ้น เช่น อ่านหนังสือขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวี อยู่ในสิ่งแวดล้อมบางภาวะ เช่นที่มีลมพัดแรง อยู่บนเครื่องบิน อยู่ในห้องแอร์ เป็นต้น

***แพทย์วินิจฉัยภาวะตาแห้งได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะตาแห้งได้จาก

จากอาการและประวัติที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นในหัวข้อสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง

ตรวจบริเวณใบหน้ารอบๆดวงตาเพื่อดูโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น

-ลักษณะของโรค Rosacea

-ภาวะหนังตาที่ผิดปกติ

-ขนตาที่เขี่ยผิวลูกตา

-ดูขอบหนังตาเพื่อดูรูเปิดของต่อม Meibomian

-ดูผิวกระจกตาที่ไม่เรียบ

-ร่วมกับเมือกที่ผิวลูกตามีลักษณะผิวปกติ

ซึ่งในรายที่เป็นรุนแรงผิวกระจกตาจะขรุขระบางลง จนบางรายมีรอยทะลุของกระจกตาได้อาจมีการตรวจเฉพาะพิเศษอื่นๆเพิ่มเติม เช่น เพื่อดูคุณภาพของน้ำตา เป็นต้นทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย สาเหตุ และดุลพินิจของจักษุแพทย์

**ตาแห้งมีผลเสียอย่างไร?

ภาวะตาแห้งนอกจากก่อให้เกิดอาการไม่สบายตา แสบตา เคืองตา ตาสู้แสงไม่ได้ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่แล้ว อาจก่อให้เกิดพยาธิสภาพอย่างอื่น เช่น

-กระจกตาถลอก ผิวกระจกตาอาจหลุดลอกออกมา ยิ่งก่อให้เกิดความเจ็บ ปวดมากขึ้นอีกทั้งมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้ง่ายขึ้นด้วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้นเนื้อเยื่อชั้นเนื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) ของเยื่อตาและของกระจกตามีการเปลี่ยนแปลง (Squamous metaplasia) ผิวลูกตาจะดูไม่สดใสกระจกตาเป็นแผล เกิดเป็นจุดๆทั่วไป (Punctale keratitis) ซึ่งทำให้เจ็บตาตาสู้แสงไม่ได้

-กระจกตาเป็นแผล ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย (Corneal ulcer)

-มีหลอดเลือดเกิดใหม่เข้ามายังกระจกตา (Corneal neovascularization)ทำให้กระจกตาขุ่นขาว ไม่ใส ทำให้ตาแดง และตาพร่ามัวลง

-เมื่อเป็นตาแห้งแบบที่รุนแรงนานๆเข้า กระจกตาจะเกิดเป็นแผลเป็น บางลงและบางรายถึงขั้นกระจกตาทะลุได้

***รักษาภาวะตาแห้งอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะตาแห้งมักจะแนะนำทำเป็นขั้นๆไป คือ

1. ปรับสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆหลีกเลี่ยงสถานที่มีฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ที่เป่าผมไม่ให้ใกล้ตา หลีกเลี่ยงการใช้พัดลมหรือ อยู่ในห้องแอร์นานๆ หากจำเป็นต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ควรจัดโต๊ะและเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการใช้แว่นตาที่เหมาะสม

2. รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เปลือกตา/หนังตาอักเสบ ทำให้มีการทำลายต่อม Meibomianซึ่งหากมีภาวะหนังตาอักเสบ ควรรักษาความสะอาดขอบตาลดการใช้ยาต่างๆที่ทำให้มีการสร้างน้ำตาน้อยลง ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น

3. การชดเชยน้ำตา ด้วย

ใช้น้ำตาเทียมซึ่งอาจเป็นรูปของน้ำใส เป็นเจล หรือ ขี้ผึ้ง

- แบบน้ำใสใช้ง่าย ไม่ทำให้ตามัว แต่ต้องหยอดบ่อย เพราะยาหมดอย่างรวดเร็ว

- แบบเจล หรือ ขี้ผึ้งอยู่ในตาได้นานกว่า แต่อาจเหนียวเหนอะหนะทำให้ตามัวลงมักนิยมใช้ก่อนนอน

น้ำตาเทียมชนิดใสมี 2 แบบ คือ

- ชนิดมีสารกันเสีย มักบรรจุในรูปแบบเป็นขวด สามารถใช้ได้นานถึงประมาณ 1 เดือน

- ชนิดรูปแบบที่เป็นกะเปาะ ไม่มีสารกันเสีย จึงใช้ได้ไม่เกิน 24 ชม. มักทำในรูปกะเปาะพลาสติกเล็กๆ มีน้ำตาเทียมอยู่ 4-8 หยด

ในกรณีตาแห้งมากต้องใช้น้ำตาเทียมบ่อยเกินวันละ4 ครั้ง ควรใช้แบบไม่มีสารกันเสีย หากใช้แบบมีสารกันเสียวันละหลายๆหยดตัวสารกันเสียอาจทำอันตรายต่อผิวกระจกตาได้

4. ใช้ยาที่เป็นสารน้ำเหลืองจากเลือด (Serum) ของตัวเราเองเรียกว่า Autologus serum ในปัจจุบันพบว่าการใช้น้ำเหลืองจากเลือดของเราเองอาจช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆของลูกตาและต่อมน้ำตาเพราะมีสารต่อต้านเชื้อโรคตลอดจนสารเร่งการฟื้นตัวกลับคืนสู่ปกติของเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น

5. ใช้เครื่องช่วยที่เรียกว่า Moist chamber เป็นวัสดุคล้ายแว่นตาเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูกตา(ไม่เป็นที่นิยม และยังไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา)

ภาวะตาแห้งขาดความสมดุลของผิวตา มักจะก่อให้เกิดการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อได้จึงอาจต้องให้ยาหยอดตาในกลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อได้ซึ่งต้องใช้อย่างระมัดระวัง ภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์

6. ปัจจุบันมีการใช้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (Immunosuppressant) บางชนิด เช่น ยา Cyclosporine ชนิดหยอดเพื่อลดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อของเนื้อเยื่อของลูกตาและของต่อมน้ำตา เป็นต้น

7. อาหารที่มี โอเมกา 3 (Omega 3 fatty acid) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระอาจช่วยลดการอักเสบ

ในบางคนอาจช่วยให้ภาวะตาแห้งดีขึ้นได้การพยายามลดการระเหยของน้ำตาด้วยวิธีผ่าตัดหรือ ปรับกายวิภาคของเนื้อ เยื่อส่วนต่างๆของตา เช่น

8. การอุดท่อระบายน้ำตา (Punctual plug) เป็นการอุดบริเวณช่องทางที่ไหลออกของน้ำตา(Punctum) ลงสู่โพรงจมูก ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร (Punctal cautery) ใช้จี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตาซึ่งเป็นการอุดบริเวณไหลออกของน้ำตาแบบถาวรไปเลย

9. ปัจจุบันมีการใช้คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษที่เรียก Scleral lens ซึ่งมีความโค้งที่แตกต่างจากคอนแทคเลนส์ธรรมดาทำให้อุ้มน้ำตาอยู่ได้มากขึ้น

10.การเย็บเปลือกตา/หนังตา บน-ล่าง เข้าหากันบางส่วน (Tarsorrhaphy)ในผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติของเปลือกตา/หนังตา

***ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองคือ เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันควรพบจักษุแพทย์ แต่ถ้ามีตามัว เห็นภาพไม่ชัดเจน ควรต้องรีบพบจักษุแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงเสมอ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่ชัดเจนเพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ

เมื่อทราบว่าเป็นภาวะตาแห้ง การดูแลตนเอง การพบจักษุแพทย์ คือ

-ปฏิบัติตามจักษุแพทย์ และพยาบาลแนะนำ

-ใช้น้ำตาเทียมอย่างถูกต้องตามจักษุแพทย์/แพทย์แนะนำ

-ป้องกัน รักษา ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

-ปรับพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดภาวะตาแห้ง เช่น ในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์รู้ จักใช้แว่นตาเพื่อป้องกันแสงแดด ฝุ่นละออง และเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น

-สังเกตการใช้ยาควบคุมโรคอื่นๆ และการใช้ยาต่างๆ ว่า มีผลต่อภาวะตาแห้งหรือไม่ เพื่อแจ้ง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เพื่ออาจปรับเปลี่ยนยา

-รู้จักวิธีที่ถูกต้องในการใช้คอนแทคเลนส์ เมื่อต้องใช้คอนแทคเลนส์

-กินอาหารมีประโยชน์5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน (จำกัด แป้ง หวาน เค็ม ไขมัน กินผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น) เพื่อลดโอกาสเซลล์ต่างๆรวมทั้งเซลล์ของลูกตา และต่อมน้ำตาเสื่อมก่อนวัย

-กินอาหารมีโอเมกา 3 อย่างพอเพียงถึงแม้การศึกษาต่างๆยังไม่ชัดเจนว่ามีประโยชน์ในการรักษาหรือป้องกันภาวะตาแห้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพราะยังไม่พบโทษจากสารอาหารชนิดนี้ อาหารที่มีโอเมกา 3 สูงเช่น ปลาทะเล (เช่น trout, salmon, tuna, cod, mackerel, herring) และไข่ที่ผสม โอเมกา 3

-พบจักษุแพทย์ก่อนนัด หรือ รีบพบจักษุแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติทางตาต่อเนื่องและไม่ดีขึ้นหลังการรักษา โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาทางสายตา หรือ ตามัวลง

***ป้องกันตาแห้งได้อย่างไร?

-การป้องกันภาวะตาแห้ง คือ การหลีกเลี่ยง งด เลิก และการป้องกัน รักษาควบคุม สิ่งต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ การดูแลตนเอง ที่สำคัญคือ

-กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวันร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำ เสมอเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของภาวะตาแห้ง

-รู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้คอนแทคเลนส์เมื่อจะใช้คอนแทคเลนส์

-เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่

-รู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้งานคอมพิวเตอร์

-รู้จักใช้แว่นตาเพื่อปกป้องลูกตา


....................................

ตาแห้ง(Dryeye)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต วว.จักษุวิทยา
//haamor.com/th/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87/

ภาวะตาแห้ง
https://www.bumrungrad.com/th/vision-eye-examination-surgery-center-bangkok-thailand/conditions/dry-eyes



"น้ำตาเทียม"Artificialtear

https://www.facebook.com/AllAboutEyebyRCOPT/posts/953569194760320:0

ศ.พ.ญ.สกาวรัตน์คุณาวิศรุต

เวลาตาแห้งแสบเคือง นอกจากปรับพฤติกรรม การรักษาลำดับแรกๆที่หมอตาเลือกใช้ก็คือ 'น้ำตาเทียม'ครับ

มีกี่แบบ? ส่วนประกอบคืออะไร?และเลือกใช้อย่างไรบ้าง?

มาทำความรู้จักเพิ่มเติมได้จากบทความนี้ครับ

ปัจจุบันน้ำตาเทียมเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายช่วยหล่อลื่นและเคลือบผิวตาได้ดี โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่มีมลภาวะ ฝุ่นสิ่งระคายเคือง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้สายตามากๆเป็นเหตุให้ตาแห้งก่อให้เกิดอาการระคายเคืองนัยน์ตาได้ง่ายขึ้นการใช้น้ำตาเทียมจึงช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้น้ำตาเทียมในปัจจุบันมีการปรับปรุงเพิ่มคุณลักษณะบางอย่างเพื่อประสิทธิผลในการรักษา สะดวกในการใช้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำตาธรรมชาติอันจะทำให้ไม่แสบเวลาหยอด

*ส่วนประกอบของน้ำตาเทียมที่สำคัญได้แก่

1.สาร polymerเป็นตัวหลัก เพิ่มความชุ่มชื้น ในขณะเดียวกันมีความหนืดมากกว่าน้ำเพื่อให้คงอยู่ที่ผิวตาระยะเวลาหนึ่ง และโดยทั่วไปสารที่หนืดมากจะอยู่ในตาได้นานกว่า ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ ได้แก่

- HydroxypropylMethylcellulose (HPMC) ได้แก่ น้ำตาเทียมที่มีชื่อทางการค้าต่างเช่น Natear, Opsil tear, Tear Natural II เป็นต้น

- Carboxy Methylcellulose(CMC) ได้แก่ น้ำตาเทียมที่มีชื่อทางการค้า เช่น CellufreshMD, Optisil เป็นต้น

- Polyethylene glycol (PEG)ได้แก่ Systane Ultra

- Hyaluronic acid ได้แก่ น้ำตาเทียมที่มีชื่อทางการค้า Hialid, Vislube

- Castor oil น้ำมันละหุ่งละลายได้ดีในชั้นไขมัน ลดการระเหยของน้ำตา เช่น Endura

2. Buffer เป็นสารที่ปรับน้ำตาเทียมให้มีph ที่เหมาะสมอันจะช่วยคงสภาพของสมบัติของน้ำตาเทียมให้คงอยู่ได้แก่ Bicarbonate , Phosphate , Citrate Lactate เป็นต้น

3.ส่วนประกอบที่ทำให้น้ำตาเทียมมีคุณสมบัติใกล้เคียงธรรมชาติตลอดจนมีเกลือแร่ที่ให้อาการแก่กระจกตา ได้แก่ Glycine , Calcium chloride , Maynesiumchloride , Sodium Chloride เป็นต้น

4.สารกันเสีย (Preservative)เช่นเดียวกับยาหยอดตาทั่วไปที่มีการใช้หลายๆ ครั้งที่ต้องเติมไว้เพื่อทั้งคงสภาพน้ำตาเทียมไว้ ชะลอการเสื่อมลงทางชีววิทยา (biodegradation)พร้อมทั้งทำให้ปราศจากเชื้ออยู่ได้นาน 1 เดือน หลังเปิดขวด (สารตัวนี้ไม่จำเป็นต้องมีในน้ำตาเทียมที่ใช้ครั้งเดียวหรือไม่เกิน 1 วัน )

สารกันเสียที่มีอยู่ในยาหยอดตาได้แก่

4.1 Detergent เป็นสารไปรบกวนสารlipid ของผนังเซลล์ bacteria ได้แก่ Benzalkoniumchloride (BAK), chlorobutana , Polyguad, PHMD

4.2 Oxidising agent เมื่อสารนี้ผ่าน cell membrane จะไปเปลี่ยน DNAและส่วนประกอบของไขมันของแบคทีเรีย ทำลายส่วนต่างๆ ภายใน ได้แก่ Stabilizeoxychlorocomplex , Sodium perborate

4.3 Ionic buffer in boricacid , Zinc Sorbitol เป็นต้น

*รูปแบบของน้ำตาเทียม

1.เป็นขวดใช้ได้หลายครั้ง ใช้ได้ภายใน 1 เดือน หลังเปิดขวดรูปแบบนี้มีสารกันเสียอยู่ในน้ำยาด้วยเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค(ส่วนมากเป็น BAK)ทำให้คงตัวได้นาน เหมาะกับคนที่หยอดไม่บ่อย วันละไม่เกิน 4 ครั้งและใช้ในระยะไม่นานมาก เพราะสารกันเสียไม่ค่อยอ่อนโยนกับผิวกระจกตามากนัก

2.แบบเป็นขวดเหมือนกัน ใช้ได้ 1 เดือน หลังเปิดขวด แต่ใช้สารกันเสียรุ่นใหม่ที่สามารถสลายได้เมื่อเจอแสงหรือเอนไซด์ในน้ำตา (เช่น sodium perborate หรือ Purite)ซึ่งก็จะอ่อนโยนกับผิวกระจกตากว่าน้ำตาแบบดั้งเดิมแต่ราคาก็จะแพงกว่าบ้าง

3.เป็นกระเปาะหรือเป็นหลอดเล็กๆ เป็นแบบที่ไม่มีสารกันบูดเลยเพราะฉะนั้นไม่ควรใช้เกิน 1 วัน เพราะอาจปนเปื้อนไม่สะอาดได้ หลังเปิดฝาบิดมาหยอด1-2 หยด แล้วสามารถปิดฝากลับลงไปได้ แล้วใช้ซ้ำได้บ่อยๆเหมาะกับคนที่ตาแห้งมากที่ต้องหยอดตาบ่อยๆมากกว่าวันละ 6 ครั้งต่อวัน

4.น้ำตาเทียมในรูปเจลหรือขี้ผึ้ง อยู่ในรูปนี้มีความหนืดมากอยู่ในตาได้นานกว่าแต่ทำให้เหนอะหนะ ตาพร่ามัวหลังหยอด นิยมใช้ก่อนนอนมากกว่า

*วิธีใช้

หากตาไม่แห้งมากอาการไม่มากใช้น้ำตาเทียมแบบขวดซึ่งใช้ได้ใน 1 เดือน ประหยัดค่าใช้จ่ายจะพิจารณาใช้ชนิดวันต่อวัน ในกรณี

1.มีปัญหาตาแห้ง ขนาดปานกลางถึงแห้งมาก ที่คาดว่าจะต้องหยอดน้ำตาเทียมมากกว่าวันละ 6ครั้ง

2.มีโรคหรือปัญหาของผิวเยื่อบุตา (ocular surface) เช่น เป็นโรค StevenJohnson ได้รับอุบัติเหตุจากสารเคมี เป็นต้น

3.เป็นต้อหินเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่คาดว่าหรือต้องใช้ยาหยอดหลายตัว

4.หลังผ่าตัดตาใหม่ๆ ไม่อยากให้สารกันเสียรบกวนการหายของแผลผ่าตัด

5.มีเยื่อบุผิวที่ผิดปกติอยู่เดิม




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2559   
Last Update : 25 พฤษภาคม 2559 0:54:57 น.   
Counter : 12462 Pageviews.  

เตือนอันตรายจากแสงแดดจ้า เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง .. ครีมกันแดด จำเป็นแค่ไหน









Mon, 2016-04-25 15:58
-- hfocus

อธิบดีกรมการแพทย์เตือนประชาชนระวังอันตรายจากแสงแดดที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง แนะวิธีเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ทาครีมกันแดดเป็นประจำ ดื่มน้ำสะอาด ลดความเสี่ยงได้

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน ทำให้ทั่วภูมิภาคอากาศร้อนอบอ้าว แสงแดดจ้าและมลภาวะต่างๆ เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย โดยเฉพาะแสงอัลตราไวโอเลต หรือ UV ที่มาจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้พบเพียงร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมด พบมากในเพศชายมากกว่าหญิง และกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โดยที่พบบ่อย มี 3 ชนิด คือ

1) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นตุ่มนูนใส ขอบม้วน อาจมีสีดำหรือแตกเป็นแผล พบบ่อยบริเวณที่ถูกแดด เช่น ใบหน้า ใช้ระยะเวลานานในการแพร่กระจายโรค

2) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มีสัญลักษณ์นูน แดง ผิวหนังแตกเป็นแผล เลือดออกง่าย พบบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ขอบใบหู สามารถแพร่กระจายจากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งได้ เติบโตและขยายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วและลึกกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดแรก

3) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี มีลักษณะคล้ายไฝหรือขี้แมลงวันหรือเป็นจุดดำบนผิวหนัง ไฝบนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีโอกาสเป็นมากกว่าที่อื่นๆ สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิว ไฝ ขี้แมลงวัน เช่น มีการตกสะเก็ด ลอก หรือมีอาการปวด มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลเยิ้ม มีตุ่มนูนเกิดขึ้นข้างๆ มีการแพร่กระจายของเม็ดสีไปรอบๆ ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่าผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

สำหรับการปฎิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง คือ หลีกเลี่ยงจากแสงแดดในช่วงที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตมากๆ คือ เวลาประมาณ 10.00 - 15.00 น. และหากมีความจำเป็นต้องถูกแดดควรปกปิดผิวพรรณด้วยการใส่เสื้อแขนยาวคอปิด กางร่มหรือใส่หมวกปีกกว้าง และสิ่งที่ควรทำเป็นกิจวัตรประจำวัน คือ ทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าวันที่มีเมฆหมอก ฝนตกหรือหน้าหนาว จะไม่มีแสงแดดมาทำอันตรายผิวของเรา แต่ความจริงแล้ว หากยังมีแสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นหรืออ่านหนังสือได้ แสง UV ก็สามารถส่องผ่านมายังผิวหนังได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ผิวไหม้มากกว่าปกติ นอกจากการหลีกเลี่ยงแสงแดดแล้ว ควรงดรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารหนู ทั้งยาจีน ยาไทย เมื่อรับประทาน นานๆ จะทำให้เป็นโรคผิวหนังและกลายเป็นมะเร็งผิวหนังในที่สุด

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก และผลไม้จะช่วยป้องกันอันตรายของแสงแดดที่มาทำร้ายผิวได้ ได้ เช่น มะเขือเทศ ที่มีสารไลโคปิน แครอท ที่มีสารเบต้าแคโรทีนและกรดโฟลิก จะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV ได้ นอกจากนี้ การดื่มน้ำเปล่าอย่างสม่ำเสมอวันละ 8 แก้ว จะช่วยให้เซลล์ผิวหนังทำงานได้ปกติ ลดการสูญเสียน้ำในร่างกายในช่วงหน้าร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นและมีสุขภาพที่ดีได้

https://www.hfocus.org/content/2016/04/12071


"""""""""""""""""""""""""""""

อย.แนะการใช้ “ครีมกันแดด” อย่างถูกวิธี ป้องกันภัยแสงแดดทำผิวแสบไหม้
https://www.facebook.com/FDAThai/posts/1084776811589480

อย.แนะวิธีการเลือกครีมกันแดดอย่างถูกต้อง ป้องกันภัยร้ายที่เกิดจากแสงแดด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งผิวหนัง ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดมาใช้ควรอ่านฉลาก เลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้ และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ประเทศไทยอยู่ในโซนเขตร้อนมีแสงแดดจัดเกือบตลอดทั้งปีจึงยากที่จะหลบเลี่ยงแสงแดดได้ ความจริงแสงแดดมีทั้งคุณและโทษ การได้รับแสงแดดวันละ 10-15 นาที เหมาะกับการสร้างวิตามินดีที่จำเป็นต่อกระดูก แต่หากได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือได้รับในช่วงเวลาที่แดดจัด (10.00-16.00 น.) รังสีอัลตราไวโอเลต (ยูวี) จะไปทำให้ผิวหนังคล้ำหรือเหี่ยวย่นก่อนวัย อาจทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ผลิตภัณฑ์กันแดดจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการป้องกันภัยร้ายที่อาจเกิดจากแสงแดด สามารถลดปริมาณรังสียูวีที่จะมาถึงผิว ซึ่งสารป้องกันแดดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง เช่น ซิงก์ออกไซด์ ไตตาเนียมไดออกไซด์ สารกลุ่มนี้จะเคลือบบนผิวไม่ดูดซึมเข้าผิวหนัง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสียูวี เช่น แอนทรานิเลต เบนโซฟีโนน หรือซินนาเมต ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังน้อยลงแต่อาจทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองได้มากกว่าสารกลุ่มแรก

ค่า SPF (Sun Protection Factor) จะเป็นตัวบ่งบอกให้ทราบว่าเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นแล้วจะช่วยป้องกันรังสียูวีบีจากแสงแดดได้นานแค่ไหนผิวจึงจะไหม้ โดยขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงแดด โดยทั่วไปสามารถใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 และเมื่ออยู่กลางแจ้งหรือขณะเล่นกีฬาอาจจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 30 ซึ่งผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูง จะมีความเข้มข้นของสารป้องกันแสงแดดที่สูงตามไปด้วย อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้มากกว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำ จึงต้องระมัดระวังในการใช้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน สำหรับค่า SPF สูงกว่า 50 (ในฉลากแสดงเป็น SPF 50+) ก็ไม่ได้แตกต่างไปจาก SPF 30 มากนัก แต่ราคาจะแตกต่างกันมาก ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม ส่วนค่า PA (Protection grade of UVA) หรือ PFA (Protection factor for UV-A) นั้น เป็นการช่วยป้องกันรังสียูวีเอที่เป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและโรคมะเร็งผิวหนัง โดยสามารถดูค่าบนฉลากที่จะแสดงระดับเป็น PA+ หรือ PA++ หรือ PA+++ ขึ้นกับระดับความสามารถจากน้อยไปหามากในการป้องกันรังสียูวีเอ

ทั้งนี้ วิธีการป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ดีที่สุด ควรอยู่ในที่ร่ม สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดสวมหมวกปีกกว้าง รวมทั้งสวมแว่นกันแดดด้วย เพราะรังสียูวีนั้นนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังแล้วยังเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจกได้ด้วย ดังนั้น ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดทุกครั้งควรเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และทาก่อนออกไปกลางแจ้งอย่างน้อย 15-30 นาที ยกเว้นรอบดวงตาและริมฝีปาก กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ให้หลีกเลี่ยงแสงแดดแทน ทั้งนี้ หากใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดแล้วมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ทันที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและให้นำผลิตภัณฑ์นั้นไปปรึกษาแพทย์ด้วย

ข้อมูล //goo.gl/sblj24





 

Create Date : 25 เมษายน 2559   
Last Update : 6 พฤษภาคม 2559 1:56:44 น.   
Counter : 5038 Pageviews.  

โรคหน้าร้อน โรคลมแดด ท้องเสีย น้ำเกลือแร่ ORS ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)






โรคหน้าร้อน ?

1. โรคทางเดินอาหาร

2. โรคพิษสุนัขบ้า

3. โรคลมแดด

4. การจมน้ำ

 

1 โรคทางเดินอาหาร

ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์โดยพบมากที่สุด คือ โรคอุจจาระร่วง ป่วย 175,270 ราย เสียชีวิต 2 ราย

หลังสำคัญในการป้องกัน ก็คือ สุขอนามัย ที่ดี โดยยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ หลังเข้าห้องส้วมต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง

สาเหตุที่ควรรับประทานอาหารขณะที่ยังร้อนอยู่ เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 2 ชั่วโมงเชื้อโรคก็จะเจริญเติบโตได้

อาหารสดก่อนนำมา ปรุง ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า 2-3 ครั้ง

ส่วนผักหลังจากล้างน้ำควรแช่ในน้ำผสมเกลือ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตรหรือน้ำส้มสายชู อัตราส่วนครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4 ลิตรหรือเบคกิ้งโซดา อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วล้างน้ำเปล่าอีก2 ครั้ง

ที่สำคัญควรล้างมือก่อนปรุงอาหาร และใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารหรือสวมถุงมือในการหยิบจับอาหารโดยเฉพาะอาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือสัมผัสในระหว่างการปรุง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดงข้าวหมูกรอบ ขนมจีน

สำหรับอาหารที่ทำขาย หากระยะเวลาจำหน่ายนานมากควรนำมาอุ่นทุกๆ 4 ชม.

อาหารปรุงสำเร็จที่ซื้อมารับประทานหากไม่รับประทานทันทีควรเก็บในตู้ เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ หากจะรับประทานอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นนานเกิน4 ชั่วโมง หรือเก็บไว้ค้างคืนต้องนำมาอุ่นให้เดือดด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อน

น้ำดื่มควรต้มสุกหรือดื่มน้ำที่บรรจุขวดที่ได้มาตรฐานน้ำบริโภค

น้ำแข็งต้องเป็นน้ำแข็งที่ผลิตเพื่อการบริโภคและได้มาตรฐานรับรองเท่านั้นน้ำแข็งหลอดจะปลอดภัยกว่าน้ำแข็งป่นแต่ในช่วงนี้ควรรับประทานน้ำในขวดที่แช่เย็นโดยไม่ต้องใส่น้ำแข็งจะปลอดภัยมากกว่า

การดูแลรักษาเบื้องต้น

เมื่อเกิดโรคอุจจาระร่วงสามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก

1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ (สามารถทำ ORS ได้เองโดยใช้น้ำตาลทราย 2ช้อนโต๊ะ ผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา ลงในน้ำต้มสุก 1 ขวด (ประมาณ 750 ซีซี))

2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊กหรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์

ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ท้องเสียรับประทานเอง เพราะการถ่ายอุจจาระเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับไล่ของเสีย สารพิษและเชื้อโรคออกจากร่างกายการรับประทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสียทำให้ลำไส้ต้องเก็บกักเชื้อโรคไว้ นานขึ้นและทำให้ท้องอืดแน่น

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

1. ถ่ายเหลวมากกว่า ๓ ครั้ง ถ่ายเป็นมูกเลือดมีไข้

2. อาการท้องเสีย ไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง

3. เป็นในผู้ป่วยโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่นเด็กหรือผู้สูงอายุ ที่มีอาการขาดน้ำมาก ซึมลง

4. อาเจียนรุนแรง จนไม่สามารถรับประทานอาหาร หรือน้ำได้


2 โรคพิษสุนัขบ้า

ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิต6 ราย มีพาหะหลักคือสุนัข และแมว ติดโรคจากการกัด ข่วนหรือเลียผิวหนังคนมีแผล และไม่มียารักษา แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีนและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดคือ อย่าไปแหย่สุนัขหากเห็นสุนัขท่าทางไม่น่าไว้วางใจก็ควรพยายามเดินเลี่ยง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วโดนกัดวิธีที่ดูแลตนเองในเบื้องต้นก็คือล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หากมียาฆ่าเชื้อเช่น ทิงเจอร์ ก็ใส่แผลได้เลยจากนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

3 โรคลมแดด( อุณหพาต ,
ฮีทสโตรก) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกิน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40องศาเซลเซียส อาการที่พบเบื้องต้น ได้แก่ อ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลมหากรุนแรงอาจมีอาการตัวร้อนจัด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

สัญญาณสำคัญของโรคลมแดด ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย

บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคลมแดด คือ ทหาร นักกีฬา ผู้สูงอายุ เด็กคนดื่มสุราจัด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน

วิธีป้องกัน

ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้าน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ทำงานในร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว แต่เมื่อเหงื่อออกมากและเริ่มเพลียอาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่

สวมใส่เสื้อผ้าหลวม มีสีอ่อน ไม่หนา และระบายความร้อนได้ดี (ผ้าฝ้าย)

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมากในช่วงอากาศร้อน พยายามอยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้ดี เมื่อออกแดด ใช้ร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง

งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดหรืองดดื่ม เครื่องดื่มกาเฟอีนเพราะเครื่อง ดื่มเหล่านี้เพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะร่างกายจึงเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น

วิธีรักษา

- ให้นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง

-คลายชุดชั้นในและถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้น

-ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก

- ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อนหรือเทน้ำเย็นราดตัว

- ถ้าอาการไม่มากให้ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

4 การจมน้ำ การป้องกันเด็กจมน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม ซึ่งมักจะมีข่าวว่าเด็กอายุต่ำกว่า15 ปี จมน้ำเป็นเสียชีวิตมาเป็นอันดับ 1

มาตรการที่ต้องยึดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือตะโกน โยน ยื่น ได้แก่

1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนอื่นมาช่วย และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ1669

2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัวเช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น

3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้เสื้อ ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วยเพราะจากข้อมูลพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คนเนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูกต้อง






ปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญเพราะนับวันอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทยขณะนี้สภาพอากาศร้อนจัดกว่าทุกปี ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหลายโรคเช่น โรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปซึ่งเกิดบ่อยที่สุด แต่โรคที่มีการพูดถึงกันน้อยคนเป็นบ่อยช่วงหน้าร้อนคือ "โรคฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" (HeatStroke) แต่บางที่ก็เรียกว่า "โรคอุณหพาต" หรือ"โรคลมเหตุร้อน" นั้นเอง

โรคลมแดด (Heatstroke หรือ Heat illness หรือ Heat-relatedillness) เป็นภาวะที่เกิดจากมีความร้อนในสิ่งแวดล้อมสูง เช่นในฤดูร้อนจัดจนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกายตามปกติได้ ส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติจึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น

เมื่ออุณหภูมิในสิ่งแวดล้อม (อากาศ) สูงขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน สูงขึ้นตามไปด้วยโดยมีการศึกษาพบว่า ร่างกายจะเพิ่มการเผาผลาญพลังงานเพิ่มสูงขึ้น 10% เมื่ออุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นทุกๆ 0.6องศาเซลเซียส

 

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด?

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด ได้แก่

ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคประจำตัวหลายโรคกินยาบางชนิดที่อาจก่อให้การระบายความร้อนของร่างกายลดลงรวมทั้งอวัยวะต่างๆที่ทำหน้าที่ระบายความร้อน เช่น หลอดเลือด หัวใจ และปอดยังทำงานเสื่อมลงนอกจากนั้น ผู้สูงอายุมักดื่มน้ำน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยและต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน

เด็กโดยเฉพาะเด็กอ่อน และเด็กเล็กเพราะร่างกายเด็กมีการเผาผลาญพลังงานสูงกว่าในผู้ใหญ่อวัยวะต่างๆรวมทั้งที่ใช้ช่วยระบายความร้อนยังมีขนาดเล็กและเด็กยังต้องได้รับการดูแลจากผู้อื่น

โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เพราะผิวหนังมีไขมันมาก จึงระบายความร้อนได้ไม่ดีนอกจากนั้น มักมีโรคประจำตัว หรืออวัยวะต่างๆรวมทั้งอวัยวะที่ช่วยระบายความร้อนมีการทำงานได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ

คนมีโรคประจำตัว ที่ต้องกินยาหลายชนิดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบการระบายความร้อนของร่างกาย เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิดยาลดความอ้วน ยาขับน้ำ ยาแก้ท้องผูก (ยาถ่าย) ยากันชัก และยาทางจิตเวชบางชนิด

นักกีฬาคนทำงานกลางแดด เช่น ทหาร เกษตรกร กรรมกร และผู้ที่ออกกำลังมากเกินควรโดยเฉพาะกลางแจ้ง

ติดสุราหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงอากาศร้อน เพราะเพิ่มการขับน้ำออกจากร่างกาย

บางคน(พบได้น้อย) มีพันธุกรรมที่ทนต่อความร้อนได้น้อยกว่าคนทั่วไป

 

โรคลมแดดมีความรุนแรง และมีอาการอย่างไร?

โรคจากอากาศร้อนแบ่งตามความรุนแรงจากน้อยไปหามากได้เป็น 5 ระดับ คือ การขึ้นผื่นแดด (Heat rash) การเกิดตะคริวแดด(Heat cramp) การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ร้อน (Heatsyncope) การหมดแรงเพราะแดด/ร้อน (Heat exhaustion) และโรคลมแดด (Heat stroke)

ผื่นแดด(Heat rash) ผิวหนังชื้นแฉะจากเหงื่อจึงเกิดผื่นคันเม็ดเล็กๆ สีออกชมพู (ผด) ซึ่งเกิดได้กับผิวหนังทุกส่วน โดยเฉพาะลำคอ ในร่มผ้า และตามข้อพับต่างๆ

ตะคริวแดด (Heat cramp) กล้ามเนื้อหดเกร็งจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากทางเหงื่อส่งผลให้เกิดอาการปวด/เจ็บกล้ามเนื้อ พบบ่อยบริเวณหน้าท้อง แขน และขา

การหมดสติชั่วคราวจากแดด/ร้อน (Heat syncope) อาการคือ อ่อนเพลีย วิง เวียนและหมดสติชั่วคราว

การหมดแรงเพราะแดด/ร้อน (Heat exhaustion) อาการคือ เหงื่อออกมาก เพลียหมดแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว มีไข้ต่ำๆ ดูซีด หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ตื้นเหนื่อย วิง เวียน สับสน

โรคลมแดด (Heatstroke) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกาย(core temperature) สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการคือ เหงื่อออกน้อย ผิวหนังร้อน สั่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดศีรษะพูดช้า สับสน เห็นภาพหลอน หายใจเร็ว ตื้น เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว มีไข้สูง หมดสติช็อก โคม่า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆรู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียนซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วยหากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

 

ดูแลตนเองอย่างไร?

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานาน พยายามอยู่ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีลมพัด/มีพัดลม ใช้พัดช่วย หรือใช้เครื่องปรับอากาศ

เมื่อออกแดด ใช้ร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง

สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ผ้าที่ระบายอากาศได้ดี (ผ้าฝ้าย 100%)สีขาวหรือสีอ่อน

ดื่มน้ำ1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัดและหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตามและแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วแต่เมื่อเหงื่อออกมากและเริ่มเพลีย อาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ด้วยทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ หากร่างกายได้รับน้ำปริมาณที่น้อย จะมีสีเหลืองเข้มมากขึ้น และปัสสาวะออกน้อยแสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ

หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมากในช่วงอากาศร้อน

งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดหรืองดดื่ม เครื่องดื่มกาเฟอีนเพราะเครื่อง ดื่มเหล่านี้เพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะร่างกายจึงเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น

 

การดูแลตนเองเมื่อเกิดผื่นแดด นอกเหนือจากการดูแลโดยทั่วไปดังกล่าวแล้วการดู แลตนเองเมื่อเกิดผื่นแดด คือ การอาบน้ำบ่อยขึ้น การทาแป้งและทายาบรรเทาอาการคัน เช่น น้ำยาคาลามาย (Calamine lotion) ระวังอย่าเกา เพราะแผลเกาอาจติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงควรตัดเล็บให้สั้น

การดูแลตนเองเมื่อเกิดตะคริวแดด คือ รีบกลับเข้าพักในที่ร่ม อากาศเย็นถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ พักการทำงานอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพราะถ้ารีบกลับไปทำงาน มักทำให้อาการรุนแรงขึ้นแต่ถ้าอยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยงควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่แรก รวมทั้งเมื่ออาการตะคริวเลวลง หรือไม่ดีขึ้นใน 1 ชั่วโมง

การดูแลตนเองเมื่อวิงเวียนจะเป็นลมจากอากาศร้อนเมื่อเริ่มมีอาการดังกล่าวแล้ว ควรรีบเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้ดี นั่งลงหรือนอนเอนตัว ปลดเสื้อผ้าให้หลวมสบาย จิบน้ำ หรือ เครื่องดื่มเกลือแร่ช้าๆและถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือ เลวลง รีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

การดูแลตนเองเมื่อหมดแรงจากแดด คือ การเข้าพักในที่ร่ม อากาศเย็นถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำมากๆโดยเฉพาะน้ำเย็น งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการเลวลง ควรรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการลมแดด คือ การไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน

 

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมแดด

หากพบผู้ที่บ่นว่าร้อน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีเหงื่อออกผิดสังเกต มีอาการงงพูดช้าลง เลอะเลือน การเคลื่อนไหวช้าลง โซเซ ควรพาผู้ป่วยไปพักในที่ร่มทันทีเปิดเครื่องปรับอากาศ และใช้น้ำเย็นเช็ดตัวให้ผู้ป่วย เนื่องจากอาการในช่วงนี้จะคืบหน้าไปสู่อาการแบบรุนแรงอย่างรวดเร็ว

หากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย

นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก

ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัวคอ รักแร้ เชิงกราน ศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน

เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุดแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล โดยควรหาพาหนะที่ผู้ป่วยสามารถนอนได้และมีเครื่องปรับอากาศและจัดท่านนอนของผู้ป่วยให้เท้ายกสูงขึ้นกว่าศีรษะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้จับนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งระวังอย่าให้มีอะไรอยู่ในปากและอย่าให้ผู้ป่วยจิบน้ำซึ่งหากไม่มีรถที่ผู้ป่วยสามารถนอนไปได้ ควรเรียกรถพยาบาลเพราะการนั่งตัวตรงอาจทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองของผู้ป่วยได้

 

.......................................










 




 

ท้องเสียต้องจิบเกลือแร่สำหรับท้องเสีย .. ห้าม!! จิบเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายเด็ดขาด!!

ท้องเสีย ร่างกายเสียน้ำ+เกลือแร่เป็นหลัก สังเกตปริมาณโซเดียมจะสูงกว่า

ออกกำลังกาย ร่างกายเสียน้ำ+น้ำตาลเป็นหลัก สังเกตปริมาณกลูโคสจะสูงกว่

ดังนั้น ถ้าเราท้องเสียให้จิบเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย (ORS) ถ้าจิบเกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย ผู้ที่ท้องเสียอาจจะท้องเสียหนักขึ้น

https://www.facebook.com/FDAThai/photos/a.986549498078879.1073741842.184587321608438/1093117937422034/?type=3&theater


.........................................




การดูแลสุขภาพ เมื่อท้องร่วง ท้องเสีย
🔹การเสียน้ำจากอาการท้องเสีย
- ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่ ต้องการน้ำและเกลือแร่มาทดแทน

🔹การเสียน้ำหรือเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย
- ร่างกายเสียน้ำและน้ำตาล ต้องการน้ำและน้ำตาลมาทดแทน

เกลือแร่ในท้องตลาดมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1.เกลือแร่สำหรับคนที่ท้องเสีย (ORS , Oral Rehydration Salts ) : ปริมาณเกลือแร่หรือปริมาณโซเดียมสูง
ฉลากบรรจุภัณฑ์ มีเลขทะเบียนตำรับยา เช่น 2A999/99
ระบุ ใช้สำหรับผู้ที่ท้องเสีย

2.เกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (ORT ,Oral Rehydration Therapy ) : ปริมาณน้ำตาลจะสูง
ฉลากบรรจุภัณฑ์ มีเลขสารบบอาหาร
ระบุ ใช้สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย

✅ท้องเสียต้องจิบเกลือแร่สำหรับท้องเสีย
❌ห้าม!! จิบเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายเด็ดขาด

ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#สื่อสารองค์กรMedCMU

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official)
https://www.facebook.com/medcmuth/posts/pfbid036vHDasNtNstip5MSgkMvcf1MurG8SRwtBLTNzYuQ7vqGzh4QnuKDgSG5JeS2zBpWl


...........................



โรคหน้าฝน ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-06-2016&group=4&gblog=123

โรคหน้าหนาว ...นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-12-2017&group=4&gblog=134

โรคหน้าร้อน โรคลมแดด

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-04-2016&group=4&gblog=11



 




 

Create Date : 24 เมษายน 2559   
Last Update : 12 มิถุนายน 2566 13:57:25 น.   
Counter : 8539 Pageviews.  

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)






ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา
21 มกราคม 2559

ศ.คลินิกเกียรติคุณ น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขเปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไข้ซิกา (Zika Fever) ว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้ซิกาครั้งแรกในปี 2555 จนถึงปี 2558พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 5 คน ส่วนในปี 2559 พบผู้ป่วยแล้ว 1 คนยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกโรคนี้ส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง ไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตมีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ โดยข้อมูลจากต่างประเทศบ่งชี้ว่าอาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดมาพิการได้ ซึ่งคล้ายกับกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโรคอื่นๆ เช่นโรคหัดเยอรมัน

ทั้งนี้ประเทศไทยมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการและความพร้อมด้านการดูแลรักษา ตลอดจนการควบคุมแมลงพาหะนำโรค คือยุงลายซึ่งเป็นชนิดเดียวกับพาหะนำโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และไข้เหลือง

“”””””””””””””””””””””

นายแพทย์อำนวย กาจีนะอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไต้หวันเฝ้าระวังและตรวจพบชายไทยที่กำลังเดินทางสู่ไต้หวันมี เชื้อไวรัสซิกาที่กำลังระบาดในหลายประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน นั้น เมื่อวานนี้(20 มกราคม 2559) กรมควบคุมโรค ได้ประชุมปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญ เรื่องโรคไข้ซิกา เพื่อเตรียมการเฝ้าระวังและหารือมาตรการป้องกันโรคดังกล่าวโดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรคเป็นประธาน พร้อมคณะที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ผู้ทรงคุณวุฒิฯ กรมควบคุมโรคคณะแพทย์จากมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับสถานการณ์โรคไข้ซิกา ประเทศไทยพบครั้งแรก พ.ศ.2555พบกระจายทุกภาคและมีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุหลักเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัดและช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ เช่น การแพร่ผ่านการถ่ายเลือดแพร่จากจากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์

ด้านการรักษาโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนและยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการคำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุงซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ ออกผื่นตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็กหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา(ประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน)ขอให้ผู้เดินทางระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัดหากเป็นหญิงตั้งครรภ์ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคควรปรึกษาแพทย์

ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทย มีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ ให้ไปพบแพทย์ทันที

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะการรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422


 ................................................

ไข้ซิกา (ZikaFever)

โรคไข้ซิกา (Zikafever) เกิดจาการติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika Virus-ZIKV) ไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี,ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีมียุงลาย ( เช่น Ae. Africanus, Ae. Apicoargenteus, Ae.Luteocephalus, Ae. Aegypti เป็นต้น)เป็นพาหะนำโรค ไวรัสซิกาถูกแยกเชื้อครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๐(ค.ศ. ๑๙๔๗) จากน้ำเหลืองของลิง rhesus ที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่ าชื่อซิกา ประเทศยูกันดาและแยกเชื้อได้จากคนในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. ๑๙๖๘) ณ ประเทศไนจีเรีย

มีระยะฟักตัว ๔-๗วัน จากนั้นจะมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นแบบ maculopapular ที่บริเวณลำตัว แขนขา, วิงเวียน , เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ถึง ๒๕๓๕ มีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศกลุ่มแอฟริกา ได้แก่ ยูกันดา, แทนซาเนีย,อียิปต์, อัฟริกากลาง สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบองในส่วนของเอเชียมีรายงานพบใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์,ไทย, เวียดนามและอินโดนีเซีย ล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)ได้รายงานการระบาดของไข้ซิกา ในหมู่เกาะแยป

ในประเทศไทยมีผู้รายงานว่าตรวจพบแอนติบอดีชนิดทำลายล้างไวรัสซิกาในผู้ที่อาศัยในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓) และล่าสุด มีรายงาน ผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดาซึ่งเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา ๒๑ มกราคม-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖และมีอาการภายหลังจากเดินทางกลับถึงประเทศแคนาดาเป็นเวลา ๔ วัน โดยเริ่มป่วย วันที่๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวดข้อ ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika virus) ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรคยังเฝ้าระวังโรคนี้อยู่

การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อทำได้ ๒ วิธี ดังนี้ ๑)การตรวจหาสารพันธุกรรม ด้วยวิธี พีซีอาร์เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองเร็วที่สุดหลังจากที่ เริ่มมีอาการเจ็บป่ วย ซึ่งไม่ควรเกิน๙ วันหลังมีอาการ และ ๒) การตรวจหาแอนติบอดีชนิดเอ็มที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาด้วยวิธีอิไลซ่า ซึ่งเป็นพัฒนาวิธีโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา โดยเก็บตัวอย่าง ๒ ครั้งครั้งแรกในวันที่เริ่มมีอาการ และตัวอย่างที่สองห่างจากตัวอย่างแรก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขโดยฝ่ายอาโบไวรัส มีแผนการที่จะติดตั้งวิธีการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติโรคไข้ซิกาในเร็วๆนี้

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้ องกันเฉพาะ การรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย

ฝ่ายอาโบไวรัส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


””””””””””””””””””””””””””””””””””

กรมควบคุมโรคเตรียมทำประกาศเตือน“โรคไข้ซิกา”เพื่อให้ปชช.ตระหนักในมาตรการป้องกันหลังไต้หวันตรวจพบชายไทยติดเชื้อ
Springnews-21 ม.ค. 2559

//www.springnews.co.th/global/268318

รายงานของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของไต้หวันระบุว่า พบชายวัย 24 ปีรายหนึ่งซึ่งเดินทางจากประเทศไทยมาถึงสนามบินนานาชาติเถาหยวน ตั้งแต่วันที่ 10มกราคมที่ผ่านมา และถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองคนเข้าเมืองกักตัวไว้ หลังสงสัยว่าอาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อันตราย

กระทั่งผลการตรวจออกมาปรากฏว่าชายวัยรุ่นรายนี้อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยเป็นเวลานาน 3 เดือนก่อนเดินทางมายังประเทศไต้หวันเพื่อทำงาน มีเชื้อไวรัสซิกา (Zika) ซึ่งศูนย์ควบคุมโรคหรือดีซีดี กำหนดให้เป็นโรคที่ต้องแจ้งเตือนประเภทที่2 หรือแพทย์ต้องรายงานการพบเชื้อภายใน 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังมีการออกคำเตือนไปยังประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้รวมไปถึงแถบทะเลแคริบเบียนหลังจากมีการแพร่กระจายของโรคในภูมิภาคนี้เมื่อปลายปีก่อนขณะเดียวกันก็มีการเฝ้าระวังในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซียฟิลิปปินส์และมัลดีฟส์นอกเหนือจากไต้หวันแล้วยังมีรายงานยืนยันการพบเชื้อไวรัสซิกาที่สาธารณรัฐกาบูเวร์ดี ประเทศหมู่เกาะในแอฟริกาและพบในคนไข้ที่เดินทางเข้าทวีปยุโรป แคนาดาและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ทั้งนี้ ไวรัสซิกาเป็นไวรัสที่มีลักษณะคล้ายกับไวรัสไข้เหลือง เดงกี เวสต์ไนล์ และไข้สมองอักเสบโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นตามตัว แขนขาเยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดตามข้อ ทั้งอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วงปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ การรักษาจะทำได้ด้วยการรักษาตามอาการเท่านั้น


..........................................


บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

ไข้ซิกา …ภัยใหม่จากยุงลายตัวเก่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ภญ. มัลลิกา ชมนาวัง

ภาควิขาจุลชีววิทยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตั้งแต่วันที่28/01/2559

หากจะพูดถึงโรคที่มียุงเป็นพาหะหลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออกขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ แต่ปัจจุบันมีโรคอื่นๆอีกมากที่เมื่อก่อนแทบไม่เคยได้ยินชื่อ แต่กลับก่อให้เกิดการระบาดในหลายประเทศไวรัสซิกา (Zika) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดไวรัสที่ใครๆ ต้องถามชื่อซ้ำอีกครั้งชนิดนี้แทบจะไม่เคยมีบทบาทในประเทศไทยแต่กลับเป็นเชื้อที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวังไวรัสชนิดนี้กำลังระบาดอย่างหนักในแถบประเทศอเมริกาใต้ รวมถึงหมู่เกาะแปซิฟิกและ Cape Verde ในแอฟริกา จากรายงานขององค์การอนามัยโรคภูมิภาคอเมริกา (Pan Americans Health Organization;PAHO) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้ซิกาแล้วใน20 ประเทศ ดังนี้ บาร์เบโดส โบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์เฟรนซ์เกียนา กัวเดอลุป กัวเตมาลา กายอานา เฮติ ฮอนดูรัส เกาะมาร์ตีนิก เม็กซิโกปานามา ปารากวัย เปอร์โตริโก ซูรินาเม เกาะเซนต์มาร์ติน และเวเนซูเอลา

ไวรัสซิกาจัดเป็นไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ(RNA) สายเดี่ยว อยู่ในตระกูล Flavivirus เช่นเดียวกับไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) ที่ก่อให้เกิดไข้เลือดออกและไวรัส Japaneseencephalitis ที่ก่อโรคไข้สมองอักเสบส่วนชื่อซิกา (Zika) เป็นชื่อป่าในประเทศยูกันดาซึ่งเป็นสถานที่แรกที่แยกเชื้อได้จากลิงRhesus ที่ทำมาศึกษาในปีพ.ศ. 2490การระบาดของไวรัสชนิดนี้มียุง Aedesaegypti เป็นพาหะซึ่งเป็นยุงลายบ้านในประเทศเขตร้อนและเป็นยุงที่เป็นพาหะของไวรัสไข้เลือดออกด้วยสำหรับประเทศไทยมีรายงานว่าตรวจพบแอนติบอดีต่อไวรัสซิกาในผู้ที่อาศัยในกรุงเทพฯเมื่อปีพ.ศ.2506 หลังจากนั้นมีรายงานผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดาซึ่งเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา 21 มกราคมถึง 2 กุมภาพันธ์ 2556โดยพักในกรุงเทพฯ และภูเก็ต และมีอาการบนเครื่องบินขณะเดินทางกลับแคนาดาภายหลังได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่า เป็นการติดเชื้อไวรัสซิกานอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยชาวไทยที่เดินทางไปไทเปถูกตรวจพบเชื้อที่สถานีตรวจคัดกรองไข้ สนามบินนานาชาติเถาหยวน ไต้หวันและขณะนี้ได้รับการรักษาแล้ว อย่างไรก็ตามต้องยืนยันว่าโรคไข้ซิกานี้ไม่ใช่โรคใหม่ ในประเทศไทยมีรายงานการตรวจพบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ๕ ราย และพบกระจายอยู่ทุกภูมิภาค

ผู้ติดเชื้อนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการและหายเองได้มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่อาจแสดงอาการได้ และมักแสดงอาการภายหลังได้รับเชื้อนี้4-7 วัน อาการแสดงทั่วไป ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบตาแดง ปวดข้อ ซึ่งมักมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วันส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ไม่มีความจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากการติดเชื้อนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ทำให้มีความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิดมีขนาดศีรษะที่เล็กผิดปกติ (microcephaly)หรือเสียชีวิตได้

การที่อาการแสดงเบื้องต้นของไข้ซิกาถึงแม้จะความรุนแรงน้อยกว่าแต่ก็มีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกอีกทั้งยังมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้จึงต้องมีการให้นิยามเพื่อความชัดเจน โดยผู้ป่วยสงสัยหมายถึงผู้ป่วยที่มีไข้และมีอาการอย่างน้อย 2 ใน 3 อาการ ดังนี้ 1) ออกผื่น 2)ปวดข้อ และ 3) ตาแดง และผลการตรวจไวรัสเดงกี ไวรัสชิคุนกุนยาโดยวิธี PCR และไวรัสหัด ไวรัสหัดเยอรมัน โดยวิธี ELISA IgM ให้ผลลบ และผู้ป่วยยืนยัน หมายถึงผู้ป่วยสงสัยและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสซิกาในเลือดหรือตรวจพบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัสซิกา

อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับป้องกันโรคดังกล่าวจึงมีคำแนะนำให้เลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง และดูแลจัดการไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในที่พักอาศัยยุงชนิดนี้เป็นยุงหากินกลางวันจึงต้องระวังการถูกกัดการรักษามักเป็นการรักษาตามอาการ ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการสูญเสียน้ำหากมีไข้ให้ยาพาราเซตามอล และหลีกเลี่ยงยาแอสไพรินรวมถึงใช้ยาบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบในกลุ่ม NSAIDs เนื่องจากอาจส่งผลให้เลือดออกในอวัยวะได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ควรพึงระวังการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นจากการถูกยุงกัดในช่วงที่ติดเชื้อด้วย

เอกสารอ้างอิง

Centers for Disease Control and Prevention.Zika virus. [Internet]. [cited 2016 Jan 25]. Availablefrom: //www.cdc.gov/zika/

The Virology Association (Thailand).[Internet]. [cited 2016 Jan 25]. Availablefrom: //www.thaiviro.org/association/index.php/virology-education.html

World Health Organization. Zika virus.[Internet]. [cited 2016 Jan 25]. Availablefrom://www.paho.org/hq/index.php?option=com_topics&view=article&id=427&Itemid=41484


.........................



*** ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ส่วนใหญ่อาการของโรคไม่รุนแรง และหายได้เอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ อาการเหล่านี้จะทุเลาลงได้เองภายในเวลา 2-7 วัน

*** ถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้ออาจทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะศีรษะเล็กได้

ข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรค
//203.157.15.110/boe/zika.php
คำถาม - คำตอบ ไวรัสซิกากับหญิงตั้งครรภ์ สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
คําถามที่พบบ่อย โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus infection)



ไข้ซิกา (Zika Fever) - สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
//nih.dmsc.moph.go.th/login/showimgpic.php?id=34

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา  Hfocus.org
//www.hfocus.org/content/2016/01/11560

ดาวน์โหลด pdf โรคไข้ซิกา (Zika virus disease) โดย ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยา
//203.157.15.110/boe/getFile.php?id=MzMx&lbt=YmZk&rid=ZmlsZXNfdXBsb2FkL25ld3M=

ไข้ซิกา …ภัยใหม่จากยุงลายตัวเก่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. มัลลิกา ชมนาวัง  ภาควิขาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
//www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/301/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2

.........................................

อัพเดต  ๒ กพ. ๕๙

#โรคไข้ซิกา (Zika Fever ) ระบาดแล้วนะครับ องค์การอนามัยโลก (WHO ) ประกาศให้ไวรัสซิกา ซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างหนักในบราซิลและประเทศอื่นๆในภูมิภาค เป็น "ภัยฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก" โดยนับเป็นการประกาศเตือนภัยครั้งแรก นับตั้งแต่วิกฤติอีโบลาที่แพร่ระบาดในแอฟริกาตะวันตกเมื่อปี 2557

และ ประเทศไทย ของเราก็ทันสมัยเหลือเกิน โดยหลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศเพียง 1 วัน ประเทศเราก็พบผู้ป่วย เป็นชายไทย อายุ 20 ปี ป่วยอยู่ที่ รพ ภมิพล นะครับ

โรคนี้ติดต่อโดย ยุงลายเป็นพาหะ นะครับ กัดคนป่วย แล้วมากัดเรา เราก็ติดเชื้อนะครับ อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร ดูจาก infographic ด้านล่างนี้นะครับ




เครดิต เฟส แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว

.................

แถม โรคนำมาฝาก .. โดย ยุงลาย 

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever)  นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118

ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75




 

Create Date : 29 มกราคม 2559   
Last Update : 5 กรกฎาคม 2560 13:27:29 น.   
Counter : 5249 Pageviews.  

โรคไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )





โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย  รายงานตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 6 ตค. 2558 (สัปดาห์ที่ 39)
จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก 86,460 ราย  จำนวนผู้ป่วยตาย 86 ราย  สูงกว่าปีที่แล้ว 182.91%
อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.10 ราย   สูงกว่าอัตราป่วยตายย้อนหลัง 4 ปีที่แล้ว (ร้อยละ 0.08-0.09 ราย)
จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ (คาดว่าในปี 2558 จะมีประมาณ 60,000-70,000 ราย)


การติดต่อ

ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนภายในตัวของยุงลาย
ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti เมื่อยุงลายตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน (เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง) เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วัน จึงเริ่มทำให้เกิดอาการ

ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
พบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน

ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด


อาการ

ส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีเป็นครั้งแรกมักไม่มีอาการ หรืออาจมีเพียงไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารเท่านั้น แต่ในคนที่ติดเชื้อนี้เป็นครั้งที่ 2 โดย เฉพาะเชื้อนั้นเป็นเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงช็อกได้ โดยอาการของโรคไข้เลือดออกแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะพักฟื้น

    ระยะไข้ หรือระยะที่ 1 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หน้าแดง อาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่นๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระสีดำ เป็นต้น โดยอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 7 วัน

   ระยะช็อก หรือระยะที่ 2 ขณะที่ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงคือ ซึมลง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ปลายมือปลายเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบา ปัสสาวะน้อย ในบางรายมีอาการปวดท้องมาก ท้องโตขึ้น หายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีน้ำรั่วออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอดและช่องท้อง บางรายมีเลือดออกมากเช่น เลือดออกในทางเดินอาหารทำให้อุจจาระสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดกำเดาไหล ผู้ป่วยในระยะนี้อาจมีอาการช็อก ความดันโลหิต (เลือด) ต่ำ และถึงแก่ชีวิต (ตาย) ได้ ซึ่งระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 วัน แต่ในบางราย ผู้ป่วยมีอาการไม่มาก หลังจากไข้ลง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากระยะที่ 1 เข้าสู่ระยะที่ 3 เลย

    ระยะพักฟื้น หรือระยะที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยรับประทานอาหารได้มากขึ้น ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ในบางรายอาจมีผื่นเป็นวงขาวๆบนพื้นสีแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง ผื่นมักไม่คันและไม่เจ็บ


แพทย์วินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้จาก “ อาการ “ โดยเฉพาะอาการไข้สูง โดย ไม่มีอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ หรือท้องเสียร่วมด้วย ร่วมกับมีประวัติโรคไข้เลือดออกของคนที่อาศัยอยู่บริเวณเดียวกัน หรือมีการระบาดของโรคในขณะนั้น โดยเฉพาะหากแพทย์ตรวจพบตับโต และกดเจ็บร่วมด้วย แพทย์จะทำการทดสอบที่เรียกว่า “Tourniquet test” โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตรัดแขนทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หากมีจุดเลือดออกบริเวณแขนมากกว่า 10 จุดต่อ 1 ตารางนิ้ว แสดงว่าผลการทดสอบให้ผลบวก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคนี้

นอกจากนี้ หากส่งตรวจเลือด ซีบีซี (CBC) จะตรวจพบเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวค่อน ข้างต่ำ และความเข้มข้นของเลือดสูง เพียงเท่านี้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ในบางรายหากอาการ ผลการตรวจร่างกาย และผลเลือดเบื้องต้นดังกล่าว ไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้ ในปัจจุบันในบางโรงพยาบาลสามารถส่งเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อไวรัสเดงกีได้ ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยโรคนี้แม่นยำขึ้น



โรคไข้เลือดออกมีวิธีรักษาอย่างไร?

ในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง หากอาการไม่รุนแรงโรคนี้จะหายได้เอง ดังนั้นการรักษาที่มีจึงเป็นเพียงการรักษาตามอาการ และการรักษาภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

ในระยะไข้ หากผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ยังพอรับประทานอาหารได้บ้าง รู้สติดี ไม่ซึม แพทย์จะให้ยาลดไข้ ยาผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากไข้สูง และจากการรั่วของน้ำออกนอกหลอดเลือด และให้สังเกตอาการที่บ้าน จากนั้นจะนัดผู้ป่วยมาติดตามอาการที่โรงพยาบาลเป็นระยะๆ
แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ปวดท้องมาก ปัสสาวะออกน้อย กระสับกระส่าย ซึมลง หรือมือเท้าเย็น แพทย์จะให้เฝ้าสังเกตอาการและดูแลรักษาที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะ เพื่อการเฝ้าระวังภาวะช็อกและเลือดออก ซึ่งนอกจากการตรวจวัดชีพจร และความดันโลหิตอย่างใกล้ ชิดแล้ว แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังการรั่วไหลของน้ำออกนอกหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำลง และเข้าสู่ระยะช็อกได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้เริ่มลดลง ซึ่งใช้เวลาผ่านพ้นระยะนี้เป็นเวลา 24 - 48 ชั่วโมง จากนั้นผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะพักฟื้นซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัย
ในระยะพักฟื้นนี้ ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น ปัสสาวะออกมากขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตปกติ


เมื่อไรจะให้กลับบ้าน

    ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
    ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
    ความเข้มของเลือดคงที่
    3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
    เกล็ดเลือดมากกว่า 50000
    ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด


ข้อสำคัญของไข้เลือดออก

    ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
    หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
    ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ห้ามใช้ยา แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เพราะอาจส่งเสริมให้เกิดภาวะเลือดออกมากขึ้น
    ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิดช็อค
    หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่ การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
    การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก ถ้าให้น้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด


วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้




การป้องกัน

แม้ว่าในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคำตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลง ซึ่งทำได้โดย การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ การกำจัดลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด

วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย

ทั้งนี้การป้องกันทำได้ 3 ลักษณะ คือ

1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่
- ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่ำลงหากยังไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย
- เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน
- ปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม อ่างบัวและตู้ปลา ภาชนะละ 2-4 ตัว
- ใส่เกลือลงน้ำในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความจุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานกว่า 7 วัน

2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่
- เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย
- การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกันความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
- การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด

3. การปฏิบัติตัว ได้แก่
- นอนในมุ้ง หรือในห้องที่มีมุ้งลวด เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ทั้งกลางวันและกลางคืน
- หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสำคัญที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่า DEET



เครดิต อ้างอิง ..

https://www.facebook.com/dengue.infection

https://www.ไข้เลือดออก.com

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/102/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81/

https://www.thaivbd.org

https://www.ato.moph.go.th

https://www.thaivbd.org/n/researchs/view/87

“””””””””””””””””””””””

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรมยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38

โรคไข้เลือดออก... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

 

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""


เป็นไข้เลือดออกหรือเปล่า?
ไข้เลือดออก อาการเป็นยังไง?
อาการแบบนี้ ใช่ไข้เลือดออกหรือไม่?
คำถามยอดฮิตทาง Message Facebook <ไข้เลือดออก>
เลยเอามาทบทวนกันอีกทีว่า

อย่างไรถึงว่าน่าจะเป็นไข้เลือดออก
คำถามยอดฮิตในฤดูฝนที่มีการระบาดของไข้เลือดออกคือ
คนในครอบครัว เช่น ลูก มีไข้ กลัวจะเป็นไข้เลือดออก

หลักในการพิจารณาว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่

1.เรื่องไข้
• ไข้เลือดออกมีอาการไข้ชนิดที่เรียกว่าไข้สูงลอยกระทันหันหรือ abrupt onset of high continuous fever ซึ่งเป็นลักษณะของไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Viral fever) เช่น ไข้หวัดใหญ่ ก็เช่นกัน
• ฉะนั้นถ้าไม่มีไข้ เช่น มีแต่เลือดกำเดาไหล แต่ไม่มีไข้ บอกเลยว่าไม่เป็นไข้เลือดออก นอกจาก ระยะช็อค ที่ไข้ลดกระทันหันแล้วไม่มีไข้ ตัวเย็น
• เรามาพิจารณาองค์ประกอบของไข้ในไข้เลือดออก จะมี 3 ประการคือ

1.1. ไข้กระทันหัน - abrupt onset
สามารถบอกได้เลยว่า ไข้ขึ้น วันไหน เวลาเท่าไร ที่แน่นอน จากสบายดี อยู่ๆก็มีไข้ขึ้นทันทีเลย
ถ้าไข้ค่อยๆขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป ก็ไม่ใช่ไข้เลือดออก

1.2. ไข้สูง - high fever
ไข้สูงมากกว่า 39 C ขึ้นไป เช่น 39.5 หรือ 40.0 โดยถ้าใช้ปรอทที่ความแม่นยำในการวัด เช่น ปรอทวัดไข้ทางหู Ear infrared thermometer โดยตั้งค่าที่วัดเป็น Rectal ซึ่งเป็น core temperature
ถ้าเป็นปรอทหนีบรักแร้ Axillary จะมีค่าต่ำกว่า Rectal อยู่ 1 C หรือปรอทอมใต้ลิ้น Oral จะมีค่าต่ำกว่า Rectal อยู่ 0.5 C
ดังนั้น ถ้าวัดไข้ที่เป็น Rectal temperature ได้ต่ำกว่า 38.5 C บอกได้เลยว่าไม่น่าเป็นไข้เลือดออก

1.3. ไข้ลอย - continuous fever
ถ้าเป็นไข้เลือดออก ไข้จะสูงลอยตลอด ไข้ไม่ลดเลย
ดังนั้น ถ้าไข้เป็นๆหายๆ ไข้ขึ้นๆ ลงๆ ก็ไม่ใช่ไข้เลือดออก
ถึงแม้จะรับประทานยาลดไข้มาก่อนหน้านี้ ไข้ในไข้เลือดออกก็ไม่ลดลงเป็นปกติ 37 C (baseline) ได้เลย อาจลดลงจากไข้สูง 40 C หรือ 39+ C ลงมาได้ไม่ต่ำกว่า 38.5 C

ดังนั้นถ้าพิจารณาเอาแต่แค่เรื่องลักษณะของไข้ 3 ประการนี้แล้ว เราสามารถคัดกรอง (screening) ไข้ที่ไม่ใช่ไข้เลือดออกออกไปได้อีกมาก

ถ้าเข้าลักษณะของไข้สูงลอยกระทันหันแล้ว ทำให้สงสัยไข้เลือดออกแล้ว เราก็จะพิจารณา ประวัติ อาการและอาการแสดงอื่นๆในไข้เลือดออก โดยถ้ามีอย่างน้อย 2 ข้อ ในเกณฑ์ข้อ 2, 3, 4 และ 5 ดังต่อไปนี้ ก็บ่งบอกว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออก คือ

2.อาการปวด
• ปวดหัว
• ปวดกระบอกตา
• ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อ

3.อาการทางระบบทางเดินอาหาร
• คลื่นไส้หรืออาเจียน
• เบื่ออาหาร

4.ตรวจร่างกายพบ
• หน้าแดง (Flushed face) หรือตาแดง (scleral injection)
- จากประสบการณ์ แค่มีไข้สูงบวกกับเห็นหน้าคนไข้มีอาการหน้าแดง (Facial flushing) ก็บอกได้เลยว่าสงสัยน่าจะติดเชื้อไข้เลือดออก (suggestive diagnosis of Dengue infection)
- Facial flushing, a sensitive and specific predictor of dengue infection https://emedicine.medscape.com/article/215840-clinical#b3

5.ประวัติอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก**
• พักอาศัย
• เรียนหนังสือหรือทำงาน
• เดินทางมาอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก

** จากการศึกษาการระบาดของไข้เลือดออกใน จ.กำแพงเพชร พบว่าความเสียงของการเป็นไข้เลือดออกจะสูง ถ้าอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันในระยะห่างน้อยกว่า 1 กิโลเมตร
ความเสียงจะยังคงมีอยู่แต่ลดน้อยลงไป ถ้าอยู่ในระยะห่าง 1 ถึง 5 กิโลเมตร
ความเสียงจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ถ้ายิ่งอยู่ในระยะห่างที่มากกว่านี้ไปเรื่อยๆ

** ข้อมูลจาก
The Spatial Dynamics of Dengus Virus in Kamphaeng Phet, Thailand
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/PMC41613…/pdf/pntd.0003138.pdf



https://www.facebook.com/dengue.infection/photos/a.1435841576699406.1073741828.1435667050050192/1638546203095608/?type=3&theater

............................




วิธีการตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก โดย พญ.ประอร สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา

• โปรตีนเอ็นเอสหนึ่ง (NS1) ....ตรวจแล้วได้ผลดีที่สุดคือมีโอกาสที่จะเจอเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ควรจะต้องตรวจตั้งแต่ไข้วันแรก อันนั้นมีโอกาสให้ผลบวกประมาณ 90-95% ขึ้นไป
• ถ้ามีไข้วันแรก ตรวจตัวนี้ NS1 ตั้งแต่วันแรกที่มีไข้ น่าจะช่วยในการวินิจฉัย ประมาณ 90-95%
• ถ้าประมาณวันที่สามที่มีไข้ โอกาสจะให้ผลบวกอาจจะประมาณแค่ 70%
• การตรวจหา NS1 ยืนยันว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก…..
.....
ถ้าประมาณไข้วันที่ 3-4 ขึ้นไป
• ตัวที่จะช่วยบอกได้คือต้องตรวจผลเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดขาวกับปริมาณเกล็ดเลือด รวมทั้งความเข้มข้นของเลือด (CBC/Platelet)
• ถ้าเป็นไข้เลือดออก แนวโน้มเม็ดเลือดขาวจะต่ำลง โดยเฉพาะต่ำกว่า 5,000 ตัว
.....


วิธีการตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก
โดย พญ.ประอร สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา
กุมารแพทย์ หน่วยโรคติดเชื้อกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)
รายการสายตรงสุขภาพ Health Line  ออกอากาศ 23 มิถุนายน 2557 เวลา 07.00 - 08.00 น. ทางช่อง ASTV NEWS1.
เผยแพร่ทาง YouTube 19 เม.ย. 2558  https://www.youtube.com/watch?v=yGTEQ3MjMfI

การจะตรวจยืนยันว่าเป็นโรคไข้เลือดออกจะต้องเริ่มจากการยืนยันว่ามีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกคือ ไวรัสเดงกี (Dengue virus)
ปัจจุบันนี้ที่มีการตรวจจะมี 2 แบบคือ
1.การตรวจหาจับตัวเชื้อ
2การตรวจระดับภูมิคุ้มกัน

ตัวที่จะบอกและช่วยยืนยันในการวินิจฉัย เพื่อที่จะป้องกันหรือเฝ้าระวังไม่ให้เข้าสู่ภาวะอันตรายหรือระยะวิกฤตของโรคก็คือการตรวจหาตัวเชื้อ

ถ้าลักษณะของอาการบ่งชี้เนื่องจากว่าส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออก อาการที่สำคัญคือ
• ไข้สูงลอย
• อาการอย่างอื่นจะไม่ค่อยมีอาการจำเพาะเจาะจง เช่น อาจจะมีปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะหรือคลื่นไส้อาเจียน
• แต่อันที่น่าจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกจะมีเรื่องของหน้าแดง (Flushed face)
Facial flushing, a sensitive and specific predictor of dengue infection https://emedicine.medscape.com/article/215840-clinical#b3
ไข้สูง หน้าแดง แล้วก็ไม่มีเรื่องของไอ น้ำมูกหรือท้องเสียอย่างชัดเจน ต้องนึกถึงโอกาสจะเป็นไข้เลือดออก

1.การตรวจหาจับตัวเชื้อ
1.1 การตรวจจับโปรตีนของไข้เลือดออก ชื่อโปรตีนเอ็นเอสหนึ่ง (NS1)
• ปกติถ้าตรวจแล้วได้ผลดีที่สุดคือมีโอกาสที่จะเจอเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ควรจะต้องตรวจตั้งแต่ไข้วันแรก
• อันนั้นมีโอกาสให้ผลบวกประมาณ 90-95% ขึ้นไป
• การตรวจใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที

ที่ยากคือเวลาเป็นไข้วันแรก บางทีคุณพ่อคุณแม่ก็จะรู้สึกว่ารอดูก่อนดีไหม ก็เรียนว่าถ้ามีคนอื่นในบ้านมีประวัติเคยเป็นไข้เลือดออกแล้วในบ้านก็ต้องสงสัยว่า ภายในช่วง 1-2 เดือน ช่วงนั้นหลังจากที่มีคนเป็นไข้เลือดออกแล้วในบ้าน มีไข้ ก็อาจจะมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้
• ถ้ามีไข้วันแรก ตรวจตัวนี้ NS1 ตั้งแต่วันแรกที่มีไข้ น่าจะช่วยในการวินิจฉัย ประมาณ 90-95%
• ถ้าตรวจวันหลังๆไป โอกาสที่จะเจอผลบวก มันจะลดลงไปตามวันที่มีไข้
• โดยทั่วไปแล้วถ้าประมาณวันที่สามที่มีไข้ โอกาสจะให้ผลบวกอาจจะประมาณแค่ 70%
• ถ้าสมมติว่าไข้เริ่มต่ำลง ซึ่งจริงๆแล้วในไข้เลือดออก ถ้าไข้เริ่มต่ำลง เราต้องระวังว่าจะเป็นระยะวิกฤตของโรค โอกาสจะเจอแค่ 50% เท่านั้น
• การตรวจหา NS1 ยืนยันว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก แต่บอกไม่ได้ว่าติดเชื้อแล้ว จะเป็นไข้เลือดออกแบบรุนแรง คือมีการรั่วของของน้ำเหลืองออกไปนอกเส้นเลือดหรือเปล่า หรืออาจจะเป็นไข้ธรรมดา ที่เราเรียกว่าเป็นไข้เด็งกี ซึ่งความรุนแรงต่างกัน
• ตัวที่จะช่วยบอกได้คือต้องตรวจผลเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดขาวกับปริมาณเกล็ดเลือด รวมทั้งความเข้มข้นของเลือด (CBC/Platelet)
• ถ้าประมาณไข้วันที่ 3-4 ขึ้นไป ถ้าเป็นไข้เลือดออก แนวโน้มเม็ดเลือดขาวจะต่ำลง โดยเฉพาะต่ำกว่า 5,000 ตัว แล้วก็ยิ่งถ้าดูเกล็ดเลือด ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม เกล็ดเลือด แนวโน้ม ของเราปกติแล้วเกล็ดเลือดประมาณ 150,000-400,000
• ถ้าในคนที่เป็นไข้เลือดออกแล้ว มีโอกาสจะเข้าภาวะวิกฤต อันนี้เกล็ดเลือดแนวโน้มจะต่ำกว่า 100,000
ในคนที่เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 จริงๆแล้วก็ควรจะต้องรับไว้ในโรงพยาบาลแล้วก็เฝ้าติดตามอาการและความเข้มข้นของเลือดต่อ

1.2 PCR หรือ Polymerase Chain Reaction
• เป็นการตรวจที่ให้รายละเอียดมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้ามีเชื้อไวรัสปริมาณน้อยหลงเหลืออยู่แล้วในกระแสเลือด โอกาสจะเจอมากกว่า NS1
• แต่ว่า PCR ราคาค่อนข้างสูง อาจจะประมาณ 10 เท่าของ NS1
• แล้วก็ทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆเท่านั้น ไม่ได้ทำทั่วไป
• ถ้ามาไข้วันแรกเลย การตรวจ NS1 กับ PCR ค่าน่าจะใกล้เคียงกันในการแปรผล คือถ้าให้ผลบวกน่าจะใช่ไข้เลือดออกแน่นอน
• แต่ถ้าเจาะวันหลังๆแล้วให้ผลลบ อันนี้อาจจะบอกไม่ได้ เนื่องจากว่าบางครั้งไวรัสในกระแสเลือดหายไปแล้ว
เพราะฉะนั้นถ้าช่วงวันหลังๆ เช่น ไข้วันที่ 3-4 เป็นต้นไป การเจาะไม่ว่า PCR หรือ NS1 ก็อาจจะจับตัวเชื้อไม่ได้แล้ว แต่ก็ยังเป็นอยู่

เพราะฉะนั้นผลการตรวจพวกนี้ (PCR และ NS1) ถ้าใช่เจอเชื้อแปลว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก แต่ต้องตามต่อว่าจะเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นแค่ไข้เด็งกี

แต่ถ้าไม่เจอไม่ได้แปลว่าไม่ใช่ไข้เลือดออก ก็ยังต้องตามอยู่ด้วยอาการ เช่น ไข้ 3 วันแล้วไข้ไม่ลง ก็จะต้องเจาะเลือดดูเม็ดเลือดขาว ดูเกล็ดเลือด (CBC/Pltaelet) อยู่ดี


เครดิต https://www.facebook.com/dengue.infection/photos/a.1435841576699406.1073741828.1435667050050192/1636873343262894/?type=3&theater


...................................................

บทความพิเศษ
ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่:ภาวะแทรกซ้อนที่แปลกแยกและรุนแรง ปัญหารีบด่วนที่แพทย์ต้องสนใจ
โดย ถนอมศรี ศรีชัยกุล
ศาสตราจารยเกียรติคุณ ที่ปรึกษาอาวุโสผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยา
โรงพยาบาลวิชัยยุทธและศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ
วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2553
https://www.tsh.or.th/file_upload/files/Vol20-4%20ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่%20%5Bบทความพิเศษ%5D.pdf

........................................



เครดิต  Rational-Drug-Use การใช้ยาอย่างสมเหตุผล https://www.facebook.com/896404783733131/photos/a.896405263733083.1073741849.896404783733131/1040553192651622/?type=3


"""""""""""""""""""""""""""""""""""

 

เป็นไข้เลือดออก จะเจาะเลือดตรวจได้อย่างไร

กลายเป็นประเด็นที่มีคนสอบถามเข้ามามาก ว่าอยากจะรู้ว่าเป็นไข้เลือดออก จะตรวจได้อย่างไร
ทำไมบางครั้งไปหาที่นี่บอกว่าไม่เป็น อีกที่บอกว่าเป็น

การวินิจฉัยไข้เลือดออก จะเริ่มจากการซักประวัติตรวจร่างกายก่อน
สมัยก่อนเลย ถ้ามีอาการไข้ร่วมกับมีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ผื่น หรือเลือดออก ... รัดแขน(อย่างถูกวิธี)แล้วเจอจุดเลือดออก เราก็จะสงสัยไข้เลือดออก
ถ้าอาการดูเป็นมาก ก็จะเจาะเลือดตรวจดูเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด
ถ้าเป็นไม่มาก ก็อาจจะไม่เจาะเลือดตรวจ

ปัจจุบันด้วยอะไรหลายๆอย่าง ส่วนมากเจอเจาะเลือดหมด

และสิ่งที่เจาะตรวจมีดังนี้
1. CBC เจาะเม็ดเลือดรวม
สิ่งที่ดู : เม็ดเลือดขาว ต่ำกว่า5000 เกล็ดเลือดต่ำกว่า150000
ข้อดี : ราคาไม่แพง มีในโรงพยาบาลส่วนใหญ่
ข้อเสีย : ถ้าเจาะภายใน 72 ชั่วโมงแรก ผลจะปกติ , ถ้าคนไข้จำวันแรกที่มีไข้ผิด ก็แปลค่าผิด , คนไข้ไปกินยาหรืออาหารบางชนิด ผลก็จะปกติได้ทั้งที่จริงๆเป็นไข้เลือดออก , โรคหลายชนิดให้ผลเลือดนี้เหมือนไข้เลือดออก

ส่วนใหญ่ เวลามีไข้วันหรือสองวันแล้วไปหาหมอ ถ้าตรวจไม่เจออะไร หมอก็จะนัดไปตรวจใหม่ในวันที่สามของไข้แล้วเจาะดูค่านี้

2. Dengue Ns1Ag
สิ่งที่ดู : เป็นการตรวจโปรตีนของเชื้อไข้เลือดออกในเลือด
ข้อดี : ถ้าเจอก็แปลว่าเป็นไข้เลือดออกค่อนข้างแน่นอน 98%
ข้อเสีย : จะค่อนข้างไวในการตรวจไข้เลือดออกวันแรกๆและจะไวน้อยลงในวันหลังๆ ความไวอยู่ที่ 63% (คือตรวจไม่เจอ ก็ยังเป็นไข้เลือดออกได้) ราคาแพง , ไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล

ในทางทฤษฎี ใช้ตรวจเวลาจำเป็นต้องได้ผลการตรวจเร็ว เช่นอาการหนักในไข้วันแรกๆ และต้องการแยกว่าเป็นไข้เลือดออกที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือเป็นโรคอื่นที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

3. Dengue IgM
สิ่งที่ดู : ดูปริมาณภูมิต้านทานเฉียบพลัน IgM ต่อเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งจำเพาะต่ออาการของไข้เลือดออก
ข้อดี : ถ้าเจอแปลว่าเป็นไข้เลือดออกค่อนข้างแน่นอน 99.9%
ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล จะค่อนข้างไวในไข้เลือดออกวันกลางๆ ความไวอยู่ที่ 40 % (คือถ้าตรวจไม่เจอก็เป็นไข้เลือดออกได้)

2+3 บางครั้ง จะมีชุดตรวจที่ตรวจDengueNs1Agและ IgM พร้อมกัน เพื่อเพิ่มความไวจาก 60และ40% ให้กลายเป็น 90% ... ไวขึ้น
แน่นอน ยังแพงอยู่ และไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล

4. Dengue PCR
สิ่งที่ดู : ตรวจหา DNA ของไข้เลือดออก
ข้อดี : ส่งได้มากกว่าแค่เลือด (เช่นกรณีสงสัยไข้เลือดออกขึ้นสมองก็ส่งจากน้ำไขสันหลังได้) ถ้าตรวจเจอก็ค่อนข้างแน่ชัดว่าใช่ 93%
ข้อเสีย : ตามกรรมวิธีปกติ ใช้เวลา 7 วันในการฟังผล ... ซึ่งไข้เลือดออกปกติ เป็น 7 วันก็หาย ไม่หายก็หนักไปแล้ว
(บางกรณีเร่งผลได้เร็วกว่านั้น)

ประโยชน์จากการเจาะตรวจเจอเร็ว : คือ ตรวจเจอเร็วก็รู้เร็ว ช่วยให้ลดความรู้สึกไม่แน่ใจ
เปลี่ยนการรักษาหรือไม่ : ถ้าอาการตรงไปตรงมา ส่วนมากไม่เปลี่ยนการรักษา

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ
หากเป็นไข้ ไม่สบาย ไปหาหมอ ให้ประวัติให้ครบถ้วน
หรือหากจะกินยาเอง ก็กินแต่ยาสามัญประจำบ้าน ....
อย่าไปซื้อยาลดไข้สูง ยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบปฏิชีวนะมากินเอง

ตรวจเลือดเท่าที่จำเป็น
อย่าลืมว่าเป็นไข้ ไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออกโรคเดียวครับ

ตย.สมมุติ
หากมีคนไข้มาด้วยไข้ตัวร้อนๆ 1 วัน อาการเหมือนไข้เลือดออกไม่เหมือนโรคอื่นเลย


- ตรวจ Ns1Agวันแรก เจอ ... หมอก็ให้Paraนัดมาตรวจอีกครั้งวันที่ 3-4ของไข้ เพื่อตรวจCBC
- ตรวจNs1Agวันแรกไม่เจอ ... หมอก็ให้Paraนัดมาตรวจอีกครั้งวันที่ 3-4ของไข้ เพื่อตรวจCBC
-ไม่ได้ตรวจNs1Agวันแรก ... หมอก็ให้Paraนัดมาตรวจอีกครั้งวันที่ 3-4ของไข้ เพื่อตรวจCBC

เจาะเลือดต่างกัน แต่อาจจะไม่เปลี่ยนการรักษาเลยในเคสปกติ

ตรวจเลยได้ไหม กลัวเป็น กลัวไม่ชัวร์
ก็ได้ ซึ่งปัจจุบันหมอเริ่มตรวจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเวลามีปัญหาวินิจฉัยช้าไป1-2วัน ... แม้ไม่มีผลต่อการรักษาหรือสุขภาพ ก็มักมีปัญหาร้องเรียนกัน ... อย่างในรพ.รัฐบาลที่ตรวจตามหลักการ เราก็เห็นปัญหากันประจำ

แต่ในระยะยาว ถ้าตรวจหมดอาจจะมีปัญหาได้ เพราะ

- ราคา(คิดแบบรพ.รัฐ) CBC 100 IgM 300 NS1Ag 700 แปลว่าคนเป็นไข้เลือดออกไม่ว่าจะหนักเบา ก็ตกรวมกันประมาณ 1100 บาท
- ถ้าคิดแค่ค่าตรวจของคนเป็นไข้เลือดออก ปีละ 1 แสนคน ก็แปลว่าเราใช้เงินไปราวๆ 1 พันล้านบาท ต่อปี ในการวินิจฉัย (ไม่รวมค่ารักษา)
- ฟังดูไม่เยอะ แต่ว่าอย่าลืมนะครับ ว่าโรค ไม่ได้มีแต่ไข้เลือดออก
ปัญหาที่เจอกัน คือ มีโรคอื่นที่คล้ายไข้เลือดออกด้วย
ถ้าตีเสียว่า คนในประเทศไทย เป็นไข้ปีละ 2 ครั้ง 65ล้านคนx1100บาทx2ครั้ง
ต้องเสียเงินประมาณ 1หมื่น4พันล้านต่อปี ในการตรวจวินิจฉัยโรคนี้โรคเดียว

เป็นการเสียเงินที่ควรใช้ไปกับการรักษาผู้ป่วยโรคอื่นที่หนักกว่านี้
โดยที่อาจจะไม่ได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยไข้เลือดออกให้รอดเพิ่มขึ้นเท่าไหร่เลย



Pawara Prongjit เพิ่มเติมเรื่องราคาให้นะครับ ราคากรมบัญชีกลาง ไปตรวจ รพ. รัฐ (ถ้ามีให้ตรวจ) ต้องได้ราคานี้นะ

Dengue - IgG (HAI) 200 บาท

Dengue - IgM (ELISA) 300 บาท
Dengue virus, qualitative RT-PCR 800 บาท
Dengue virus-Ab 310 บาท

NS1 ไม่เห็นในบัญชีของกรมบัญชีกลางนะครับ แต่ลองดูของ รพ. ราชวิถี เขาให้ใช้ราคาเดียวกับ Dengue Virus-Ab เลย (310 บาท


แต่ถ้าไป รพ. ตามสิทธิ์ก็ฟรีนะครับ (แต่ต้องมีอาการนะ) ถ้าเกิดว่าเดินดุ่มๆ ไปขอเจาะเฉยๆ ก็โดนตามราคานี้เลย


เครดิต เฟส ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว  https://www.facebook.com/HmxMaew/photos/a.398936216867904.96187.398912630203596/930403750387812/?type=3

...............................................









 
 

แนะผู้ปกครองสังเกต 9 สัญญาณอันตรายไข้เลือดออกในเด็ก

กรมการแพทย์เตือนพ่อแม่ ผู้ปกครอง สังเกต 9 สัญญาณอาการเสี่ยงโรคไข้เลือดออก แม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงอย่าชะล่าใจควรต้องไปพบแพทย์ พร้อมแนะเกราะภูมิคุ้มกัน 3 ชั้นให้ลูกน้อยห่างไกลไข้เลือดออก ระบุกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มาพร้อมกับ “ยุงลาย” ที่มีอายุสั้นเพียง 7 วันเท่านั้น ซึ่งโรคไข้เลือดออกสามารถเป็นได้ทุกฤดูกาล ขอเพียงมีแหล่งน้ำขัง ที่สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ แต่ในฤดูฝนมีความเสี่ยงสูงขึ้นเพราะปริมาณน้ำมากทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่ โดยกลุ่มอายุที่พบเป็นโรคดังกล่าวมาก คือ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น

ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าข่ายความเสี่ยงนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กที่ยุ่งยาก ซับซ้อน รักษาเด็กป่วยที่ส่งต่อมาจากทั่วประเทศ พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านไข้เลือดออก โดยเป็นผู้นำในการทำแนวทางการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ลดการเสียชีวิตหรือลดความพิการที่เกิดจากโรคไข้เลือดออก โดยได้รับการยอมรับในระดับโลกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Center ด้านการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออก

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้น โดย

เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี แบ่งการฉีดเป็น 3 เข็ม ระยะห่างกัน 6 เดือน (0, 6, 12 เดือน) แต่ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกจากไวรัสเดงกี่เท่านั้น จากการวิจัยพบว่า ป้องกันการติดเชื้อได้ 60 % ป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ 90% แต่ถ้าร่างกายของผู้รับการฉีดวัคซีนเคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่แล้ว จะเป็นการเสริมภูมิป้องกันได้ดียิ่งขึ้น

เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือการไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดภาวะช็อกเมื่อไข้เริ่มลด พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาท ควรสังเกต 9 สัญญาณอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้เลือดออก คือ

1.ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่อาการเลวลง ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย

2.คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา

3.ปวดท้องมาก

4.มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ

5.พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ

6.กระหายน้ำตลอดเวลา

7.ร้องกวนมากในเด็กเล็ก

8.ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย

และ 9.ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4- 6 ชั่วโมง

ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรต้องไปพบแพทย์ ทั้งนี้ สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพเด็กหรือโรคไข้เลือดออกได้ที่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านไข้เลือดออก โทร. 1415 ต่อ 3904 และ https://www.childrenhospital.go.th

**********************************************

แนวทางดูแลไข้เลือดออก💉 โดย ศ.พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ
1.ไข้เลือดออกบทนำ
https://m.youtube.com/watch?v=S31g5Ys04mg
2.การรักษาที่ OPD
https://m.youtube.com/watch?v=uN39BC_sINw
3.การรับผู้ป่วยนอน รพ.
https://m.youtube.com/watch?v=ujxP7dhhYoI
4.การให้ IV fluid
https://m.youtube.com/watch?v=XY3dH96mFLA
5.การวินิจฉัยรักษาไข้เลือดออกshock
https://m.youtube.com/watch?v=XY3dH96mFLA
6.การรักษาไข้เลือดออกที่ไม่ตอบสนองการรักษา
https://m.youtube.com/watch?v=L-Uqm-BbSTw
7.ไข้เลือดออกระยะฟื้นตัว
https://m.youtube.com/watch?v=OEx2ZUqzlso
8.ไข้เลือดออกเดงกี่ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่
https://m.youtube.com/watch?v=uYt2fKB-7gc
9.การรักษาที่มีภาวะน้ำเกิน
https://m.youtube.com/watch?v=yPrlkVdUW8g
10.การรักษาที่มีภาวะเลือดออกมาก
https://m.youtube.com/watch?v=jPJ5XBXTSwk
11.การรักษาทางสมองและตับวาย
https://m.youtube.com/watch?v=h_oahDc5OjY
12.การรักษาที่มีอาการผิดแปลกไป(expanded dengue)
https://m.youtube.com/watch?v=L0fe19PiXZ4
13.ข้อผิดพลาดในการรักษาไข้เลือดออก
https://m.youtube.com/watch?v=BsIqkssxNRs

"""""""""""""""""""""""""""""""""""

 
 
ทบทวนไข้เลือดออก ช่วงนี้ระบาดหนัก
📌หลักการให้สารน้ำในโรคไข้เลือดออกผู้ใหญ่
และเด็ก📌
จำ 6 สไลด์
(1)ต้องทราบว่าเป็น DFหรือDHF
-DHF:มีleakage มีการรั่วของพลาสม่า ได้แก่
-ตับโตกดเจ็บ
,pleural effusion น้ำในช่องปอด
ascites,Hctเพิ่ม>20%
,plt<100,000,Albuminต่ำ<3.5
ส่วน DF ไม่มี leakage
(2) ดูHctที่เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น(base line)
ให้เริ่มปริมาณสารน้ำ 5%DNSSดังนี้
2.1)ถ้าเพิ่ม5-10%
-นน.<15kg:-เริ่ม 2 ml/kg/hr
-นน.15-40kg:-เริ่ม 1.5 ml/kg/hr
-นน.>40kg:-เริ่ม 1 ml/kg/hr
2.2)ถ้าเพิ่ม10-15%:ให้เริ่ม 3-5ml/kg/hr
2.3)ถ้าเพิ่ม20%:ให้เริ่ม5ml/kg/hr
(3)ต้องจำกราฟ2กราฟ
3.1)กราฟเกรด1และ2:-วัดvital sign จะปกติ เริ่มrate IVตามข้อ2 ไม่มีช๊อก
3.2)DSS(Dengue shock syndrome)
รวมDHF III และ IV
-เกรด3:-pulse pressure<20:ให้เริ่ม10ml/kg/hrแล้วลดเป็น 7-5-3-1.5 ml/kg/hr
-เกรด4:-วัดBPไม่ได้:-เริ่ม10ml/kg in 10min ถ้าไม่ดีขึ้นให้อีก10ml/kg in 10 minแล้วลดเป็น 7-5-3-1.5..
(4)ต้องจำrate iv ที่ให้ในเด็กเทียบกับผู้ใหญ่ดังนี้
เด็ก(ml/k/h) ผู้ใหญ่
1.5 40-50
3(Maint) 80-100
5 100-120
7 120-150
10 300-500
(5)เด็กน้ำหนักมากต้องคำนวณideal BW(ถ้าน้ำหนัก>40kgหรืออายุ>12ปีใช้rate iv แบบผู้ใหญ่
5.1) <=6 ปี : 2(อายุ)+8 กก.
5.2)>6ปี : อายุx3 กก.
(6)การให้ivรวมระยะวิกฤติ(24-48ชม.)
6.1)เด็ก:rate 10 ml/kg/hr;ไม่เกิน2ชม.
rate7:ไม่เกิน2ชม.
rate5:ไม่เกิน6ชม.
rate3:ให้8-12ชม.
6.2)ผู้ใหญ่;-เกรด3
500ml/hr(1ชม)-350ml/hr(1ชม)-250ml/hr(1ชม)-150ml/hr(2ชม)-100-120ml/hr(4-6ชม)-80ml/hr(4-10ชม)---60-40-kvoจนoffใน24ชม.
(7)ทุกครั้งที่Vital signผิดปกติ
(PRเร็ว/BPต่ำนึกถึง
7.1)leak-Hctจะต้องเพิ่มเกิน 20- 30%
และไม่ vital sign ผิดปกติ ได้แก่ PR เร็ว
PP แคบ
7.2)Bleed-Hctต่ำลงหรือได้สารน้ำปริมาณมากแล้วHctไม่เพิ่มไม่ถึง20-30%(เช่นHct40%ก็ต้องเอาPRCมาให้
โดย hct อยู่ในช่วง 35-45 %ต้องเอาเลือดมาให้
5 ml/kg
7.3)ต้องดู_ABCS
Acidosis
/Bleed
/Calcium/Sugar
(8)Dextranให้ครั้งละ10ml/kg/dose(Max30ml/kg/day)
ให้เมื่อมีleakมากHctยังสูงเมื่อได้rate10m/k/h>2ชม.
หรือ ต้องการrate>5m/k/hที่ 6ชม.
(โดยหลังให้dextran:-hctจะลดลง10%)
ถ้าให้ครบแล้ว Hct ลดลง>10%ระวังbleeding
ผลข้างเคียงdextran:-BT ยาว/kidney injury
(9)DHFIII,IV ระวังbleedโดย-
พิจารณาให้ VitK5-10mgx3วัน, Omeprazole,bleeding precaution
งดอาหารสีดำแดง
ควรดูค่า PT,PTT,INR(INR>2.5)
มีโอกาสbleed
(10)ระยะหาย_(convalescent
)มีABCDI
Appetileหิว/Bradycardia
/Convalescent/Diuresisปัสสาวะออกมาก/Ichingคันมากๆ






 

Create Date : 30 ตุลาคม 2558   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2565 0:51:53 น.   
Counter : 16238 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]