Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

มาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน


มาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

ดัดแปลงจาก บทความของ แพทย์หญิง ปิยะนุช รักพาณิชย์


ทำไมถึงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

สาเหตุที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ก็เนื่องมาจากไขมันที่เรารับประทานเข้าไปจนเกินพอ ไปสะสมพอกพูนเป็นแผ่นคราบไขมันอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลอดเลือดหัวใจ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ไขมันชอบไปสะสมอยู่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมีหลายประการ ถ้ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ก็จะเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่

• ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อายุ เช่น ผู้ชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และ ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 55 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น
ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติ พ่อแม่หรือพี่น้อง เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น

• ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่เป็นเบาหวาน
ควบคุมความดันโลหิต สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง
ควบคุมระดับไขมันในเลือด สำหรับคนที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
การออกกำลังกาย คนที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือขาดการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
บุหรี่ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทั้งคนที่สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่ได้รับควันบุหรี่


ทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นโรคนี้

ถึงแม้ว่าปัจจัยบางอย่างจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น อายุ หรือเกิดในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ แต่ก็มี ปัจจัยอีกหลายอย่างที่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ อาหาร และการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ จะไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้นนอกจากการออกกำลังกายที่ถูกต้องแล้ว อย่าลืมเลิกบุหรี่ ควบคุมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และ ทำจิตใจให้สบายคลายเครียดกันด้วย


ออกกำลังกายแค่ไหน

การออกกำลังกายที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันนั้นคงแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. การออกกำลังกายแบบมาตรฐาน ได้แก่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค โดยทั่วๆไป เช่น เดิน วิ่ง

2. การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วเหนื่อยพอสมควร เช่น ตัดหญ้า ถูบ้าน เป็นต้น

จากการวิจัยพบว่า ความแรงในการออกกำลังกาย ไม่ได้เป็นตัวกำหนดในการที่จะมีผลช่วย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุตัน ตัวกำหนดที่สำคัญก็คือปริมาณพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันมากกว่า ( พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายมีหน่วยเป็นกิโลแคลลอรี่ ) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ
1. น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมของผู้ที่ทำกิจกรรมนั้นๆ
2. ชนิดของกิจกรรมที่ทำว่าใช้พลังงานเทียบได้เป็นกี่เท่าของขณะที่พัก (ดังตารางสรุปในตอนท้าย )
3. เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมโดยคิดหน่วยเป็นชั่วโมง


ลองดูตัวอย่าง ว่าการคำนวณทำอย่างไร

สมมุติว่าถ้า คุณ อายุ 58 ปี หนัก 68 กิโลกรัม เดินวันละ 4.8 กิโลเมตร โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 45 นาที ถามว่าคุณ ใช้พลังงานในการเดินทั้งหมดเท่าไร
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า การเดิน 4.8 กิโลเมตรโดยใช้เวลา 45 นาทีนั้น จะใช้พลังงานเป็น 3 เท่าของขณะที่พัก

วิธีคำนวณพลังงานที่ใช้ = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม x พลังงานของกิจกรรมที่เทียบเป็นเท่าของขณะที่พัก x เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมโดยคิดหน่วยเป็นชั่วโมง

ดังนั้น การใช้พลังงานในการเดินด้วยอัตราดังกล่าว = 68 x 3 x ¾ = 153 กิโลแคลอรี่

จากการวิจัยพบว่าการออกกำลังกาย ที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ มีอายุยืน และ ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจนั้น ควรจะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมให้มีการใช้พลังงานอย่างน้อยวันละ 200 กิโลแคลอรี่ ทุก ๆ วัน

จะเห็นได้ว่า ที่คุณออกกำลังกายโดยการเดินวันละ 4.8 กิโลเมตร เป็นเวลา 45 นาทีนั้น ใช้พลังงานไปเพียงประมาณ 153 กิโลแคลอรี่เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่ต้องการ คืออย่างน้อย 200 กิโลแคลอรี่ ซึ่งถ้าคุณต้องการที่จะออกกำลังให้มีการใช้พลังงานมากขึ้นเป็น 200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
เพิ่มเวลาออกกำลังกายเป็น 1 ชั่วโมง โดยเดินด้วยอัตราเร็วเท่าเดิมจะใช้พลังงานเป็น 204 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือ
เพิ่มความเร็วในการเดินให้ได้ 6.4 กิโลเมตรในเวลา 45 นาที ก็จะใช้พลังงานเป็น 204 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือ
เพิ่มการทำงานในกิจวัตรประจำวันให้มากขึ้น เช่น ทำสวนปลูกต้นไม้รดน้ำต้นไม้วันละ 15 นาทีก็จะใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น วันละ 50 กิโลแคลอรี่ ซึ่งรวมกันแล้วก็ประมาณ 200 กิโลแคลอรี่ ซึ่งก็นับว่าเพียงพอ


จากการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์นั้นควรใช้พลังงานอย่างน้อย 1,000-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อสัปดาห์ แต่ถ้าออกกำลังกายมากเกินไปเช่นมากกว่า 3,500 กิโลแคลอรี่ต่อสัปดาห์ อาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพได้



Create Date : 10 พฤษภาคม 2551
Last Update : 10 พฤษภาคม 2551 13:57:08 น. 1 comments
Counter : 2176 Pageviews.  

 



รู้ทันก่อนสาย! เมื่อคนในบ้านเป็น "โรคหัวใจ-หลอดเลือด"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กุมภาพันธ์ 2553 07:43 น.

//www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000017741


นับวันครอบครัว ไทยส่วนใหญ่ มักเจ็บป่วย และตายอย่างกะทันหันจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีสมาชิกชายอยู่ในช่วงวัยกลางคนย่อมมีความเสี่ยงสูง ซึ่งปัจจัยหลักเกิดจากการกินผิดหลักโภชนาการอย่างเรื้อรัง ส่งผลให้เจ็บป่วย และเสียชีวิตเพราะรู้ไม่เท่าทันโรค สอดรับกับงานวิจัยพบว่า โรคหัวใจ เกิดจากอาหาร มีส่วนสำคัญในการทะลวงหลอดเลือด ดังนั้นอาหารจึงไม่ใช่เรื่องเล็กที่ทุกบ้านจะละเลยได้อีกต่อไป

เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกบ้านได้รู้เท่าทัน "พญ.สวรรยา เดชอุดม" ประธานฝ่ายวิชาการ มูลนิธิหัวใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวในงานสัมมนา “รู้ทันมฤตยูร้าย โรคหัวใจ และหลอดเลือด” ซึ่งจัดโดยโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ร่วมกับบริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ว่า

“ในอดีตคนไทยเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดน้อยมาก แต่ในปัจจุบันสถิติเพิ่มขึ้นเกือบทัดเทียมทางตะวันตกที่ลดลงมากในระยะ 10 ปีหลังนี้ เนื่องจากมีการเลียนแบบในการบริโภคอาหารตามค่านิยมไม่เลือกอาหารที่ดีต่อ สุขภาพก่อนรับประทาน เพราะไม่เห็นความสำคัญ และไม่ทราบว่า สามารถเลือกอาหารที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตะกรันไขมันในหลอดเลือดได้

โดยเฉพาะไขมัน ซึ่งความจริงแล้วมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ หากเลือกกินที่มีองค์ประกอบกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง ที่จะช่วยลดปริมาณ LDL และเพิ่ม HDL ได้ เช่น น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันมะกอก ประกอบกับการใช้เครื่องผ่อนแรงทำให้การออกกำลังลดลง ทำให้มีพลังงานจากอาหารเหลืออยู่ซึ่งร่างกายก็จะเปลี่ยนเป็นไขมัน ดังนั้นหากรู้เท่าทันทั้งสาเหตุ และปัจจัยจะสามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้”

สำหรับ สาเหตุของโรค พญ.สวรรยา อธิบายว่า เกิดจากเซลล์ของหัวใจ หรือสมองส่วนหนึ่งขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด ซึ่งอาจมีการตีบแคบจากตะกรันไขมันสะสมพอกพูนมาก่อนเป็นเวลานานสิบปี และมีอาการเตือนมาก่อน เช่น เจ็บหน้าอก หรือ อาจไม่มีการตีบแต่มีการอักเสบครุกรุ่นอยู่แล้วกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดได้ ทันที ทำให้บางคนเสียชีวิตกะทันหันโดยไม่มีอาการเตือนมาก่อน

ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดทำนายได้ รักษาหาย ป้องกันไว้ได้ทันท่วงที สุขภาพหัวใจจะดีตลอดไป ด้วยสมมุติฐานนี้ เราสามารถเอาชนะโรคร้ายได้ร้อยละ 70 แต่มีชายอีกกว่าร้อยละ 20 ที่เสียชีวิตแบบกะทันหันได้แม้เวลาหลับ และส่วนใหญ่ของสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนไม่เป็นไปตามสมมุติฐานแรก ทั้งจำนวนผู้ป่วยยังเพิ่มมากขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วย

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความสำคัญสามารถต่ออายุให้ผู้ป่วยร่วมกับการรักษา แบบต่างๆ ได้มากถึง 4 เท่า

สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นโรค ป้องกันได้ด้วยการเลิกพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค และเพิ่มพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะการกินและการออกกำลังกาย ลดกินหวาน เค็ม และมัน หันมากินไขมันชนิดดี อย่าง น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันมะกอก ซึ่งมีองค์ประกอบกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง กินผักผลไม้ให้มากขึ้น และเคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยกว่าที่เคย




ALOHA 5 หลักลดเสี่ยงโรค

1. A-Assessment ประเมินภาวะตนเอง ส่วนสูง น้ำหนัก วัดรอบเอว สอบประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว ควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่บุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน

2. L-Life Style ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กินอาหารให้สมดุลกับพลังงานที่ใช้และครบ 5 หมู่ เน้นกินผักผลไม้ เลี่ยงหวาน มัน ลดสุรา งดสูบบุหรี่และหมั่นออกกำลังกาย รักษารูปร่างและน้ำหนักให้สมส่วน

3. O-Others Intervention ขบวนการรักษาอื่นๆ เมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น ดูแลระดับไขมัน ควบคุมเบาหวาน และระดับน้ำตาล เป็นต้น

4. H-High risk of Heart Attack ถ้าเสี่ยงสูงต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อควบคุมและเลือกใช้ยาป้องกัน

5. A-Avoid หลีกเลี่ยงเมื่อไม่รู้จริงเช่น การใช้ฮอร์โมนชดเชยในวัยทอง การกินอาหาร หรือวิตามินเสริมที่ได้จากการสังเคราะห์เพื่อต้านออกซิเดชั่น เช่น carotene เป็นต้น



*** นักกำหนดอาหารแนะอาหารลดโรคหัวใจ

ด้าน "อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช" นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ให้การปรึกษาด้านโภชนบำบัด กล่าวถึงวิธีช่วยยืดอายุผู้ป่วยโดยไม่ต้องรับการผ่าตัด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และเบาหวานว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยอาหารดี ปริมาณสมดุลเป็นทางออกที่ดีสำหรับผู้ป่วย ผู้ที่มีความเสี่ยง รวมถึงผู้รักสุขภาพ ซึ่งอาหารลดโรคหัวใจในแต่ละวัน จะต้องครบ 5 หมู่

ประกอบ ด้วย ข้าว แป้ง เส้น ขนมปังและธัญพืชไม่ขัดสี 6-8 ทัพพี, น้ำมันที่มีกรดไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน น้อยกว่าวันละ 6-8 ช้อนชา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือโปรตีนคุณภาพดีจากปลาและถั่วเมล็ดแห้ง 10-12 ช้อนโต๊ะ ไข่แดงไม่เกิน 2 ฟอง/สัปดาห์ (ไข่ขาวไม่จำกัด) ผักหลากสี 3-5 ทัพพี ผลไม้ 4 อุ้งมือ นมและ ผลิตภัณฑ์นมพร่องไขมันไม่เกิน 2 กล่อง

ในขณะเดียวกันหมั่นเพิ่ม HDL ให้กับร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างน้อยเดินให้มากขึ้น ขยับร่างกายแม้เวลาทำงานด้วยการยกแขน ยกขา นอกจากนี้เลือกอาหารที่เพิ่ม HDL ผสมในมื้ออาหาร เช่น ส้มสดหรือน้ำส้มคั้น, ผักผลไม้สีม่วง, ไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอกและน้ำมันเมล็ดชา, ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์, ธัญพืชไม่ขัดสี

เป็น ที่ทราบกันว่า ไขมันมักเป็นผู้ร้ายแต่ก็ยังแฝงความดี จึงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง ทางออกที่ดีควรเลือกชนิดของไขมันที่มีกรดไขมันดีสูง ใช้น้ำมันให้เหมาะกับการปรุง โดยเลือกที่จุดเดือดเป็นควันสูงอย่างน้ำมันเมล็ดชา หรือน้ำมันคาโนล่าในการใช้ทอด เลี่ยงไขมันร้ายด้วยการอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง และใช้น้ำมันมากกว่า 1 ชนิดเพื่อเพิ่มความสมดุลของกรดไขมัน โดยนำมาผสมกันเองเมื่อประกอบอาหาร

หรือใช้น้ำมันผสมตามท้องตลาดแบบ น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน แต่ไม่ว่าจะเป็นไขมันดีแค่ไหน ก็ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะไขมันทุกชนิดให้พลังงานสูง อย่างไรก็ตาม นอกจากกินดีแล้ว ยังต้องออกกำลังกาย หมั่นตรวจสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มแอลกอฮอร์เกิน 1-2 ดริ๊ง/วัน เพียงเท่านี้ก็บอกลาโรคร้ายไม่ให้คุกคามคนในบ้านได้แล้วครับ

////////////////

ข้อมูลประกอบข่าว

1. HDL (high density lipoprotein) คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดีสำหรับหลอดเลือดแดงเพราะจะป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดี คือ โคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ถ้ามีระดับ HDL ในเลือดต่ำ ก็จะเพิ่มโอกาส เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ หลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น ระดับปกติในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งควรจะไม่ต่ำกว่า ๔๐ มก./ดล. ระดับ HDL ในเลือดของคุณอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลดี

2. LDL (low density lipoprotein) คือ ไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง วิธีการวัดระดับ LDL ในเลือด ทำได้ ๒ วิธี คือ วิธีคำนวณค่า LDL จากค่าโคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์และ HDL ในเลือด โดยใช้สูตร LDL= โคเลสเตอรอล-(ไตรกลีเซอไรด์/5) -HDL ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีหาค่า LDL โดยตรงจากเลือด ทำได้บางโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เท่านั้น




โดย: หมอหมู วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:33:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]