Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคน้ำกัดเท้า .......... โดย DrCarebear Samitivej



นำมาจากของคุณหมอ ในเฟสบุ๊ก นะครับ .. ถ้าใครสนใจอ่านฉบับเต็ม มีรูปภาพประกอบสวยงาม ก็แวะไปได้ที่

//www.facebook.com/note.php?note_id=159671324065940&id=153027324709017&ref=share



โรคน้ำกัดเท้า

ไม่รู้เหมือนกันว่าชื่อนี้เริ่มแรกมาจากไหน แต่ที่จริงแล้วน้ำกัดเท้า คือการติดเชื้อราที่เท้า ซึ่งมักจะเป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้า ส่วนใหญ่มีสาเหตุมากจากเชื้อราที่ชื่อ Trichophyton rubrum

เชื้อรากลุ่มนี้ จะสร้างเอนไซม์ออกมาย่อย keratin ที่ผิวหนัง ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแตกเป็นแผล และมีอาการตามมา



อาการ

อาการ ที่พบได้คือ มีอาการคัน และมีอาการเจ็บบริเวณง่ามนิ้วเท้า บางครั้งจะพบเป็นตุ่มน้ำหรือพบเป็นแผล ในผู้สูงอายุ อาจพบเป็นสะเก็ด และผิวหนังแห้ง

บริเวณง่ามน้ำ จะแดง ลอก มีรอยแตก หรือมีสะเก็ด พบบ่อยที่สุดที่ระหว่างนิ้วกลาง นิ้วนาง และ ระหว่างง่ามนิ้วนางกับนิ้วก้อย

บางคนที่มีแผลอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมได้ โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน



สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดในที่มีอากาศร้อนชื้น ภาวะน้ำท่วม แช่น้ำนาน ๆ หรือการใส่รองท้องที่อับชื้นเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น



การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ในรายที่การตรวจร่างกาย ไม่ชัดเจน หรือต้องการการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ สามารถทำการตรวจโดยการตรวจ KOH โดยแพทย์จะทำการขูดผิวหนังบริเวณที่น่าจะติดเชื้อไปตรวจกับกล้องจุลทรรศน์ จะสามารถพบเชื้อราได้ โดยตำแหน่งที่พบเชื้อได้ง่ายที่สุด คือหากมีตุ่มน้ำ ให้ขูดบริเวณผิวด้านบน จะพบเชื้อราได้ง่าย



การรักษา

Tinea pedis สามารถรักษา ได้ด้วยการใช้ยาเชื้อราทั้งชนิดทาและชนิดรับประทาน ชนิดทาควรจะใช้ต่อเนื่องประมาณ 4 สัปดาห์เพื่อให้หายขาด แต่ยาบางชนิดสามารถใช้เพียงสัปดาห์เดียว ขึ้นอยู่กับชนิดยา ถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้นหลังจากใช้ยาไม่กี่วัน แต่ควรจะใช้ยาให้ต่อเนื่องตามที่แนะนำ โดยทายาที่ง่ามนิ้ว และฝ่าเท้า

การกลับมาติดเชื้อซ้ำมักจะเกิดจากการใช้ยาไม่ต่อเนื่อง ในผู้ที่มีการหนาขึ้นของผิวหนังมากกว่าปกติอาจจะต้องเพื่อยาที่ช่วยทำให้ผิว หนังบางลงร่วมด้วย เช่น urea cream



กลุ่มยาทาที่ใช้รักษา ได้แก่

ยากลุ่ม imidazoles

เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาการติดเชื้อรา ตัวอย่างยาเช่น

* Clotrimazole 1%
* Econazole 1% cream (Spectazole Topical)
* Ketoconazole 1% cream (Nizoral)


ยากลุ่ม pyridones

เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กว้าง ครอบคลุมการรักษาเชื้อรา เชื้อแบคมีเรียบางขนิดได้

* Ciclopirox 1% cream (Loprox)


ยา ขี้ผึ้ง Whitfield เป็นยาอีกตัวหนึ่งที่มีราคาถูกและสามารถใช้รักษาเชื้อราที่เท้าได้



การดูแล

* ทายารักษาเชื้อราอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด ส่วนใหญ่คือให้ทาประมาณ 4 สัปดาห์ โดยทาที่ง่ามนิ้ว และฝ่าเท้า

* สิ่งสำคัญคือการทำให้เท้าสะอาดและแห้ง หากลุยน้ำมา ให้ล้างทำความสะอาดด้วยสบู่ และเช็ดให้แห้ง

* ไม่ควรใส่รองเท้าที่อับชื้นนาน ๆ ถ้าเป็นไปได้ให้เอารองเท้าตากแดดให้แห้งด้วย

* การทาแป้งจะช่วยทำให้แห้งและลดความอับชื้นได้

* หากต้องย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบูท แต่ถ้าน้ำสูง หรือเข้าไปในรองเท้าบูท ควรเทน้ำออก ดีกว่าแช่เท้าไว้ในน้ำ

* หากมีบาดแผลที่เท้าให้ทำความสะอาดแผล เช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล และทาเบตาดีน

* หากมีแผลบวมแดง อักเสบควรพบแพทย์เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียและอาจจะต้องได้รับยาฆ่าเชื้อโรค




We Care


Dr.Carebear Samitivej








แถม บทความของหมอแมว ที่ลงในห้องสวนลุม พันทิบ .. ผมก็พึ่งรู้เหมือนกันว่า มีวิธีแบบนี้ด้วย

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9839958/L9839958.html


รับมือกับน้ำกัดเท้าที่มากับน้ำท่วม #thaiflood

หลังจากช่วงน้ำท่วมผ่านไปไม่นาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือเรื่องของน้ำกัดเท้า
ครับ น้ำกัดเท้าเป็นปัญหาใหญ่อย่างนึงที่ใหญ่พอไม่น้อยไปกว่าเรื่องของการไม่มี อาหารและที่พักที่แห้งสะอาด เพราะว่าเท้าคืออวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักและต้องใช้เดินไปไหนมาไหนตลอดเวลา และในสภาวะที่น้ำขัง เมื่อเราต้องย่ำเท้าที่มีแผลลงไปย่อมทำให้เกิดความเจ็บปวดและไม่สบาย

จริงๆมันทรมานเลยทีเดียวแหละครับ

ดังนั้นเรามาคุยเรื่องน้ำกัดเท้ากันก่อนดีกว่า



น้ำกัดเท้าคืออะไร

ถ้าพูดถึงเรื่องของน้ำกัดเท้า โรคที่หลายคนนึกถึงก็คือโรคเชื้อราที่เท้า เนื่องมาจากโฆษณาโทนาฟในทีวีเป็นโฆษณาเดียวหลักๆที่ทำให้เราจำได้กันอย่าง นั้น
แต่สำหรับคนที่เคยลุยน้ำท่วม หรือลุยน้ำในที่นาจะทราบว่า หลังจากเดินลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า จะเกิดอาการเจ็บที่เท้าและมีบาดแผลเล็กๆเกิดขึ้นตั้งแต่แรกๆที่ลุยน้ำ ซึ่งแผลที่เจ็บแดงอักเสบนั้นไม่ใช่เชื้อรา


ดังนั้นน้ำกัดเท้าที่เราจะเจอในน้ำท่วมแบบนี้ก็มี 3 ช่วงครับ

1. แผลเล็กๆน้อยๆที่เกิดจากถูกของมีคมหรือเศษเล็กๆในน้ำบาด ช่วงนี้จะเกิดอาการเจ็บแสบเวลาลงน้ำหรือเวลาผิวหนังไม่แห้ง

2. แผลเล็กๆในข้อแรกเกิดการติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบหรือมีหนอง

3. การติดเชื้อจากเชื้อราอันเกิดจากการที่เท้าอยู่ในที่ชื้นเป็นเวลานานๆ

การป้องกันนั้นก็ทำได้ง่ายๆครัฟ เพียงทำตามคำแนะนำของหน่วยงานต่างๆก็คือ
อย่าลุยน้ำ ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด ทำให้เท้าแห้งตลอดเวลา


วิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่แน่ใจว่าในหนังสือเล่มไหนมันมีเขียนหรือเปล่านะครับ (แต่เท่าที่อ่านยังไม่เคยเห็นอ่ะ) แต่ผมคิดว่าวิธีนี้ยังดีกว่าไม่มีวิธีอะไรเลย

การป้องกันเรื่องน้ำกัดเท้า มีปัญหาอยู่หลายจุด อย่างแรกเลยไม่มีทางที่คนในพื้นที่จะหลีกเลี่ยงน้ำท่วมได้และไม่น่าจะมีใคร ที่เดินลุยน้ำแบบใส่บูทได้ตลอด ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ก็คือเมื่อเกิดแผลแล้วจะทำอย่างไรไม่ให้แผลนั้นติดเชื้อ

สิ่งนั้นก็คือน้ำสะอาด ... แล้วเราจะไปหาน้ำสะอาดมาจากไหน? ในภาวะที่น้ำกินยังไม่ค่อยจะมีแบบนี้กัน

การทำน้ำสะอาดจากภาวะน้ำท่วมเป็นหัวข้อที่มีแพร่หลายอยู่แล้วในinternetและ หนังสือทั่วไปครับ ซึ่งน้ำที่ได้นี้สามารถเอาไว้ใช้ภายนอก ใช้กิน และในวารสารวิขาการแพทย์สามารถเอาไว้ล้างแผลได้ด้วย

วิธีทำน้ำนี้มีอุปกรณ์ที่ต้องการก็คือ

- น้ำยาฟอกผ้าขาว (ไฮเตอร์ขวดสีฟ้า)

- ทิงเจอร์ไอโอดีน ในกรณีที่หาน้ำยาฟอกขาวไม่ได้

- ถังน้ำเปล่าสักใบ

- ผ้าผืนนึง

เริ่มต้นด้วยการตักน้ำที่ท่วมอยู่ เอาขึ้นมาแล้วเทใส่ผ้า กรองเศษผงสกปรกขนาดใหญ่ออกไป เก็บน้ำไว้ประมาณ4-5ลิตร ผสมน้ำยาฟอกผ้าขาวลงไปประมาณ1ช้อนชา ตั้งทิ้งไว้1ชั่วโมงสำหรับน้ำขุ่นๆ น้ำก็จะสะอาดพอใช้ได้หรือในกรณีไม่มีไฮเตอร์ ก็ให้ใช้เป็นไอโอดีนล้างแผล โดยใช้สัดส่วน 8 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร ตั้งทิ้งไว้1ชั่วโมงสำหรับน้ำขุ่นๆแบบน้ำท่วมเช่นกันหลังจากการผสมและตั้ง ไว้ตามเวลาที่กำหนด น้ำดังกล่าวจะสะอาดพอที่จะดื่มได้ครับ ดังนั้นล้างเท้าไม่น่ามีปัญหา ... จะได้เก็บน้ำดื่มขวดๆไว้เพื่อดื่มไม่ต้องเอามาล้างเท้า

ทุกครั้งที่ลุยน้ำเสร็จ เมื่อขึ้นมาให้ล้างเท้าและขาด้วยน้ำนี้ และจะยิ่งดีหากมีสบู่ครับ เพื่อจะได้ล้างเชื้อโรคออกไป ... หลังจากเสร็จแล้วให้หาผ้ามาเช็ดให้แห้งหมาดๆที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ... จะใช้เสื้อผ้าที่ใส่ก็ได้ (หมอแมวแอบใช้เสื้อเช็ดอยู่บ่อยๆ เพราะเสื้อแห้งเร็วกว่าเท้า อิอิ)

ถ้าหากในของที่บริจาคมีแป้งฝุ่นก็จะดีมากครับ เวลาขึ้นมาแล้วเช็ดแล้ว พอเริ่มจะแห้งๆก็ทาแป้งฝุ่นไปเลย เพราะ ว่าในพื้นที่ที่น้ำท่วม ปกติพื้นบ้านหรือส่วนที่พักอาศัยก็จะชื้นๆ การใช้แป้งฝุ่นทาเท้าไว้จะช่วยกันน้ำและความชื้นเล็กๆน้อยๆได้ ทำให้เท้าแห้งและไม่เป็นเชื้อราภายหลังได้ครับ

ไม่รู้ว่าจะเล่าอะไรต่อครับ แต่ถ้ามีใครจะบริจาคของพวกนี้ หรืออยากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ในขณะที่ความช่วยเหลือจากส่วนกลางยังไปไม่ถึง อยากให้ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ครับ

ของที่เราอาจจะหาเพิ่มไปก็แค่ น้ำยา ฟอกผ้าขาวหรือทิงเจอร์ไอโอดีน แป้งฝุ่น สบู่ และถ้าพูดถึงยา อาจจะใช้เป็นยาโคลไตรมาโซล(ขององค์การเภสัชกรรม ราคาถูกที่สุดครับ แต่แสบเท้าพอประมาณ)

ปัญหาน้ำกัดเท้าเป็นปัญหาที่จะอยู่ไปอีกนานจนกว่าน้ำจะลดครับ จนกว่าน้ำจะลด เราก็พอจะเอาน้ำนี้มาใช้ล้างเท้าได้เรื่อยๆ

ขอให้ทุกท่านโชคดี

และขอขอบคุณทุกๆท่านที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เดือดร้อนครับ ขอบคุณจริงๆ

reference

1 Treatment of Field Water with Sodium Hypochlorite for Surgical Irrigation . Journal of Trauma-Injury Infection & Critical Care:August 2004 - Volume 57 - Issue 2 - pp 231-235
2 //wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2010/chapter-2/water-disinfection.aspx

จากคุณ : หมอแมว

เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 53 00:10:15






Create Date : 25 ตุลาคม 2553
Last Update : 25 ตุลาคม 2553 20:17:13 น. 4 comments
Counter : 3103 Pageviews.  

 
ขอบคุณมากนะคะ เคยอ่านจากนิยาย(แหะๆ)ว่าชาวนาสมัยก่นใช้มะเกลือทาตามเท้ากันเพื่อป้องกันเท้าเปื่อย ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่าค่ะ


โดย: แม่น้องกะบูน วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:20:30:14 น.  

 
น้ำที่ผสมไฮเตอร์ทานได้จริงเหรอครับ


โดย: pragoong วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:21:41:20 น.  

 
Photobucket


โดย: Cheria (SwantiJareeCheri ) วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:23:24:19 น.  

 


โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม ... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=86

โรคน้ำกัดเท้า .......... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=87

การจัดการกับความเครียด จากวิกฤตการณ์น้ำท่วม .... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=88


คู่มือ คำแนะนำการป้องกันโรคที่มากับภัยน้ำท่วม
โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2553

//pher.dpc7.net/sites/default/files/Prevention%20of%20diseases%20caused%20by%20flooding.pdf


โดย: หมอหมู วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:16:22:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]