Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

การจัดการกับความเครียด จากวิกฤตการณ์น้ำท่วม .... โดย DrCarebear Samitivej



นำมาจากของคุณหมอ ในเฟสบุ๊ก นะครับ .. ถ้าใครสนใจอ่านฉบับเต็ม มีรูปภาพประกอบสวยงาม ก็แวะไปได้ที่

//www.facebook.com/note.php?note_id=160036807362725&id=153027324709017&ref=share




การจัดการกับความเครียด จากวิกฤตการณ์น้ำท่วม

โดย DrCarebear Samitivej ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2010 เวลา 22:06 น.




การตอบสนองทางอารมณ์จากภัยน้ำท่วม


ไม่ว่าใครที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพายุ หรือภัยน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้น อาจจะทำให้มีความเครียดขึ้นมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นทรัพย์สินเสียหาย การเจ็บป่วย การเสียคนในครอบครัว ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นนี้อาจมีผลต่อสุขภาพของเราได้ หากเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธี

การจัดการกับความเครียด โดยทันทีจะสามารถลดปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาในระยะยาวได้ การจัดการกับความเครียดได้ดีจะทำให้เราได้พบกับความท้าทายในการที่จะฟื้นฟู ภายหลังอุทกภัย และสร้างความเชื่อมันในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินกลับมาได้

อย่าลืมว่า คุณไม่ได้โดดเดี่ยว ยังมีกำลังใจและคนที่พร้อมจะส่งความช่วยเหลือไปให้คุณอยู่ตลอด อย่าเพิกเฉยต่อความเครียดที่เกิดขึ้น และสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสมอ





การตอบสนองที่พบได้เป็นปกติในเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ

ขั้นแรกในการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นผลตามมาจากภัยธรรมชาติ คือการรู้จักว่า การตอบสนองแบบไหน ระดับไหน ที่เกิดขึ้นได้ในคนทั่วไปเมื่อมีสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ความวิตกกังวลเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ถ้ามันมากเกินไปอาจบอกถึงความผิดปกติที่ควรจัดการแก้ไขเช่นกัน

ความเครียดที่เกิดจากภัยธรรมชาติในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ความเครียดที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดเพียงชั่วคราว และหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป การย้ำคิดถึงเหตุการณ์อุทกภัยหรือพายุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว อาจจะเกิดขึ้นได้ ในหลาย ๆ คน ความคิดเหล่านี้ถ้ามีมากเกินไปหรือนานเกินไป บ่งถึงว่าคุณควรจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับความช่วยเหลือ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องระลึกไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว หรือไม่ได้เป็นแบบนี้คนเดียว การพูดคุยแบ่งปันวิธีการจัดการกับความคิด และอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น ๆ จะสามารถช่วยคุณได้ หรือคุณอาจจะปรึกษานักจิตวิทยา หรือแพทย์ เพื่อช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้



มีปฏิกิริยาหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้น แต่ทุกอย่างก็สามารถจัดการได้

สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แบบต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ แต่ละคนจะมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่ในคนคนหนึ่ง อาจจะมีอารมณ์ความรู้สึกหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นในหนึ่งวัน

การตอบสนองต่อเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จะเป็นตัวที่พอจะบอกได้ว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้ คนๆ นั้นจะมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์อย่างไร และการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นก็คือ การดูว่าความเครียดที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้รับการแก้ไขจัดการด้วยวิธีได้ แต่แน่นอนว่าคุณควรจะเลือกวิธีการที่สร้างสรรในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น



วิธีจัดการกับความเครียด เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วม

เตรียมพร้อมรับมืออารมณ์ที่จะเกิดขึ้น

เมื่ออยู่ในภาวะอุทกภัย ที่ทำให้บ้านเรื่อน ทรัพย์สินเสียหายอย่างที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน แต่ละคนก็อาจจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน แต่ละคนก็จะมีวิธีการแสดงออกที่แตกต่างกัน การแสดงออกทางอารมณ์ที่อาจจะพบได้ ได้แก่

* มีอาการฝันร้ายหรือฝันซ้ำ ๆ เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม

* ไม่สามารถมีสมาธิหรือจดจำสิ่งต่าง ๆ

* รู้สึกเฉยชา เบื่อ เหนื่อย แยกตัวออกจากสังคมหรือคนรอบข้าง

* มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ แสดงออกอย่างรุนแรง

* มีอาการไม่สบายทางกาย เช่น ปวดหัว อาหารไม่ย่อย ปวดเมื่อยตามตัว

* มีลักษณะที่แสดงออกถึงการระวังความปลอดภัยของคนในครอบครัวอย่าเกินเลย
* หลีกเลี่ยงที่จะจดจำเรื่องน้ำท่วม

* ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ



เทคนิคในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น


คำแนะนำต่อไปนี้อาจจะสามารถช่วยจัดการกับความเครียดที่สืบเนื่องมาจากอุทกภัยได้

* จำกัดการได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับอุทกภัย หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ แต่พอควร

* รับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้

* เรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย

* พยายามกลับไปใช้ชีวิตปกติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก

* ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ

* หากิจกรรมทำเพื่อไม่ปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป

* พยายามติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครอบครัว หรือผู้ทีคอยให้ความช่วยเหลือ

* อาศัยหลักศาสนาเข้ามาช่วย

* พยายามสร้างอารมณ์ขันอยู่เรื่อย ๆ

* แสดงความคิดของตัวเองออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางการพูดคุย การเขียน หรือการวาดรูป

* พูดคุยและแบ่งปันความรู้สึกของตัวเองกับคนอื่น ๆ



หมอหมีขอให้ทุกท่านที่ต้องประสบกับเหตุการณ์ครั้งนี้สามารถผ่านพ้นเหตุการณ์ไปได้ด้วยดีนะครับ





We Care



Dr. Carebear Samitivej













Create Date : 25 ตุลาคม 2553
Last Update : 25 ตุลาคม 2553 20:20:47 น. 4 comments
Counter : 2663 Pageviews.  

 

//www.thaihealth.or.th/node/17814


'เครียด'จากน้ำท่วม


จาก สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ นอกจากโรคทางกายแล้ว ผู้ประสบภัยจำนวนมากต่างเกิดความเครียด ซึ่งทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดหน่วยสุขภาพจิตเคลื่อนที่ ออกไปให้บริการคลายเครียดแก่ผู้ประสบภัยตามนโยบายของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข

นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าความเครียดเป็นกลไกทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปเมื่อเผชิญกับ สถานการณ์ฉุกเฉิน จากการออกหน่วยสุขภาพจิตเคลื่อนที่ไปให้บริการผู้ประสบภัย พบว่า บางคนนอนไม่หลับ ปวดศีรษะหงุดหงิด ใจสั่น แน่นหน้าอก ไม่มีสมาธิ โมโหง่าย หลง ๆลืม ๆ ปวดท้อง หรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะอาหาร

วิธีประเมินความเครียดอ่านหัวข้อข้างล่างนี้ แล้วสำรวจดูว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ในข้อใด จาก 20 ข้อคำถามที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เกิดขึ้นกับตัวคุณบ้าง ถ้าข้อไหนไม่ได้เกิดขึ้นให้ข้ามไปไม่ต้องตอบ แต่ถ้ามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับตัวคุณให้ประเมินว่าคุณมีความรู้สึก อย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นและให้คะแนน (ตั้งแต่ 1-5 คะแนน) เป็นข้อ ๆ ไป

1. กลัวทำงานผิดพลาด
2. ไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. ครอบครัวมีความขัดแย้งเรื่องเงินหรือเรื่องงานในบ้าน
4. เป็นกังวลเรื่องสารพิษ หรือมลพิษในอากาศ น้ำ เสียง และดิน
5. รู้สึกว่าต้องแข่งขันหรือเปรียบเทียบ
6. เงินไม่พอใช้จ่าย
7. กล้ามเนื้อตึงหรือปวด
8. ปวดหัวจากความตึงเครียด
9. ปวดหลัง
10. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง
11. ปวดศีรษะข้างเดียว
12. รู้สึกวิตกกังวล
13. รู้สึกคับข้องใจ
14. รู้สึกโกรธ หงุดหงิด
15. รู้สึกเศร้า
16. ความจำไม่ดี
17. รู้สึกสับสน
18. ตั้งสมาธิลำบาก
19. รู้สึกเหนื่อยง่าย
20. เป็นหวัดบ่อย ๆ

การให้คะแนน1 คะแนน หมายถึง ไม่รู้สึกเครียด2 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดเล็กน้อย 3 คะแนน หมายถึงรู้สึกเครียดปานกลาง 4 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดมาก 5 คะแนน หมายถึง รู้สึกเครียดมากที่สุด

การแปลผลคะแนนรวมไม่เกิน 100 คะแนน โดยผลรวมที่ได้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ คะแนน 0-24 เครียดน้อย คะแนน 25-41 เครียดปานกลาง คะแนน 42-62 เครียดสูง คะแนน 63 ขึ้นไป เครียดรุนแรง



การประเมิน มี 4 ระดับ คือ

1. ความเครียดในระดับต่ำ

หมายถึงความเครียดขนาดน้อย ๆ และหายไปในระยะเวลาอันสั้นเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติ เป็นการปรับตัวด้วยความเคยชินและการปรับตัวต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเป็น ภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย


2. ความเครียดในระดับปานกลาง

หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสังคม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาในลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ

ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่ว ๆ ไปไม่รุนแรง จนก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น


3. ความเครียดในระดับสูง

เป็นระดับที่บุคคลได้รับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูง ไม่สามารถปรับตัวให้ลดความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้น

ถือว่าอยู่ในเขตอันตราย หากไม่ได้รับการบรรเทาจะนำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง เกิดโรคต่าง ๆ ในภายหลังได้


4. ความเครียดในระดับรุนแรง

เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บุคคลมีความล้มเหลวในการปรับตัวจนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรงควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคภัยต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย

นพ.อภิชัย กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตจะเน้นดูคนที่มีความเครียดในระดับสูง ไปจนถึงในระดับรุนแรง คือ ตั้งแต่ 42 คะแนนขึ้นไป เพราะอาจเกิดปัญหาตามมาได้ โดยจะให้คำปรึกษาให้ยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล แล้วแต่กรณี

แม้ว่าความเครียดจะไม่เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ผู้ป่วยที่มีความเครียด หากไม่รีบรักษาอาจส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอาทิ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด โรคปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการวิตกกังวลมากเกินปกติ เช่น บางคนมีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่นตื่นเต้น ตกใจง่าย เหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก แน่นท้อง ชาตามตัว

การรักษาความเครียดแบบผิด ๆ เช่น เลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ด้วยความเชื่อที่ว่าช่วยผ่อนคลายจิตใจ

ชั่ววูบหนึ่ง แต่หารู้ไม่ว่าเพียงแค่คุณได้สัมผัสกับแอลกอฮอล์และควันบุหรี่ เท่ากับว่า ได้เปิดประตูต้อนรับโรคร้ายอย่างมะเร็งเข้ามาสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว เพราะร่างกายคนเราเมื่อมีความเครียด สมองจะหลั่งสารคอร์ติซอลซึ่งจะทำให้เกิดความเครียดขึ้นมา เมื่อเครียดสะสมนาน ก็สะสมฮอร์โมนคอร์ติซอล ทำให้เซลล์ภูมิคุ้นกันอ่อนแอลง ทำให้เซลล์มะเร็งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น



คำแนะนำสำหรับผู้มีความเครียดระดับสูง และรุนแรง

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง และหากจำเป็นควรได้รับยาจากแพทย์เพื่อลดความเครียด

2. การพูดคุยกับคนที่ใกล้ชิดหรือไว้ใจ เป็นการระบาย

3. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสารสุขเอนดอร์ฟิน ลดสารเครียดคอร์ติซอล โดยทำอย่างน้อยวันเว้นวัน วันละ 30 นาที สำหรับการออกกำลังกายในภาวะน้ำท่วมเช่น การบริหารร่างกายอยู่กับที่ เต้นอยู่กับที่ วิ่งเหยาะ ๆ อยู่ในบ้าน

4. เลือกกิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลง ทำสมาธิ

5. ฝึกการหายใจคลายเครียด ในคนปกติหายใจเข้าท้องจะป่อง หายใจออกท้องจะแฟบ แต่คนเครียดจะตรงกันข้าม ดังนั้นควรฝึกโดยหายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 หายใจเข้านับ 3 หายใจออกนับ 4 หายใจเข้านับ 5 จากนั้นเริ่มนับหนึ่งใหม่จนถึง 6, 7, 8, 9, 10 ตามลำดับ

6. ฝึก มองโลกเชิงบวก เพราะถ้าสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอจะทำให้เกิดเป็นนิสัยได้ การมองโลกเชิงบวกจะทำให้คนเรามองเห็นทางออกในทุกปัญหา ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความหวัง ในทางตรงข้าม การมองโลกในทางลบจะมองเห็นปัญหาในทุกทางออก

7. การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชนเพื่อเป็นแหล่งช่วยเหลือซึ่งกันและกันในภาวะวิกฤติ

8. ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อการรักษา เพราะความเครียดขั้นรุนแรงนำไปสู่โรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายได้


นพ.อภิชัย กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมส่วนหนึ่งมีภาวะซึมเศร้านั้น บางรายก็เป็นผู้ป่วยเดิมที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว แต่พอประสบภัย อดนอน อาการกำเริบขึ้นมาอีก

แต่บางรายมีความเครียดสูงติดต่อกันนาน ๆ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ โดยจะใช้คำถามคัดกรอง คือ

1. รู้สึกจิตใจหม่นหมองหรือไม่ (เกือบตลอดทั้งวัน)

2. รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก

3. รู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุก กับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ

4. คิดอะไรได้ช้ากว่าปกติ

5. รู้สึกอ่อนเพลียง่ายเหมือนไม่มีแรง

6. นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่สนิท


ถ้าตอบว่า "มี"ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป หมายถึง มีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

โดย : นวพรรษ บุญชาญ


Update:01-10-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่


โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:35:07 น.  

 


โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม ... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=86

โรคน้ำกัดเท้า .......... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=87

การจัดการกับความเครียด จากวิกฤตการณ์น้ำท่วม .... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=88


คู่มือ คำแนะนำการป้องกันโรคที่มากับภัยน้ำท่วม
โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2553

//pher.dpc7.net/sites/default/files/Prevention%20of%20diseases%20caused%20by%20flooding.pdf


โดย: หมอหมู วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:16:22:05 น.  

 
สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน //www.PREclub.org

PERSON RESPONSIBLE FOR ENERGY CLUB
Tel. 0 2245 2099 Fax. 0 2247 2363

เลขที่ 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

E-mail : PREclub_2001@yahoo.com




เรื่อง แผนที่บริเวณและถนนที่โดนน้ำท่วม

เรียน สมาชิกสมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และผู้ที่สนใจ



สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (PREclub) ขอส่งรายงานข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วม มาให้สมาชิกเพื่อทราบ ดังนี้


1. แผนที่แสดงบริเวณพื้นที่ ที่โดนน้ำท่วม จากภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ของรัฐบาล

//203.150.230.27/FloodMap/index.html#


2. แผนที่แสดงตำบลที่โดยน้ำท่วม

//flood.gistda.or.th/


3. แผนที่ถนนที่โดนน้ำท่วม จาก กรมทางหลวง

//maps.google.com/maps/ms?client=aff-maxthon&hl=th&ie=UTF8&msa=0&msid=112427897685537138543.00049357e9b3187d82e12&ll=11.137293,100.905304&spn=10.43801,4.207077&source=embed


4. แผนที่ถนนที่โดนน้ำท่วม จาก กรมทางหลวงชนบท

//fms2.drr.go.th/


5. ตรวจสถานะถนนในกรุงเทพ ณ เวลาปัจจุบัน ว่าถนนใดมีน้ำท่วมหรือไม่

//dds.bangkok.go.th/Floodmon/


6. ตรวจสภาพการจราจรถนนในกรุงเทพ ณ เวลาปัจจุบัน ว่าถนนใดรถติด ไม่ติด

//traffic.longdo.com/


จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ



ขอแสดงความนับถือ



กิตติ สุขุตมตันติ

เลขานุการ สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (PREclub)
_/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/
สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน PREclub

Person Responsible for Energy Club Association

539/2 Gypsum Metropolitan Tower (22nd FL.;Tower A),

Thanon Si Ayutthaya, Ratchathewi, Bangkok, 10400 Thailand

Tel. 0 2247 2340, 0 2247 2339 Ext 101

Fax. +66 2247 2363

_/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/
เกี่ยวกับ PREclub : สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน เป็น สมาคมวิชาการ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมความรู้

ด้านพลังงานให้กับสมาชิก ทั้งเจ้าของอาคาร เจ้าของโรงงาน ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน โดยมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 9,500 ราย


โดย: หมอหมู วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:14:02:34 น.  

 

โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม ... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=86

โรคน้ำกัดเท้า .......... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=87

การจัดการกับความเครียด จากวิกฤตการณ์น้ำท่วม .... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=88


คู่มือ คำแนะนำการป้องกันโรคที่มากับภัยน้ำท่วม
โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2553

//pher.dpc7.net/sites/default/files/Prevention%20of%20diseases%20caused%20by%20flooding.pdf


แผนที่บริเวณและถนนที่โดนน้ำท่วม ... จาก สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน PREclub

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-10-2011&group=15&gblog=41


ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318332863&grpid=01&catid=&subcatid=




บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318318371&grpid=01&catid=&subcatid=



เนรมิตเสื้อชูชีพด้วยของใกล้ตัว
//www.thairath.co.th/content/life/207474


โดย: หมอหมู วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:14:41:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]