Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อควรระวัง ในการใช้ คอนแท็กเลนส์





ข้อควรระวังในการใช้คอนแท็กเลนส์

การใส่คอนแท็กเลนส์ทำให้การส่งผ่านออกซิเจนระหว่างอากาศกับกระจกตาดำลดลง (กระจกตาดำต้องการออกซิเจนจากหน้าสัมผัสกับอากาศภายนอกโดยการละลายของออกซิเจนในน้ำตาผ่านเข้าไป)

ดังนั้น ผู้ใช้คอนแท็กเลนส์บางคนที่มีการสร้างน้ำตาบกพร่อง (ไม่ว่าจะเป็นในแง่ปริมาณ และ/หรือคุณภาพของน้ำตา) ทำให้การส่งผ่านออกซิเจน-น้ำตา-กระจกตาดำลดลง ผลก็คือ กระจกตาดำขาดอากาศหายใจ ทำให้เซลล์เยื่อบุผิวกระจกตาดำซึ่งมีบทบาทในการทำให้กระจกตาดำคงความใสอยู่ได้ตลอดเวลา ลดจำนวนลงไป ภูมิคุ้มกันของตา โดยเฉพาะ บริเวณกระจกตาดำลดลงไป เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น

อัตราของผู้ใช้คอนแท็กเลนส์ โดยดูแลอย่างถูกต้อง (ไม่ใส่ค้างคืน ไม่ขี้เกียจล้าง) อยู่ที่ ๑:๒๐๐:๑ ปี (ใน ๑ ปี คนใช้คอนแท็กเลนส์ อย่างถูกวิธี ๒๐๐ คน จะมี ๑ คน ที่เกิดการติดเชื้อทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรง)

เมื่อมีการติดเชื้ออย่างอ่อนๆ อาจมีอาการเพียงการคัน ระคายเคือง หรือมีน้ำตาไหลเท่านั้น ทำให้ร่างกายพยายามเอาระบบภูมิคุ้มกันมายังกระจกตาดำ (ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงโดยสิ้นเชิง) มากขึ้น หลอดเลือดที่เยื่อบุตาขาวจะขยายตัว ในผู้ที่เกิดการระคายเคืองการแพ้สารที่อยู่ในน้ำยาสารพัดอย่าง มีการขยายตัวของหลอดเลือดนี้ได้บ้างเหมือนกัน บางรายหลอดเลือดถึงกับงอกไปบนกระจกตาดำเลยครับ

ในบางประเทศ ทุกคนที่ใส่คอนแท็กเลนส์ต้องได้รับการตรวจพื้นฐาน ได้แก่ ความโค้งของกระจกตา (คอนแท็กเลนส์มีหลายความโค้ง การเลือกความโค้งให้เหมาะกับตาแต่ละคนก็เป็นเรื่องสำคัญ) ตรวจคุณภาพน้ำตา และโรคตาที่อาจยังไม่แสดงอาการก่อนที่จะเริ่มใส่คอนแท็กเลนส์ และในบางคนอาจได้รับคำแนะนำให้เลือกใช้วิธีแก้ไขสายตาอย่างอื่นแทน ทั้งที่ดูๆ เขาก็เป็นคนปกติ ไม่เคยมีปัญหาเรื่องตามาก่อน

แต่ในประเทศเราซื้อขายง่ายครับ ซื้อตามร้านแว่นก็ได้แล้ว ถูกผิดก็ลองๆ กันไป...มีปัญหาค่อยหาหมออีกที ไม่ค่อยดีเลยนะครับ

นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย
บทความจาก : นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ ๓๑๐
www.doctor.or.th email: fdf2pr@doctor.or.th

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

วิธีล้างคอนแทคเลนส์ ก่อนตาติดเชื้อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


12 มิถุนายน 2558 07:28 น.(แก้ไขล่าสุด 12 มิถุนายน 2558 15:14 น.)
https://www.manager.co.th/QOL/viewnews.aspx?NewsID=9580000066359

โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

แม้ปัญหาตาบอดของคนไทยจะมีสาเหตุมาจาก โรคตาต้อกระจก เป็นอันดับ 1 ก็ตาม แต่การใส่คอนแทคเลนส์แบบผิดๆ และไม่ดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ให้ดีนั้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตาติดเชื้อ จนลุกลามจนถึงขั้นต้องสูญเสียดวงตาและการมองเห็นอย่างถาวรได้เช่นกัน

       คราวนี้มาดูกันว่า การใช้งานคอนแทคเลนส์แบบผิดๆ มีอะไรกันบ้าง

นพ.ธีรวีร์ หงส์หยก ประธานคณะอนุกรรมการข่าวสารสัมพันธ์เพื่อประชาชน ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้คนนิยมใส่คอนแทคเลนส์มากขึ้น เพื่อความคล่องตัวที่มากกว่าการสวมแว่น ส่วนวัยรุ่นนิยมใส่คอนแทคเลนส์เพื่อความสวยงาม หรือ แฟชั่น เช่น ใส่คอนแทคเลนส์สีเพื่อเปลี่ยนสีดวงตา การใส่บิ๊กอาย ซึ่งจริงๆ แล้วในสหรัฐอเมริกา ถือว่าการใส่คอนแทคเลนส์ตาโตเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เมืองไทยยังคงไม่สามารถควบคุมได้ จึงเห็นการขายกันเกลื่อนเมือง ซึ่งเลนส์ที่มีขนาดใหญ่ไม่พอดีกับกระจกตา ซึ่งคอนแทคเลนส์ปกติก็ทำให้ออกซิเจนเข้าไปถึงดวงตายากแล้ว ยิ่งคอนแทคเลนส์สี ซึ่งไม่ทราบว่าใช้สีอะไรมาทำ ก็ยิ่งไปป้องกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าถึงดวงตาเข้าไปอีก จึงทำให้ดวงตาอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

       นพ.ธีรวีร์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังพบการใช้คอนแทคเลนส์แบบผิดๆ ทั้งการซื้อคอนแทคเลนส์มือสอง หรือการยืมคอนแทคเลนส์สีของเพื่อนมาใส่ เพราะเห็นว่าสวยดี สิ่งเหล่านี้ไม่สมควรทำ เพราะปกติดวงตาเราจะมีเชื้อแบคทีเรียเกาะอยู่แล้ว แต่ไม่ได้เป็นอันตราย แต่เมื่อใส่คอนแทคเลนส์เชื้อเหล่านี้ก็จะไปเกาะอยู่ที่คอนแทคเลนส์ ทำให้เมื่อนำของมือสอง หรือของคนอื่นมาสวม อาจได้รับเชื้อติดผ่านทางตาได้ รวมไปถึงการใส่คอนแทคเลนส์แล้วนอนหลับ แม้จะมีการโฆษณาอออกมาว่าคอนแทคเลนส์ชนิดนี้ใส่นอนหลับได้ ก็ไม่ควรทำ เพราะเอื้อต่อการติดเชื้อมากขึ้น หรือแม้แต่การรักษาโรคทางตาบางอย่าง ที่ต้องใส่คอนแทคเลนส์นอน เช่น ใส่คอนแทคเลนส์นอนเพื่อปรับความโค้งของกระจกตา ตื่นเช้ามาถอดออก เพื่อปรับค่าสายตานั้น ก็ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้วยซ้ำ จึงไม่ใช่สิ่งที่สมควรทำ

       “บางรายติดเชื้อแล้วรักษาได้ก็ดีไป แต่บางคนติดเชื้อแล้วแม้จะรักษาได้ แต่กระจกตาขุ่นมัว ไม่ใสเหมือนเดิม ทำให้มีปัญหาการมองเห็นไปตลอดชีวิต หากจะรักษาก็ต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา แต่ดำเนินการได้ยาก เพราะประเทศไทยยังมีการบริจาคกระจกตาที่น้อยอยู่”

       สำหรับการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ นพ.ธีรวีร์ ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเก็บรักษาไม่ดี ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน

       “ถ้าจำเป็นต้องใช้คอนแทคเลนส์ต้องดูแลรักษาให้ดี ลดโอกาสการที่คอนแทคเลนส์จะสัมผัสกับน้ำ โดยเฉพาะการอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือแม้แต่แช่น้ำก็จำเป็นต้องถอดออก โดยการใช้คอนแทคเลนส์นั้น ก่อนจับจะต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาดหรือทิชชูที่ไม่เป็นขุย เมื่อใส่คอนแทคเลนส์แล้วมีอาการตาแห้ง แนะนำว่าควรใช้ยาหยอดตาก่อนใส่คอนแทคเลนส์ หรือระหว่างวันก็ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนแล้วค่อยหยอดตา แต่หากจะหยอดตาระหว่างใส่คอนแทคเลนส์ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องเลือกน้ำยาหยอดตาที่ระบุว่าผสมสารกันบูดแบบสลายได้ หรือไม่ใส่สารกันบูด เพราะจะมีความอ่อนโยนกว่า และป้องกันสารกันบูดไปเกาะกับเลนส์จนเกิดความผิดปกติของดวงตาได้ ทั้งนี้ ยาหยอดตาแบบไม่มีสารกันบูด อายุการใช้งานจะน้อยแค่ 1 วัน เหมาะกับคนที่ตาแห้งมากๆ ต้องหยอดบ่อยๆ”

       นพ.ธีรวีร์ กล่าวว่า ส่วนหลังถอดคอนแทคเลนส์นั้น ให้ล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ แต่ที่พบส่วนมากมักจะแช่ไว้เฉยๆ ในตลับ ซึ่งไม่ถูกต้อง จะต้องมีการถูและล้างระหว่างอุ้งมือและนิ้วมือด้วย จากนั้นจึงค่อยแช่ในน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ในตลับ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า จะฆ่าเชื้อโรคได้มากกว่า ที่สำคัญห้ามล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำเปล่า ส่วนตลับใส่คอนแทคเลนส์ควรใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ทำความสะอาดด้วย และคว่ำไว้ให้แห้ง ห้ามใช้น้ำเปล่าล้างเช่นกัน นอกจากนี้ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ต้องใช้ของใหม่เสมอ เพราะของเก่าจะมีเชื้อโรคปน ไม่ควรถ่ายใส่ภาชนะอื่นเพื่อพกพาไปข้างนอก เพราะอาจติดเชื้อจากภาชนะอื่นได้ ส่วนคนนานๆ ใส่คอนแทคเลนส์ที ไม่ควรแช่คอนแทคเลนส์นานๆ เพราะน้ำยาล้างจะเสื่อมประสิทธิภาพลง ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ต้องเปลี่ยนน้ำยาบ่อยๆ หรือใช้แบบรายวันจะดีกว่า

::::::::::::::::::::::::::::











Create Date : 03 ธันวาคม 2551
Last Update : 7 ตุลาคม 2560 13:19:29 น. 5 comments
Counter : 3742 Pageviews.  

 
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1242807321&grpid=04&catid=04


วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 15:10:57 น. มติชนออนไลน์

สธ.ประกาศคุมเข้มคอนแทคเลนส์-ป้องดวงตาผู้ใช้ได้รับอันตราย

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมว่า

มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 พฤษาภคม 2552 เพื่อควบคุมการผลิตและนำเข้า เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ให้เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต

และ มีคุณภาพมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในการใช้คอนแทคเลนส์สัมผัสทุกประเภทและ เพื่อเป็นการป้องกันการนำเลนส์ไปใช้ในทางที่ผิด



สาระสำคัญของประกาศมีดังนี้

1. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสจัดให้มีฉลากเลนส์สัมผัสที่ขาย หรือมีไว้เพื่อขาย แสดงข้อความไว้บนภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุอย่างชัดเจน เป็นข้อความภาษาไทย และจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยด้วยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยโดยอย่างน้อยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้



(1) ชื่อ ประเภท และชนิดของเลนส์สัมผัส


(2) ชื่อ และสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นผู้นำเข้าให้แสดงชื่อผู้ผลิต เมืองและประเทศผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์นั้นด้วย


(3) จำนวนเลนส์สัมผัสที่บรรจุ


(4) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต


(5) เดือน ปีที่หมดอายุ


(6) เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์


(7) ประโยชน์ วิธีการใช้ และวิธีการเก็บรักษา


(8) คำแนะนำ ต้องแสดงข้อความว่า “การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น” แสดงด้วยอักษรสีแดงที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดความสูงตัวอักษรไม่น้อยกว่า ๒ มิลลิเมตร


(9) ระยะเวลาในการใช้งาน สำหรับเลนส์สัมผัสที่มีกำหนดระยะเวลาการใช้งาน แสดงด้วยอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดความสูงตัวอักษรไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร


(10) คำเตือน ต้องแสดงข้อความอย่างน้อยว่า การใช้เลนส์สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธี มีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรได้


(11) ข้อห้ามใช้ ต้องแสดงข้อความอย่างน้อย ดังนี้

(ก) ห้ามใส่เลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด

(ข) ห้ามใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น

(ค) ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทำความสะอาดทุกวัน


(12) ข้อควรระวังในการใช้ ต้องแสดงข้อความอย่างน้อยดังนี้

(ก) ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ไม่ควรใช้เลนส์สัมผัส

(ข) ควรใช้น้ำยาล้างเลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน

(ค) ควรเปลี่ยนตลับใส่เลนส์สัมผัสทุกสามเดือน

(ง) ข้อความ “ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้”หรือ “ห้ามใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้” แล้วแต่กรณี ตามที่ผู้ผลิตกำหนด

(จ) ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์

(ฉ) หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสงตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้เลนส์สัมผัสทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว



2.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสต้องจัดให้มีเอกสารกำกับ เครื่องมือแพทย์ของเลนส์สัมผัส ที่ขายหรือมีไว้เพื่อขาย เป็นข้อความภาษาไทย และจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทย


3.ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัส จัดทำรายงานการขายเลนส์สัมผัสตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด


ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552



ปล. นำมาลงไว้ เผื่อมีคนสนใจ ...


โดย: หมอหมู วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:19:09:00 น.  

 

อย. คุม "บิ๊กอายส์" ต้องแพทย์สั่งให้ใช้ เร่งสุ่มตรวจหากพบผลิต-จำหน่าย โทษทั้งจำ-ปรับ

//www.thaihealth.or.th/node/6881

อย.จ่อ ประกาศคุมคอนแท็กต์เลนส์เป็นเครื่องมือแพทย์ เตรียมจัดทำร่างประกาศ เพิ่มความปลอด ภัยแก่ผู้บริโภคในการใช้ทุกประเภท โดยเฉพาะพวก "บิ๊กอายส์" ชี้อายไลเนอร์ผสมน้ำมันเครื่องอันตราย เสี่ยงเกิดมะเร็ง เร่งส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจทั่วประเทศ หากพบผสมสารต้องห้ามฟันทั้งผู้ผลิต-ผู้จำหน่าย ระบุโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท



เมื่อ วันที่ 8 ธ.ค. น.พ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขา ธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันมีกระแสแฟชั่นใส่คอนแท็กต์เลนส์ หรือเลนส์สัมผัส เพื่อความสวยงามที่ทำให้มองเห็นตา กลมโตตามแบบดาราเกาหลีหรือญี่ปุ่นได้ระบาดเข้ามาสู่วัยรุ่นไทยโดยเฉพาะใน หมู่วัยรุ่นหญิง



โดย เลนส์สัมผัสประเภทนี้เหมือนกับเลนส์สัมผัสแฟชั่นที่มีหลายสีให้เลือก แต่บริเวณตรงกลางมีลักษณะเป็นเลนส์ใสและบริเวณขอบเลนส์มีสีดำหรือสีเข้ม ต่างๆ ที่จะทำให้มองเห็นว่าผู้ใส่มีตาดำขยายใหญ่และกลมโตกว่าปกติ ซึ่งการใส่เลนส์สัมผัสอย่างไม่ถูกวิธีนั้นอาจมีการแพ้ ติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผล อาจทำให้ตาบอดได้



รอง เลขาธิการกล่าวว่า เลนส์สัมผัสที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับสายตา เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือสำหรับใช้แก้ไขความบกพร่องของร่างกาย จึงจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ 2551 ประเภทเครื่องมือแพทย์ทั่วไป



สำหรับ เลนส์สัมผัสเพื่อความสวยงาม หรือคอนแท็กต์เลนส์แฟชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีวัตถุประ สงค์ทางการแพทย์ต่อผู้ใส่ จึงไม่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์



อย่าง ไรก็ตาม อย.ได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และเห็นว่าการใช้เลนส์สัมผัสทุกประเภท ทั้งชนิดที่ใช้เพื่อปรับสายตาที่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ และชนิดเพื่อความสวยงามที่ไม่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์



หาก นำมาใช้อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้เช่นกัน จึงเห็นควรกำหนดให้มีการควบคุมเลนส์สัมผัสทุกประเภทเป็นเครื่องมือแพทย์ควบ คุมอย่างเข้มงวดขึ้น



"ขณะ นี้ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเลนส์สัมผัส เพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุมการผลิตหรือนำเข้าเลนส์สัมผัสทุกประเภทในระดับ ที่เข้มงวดขึ้น โดยผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตจาก อย.รวมทั้งต้องแสดงอายุการใช้ คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังในการใช้ไว้ในฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์และในการ โฆษณาต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยจะมีการเสนอร่างประกาศฉบับดังกล่าวให้คณะกรรม การเครื่องมือแพทย์พิจารณาในวันที่ 17 ธันวาคมศกนี้ และเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี เพื่อลงนาม ประกาศใช้ต่อไป" น.พ.พงศ์พันธ์กล่าว



รอง เลขาธิการกล่าวว่า สำหรับผู้ที่คิดจะใส่เลนส์ สัมผัสควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนว่าไม่มีข้อ ห้ามในการใช้ และเพื่อได้รับเลนส์ที่มีขนาดโค้งที่ถูกต้องเหมาะพอดีกับตาของผู้ใส่ ไม่ควรไปซื้อเองจากร้านค้าทั่วไป



ต้อง ใส่ใจในการทำความสะอาดเลนส์ ทั้งการล้าง แช่ เก็บ และก่อนสวมใส่ ทุกขั้นตอนต้องสะอาด เพราะถ้าเลนส์สกปรกมีเชื้อโรคทำให้ตาอักเสบได้ ไม่ควรใส่ขณะว่ายน้ำ ที่สำคัญต้องไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น



โดย เฉพาะเลนส์สัมผัสแฟชั่นยิ่งต้องระวัง เพราะในช่วงที่ยังไม่มีการกำกับดูแลร้านค้าอาจนำสินค้าที่ไม่มีคุณภาพมา จำหน่าย ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นตาบอดได้



น.พ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงน.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ระบุว่าอายไลเนอร์บางยี่ห้อที่วางขายตามตลาดนัด หรือรถเร่มีส่วนผสมของน้ำมันเครื่องว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่มีการตรวจพบว่าอายไลเนอร์ที่มีการวางจำหน่ายในพื้นที่บางแห่ง มีการผสมน้ำมันเครื่องจริงหรือไม่ อาจเป็นน้ำมันชนิดอื่นก็เป็นได้



แต่ หากอายไลเนอร์มีส่วนผสมของน้ำมันเครื่องจริง ก็จะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะผิวหนัง โดยในระยะสั้นอาจทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง แต่หากมีการใช้ในระยะยาวจะทำให้เกิดโรคผิวหนัง และอันตรายถึงขั้นเป็นมะเร็ง



เลขาธิการ อย.กล่าวอีกว่า อายไลเนอร์ไม่ได้เป็นเครื่องสำอางที่ต้องควบคุมพิเศษ ในการผลิตหรือนำเข้าจึงไม่จำเป็นต้องแจ้งต่อ อย. อย่างไรก็ตาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตนจะสั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกสุ่มเก็บตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ จากแหล่งจำหน่ายทั่วประเทศ ก่อนส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบว่ามีการผสมสารเคมีที่ห้ามใช้ใน เครื่องสำอางหรือไม่ คาดว่าจะรู้ผลภายใน 1 สัปดาห์



หาก พบผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใด มีการใช้สารต้องห้ามเป็นส่วนประกอบ จะดำเนินการอายัดผลิตภัณฑ์และทำลายทิ้งต่อไป ในขณะที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่าย จะมีความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ



"ใน ท้องตลาดมีเครื่องสำอางวางจำหน่ายกว่า 1 พันยี่ห้อ จึงอยากเตือนประชาชนควรเลือกใช้และซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อ ถือมีการระบุแหล่งผลิตที่แน่ชัดและเชื่อถือได้ อย่าซื้อเครื่องสำอางที่เป็นรถเร่ หรือสถานที่จำหน่ายที่เล็งเห็นแล้วว่าไม่น่าจะปลอดภัยต่อร่างกาย และต้องการวิงวอนผู้จำหน่ายให้คำนึงถึงความปลอดถัยของผู้บริโภค ไม่ควรนำเครื่องสำอางที่ไม่มีการระบุผู้ผลิตที่ชัดเจนมาขาย และหากใช้แล้วเกิดอันตรายขึ้นแก่ร่างกายก็ให้ร้องเรียนมาที่สายด่วน อย.1556 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ" น.พ.พิพัฒน์กล่าว



พนักงาน คนหนึ่งประจำร้านจำหน่ายแว่นตาในย่านสยามสแควร์ เปิดเผยว่า สินค้าที่เป็นคอนแท็กต์เลนส์ "บิ๊กอายส์" ทางร้านได้นำเข้ามาจำหน่าย 2-3 ปีแล้ว มีเพียงยี่ห้อเดียวคือ ARYAN จากประเทศเกาหลี เป็นคอนแท็กต์เลนส์ที่ใช้ประเภทรายเดือน โดยมีบรรจุภัณฑ์และคำแนะนำที่ได้รับมาตรฐาน ISO ของประเทศอเมริกา และผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข



ทุก ครั้งที่มีลูกค้าสนใจหรือซื้อไปใช้จะได้รับการแนะนำวิธีการใช้คอนแท็ก ต์เลนส์ ปกติจะจำหน่ายได้ประมาณ 10 กล่องต่อวัน โดยใน 1 กล่องจะมี 1 คู่ และเสาร์อาทิตย์จะจำหน่ายสูงสุดถึง 100 กล่อง โดยจำหน่ายกล่องละ 450 บาท ส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาซื้อไปใช้จะเป็นวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะเป็นวัยทำงาน ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ไม่เคยมีปัญหา



ด้าน ตัวแทนพนักงานขายร้านโชคดีการแว่น คอนแท็กต์เลนส์ ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน กล่าวว่า ภายหลังมีข่าวออกมาว่าการใส่บิ๊กอายส์ที่ไม่ได้มาตรฐานและเก็บรักษาไม่ถูก วิธีอาจส่งผลทำให้ตาบอดภายใน 2 วันนั้น



ขณะ นี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายบิ๊กอายส์ของทางร้านแต่อย่างใด โดยยังคงมีกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนนักศึกษาเข้ามาถามหาซื้อบิ๊กอายส์ไปใส่ โดยปกติทางร้านจะขายบิ๊กอายส์เฉลี่ยวันละ 2-3 คู่



ขณะ ที่พนักงานของร้านโกลเด้น ออพติด ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดขายบิ๊กอายส์ยังไม่มีผลกระทบกับข่าวที่ออกมา สำหรับปัญหาเกี่ยวกับคอนแท็กต์เลนส์ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นคอนแท็กต์เลนส์ที่ เป็นแฟชั่น ที่ผู้ใช้มักจะใช้คอนแท็กต์เลนส์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ รวมทั้งขาดการดูแลที่ถูกวิธี จึงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาภายหลัง



โดย ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ส่วนกลุ่มคนในวัยทำงานที่ผ่านมาไม่เคยพบปัญหาแต่อย่างใด โดยปกติทางร้านจะขายบิ๊กอายส์วันละประมาณ 5-6 คู่ ซึ่งเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทางนายณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม หรือนัท เอเอฟ 5 ยังเดินทางมาซื้อบิ๊กอายส์ของทางร้านไปใช้



ส่วน พนักงานของร้านหอแว่น ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน กล่าวว่า สำหรับยอดขายบิ๊กอายส์ของทางร้านเมื่อมีข่าวออกมานั้นยังไม่มีผลกระทบตามมา โดยยังมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงเดินทางมาหาซื้อบิ๊กอายส์ตามปกติ ซึ่งทางร้านจะขายบิ๊กอายส์เฉลี่ยวันละประมาณ 3-4 คู่



โดย บิ๊กอายส์เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการของกลุ่มวัยรุ่นในช่วง เดือนก.ย.ที่ผ่านมา ภายหลังกระแสนักร้องญี่ปุ่นและเกาหลีเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย สำหรับปัญหาของบิ๊กอายส์ที่เกิดขึ้นมักเกิดจากกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการตาม กระแสแฟชั่นและไม่มีเงินในการซื้อบิ๊กอายส์ที่ได้มาตรฐานมาใส่ จึงหันไปซื้อบิ๊กอายส์ที่ไม่ได้มาตรฐานตามแหล่งศูนย์รวมวัยรุ่นต่างๆ อาทิ สยามสแควร์ ห้องสรรพสินค้ามาบุญครองและประตูน้ำ



โดย ส่วนใหญ่วัยรุ่นขณะนี้มักจะนิยมถามหาซื้อบิ๊กอายส์ที่มีขนาดความกว้างของ เลนส์ 18 ม.ม. ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน สำหรับบิ๊กอายส์ที่ได้มาตรฐานจะมีความกว้างของเลนส์เพียง 14.5 ม.ม.เท่านั้น



สำหรับ พนักงานของร้านเอ แอนด์ พี ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน เปิดเผยว่า ภายหลังมีข่าวการใส่บิ๊กอายส์ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ถูกวิธีอาจทำให้ตาบอด ได้นั้น ขณะนี้ยังไม่มีผลต่อยอดขายบิ๊กอายส์ โดยยังคงมีวัยรุ่นที่ส่วนใหญ่เป็นนัก เรียน นักศึกษาหญิงเดินทางมาหาซื้อบิ๊กอายส์ตามปกติ โดยทางร้านจะขายบิ๊กอายส์อยู่วันละประมาณ 2-3 คู่



ขณะ ที่พนักงานของร้านแว่นบิวตี้ฟูล สาขาประชานิเวศน์ 1 เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดขายบิ๊กอายส์ของทางร้านยังไม่ได้รับผลกระทบจากข่าวที่ออกมาแต่ อย่างใด โดยยังมีกลุ่มวัยรุ่นที่ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาหญิงมาหาซื้อบิ๊กอายส์ไปใส่ ซึ่งปกติทางร้านจะขายบิ๊กอายส์อยู่ประมาณวันละ 2-3 คู่



ส่วน พนักงานของร้านแว่นท็อปเจริญ สาขาประ ชานิเวศน์ 1 กล่าวว่า ภายหลังมีข่าวเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใส่บิ๊กอายส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายของทางร้าน โดยยังมีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาเดินทางมาหาซื้อบิ๊กอายส์ไปใส่ตามปกติ



ส่วน ใหญ่กลุ่มวัยรุ่นจะมาถามซื้อบิ๊กอายส์ที่มีสีดำ ส่วนบิ๊กอายส์ที่มีสีต่างๆ ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยทางร้านจะขายบิ๊กอายส์อยู่ประมาณวันละ 2-3 คู่



ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด



โดย: หมอหมู วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:19:17:24 น.  

 
แถม ..

สวยด้วย..คอนแทคเลนส์จริงหรือ .... ศ.พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ จักษุแพทย์

//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=672


คอนแทคเลนส์

//www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-20-19/802-2009-01-21-08-07-07


ใส่ ‘คอนแทกต์เลนต์’ สกปรก เสี่ยงตาบอด!

//www.thaihealth.or.th/node/8648



“คอนแทคเลนส์” ภัยเงียบทำร้ายดวงตา

//www.thaihealth.or.th/node/13766



เคล็ดลับ เลือกน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์

//www.thaihealth.or.th/node/13628




นำมาลงด้วย ... ประเด็นก็คล้ายคลึงกัน ... เอาชีวิต สุขภาพ ไปเสี่ยง ..เพื่อความสวย เพื่อให้คนอื่นชม ...


ทำไม ต้อง " ขาว " .. ทำไม ต้อง " เอาชีวิต สุขภาพ ของเรา " เพื่อให้คนอื่นเขาดู ???

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8849756/L8849756.html

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-02-2010&group=7&gblog=49



โดย: หมอหมู วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:19:21:56 น.  

 



อย. มอบคาถา 3 ข้อ ใช้คอนแทคเลนส์ “บิ๊กอาย”อย่างปลอดภัย

อย.เตือน!! ก่อนใช้คอนแทคเลนส์ควรปรึกษาจักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงศึกษาวิธีการใช้ คำเตือน วิธีการเก็บรักษา ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง

ที่สำคัญเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว โดยสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย. บนฉลากกล่อง และควรสังเกตเดือน ปีที่หมดอายุ ไม่ควรซื้อจากร้านค้า แผงลอยตามตลาด หรือศูนย์การค้า เพราะอาจเสี่ยงกับคอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงหากใช้ไม่ถูกวิธี อาจถึงขั้นตาบอดได้ จึงขอมอบคาถา 3 ข้อ คือ

1. ใช้คอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.

2.ใช้อย่างถูกวิธี

3. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ


นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า คอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสที่มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตาหรือเพื่อความสวยงาม จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องได้รับอนุญาตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เลนส์สัมผัส

ดังนั้นคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัส บนฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์นั้นจะต้องระบุ ชื่อสินค้า วัสดุที่ใช้ทำ
ค่าพารามิเตอร์ (กำลังหักเห ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง รัศมีความโค้ง) เลขที่ใบอนุญาต ระยะเวลาการใช้งาน วิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา คำเตือนโดยแสดงข้อความว่า

“การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้ และตรวจติดตามทุกปี โดยจักษุแพทย์หรือผู้ประกอบโรคศิลปโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น”

“การใช้คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธีมีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นเสียสายตาอย่างถาวรได้”

ข้อห้ามใช้โดยแสดงข้อความว่า

“ห้ามใส่คอนแทคเลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด”

“ห้ามใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น”

“ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทำความสะอาดทุกวัน”

รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้

ทั้งนี้ ผู้ขายต้องขายเฉพาะคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสที่ได้รับอนุญาตจาก อย. และต้องดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ตามที่ได้รับอนุญาตไว้ รวมถึงการโฆษณาคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสใดๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.ก่อน


รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ก่อนตัดสินใจใช้คอนแทคเลนส์ควรปรึกษาจักษุแพทย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงศึกษาวิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา ระยะเวลาการใช้งาน คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง

ที่สำคัญ เลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว โดยสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย. บนฉลากกล่อง และควรสังเกตเดือน ปี ที่หมดอายุ ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์จากร้านค้า แผงลอยตามตลาด หรือศูนย์การค้า เพราะอาจได้รับอันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และก่อนการใช้ควรอ่านฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ให้เข้าใจเสียก่อน เพราะหากใช้ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดการแพ้ ติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผล จนถึงขั้นตาบอดได้

ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ใช้คอนแทคเลนส์ คือ การรักษาความสะอาดอย่างไม่ถูกต้อง ทั้งการล้าง แช่ และเก็บรักษา ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียอันตรายถึง
ขั้นทำให้ตาบอดได้เช่นกัน

ดังนั้น เพื่อการใช้คอนแทคเลนส์อย่างปลอดภัย อย.จึงขอมอบคาถา 3 ข้อ คือ

1. ใช้คอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
2. ใช้อย่างถูกวิธี
3. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ



กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 16 กุมภาพันธ์ 2555 ข่าวแจก 47 / ปีงบประมาณ 2555

//elib.fda.moph.go.th/fulltext2/word/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/42193/42193.pdf


โดย: หมอหมู วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:23:15 น.  

 
"บิ๊กอายส์" ทำพิษ! สาว 18 ซื้อใส่เองจนติดเชื้อเกือบตาบอด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2555 18:26 น.

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000083641

อุทาหรณ์สาววัย 18 ปี ซื้อ “บิ๊กอายส์” ใส่เอง 1 วัน แต่เกิดอาการเคืองตาและไปขยี้ตา จนกระจกตาดำเป็นแผล ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย “ซูโดโมแนส ออรูจิโนซ่า” กัดกินจนกระจกตาดำเกือบทะลุ หวิดตาบอด โชคดีพบแพทย์ทัน จักษุแพทย์เตือนภัยสาวอยากสวย ใส่ “คอนแทคเลนส์ - บิ๊กอายส์” ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

วันนี้ (8 ก.ค.) นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นหญิงยังนิยมใส่คอนแทคเลนส์ตาโต (บิ๊กอายส์) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ไม่ใช่เลนส์สายตา แต่เป็นเลนส์เพื่อความสวยงาม เปลี่ยนสีตา ขยายขนาดของตาดำ เพราะต้องการเลียนแบบดารา นักร้อง นางแบบ อยากสวยอยากงาม ทั้งๆที่การใช้บิ๊กอายส์ หรือแม้กระทั่งคอนแทคเลนส์ที่เป็นเลนส์สายตา ย่อมเสี่ยงอันตรายทั้งสิ้น เพราะคอนแทคเลนส์เป็นสิ่งแปลกปลอม ซึ่งต้องสัมผัสกับกระจกตาโดยตรงเป็นระยะเวลานาน หากคอนแทคเลนส์สกปรก จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระจกตาและอาจลุกลามถึงขั้นตาบอดได้ภายใน 2 วัน ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ป่วยจากการใส่คอนแทคเลนส์และบิ๊กอายส์ มารักษาที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวต่อไปว่า เคสผู้ป่วยรายล่าสุดที่พบเป็นหญิงอายุ 18 ปี ไปซื้อบิ๊กอายส์จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านบางลำภู โดยนำมาใส่เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 5 ก.ค. แต่เมื่อใส่ไปแล้วพบว่า ตาขวามีอาการแสบ ระคายเคือง และน้ำตาไหลต่อเนื่อง จึงได้ขยี้ตาและถอดบิ๊กอายส์ออก ต่อมาช่วงเย็นได้มีอาการตาบวม จึงเข้ามาพบแพทย์ที่รพ.พระนั่งเกล้า ซึ่งจากการตรวจทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกระจกตาดำข้างขวา โดยเชื้อแบคทีเรียได้กัดกินบริเวณกระจกตาดำมีแนวยาว 5 มิลลิเมตร และลึกลงไปประมาณ 1 มิลลิเมตรจนเกือบทะลุกระจกตาดำ ซึ่งโชคดีมากที่มารักษาทัน เพราะหากมาช้า 1 วันตาบอดแน่นอน ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่พบนั้นมีชื่อว่า "ซูโดโมแนส ออรูจิโนซ่า (Pseudomonas aeruginosa)" ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ตามสภาพแวดล้อมทั่วไป หากมีบาดแผลแล้วเกิดติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจะมีอันตรายมาก อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยรายนี้โชคดีที่มาพบแพทย์ได้ทันทำให้ตาไม่บอด แต่เมื่อทำการรักษาจนหายแล้วจะเกิดแผลเป็นที่ตาดำ ส่งผลให้เวลามองแล้วจะไม่ชัดเหมือนคนปกติ

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวอีกว่า คอนแทคเลนส์ตามมาตรฐานทางการแพทย์ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 13.5 - 14.5 มิลลิเมตร ส่วนบิ๊กอายส์จะมีขนาดตั้งแต่ 15 - 19 มิลลิเมตร ซึ่งใส่แล้วจะทำให้ดวงตาเกิดอาการคับ แน่น และและไม่สบายตา จนต้องขยี้ตาบ่อยๆ ส่งผลให้เกิดแผลถลอกที่กระจกตาดำ และเชื้อโรคอาจเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบเป็นแผลที่กระจกตาดำทำให้เกิดตาบอดได้

ส่วนการใส่บิ๊กอายส์เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการเยื่อบุตาขาวอักเสบ เนื่องจากอาการแพ้เรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เยื่อบุตาขาวแห้งและกระจกตาอักเสบ กลายเป็นโรคตาแห้ง (เยื่อบุตาขาวแห้งถาวร) โดยจะมีอาการตาผ่าวร้อน แพ้แสง ทำให้เกิดความรำคาญแก่ดวงตาไปตลอดชีวิต

ขอเตือนว่าการใช้คอนแทคเลนส์ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ควรศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งต้องดูแลรักษาอย่างเคร่งครัด ต้องเก็บรักษาในน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ และปิดฝาให้สนิท เปลี่ยนน้ำยาแช่เลนส์ทุกครั้งที่ใช้ ไม่ใช้น้ำยาแช่เลนส์ซ้ำๆ ห้ามล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำประปา เนื่องจากสารคลอรีนอาจทำให้เลนส์เสื่อมสภาพ และต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์ทุกครั้ง

ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ได้รับแจ้งมาจากนพ.ฐาปนวงศ์ จึงส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบจุดที่ผู้ป่วยระบุว่าไปซื้อบิ๊กอายส์มา พบว่าเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อสอบถามกลับไปยังผู้ป่วยพบว่าไปซื้อบิ๊กอายส์มาตั้งแต่ยังไม่มีการเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน และซื้อเก็บไว้นานแล้วจึงนำมาใส่ และสงสัยว่าผู้ป่วยทนใส่บิ๊กอายส์ไปได้อย่างไร เพราะการใส่บิ๊กอายส์ หรือคอนแทคเลนส์ หากเกิดการระคายเคืองดวงตาให้รีบพบแพทย์ทันที และโดยปกติแล้วการใส่บิ๊กอายส์ หรือคอนแทคเลนส์ จะต้องมีการปรึกษาแพทย์ก่อน ขณะเดียวกันในปัจจุบันมีบิ๊กอายส์ที่ได้รับอนุญาตจากทางอย. เพียง 2-3 ยี่ห้อเท่านั้น ซึ่งประชาชนสามารถโทรมาสอบถามได้ที่เบอร์สายด่วน อย.โทร.1556




โดย: หมอหมู วันที่: 9 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:59:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]