Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม ... โดย DrCarebear Samitivej


นำมาจากของคุณหมอ ในเฟสบุ๊ก นะครับ .. ถ้าใครสนใจอ่านฉบับเต็ม มีรูปภาพประกอบสวยงาม ก็แวะไปได้ที่

//www.facebook.com/note.php?note_id=159491650750574&id=153027324709017&ref=share



โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม

โดย DrCarebear Samitivej

ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2010 เวลา 20:44 น.





ในภาวะน้ำท่วมอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อไปนี้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่

* โรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาด ได้แก่ ไทฟอยด์ อหิวาห์ โรคฉี่หนู และไวรัสตับอักเสบ เอ

* โรคติดต่อเนื่องจากมีแมลงเป็นพาหะ ได้แก่ ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก
* อุบัติเหตุ และการบาดเจ็บต่าง ๆ เช่นการจมน้ำ




โรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาด Water-borne diseases

ภาวะน้ำท่วม จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าเกิดขึ้นในชุมชนใหญ่ หรือขาดแคลนน้ำสะอาด เนื่องจากน้ำดื่มที่ไม่สะอาดและติดเชื้อ น้ำที่ไม่สะอาดอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังอักเสบ แผลติดเชื้อ ตาอักเสบ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร

เชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางน้ำได้แก่

1. เชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ A หรือเชื้อโปลิโอ
2. เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อ อหิวาต์ ไทฟอยต์ เชื้อ Coliform ที่ทำให้มีอาการท้องเสีย
3. เชื้อโปรโตซัว เช่น cryptosporidiosum, amebae, giardia

ส่วนใหญ่แล้วการติดต่อเชื้อโรคจะมาจากการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด แต่มีบางโรคที่สามารถระบาดได้มากโดยการติดต่อทางการสัมผัสทางผิวหนังเช่น โรคฉี่หนู leptospirosis ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังหรือเยื่อของร่าง กายที่สัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนจากฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติด เชื้อ แบบที่เคยมีการระบาดในประเทศไทยในปี 2000



Leptospirosis หรือโรคฉี่หนู

เป็นโรคติดเชิ้อที่เกิดจากเชื้อชื่อ leptospira ซึ่งหากติดเชื้อคนไข้จะมีอาการไข้สูง ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยตามตัว ถ้าเป็นรุนแรงอาจจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับวาย ไตวาย หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ผู้ได้รับเชื้ออาจจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ 2 – 4 วันอาการที่เริ่มต้นอาจจะมีไข้เฉียบพลัน ระยะแรกจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ปวดตามตัว คลื่นไส้ และท้องเสีย อาการอาจจะดีขึ้นได้เอง และจะกลับมามีอาการอีกรอบและรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา อาการจะมีได้ตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงเป็นเดือน บางคนอาจจะหายได้เอง แต่ใช้เวลาเป็นเดือน แต่ถ้ามีอาการรุนแรงอาจจะถึงแก่ชีวิตได้

การรักษาคือการให้ยาแก้อักเสบเช่น Doxycycline หรือ penicillin ฉีดเข้าเส้นเลือด

ดังนั้นหากมีไข้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและให้การรักษา





ไวรัสตับอักเสบ A

เป็น โรคที่มีอาการอักเสบของตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A จากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน ระยะฟักตัวประมาณ 15-45 วันก่อนจะมีอาการ

อาการเริ่มต้นจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ ไข้ต่ำ ๆ อุจจาระสีซีด และปัสสาวะสีเข้ม มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองดีซ่าน

แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการติดเชื้อ และให้การรักษาโดยการพัก ให้น้ำเกลือ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และอาหารมัน การพักฟื้นอาจจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน สำหรับไวรัสตับอักเสบ A สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน



การป้องกันโรคติดเชื้อที่มาจากน้ำ

ส่วนใหญ่แล้วโรคกลุ่มนี้จะมาจาการปนเปื้อนของอาหารและน้ำ ดังนั้นการป้องกันคือการพยายามดื่มน้ำที่สะอาด และต้องพยายามดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

* ดื่มน้ำที่สะอาด
* ใช้น้ำที่ต้มสุก หรือผ่านคลอรีน
* ถ้ามีอาการท้องเสียขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเกลือแร่เสริม
* หากมีอาการไข้ หรืออาการผิดปกติควรพบแพทย์
* สามารถใช้ยาลดไข้ บรรเทาอาการไข้ได้
* ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด
* ทำความสะอาดอาหารและปรุงอาหารให้สุกทุกครั้ง




โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากแมลงเป็นพาหะ Vector-borne diseases

ภาวะน้ำท่วมจะทำให้แมลงที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นยุงลาย ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของไข้เลือดออก หรือในป่า มียุงก้นป่อง ที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรียซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหลังจากการเกิดน้ำท่วมประมาณ 6 สัปดาห์

สำหรับเรื่องไข้เลือดออก สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความที่หมอหมีเคยเขียน

ตาม link นี้นะครับ //www.facebook.com/note.php?note_id=150783751621364



โรคอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภาวะน้ำท่วม

* เรื่อง ของอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจมน้ำ หรืออุบัติเหตุการบาดเจ็บอื่น ๆ ถ้ามีบาดแผลอย่าลืมฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และรับยาแก้อักเสบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

* ภาวะอุณหภูมิในร่างกาย ต่ำผิดปกติ hypothermia มักจะพบในเด็กเล็ก ถ้าติดอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ๆ และทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจมากขึ้น




We Care



Dr.Carebear Samitivej






Create Date : 25 ตุลาคม 2553
Last Update : 25 ตุลาคม 2553 20:08:25 น. 7 comments
Counter : 2272 Pageviews.  

 
//www.thaihealth.or.th/node/17824

แนะผู้ประสบภัยน้ำท่วม ระวังปลิง

โดยเฉพาะจุดที่น้ำท่วมสูง ชี้ให้ใส่กางเกงใน กางเกงขายาว



โฆษกกระทรวง สาธารณสุข เตือนผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในจุดที่มีน้ำท่วมขังสูงระดับเอว โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบลงเล่นน้ำท่วม ระวังปลิงไชเข้ารูทวารหนัก อวัยวะเพศ และรูปัสสาวะ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมกางเกงในและกางเกงขายาว รัดข้อเท้า ป้องกันปลิงดูดเลือด


จาก กรณีที่มีข่าวผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ตำบลบางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ถูกปลิงควายขนาดใหญ่กัดและดูดเลือดที่ขา ขณะเดินลุยน้ำท่วมสูงประมาณต้นขา นั้น วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2553) นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงน้ำท่วม มักพบปลิงได้บ่อยๆ โดยปกติปลิงมักจะอาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง ตามแหล่งหนองน้ำ ลำธารทั่วๆไป แต่พอมีน้ำท่วมปลิงก็จะไหลไปตามน้ำท่วมได้ ดังนั้นจึงขอเตือนประชาชนทุกพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่ควรลงเล่นน้ำท่วม เพราะอาจถูกปลิงไชเข้าตามอวัยวะต่างๆ เช่นรูทวารหนัก ช่องคลอด รูปัสสาวะได้



นาย แพทย์สุพรรณกล่าวต่อว่า ปลิงเป็นสัตว์ที่ดูดเลือดสัตว์อื่นรวมทั้งเลือดคนเป็นอาหาร โดยจะจับแรงสั่นสะเทือนของสิ่งที่อยู่ในน้ำ แล้วตามไปเกาะที่ผิวหนัง แล้วค่อยๆไต่หาที่ซ่อนตัว จากนั้นจะกัดและดูดเลือด พร้อมปล่อยสาร 2 ชนิด ได้แก่ สารฮีสตามีน (Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน (Hirudin) มี คุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด ทำให้คนที่ถูกกัดเลือดไหลไม่หยุด และเสียเลือดเรื่อยๆ โดยมีการศึกษาทางห้องปฏิบัติการพบว่า ปลิงสามารถอดอาหารได้นานถึง 5 เดือน และหากปลิงไชเข้าไปในลำไส้ใหญ่ และทะลุลำไส้ จะทำให้ช่องท้องอักเสบ แต่พบได้น้อยมาก นอกจากนี้ มีรายงานพบปลิงเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ และทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วในภายหลังด้วย



นาย แพทย์สุพรรณกล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันปลิงที่มากับน้ำท่วม หากเป็นไปได้ขอให้ผู้ประสบภัยเดินทางโดยเรือ แต่หากไม่มีเรือและจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำท่วมสูงระดับเอวขึ้นไป ขอให้แต่งตัวให้มิดชิด ควรใส่กางเกงใน สวมกางเกงขายาว และสวมถุงพลาสติกหุ้มเท้าและหุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง แล้วรัดด้วยเชือกหรือยาง เพื่อป้องกันไม่ให้ปลิงเข้าไปในกางเกงได้



ทั้ง นี้ ปลิงมี 2 ชนิดคือ ปลิงควายและปลิงเข็ม โดยปลิงเข็มนั้น จะเข้าทางตา รูจมูก หรือปากได้ จากการดื่มน้ำหรือล้างหน้าในลำธารที่มีปลิงอยู่ ปลิงจะเข้าสู่หลอดคอ หลอดอาหารหรือหลอดลมได้อย่างรวดเร็ว อาการที่ปรากฏคือ มีเลือดกำเดาออก ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด ทำให้เสียเลือดมาก ถ้าหากปลิงอยู่ในโพรงจมูกอาจทำให้ปวดศีรษะเป็นเวลานาน ถ้าอยู่ในกล่องเสียงจะทำให้ไอเป็นเลือด หายใจไม่ออก นอกจากนี้ปลิงยังอาจเข้าไปทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะของคนที่ลงอาบน้ำในลำธารได้


ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข

Update:01-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่





โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:24:31 น.  

 

//www.thaihealth.or.th/node/11448

น้ำท่วม...ภัยธรรมชาติ.....ที่มากับโรคแถมอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

ความวัวยังไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรก สุภาษิตบทนี้คงใช้ได้กับสภาพดินฟ้าอากาศช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้ได้เป็นอย่างดี อย่างล่าสุดเจ้าพายุดีเปรสชัน "กิสนา" ที่ถึงแม้จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สิ้นฤทธิ์ยังมีอิทธิพลทำให้เกิดฝนตกกระจายทั่วเมืองไทยตามมาอีก หลายวัน นอกจากจะนำสายฝนเข้ามาแล้วยังหอบหิ้วเอาน้ำจำนวนมากมาด้วยทำให้หลายพื้นที่ ของไทยประสบปัญหาน้ำท่วมไม่ยอมลดสักที แต่ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น หลังพายุสงบปัญหาเรื่องปากท้อง ที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย และโรคภัย ไข้เจ็บต่างๆ ก็ตามมา


ซึ่งโรคระบาดที่เป็นกันมากหลังเกิดน้ำท่วมนั้นก็มี โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา เป็นโรคที่มาจากการเกิดแผลพุพองเป็นหนอง ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดไม่แห้งเป็นเวลานาน

ซึ่งอาการในระยะแรกนั้นจะเริ่มต้นที่ อาการคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังจะลอกออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆ ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง เท้าเปื่อย และเป็นหนอง ที่สำคัญอาจเกิดโรคผิวหนังอักเสบแทรกซ้อนได้ง่าย

การป้องกันก็ทำได้ไม่ยากเลยแค่ หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าฝืนไม่ได้จำเป็นต้องย่ำน้ำแล้วละก็ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ เช็ดให้แห้งเมื่อกลับเข้าบ้าน สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้นหากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน เพียงแค่นี้โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อราก็ไม่น่ากังวลแล้ว....



โรคปอดบวม ก็ถือเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงอีกโรคที่สามารถคร่าชีวิตผู้ป่วยได้ภายใน 24ชั่วโมงซึ่งโรคนี้สามารถเกิดจากเชื้อได้หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทำให้มีการอักเสบของปอด

ผู้ประสบภัยน้ำท่วม หากมีการสำลักน้ำ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้ การติดต่อเพียง แค่หายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วยเมื่อ ไอ จามหรือหายใจรดกันหรือในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ อ่อนแอ พิการ มักพบเกิดจากการสำลักเอาเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ปกติในจมูก และลำคอเข้าไปในปอด

อาการทั่วไปนั้นจะมีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบและเร็ว ถ้าเป็นมากจะหายใจหอบเหนื่อยจนเห็นชายโครงบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่าย หรือซึมเมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคปอดบวมต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด, หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแตกและมีลมรั่วในช่องปอด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่ก่อนอาจหัวใจวายได้การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการแล้ว ต้องรีบพบแพทย์ และรับการรักษาในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือใส่หน้ากากอนามัยหากมีไข้ ให้กินยาลดไข้ และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและผลไม้ ดื่มน้ำอุ่นมากๆใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่เปียกชื้น และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ



ต่อมาเป็นโรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรสิส โรคที่ติดต่อได้จากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรค โดยเชื้อจะออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง พื้นดินที่ชื้นแฉะ หากผู้ที่มีบาดแผล มีรอยขีดข่วน รอยถลอก ย่ำไปโดนก็สามารถติดเชื้อได้ แต่ที่น่ากลัวไปกว่านั้นเชื้อที่ว่านี้สามารถไชเข้าเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานได้อย่างไม่น่าเชื่อ

การรับประทานอาหารที่มีหนูมาฉี่รดก็สามารถทำให้ติดโรคนี้ได้เช่นกัน เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 4 -10 วัน จะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะน่องและโคนขา หรือปวดหลัง บางคนมีอาการตาแดง อาจมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร หรือท้องเดินหากมีอาการดังกล่าวหลังจากที่สัมผัสสัตว์ หรือลุยน้ำ ย่ำโคลน ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ในพื้นที่ทันที

ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้….

การป้องกัน ควรสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผลหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อ ขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบชำระร่างกายให้สะอาดโดยเร็วที่สุด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิดดูแลที่พักให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนูเก็บกวาด ทิ้งขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู....



ตามมาด้วย อหิวาตกโรค เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ คอเลอเร สำหรับอหิวาตกโรคชนิดแท้ และแบคทีเรียชื่อ เอลเทอร์ วิบริโอ สำหรับอหิวาตกโรคชนิดเทียม ติดต่อโดยอยู่ในอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค

อาการทั่วไปนั้น จะปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้ง อาการคล้ายท้องร่วง จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน ถ้าอาการรุนแรง จะปวดท้อง รุนแรง ถ่ายอุจจาระเหลวคล้ายน้ำซาวข้าว มีกลิ่นคาว อาเจียน

การถ่ายบ่อยทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเบาลง และเสียชีวิตได้

การป้องกัน ควรจัดให้มีส้วมใช้ตามหลักสุขาภิบาล ดื่มและใช้น้ำที่สะอาด ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าส้วม ทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ ห้ามรับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงการกินอาหารสดระหว่างที่มีโรคระบาด เก็บภาชนะที่ใส่อาหารให้มิดชิด ไม่ให้แมลงวันไปตอมได้ ทำลายขยะมูลฝอย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค และไม่ให้แมลงวันใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์



อีกโรคหนึ่งที่ควรระวังและมองข้ามไม่ได้นั่นก็คือ โรคตาแดง โรคที่พบได้บ่อยซึ่งเป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง

สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิ แพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์

ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรังอาการของโรคตาแดง

อาการที่สำคัญคือ คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้ ขี้ตา

ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้ ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย



โรคไข้เลือดออก ก็เช่นกันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หากที่ไหนมีน้ำขังที่นั่นก็ต้องมียุง!! ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ติดต่อได้จากยุงลายตัวเมีย ที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาการของโรคในเด็กนั้นจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ส่วนในผู้ใหญ่จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อเป็นโรคนี้แล้วได้รับการรักษาช้าผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

หากมีไข้ สูงต่อเนื่อง 2-7 วัน เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออกหรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้

ในรายที่ช็อกจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแล้วแต่ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง ตัวเย็น หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษานั้นทำได้เพียงประคับ ประคองอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออกตามร่างกาย ซึ่งวิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่ กระจายของยุงลาย กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงเท่านั้น...



สำหรับการดูแลเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ และอาหารให้สะอาดปลอดภัยปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุก ครั้งก็ถือเป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพราะน้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย โดยปกติร่างกายของคนเราต้องการน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร หากอยู่ในภาวะน้ำท่วม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพจึงต้องทำน้ำให้สะอาดก่อนดื่ม

วิธีที่สามารถทำได้ง่ายก็คือ การต้มให้เดือดเพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำนั่นเอง ส่วนในกรณีใช้น้ำดื่มบรรจุขวด จะต้องดูตราเครื่องหมาย อย. ก่อนดื่มทุกครั้ง หากเป็นน้ำดื่มในภาชนะควรบรรจุปิดสนิท น้ำต้องใส สะอาด ไม่มีตะกอน และไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ...

หลังดื่มน้ำหมดแล้วควรทำลายขวด/ภาชนะบรรจุ โดยทุบหรือบีบให้เล็กลงก่อนนำไปทิ้งถุงดำ เพื่อสะดวกต่อการนำไปกำจัด


ส่วนน้ำใช้ ต้องสะอาด หากไม่แน่ใจให้ใช้คลอรีนทำลายเชื้อโรคในน้ำก่อนโดยใช้คลอรีน100มิลลิกรัมต่อ น้ำ1ลิตรทิ้งไว้ 10 นาทีก็จะสามารถนำน้ำไปใช้ได้อย่างสบายใจ



เรื่องการขับถ่ายในภาวะน้ำท่วมหากไม่สามารถถ่ายในส้วมได้ ห้ามถ่ายลงในน้ำโดยตรงเด็ดขาด... ให้ถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวพอสมควร ปิดปากถุงให้แน่น ใส่ลงถุงขยะอีกครั้ง แล้วนำไปทิ้งบริเวณที่จัดไว้หรือรวบรวมไว้เพื่อรอการนำไปจัดการอย่างถูกวิธี



การระวังสัตว์มีพิษอย่าง งู แมลงป่อง ตะขาบ ที่หนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้านเรือน ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบู๊ททุกครั้งนอกจากจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษเหล่านี้แล้วยัง ช่วยป้องกันการเหยียบวัสดุอันตราย เช่น เศษแก้ว เศษกระเบื้อง ตะปู ที่อยู่ใต้น้ำจนได้รับบาดเจ็บ ที่สำคัญควรถือไม้นำทางตลอดเวลา เพราะอาจพลัดตกหลุมบ่อที่น้ำท่วมจนมองไม่เห็นได้



หลังเกิดน้ำท่วม เมื่อระดับน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ให้เก็บกวาด ทำความสะอาดถนนหนทาง บ้านเรือน รวมถึงซ่อมแซมบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างที่ได้รับความเสียหายให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว หาก เสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ให้รีบรื้อถอน เพราะอาจเกิดอันตรายได้ รวมถึงแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มาดำเนินการซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคและ เส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย อีกทั้งจัดเก็บซากสัตว์ที่ตายแล้วด้วยการฝังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

เพื่อเป็น การป้องกันอันตรายจากน้ำท่วม ควรเตรียมรับมือด้วยการติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบบ้านให้อยู่ในสภาพพร้อมรับมือภัยน้ำท่วม จัดเตรียมเครื่องอุปโภค บริโภคและสิ่งของจำเป็นไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดน้ำท่วม ควรเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่มักเกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วม...

เพียงเท่านี้ไม่ว่าน้ำจะท่วมบ่อยแค่ไหน แต่เมื่อเรารู้จักวิธีป้องกันตัวที่ดีแล้ว เราก็ใช้ชีวิตร่วมกับน้ำท่วมได้อย่างสบายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน.....


เรื่องโดย: ภราดร เดชสาร Team content //www.thaihealth.or.th

Update: 06-10-09



โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:29:59 น.  

 
//www.thaihealth.or.th/node/17879

แนะวิธีเลือกกินอาหารช่วงน้ำท่วม

สถานการณ์ น้ำท่วม..ช่วงนี้ผู้ประสบภัยควรต้องตระหนักในเรื่องสุขภาพ หากไม่มีโอกาสไปหาซื้ออาหารมาปรุงรับประทานได้เอง...การกินอาหารที่บริจาคมา ให้เพื่อประทังชีวิต ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการป่วยหรือเกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืดและท้องเสีย

นางนารีสา แสนใจวุฒิ นักวิชาการด้านโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช บอกว่า สภาวะขณะนี้การเลือกอาหารควรดูให้ดีหากเป็นอาหารที่เป็นประเภทกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารสำเร็จรูป ก็ให้พยายามดูรายละเอียดของวันเดือนปีที่ผลิต ฉลากอาหารให้รอบคอบ ให้เลือกกิน รสจัดสลับรสจืด หรือไม่ใส่เครื่องปรุง เพราะมีโซเดียมเยอะ

ส่วน อาหารปรุงสำเร็จที่เก็บได้นานบูดเสียช้า เมนูที่เหมาะได้แก่ ไข่ต้ม ไข่เค็ม น้ำพริกต่างๆ กุนเชียงทอดหมูทอด หมูแผ่น หรือเป็นข้าวเหนียวนึ่งธรรมดา ข้าวหลามที่ไม่ใส่กะทิ ขนมปังกรอบ จะเก็บไว้ได้หลายวัน

ทีสำคัญ...หลีกเลี่ยง บริโภคขนมปังปอนด์เพราะมีอายุสั้น ประมาณ 5-7 วัน และขึ้นราง่าย

ส่วนอาหารกล่องไม่ควรเก็บไว้เผื่อมื้อต่อไปเพราะ เก็บได้ไม่เกิน 4-6 ชั่วโมงก็เน่าเสียแล้ว

ส่วนอาหารกระป๋องขอให้ดูวันที่หมดอายุ กระป๋องอยู่ในสภาพดี ไม่บุบ หรือบวม พอง และสังเกตลักษณะของอาหารในกระป๋อง ก่อนเปิดทุกครั้ง



ที่มา:ไทยรัฐ

Update:4-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย:คีตฌาณ์ ลอยเลิศ



โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:36:32 น.  

 
//www.thaihealth.or.th/node/17860

ป้องกันการเสียชีวิตจากภัยน้ำท่วม


ใน ช่วงเกิดอุทกภัยนอกจากโรคติดต่อที่ควรเฝ้าระวังแล้วในประเด็นของการป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุถือว่าเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกน้ำ จมน้ำในกลุ่มเด็กเล็ก คนสูงอายุและคนเมา และอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อต กรมควบคุมโรคจึงมีข้อแนะนำการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำจากภัยน้ำท่วม ดังนี้

1.ประชาชน ที่ประกอบอาชีพทางน้ำเช่น หาปลา ต้องเข้าพื้นที่น้ำท่วมหรือต้องทำกิจกรรมทางน้ำ ขอให้เตรียมอุปกรณ์ป้องกันการจมน้ำ เช่น ถังแกลลอนเปล่าปิดฝา ขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝา ลูกมะพร้าว ห่วงยาง เสื้อชูชีพหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยให้ลอยตัวในน้ำได้ เพื่อป้องกันการจมน้ำ

2.ไม่ควรลงเล่นน้ำ ในช่วงน้ำท่วม และผู้ปกครองต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

3.ผู้สูงอายุผู้มีโรคประจำตัว หรือไม่สามารถดูแลตนเองได้ต้องมีผู้ดูแล และไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง

4.หากพบคนจมน้ำ มีวิธีช่วยที่ถูกต้องดังนี้

4.1ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือพร้อมโทรแจ้ง 1669 หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

4.2ตั้งสติอย่าวู่วามลงไปช่วยทันที

4.3ไม่ ควรลงไปในน้ำเพื่อช่วยคนจมน้ำ ควรหาอุปกรณ์ ใกล้ตัวเช่น ไม้ เชือก หรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ช่วยเหลือ และคนจมน้ำลอยตัวได้เพื่อโยนหรือยื่นให้คนจมน้ำแล้ว ลากเข้าฝั่งโดยที่คนช่วยเหลืออยู่บนฝั่ง

4.4กรณีช่วยเหลือผู้จมน้ำด้วยตนเองไม่ได้หรือไม่มีอุปกรณ์ ให้ร้องขอความช่วยเหลือ

4.5หาก จำเป็นต้องลงน้ำไปช่วยเหลือต้องมั่นใจว่าว่ายน้ำเป็น และควรมีอุปกรณ์ช่วยเหลือนำติดตัวไปด้วยเพื่อยื่น ให้คนจมน้ำจับแล้วลากเข้าฝั่ง ที่สำคัญไม่ควรสัมผัสคนจมน้ำโดยตรงเพราะอาจจะถูกกอดรัดและจมน้ำไป พร้อมกัน

5.เมื่อช่วยผู้จมน้ำได้แล้ว

5.1ห้าม จับคนจมน้ำอุ้มพาดบ่าแล้วกระโดดหรือวิ่งไปมาเพื่อให้น้ำออก เพราะน้ำที่ออกมาจะเป็นน้ำจากกระเพาะไม่ใช่จากปอดเด็ก ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะจะทำให้เด็กขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น และเสียชีวิต

5.2วาง คนจมน้ำให้นอนราบ ตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง และช่วยหายใจ ด้วยการเป่าลมเข้าออกตามจังหวะหายใจเข้าออกหากสามารถปฏิบัติการกู้ชีพได้ถูก ต้องให้ดำเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอน

กรมควบคุมโรค ห่วงใย อยากให้คนไทยมีสุขภาพดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Update: 03-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่



โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:37:37 น.  

 


คู่มือ คำแนะนำการป้องกันโรคที่มากับภัยน้ำท่วม

โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2553

//pher.dpc7.net/sites/default/files/Prevention%20of%20diseases%20caused%20by%20flooding.pdf



โดย: หมอหมู วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:16:19:26 น.  

 


โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม ... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=86

โรคน้ำกัดเท้า .......... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=87

การจัดการกับความเครียด จากวิกฤตการณ์น้ำท่วม .... โดย DrCarebear Samitivej

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2010&group=4&gblog=88


คู่มือ คำแนะนำการป้องกันโรคที่มากับภัยน้ำท่วม
โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2553

//pher.dpc7.net/sites/default/files/Prevention%20of%20diseases%20caused%20by%20flooding.pdf


โดย: หมอหมู วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:16:22:14 น.  

 
สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน //www.PREclub.org

PERSON RESPONSIBLE FOR ENERGY CLUB
Tel. 0 2245 2099 Fax. 0 2247 2363

เลขที่ 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

E-mail : PREclub_2001@yahoo.com




เรื่อง แผนที่บริเวณและถนนที่โดนน้ำท่วม

เรียน สมาชิกสมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และผู้ที่สนใจ



สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (PREclub) ขอส่งรายงานข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วม มาให้สมาชิกเพื่อทราบ ดังนี้


1. แผนที่แสดงบริเวณพื้นที่ ที่โดนน้ำท่วม จากภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ของรัฐบาล

//203.150.230.27/FloodMap/index.html#


2. แผนที่แสดงตำบลที่โดยน้ำท่วม

//flood.gistda.or.th/


3. แผนที่ถนนที่โดนน้ำท่วม จาก กรมทางหลวง

//maps.google.com/maps/ms?client=aff-maxthon&hl=th&ie=UTF8&msa=0&msid=112427897685537138543.00049357e9b3187d82e12&ll=11.137293,100.905304&spn=10.43801,4.207077&source=embed


4. แผนที่ถนนที่โดนน้ำท่วม จาก กรมทางหลวงชนบท

//fms2.drr.go.th/


5. ตรวจสถานะถนนในกรุงเทพ ณ เวลาปัจจุบัน ว่าถนนใดมีน้ำท่วมหรือไม่

//dds.bangkok.go.th/Floodmon/


6. ตรวจสภาพการจราจรถนนในกรุงเทพ ณ เวลาปัจจุบัน ว่าถนนใดรถติด ไม่ติด

//traffic.longdo.com/


จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ



ขอแสดงความนับถือ



กิตติ สุขุตมตันติ

เลขานุการ สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (PREclub)
_/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/
สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน PREclub

Person Responsible for Energy Club Association

539/2 Gypsum Metropolitan Tower (22nd FL.;Tower A),

Thanon Si Ayutthaya, Ratchathewi, Bangkok, 10400 Thailand

Tel. 0 2247 2340, 0 2247 2339 Ext 101

Fax. +66 2247 2363

_/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/ _/
เกี่ยวกับ PREclub : สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน เป็น สมาคมวิชาการ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมความรู้

ด้านพลังงานให้กับสมาชิก ทั้งเจ้าของอาคาร เจ้าของโรงงาน ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน โดยมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 9,500 ราย


โดย: หมอหมู วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:14:03:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]