Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)





บทความนี้ ผมเก็บไว้นานแล้ว จำไม่ได้ว่า นำต้นฉบับ มาจากไหน .. ถ้าใครทราบกรุณาแจ้งผมด้วยนะครับ ... ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

โรคตับอักเสบ คืออาการที่เซลล์ตับถูกทำลาย อาจเกิดได้จากสาเหตุหลาย อย่าง เช่น จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือหนอนพยาธิ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการได้รับยา สุรา หรือสารพิษบางอย่าง แต่สาเหตุสำคัญ คือ การติดเชื้อไวรัส

มีไวรัสหลายชนิดทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ ที่สำคัญสุด คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดบี บางราย หรือ ผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่มีอาการกลายเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งคนเหล่านี้จะมีโอกาส เป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง และโรคตับแข็งได้ ถ้าหากติดเชื้อมาตั้งแต่เด็กจะมีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งตับ ได้มากกว่าคนที่ไม่มีเชื้อหลายเท่า ไวรัสตับอักเสบบี เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ในประเทศไทยพบอัตราการเป็นพาหะของไวรัสนี้ร้อยละ 6-10 ของประชากร ( ประมาณ 3.6 - 6 ล้านคน )

ตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ พบ ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนน้อยอาจเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง โรคตับวาย มะเร็งตับ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกเป็น

 

ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ เกิดจาก การกินเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผัดสด ผลไม้ น้ำดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ แล้วทำไม่สุก ไม่สะอาด ไม่ต้มเดือด เป็นต้น ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ประมาณ 2 - 6 สัปดาห์ โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์หลังรับเชื้อ ในเด็กมักมีอาการน้อย ในผู้ใหญ่มีอาการที่ชัดเจนของตับอักเสบเฉียบพลัน
เชื้อนี้ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยตั้งแต่ระยะ 2 สัปดาห์ก่อนมี อาการ จนถึงระยะที่มีอาการของโรค เชื้อไวรัสนี้จะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบมีการระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร เป็นต้น

 

ไวรัสตับอักเสบชนิด บี

คน เป็นพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้ ประเทศไทยมี ความชุกคนของพาหะร้อยละ8–10 หรือประมาณ 5 ล้านคนที่มีเชื้อไวรัสนี้ในร่างกาย พบเชื้อได้ในเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม เป็นต้น ทำให้มีโอกาสแพร่ เชื้อได้หลายทาง ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่

1. ทางเพศสัมพันธ์ กับผู้เป็นพาหะของเชื้อนี้

2. ทารกคลอดจากมารดาที่เป็นพาหะ อาจติดเชื้อระหว่างคลอด การเลี้ยงดู

3. ทางเลือดและน้ำเหลือง การได้รับเลือดที่ติดเชื้ออาจเกิดจากการใช้ของมีคม/ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหู การใช้ใบมีดโกน ร่วมกัน เป็นต้น

4. ทางผิดหนังที่เกิดบาดแผล ผิวหนังถลอก

5. ทางสัมผัสใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เป็นพาหะกับผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เด็กวัยเรียน เป็นต้น

ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ 30 - 180 วัน (เฉลี่ย 60 - 90 วัน ) ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสนี้ จะหายเป็นปกติ ที่เหลือเป็นพาหะของเชื้อต่อไปพาหะของเชื้อไวรัส ซึ่งอาจไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อต่อไป แต่ส่วนหนึ่งอาจป่วยเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับได้ (ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อนี้มีโอกาสเสี่ยงของมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึง 223 เท่า)

 


ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี

เป็นสาเหตุที่สำคัญของ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือด/ผลิตภัณฑ์เลือด เดิมเรียกว่า ไวรัสตับ อักเสบ ชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด ซี พบในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 1 ติดต่อได้โดยทางเลือดและน้ำเหลือง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดนอกจากนี้ อาจติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์

ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ประมาณ 15 - 160 วัน เฉลี่ย 50 วัน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เชื่อว่าเชื้อ ไวรัสนี้ยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบชนิด บี

 


ไวรัสตับอักเสพชนิด ดี

เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี มักจะพบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัส บี ทางติดต่อเช่นเดียวกับ ไวรัสตับอักเสบ บี

 


ไวรัสตับอักเสบชนิด อี

มีรายงานการระบาดของไวรัสนี้ในบางประเทศ ติดเชื้อไวรัสนี้โดยการกิน เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ เอ

 


อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
แบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้

1. ระยะอาการนำ มีอาการอ่อนเพลียมีไข้ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคล้าย ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหารมก คลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดท้องบริเวณชายโครงขวา มีท้องเสียได้ ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ ฯลฯ อาการนำเป็นอยู่นาน 4 - 5 วัน จนถึง 1 - 2 สัปดาห์

2. ระยะอาการเหลือง “ดีซ่าน” ผู้ป่วยมีตาเหลือง ตัวเหลือง อาการทั่วไปดีขึ้น แต่ยังอ่อนเพลียคล้ายหมดแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสพบว่า มีอาการดีซ่านเพียงครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า

3. ระยะฟื้นตัว อาจยังอ่อนเพลียอยู่ อาการข้างต้นหายไป หายเหลืองโดยทั่วไป ระยะเวลาของการป่วยนาน 2 - 4 สัปดาห์ จนถึง 8 - 12 สัปดาห์

 


การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส

วินิจฉัยได้จากอาการและอาการแสดงดังกล่าว ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และ การตรวจเลือด ดังนี้

1. ตรวจเลือดสมรรถภาพตับ

2. ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น ตับอักเสบบี

 


การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส

ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ซึ่งได้แก่

• การพักผ่อนเต็มที่ในระยะแรก ๆ จะช่วยลดอาการอ่อนเพลีย งดการออกแรงออกกำลังกาย งดการดื่มสุรา

• รับประทานอาหารย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม น้ำหวาน น้ำผลไม้

• ควรหลีกเลี่ยงอาการไขมันสูงในระยะที่มีคลื่นไส้ อาเจียนมาก

• ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำ ให้น้ำเกลือ หรือ ให้ยาแก้คลื่นไส้ ยาวิตามิน


......................................





Create Date : 27 มีนาคม 2551
Last Update : 2 สิงหาคม 2560 13:29:54 น. 0 comments
Counter : 5495 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]