Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคซึมเศร้า .. (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)






เครดิตภาพ //med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017




โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามีอุบัติการณ์เป็นอย่างไร?
    โรคทางอารมณ์ซึ่งรวมถึงโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder : MDD) ด้วย สามารถพบได้บ่อยถึง 10-20% ของประชากรทั่วโลก หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นโรคหัวใจ โรคเครียด โรคคิดมาก ครอบครัวหรือสังคมอาจมองว่าผู้ป่วยหนีปัญหาด้วยการร้องไห้เสียใจ องค์ การอนามัยโลก (WHO) มีการประมาณการณ์ว่าในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการสุญเสียมากที่สุดในทางเศรษฐกิจสังคม เพราะโรคนี้มักเป็นตั้งแต่วัยทำงานและเป็นเรื้อรัง ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาสภาวะพึ่งพิงคนอื่นๆในครอบครัว
    โรคซึมเศร้า สามารถพบได้ในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกเศรษฐสถานะ พบในผู้หญิงมาก กว่าผู้ชาย (ญ:ช = 2:1) โรคนี้ไม่ได้ทำอันตรายต่อร่างกายจนทำให้เสียชีวิต แต่ความคิดที่ผิด ปกติจากโรคซึมเศร้า สามารถทำให้ผู้ป่วยมีมุมมองต่อตัวเองและคนอื่นผิดไป จนทำร้ายตนเองได้ ดังนั้นจึงเป็นความสูญเสียที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการของโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ หมดความสนุก หรือหมดอาลัยตายอยาก ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยมีอาการด้านต่างๆ ดังนี้
- อาการทางกาย (Neurovegetative or Somatic Symptoms) เช่น ซึมเศร้า ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆลดลงอย่างมาก เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% ใน 1 เดือน นอนไม่หลับ หรือ นอนมากกว่าปกติ
ปวดหัว/ปวดศีรษะ ปวดท้อง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- อาการทางบุคลิกภาพ เช่น มีอาการพูดช้า พูดเสียงเบา คิดช้า เคลื่อนไหวช้า แยกตัว บางรายมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นั่งไม่ติด ต้องเดินไปมา
- อาการทางความคิด ผู้ป่วยซึมเศร้ามักมีความคิดมองโลกแง่ร้าย รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือ รู้สึกผิด วิตกกังวล ขาดสมาธิและความมั่นใจ ในรายที่มีอาการมากๆ อาจหลงผิดมากจนเข้าขั้นโรคจิต (Psychosis) เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้ายตนเอง และคิดฆ่าตัวตายได้
อาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน หรือทำให้การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญ บกพร่องลงอย่างชัดเจน

สาเหตุ

1.     โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยรวมๆ ทางด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และชีวภาพ

2.     โรคซึมเศร้ามักเกิดตามหลังความผิด หรือการสูญเสียจากพราก เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านสังคม การเรียน การงาน หรือการเงิน สภาพชีวิตที่โดดเดี่ยวว้าเหว่ ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น

3.     โรคซึมเศร้ามิได้เกิดจากสภาพจิตใจที่เปราะบาง อ่อนแอ อย่างที่เข้าใจกันผิดๆ หากแต่มีหลักฐานจากการวิจัยมาตลอด 20 ปีนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสมดุลย์ของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน โดยเฉพาะสารซีโรโทนิน นอร์เอปิเนฟรีน และโดปามีน

4.     หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติ ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์

5.     สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่ง ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเอง และโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่าย เมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น

6.     หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้

7.     สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

สาเหตุ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัวเป็นต้น

ปัจจัยสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้าได้แก่
1.    กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
2.    สารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลย์ของระบบสารเคมีเหล่านี้
3.    ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาการอาจมากจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีสาเหตุจากแต่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เหมือนกับการป่วยเป็นไข้หวัด ก็มักเป็นจากร่างกายอ่อนแอ จากพักผ่อนน้อย ไม่ได้ออกกำลังกาย ขาดสารอาหาร ถูกฝน อากาศเย็น ร่วมกับการได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด ถ้าเราแข็งแรงดี แม้จะได้รับเชื้อหวัดก็ไม่เป็นอะไร ในทำนองเดียวกัน ถ้าร่างกายเราอ่อนแอ แต่ไม่ได้รับเชื้อหวัดก็ไม่เกิดอาการ การเริ่มเกิดอาการของโรคซึมเศร้านั้นมักมีปัจจัยกระตุ้น มากบ้างน้อยบ้าง บางครั้งอาจไม่มีก็ได้ซึ่งพบได้น้อย อย่างไรก็ตาม การมีสาเหตุที่เห็นชัดว่าเป็นมาจากความกดดันด้านจิตใจนี้ มิได้หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนเราไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน การพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติหรือไม่ เราดูจากการมีอาการต่าง ๆ และความรุนแรงของอาการเป็นหลัก ผู้ที่มีอาการเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้านั้น บ่งถึงภาวะของความผิดปกติที่จำต้องได้รับการช่วยเหลือ

เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเกิดเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง (Major Depressive Disorder) แล้ว ได้แก่
ก. ผู้ป่วยมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการจากอารมณ์รู้สึกเศร้า และ/หรือเบื่อหน่ายไม่มีความสุข ซึ่งต่างไปจากอดีต รวมกับอาการ 5 อาการ (หรือมากกว่า) ดังจะกล่าวต่อไป โดยมีอาการร่วมกันอยู่นานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
1.    มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน จากการบอกเล่าของผู้ป่วยหรือจากการสังเกตของผู้อื่น (หมายเหตุ: ในเด็กและวัยรุ่นสามารถเกิดเป็นอารมณ์หงุดหงิด)
2.    ความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่างๆทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก เป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน
3.    น้ำหนักตัวลดลง (โดยมิได้เป็นจากการคุมอาหาร) หรือเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญ/อย่างมาก หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน
4.    นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไปแทบทุกวัน
5.    กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้า ไม่อยากทำอะไรแทบทุกวัน
6.    อ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรงแทบทุกวัน
7.    รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสมหรือมากเกินควร แทบทุกวัน
8.    สมาธิหรือความสามารถในการคิดอ่านลดลงหรือตัดสินใจอะไรไม่ได้แทบทุกวัน
9.    คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ คิดอยากตายอยู่เรื่อยๆ โดยมิได้วางแผนแน่นอน หรือพยายามฆ่าตัวตาย หรือมีแผนในการฆ่าตัวตายไว้แน่นอน
ข. อาการเหล่านี้ต้องมิได้เข้ากับเกณฑ์โรคอื่นๆทางจิตเวช
ค. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆที่สำคัญ บกพร่องลง
ง. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสารต่างๆ (เช่น ยา) หรือจากภาวะความเจ็บ ป่วยทางกาย
จ. อาการไม่ได้เข้ากับเศร้าจากการที่คนรักเพิ่งสูญเสียไป คนทั่วไปมักจะเป็นอยู่ประมาณ 2 เดือนหลังสูญเสียคนรัก

การรักษาโรคซึมเศร้าทำได้อย่างไร?
ยกเว้นกรณีอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น ติดยาเสพติด หรือคิด หรือพยายามฆ่าตัวตาย จึงจำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน

หลังจากแพทย์ประเมินอาการจนค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุมาจากโรคทางร่างกายอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ โรคซึมเศร้าสามารถรักษาเป็นผู้ป่วยนอกได้ เริ่มให้การรักษาโดยให้ยาขนาดต่ำก่อน นัดติดตามการรักษาอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อมา ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียงอะไรก็จะค่อยๆ ปรับยาขึ้นไปทุกๆ 1-2 สัปดาห์จนได้ขนาดในการรักษา กระบวนการรักษา ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จึงสามารถบอกได้ว่าตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ และจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี

แพทย์จะรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ
1.    ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ไม่กินอาหารเลย อยู่นิ่งๆ ตลอดวัน คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย
2.    แพทย์ต้องการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
3.    แพทย์เห็นว่าการรักษาด้วยยาต้องดูแลใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น


ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมีหลัก  9 ข้อดังต่อไปนี้
    อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
    แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้
    อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
    พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
    เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไปเช่นการออกกำลังเบาๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
    อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้ และ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
    ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
    อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเองเพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
    ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ

คนใกล้ชิดควรจะช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าดังต่อไปนี้
    การช่วยพยุง หรือประคับประคองทางอารมณ์นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอันได้แก่การรับฟัง ความเข้าใจ ความอดทน ความห่วงใย
    การสนับสนุนและให้กำลังใจการรับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ โดยแทนที่จะแสดงท่าทีรำคาญ หรือดูแคลนผู้ป่วย แต่ควรจะชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง
    การชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนุกสนานต่อผู้ป่วย มาก่อน เช่น เดินเล่น ชมภาพยนตร์ หรือเล่นกีฬา แต่ไม่ควรผลักดันมากเกินไป และเร็วเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะรับได้เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกไร้ค่าไร้ความ สามารถให้มากขึ้น
    อย่าเรียกร้องให้ผู้ป่วยต้องหายจากโรคอย่างรวดเร็ว อย่ากล่าวโทษผู้ป่วยซึมเศร้าว่าแสร้งทำ หรือขี้เกียจ เพราะถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็ยังต้องใช้เวลา ช่วงหนึ่งจึงจะมีอาการดีขึ้น

.........................................


กรมสุขภาพจิต แนะคนไทยใช้หลัก 3L คือ Look Listen Link ปฐมพยาบาลทางใจในช่วงเผชิญความโศกเศร้า พร้อมปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง    
ทั้งนี้ ขอย้ำว่า การแสดงความเศร้าโศกและอาการทางใจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เป็นเรื่องปกติ ที่ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก และจะค่อยผ่อนคลายจนเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานี้ขอให้ดูแลกันและกัน ด้วยการใช้หลัก “3L” : Look Listen Link  หรือ “3ส.” : สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง ส่งต่อเชื่อมโยงคือ ช่วยกัน สอดส่องมองหา (Look) กลุ่มเสี่ยง เช่น  พูดน้อยลง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม เมื่อพบขอให้  ใส่ใจรับฟัง (Listen) เข้าพูดคุย หรือ สัมผัส จับมือ โอบกอด เพื่อให้ผ่อนคลาย กรณีผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ขอให้รับฟังท่าน ชวนท่านคุย เล่าถึงความประทับใจที่มีต่อพระองค์ท่าน เพื่อลดความโศกเศร้าลง รวมทั้ง ชวนทำกิจกรรม เช่น เข้าวัด ทำบุญ หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ แต่หาก ความโศกเศร้านั้นเป็นอยู่นาน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ขอให้รีบ ส่งต่อเชื่อมโยง (Link) หรือนำพาพบแพทย์ ให้การช่วยเหลือ

          ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่นำมาซึ่งความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงของคนไทยทั้งประเทศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกคำแนะนำวิธีการดูแลสภาพจิตใจในช่วงที่คนไทยกำลังเผชิญกับบรรยากาศความโศกเศร้าในช่วงนี้ โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ประชาชนทุกคนสามารถช่วยกันดูแลสภาพจิตใจกันและกันได้ด้วยการปฐมพยาบาลทางใจตามหลัก 3L คือ
วิธีดูแลสภาพจิตใจ
1. Look
          การมองหาคนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน คือคนที่แสดงอาการเสียใจอย่างรุนแรง ร้องไห้ไม่หยุด คร่ำครวญ เครียด กินไม่ได้ นอนไม่หลับ และกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบทางจิตใจมากกว่าปกติ คือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้เจ็บป่วยเรื้อรังทางทั้งกายและทางจิต รวมถึงผู้ที่มีปัญหาชีวิตอยู่แล้วก่อนหน้า

2. Listen
          คือการรับฟังอย่างมีสติ อย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่น สบตา จับมือ โอบกอด แสดงถึงความสนใจและใส่ใจเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาได้ระบายความรู้สึกออกมา ทำให้เขาคลายความทุกข์ในใจ และจัดการอารมณ์ให้สงบ แต่ให้ระมัดระวังว่าอย่าแสดงความเห็นใจจนมีอารมณ์ร่วมไปกับผู้ที่ประสบเหตุวิกฤต เช่น ร้องไห้ตามไปด้วย เป็นต้น

3. Link
          คือการช่วยเหลือแก้ปัญหาในฐานะที่ทำได้ แต่หากช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วไม่ดี ให้ส่งต่อ โดยเฉพาะหากเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตสามารถโทรปรึกษาได้ที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้การแสดงความเสียใจสามารถกระทำได้แต่มีข้อควรระวัง 3 ข้อคือ
          1. อย่าปล่อยให้ความเสียใจท่วมท้นจนมองไม่เห็นความหวัง
          2. การแสดงออกต้องไม่เกินขอบเขตจนไปกระตุ้นความเห็นต่าง
          3. ไม่ควรหาแพะรับบาปจากความผิดพลาด ควรทำใจให้เป็นธรรม ทำจิตให้เป็นกุศล มุ่งปฏิบัติดีต่อกัน



นอกจากนี้ นพ.ยงยุทธ ยังระบุว่า แม้การสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเป็นความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะแสดงความรู้สึกกัน และสืบทอดพระราชปณิธานของพระองค์ เพื่อให้สังคมไทยได้ก้าวเดินต่อไป
    ไม่มีใครอยากสูญเสีย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราก็ควรจะดูแล จิตใจให้เข้มแข็ง แนะนำ "6 ตัวช่วย ดูแลจิตใจจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" เพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลทางใจของตนเองและครอบครัว

1.ร่วมแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีและอาลัยรักต่อพระองค์ท่าน
2.แสดงความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อพระองค์ท่านผ่านช่องทางต่างๆ
3.ร่วมทำกิจกรรมสาธารณกุศล ทำความดีแก่พระองค์ท่าน
4.มีสติ ใช้ชีวิตตามปกติ หากเครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ควรไปรับบริการจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
5.สอดส่องดูแลคนใกล้ชิดว่ามีความเศร้าโศกเสียใจรุนแรงกว่าปกติหรือไม่ เช่น ร้องไห้หนักมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช และผู้สูงอายุ  ถ้ามี ให้ตั้งสติ รับฟังความรู้สึกให้เขาได้ระบาย อาจใช้การโอบกอด สบตา เพื่อให้เขาคลายความทุกข์
6.ร่วมกันสืบทอดพระราชปณิธานของพระองค์ท่าน เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในช่วงเวลานี้อาจพบกับสถานการณ์ความเห็นต่างของผู้คน จึงขอแนะให้พี่น้องคนไทยรวมพลังความจงรักภักดี รวมหัวใจเป็นหนึ่งเดียว เพื่อผ่านพ้นความเศร้าโศก ก้าวสู่การสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคม ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจคนไทยทั้งชาติ ด้วย 3 ข้อคิด ที่ควรระลึกไว้เสมอ ว่า
1. ความเศร้าโศกเสียใจเป็นเรื่องปกติ ไม่ควรปิดกั้นการแสดงออก
2. ต่างคนต่างความคิด จึงควรเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน
3. เวลาที่เศร้าโศกเสียใจ อาจจะมีหลายๆ เหตุการณ์เกิดขึ้น จึงควรมองด้วยเหตุและผล
ขณะเดียวกัน ขอให้ พึงระวัง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ระวัง อย่าให้รู้สึกผิดหวังมากเกินไป ให้ใช้วิธีเล่าถึงประสบการณ์ที่ดี ข้อคิดที่ได้จากพระองค์ท่าน การสืบสานพระราชปณิธาน และดูแลช่วยเหลือคนที่มีความเศร้ารุนแรง ด้วย 3 ส. “สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง ส่งต่อเชื่อมโยง”
2. ระวัง เรื่องความเห็นต่าง ควรปฏิบัติต่อกันอย่างมีสติ และเคารพซึ่งกันและกัน ไม่มองว่าคนที่กระทำไม่เหมือนตนเองเป็นคนไม่ดี หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งนำไปสู่ความรุนแรงในสังคม ทั้งระหว่างบุคคลและสื่อสังคม อาจใช้วิธี นิ่งเสีย ตลอดจนสื่อสังคมไม่ส่งต่อสื่อที่สร้างความโกรธ
3. ระวัง การใช้อารมณ์และโทษผู้อื่น เพราะจะมีแต่ผลเสีย ทำลายชื่อเสียงของประเทศ ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะป้องกันความขัดแย้งและความรุนแรง โดย ป้องกันไม่ให้เกิดการรวมตัวของฝูงชนที่มีอารมณ์ และไม่นำผู้ต้องหามาเผชิญกับฝูงชน เป็นต้น

************************* 19 ตุลาคม 2559

//haamor.com/th/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2/

//haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B22/

//med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

//www.manarom.com/article-detail.php?id=666672




Create Date : 21 ตุลาคม 2559
Last Update : 21 ตุลาคม 2559 16:32:26 น. 1 comments
Counter : 2687 Pageviews.  

 
สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ

ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:43:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]