Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

มารู้จักโบท็อกซ์ ( BOTOX ) ฟิลเลอร์ ( FILLER ) ... ความรู้เพื่อประกอบการติดตามข่าว







มารู้จักโบท็อกซ์(BOTOX)

รศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ *
ประธานวิชาการ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย **

โบท็อกซ์ คืออะไร?

“โบท็อกซ์” (Botox) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของสาร โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ซึ่งเป็นโปรตีน ชนิดหนึ่ง ที่สร้างจาก แบคทีเรีย ชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์ หากได้รับในปริมาณมากๆ เช่น จากอาหารกระป๋องที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อตัวนี้ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากการที่กล้ามเนื้อกระบังลมไม่ทำงาน ผู้ป่วยจึงหยุดหายใจ

*ในประเทศไทยมีจำหน่าย โดย 2 บริษัท มีชื่อการค้าว่า Botox และ Dysport


โบทูลินั่ม ท็อกซิน ออกฤทธิ์ อย่างไร?

โบทูลินั่ม ท็อกซิน ออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาท ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ กล้ามเนื้อจึงคลายตัว หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ เกิด อัมพาตของกล้ามเนื้อเล็กๆนั้น โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2-3 วัน และเห็นผลสูงสุดในเวลาประมาณ 7– 14 วัน


แล้วแพทย์เอา “สารพิษ” นี้มาใช้ทำไม?

แพทย์ทราบมานานหลายสิบปีแล้วว่าหากฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อในปริมาณน้อยๆ โบทูลินั่ม ท็อกซินจะทำให้กล้ามเนื้อ “คลายตัว” ดังนั้นในยุคแรกๆ จักษุแพทย์จึงนำโบทูลินั่ม ท็อกซิน มาฉีดรักษาโรคตาเหล่ ตาเข และโดยบังเอิญจากการฉีดรักษาในบริเวณรอบดวงตานี้เอง ก็ทำให้แพทย์พบว่าริ้วรอยบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากหว่างคิ้วและรอบดวงตาดีขึ้นด้วย

ในยุคต่อมาจึงมีการฉีด โบทูลินั่ม ท็อกซิน เพื่อประโยชน์ในด้านความสวยงามตามมาอย่างแพร่หลาย และมีเทคนิควิธีการที่ต่างๆ กันออกไป มีการนำมาฉีดเพื่อทำให้หน้าเรียวลง ยกกระชับผิวหนัง ลดเหงื่อบริเวณรักแร้ ฝ่ามือ ตลอดจนรักษาอาการปวดศีรษะ ปวดเกร็งต้นคอ และอีกหลายกรณี ในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวมีการฉีดกันเป็น ล้านๆครั้ง ต่อปี


ผลของการฉีด โบทูลินั่ม ท็อกซิน อยู่นานเท่าใด?

โดยทั่วไปผลของการฉีดจะอยู่ได้นานประมาณ 3-8 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับว่าฉีดรักษาอาการอะไร ฉีดบริเวณใด ฉีดเป็นครั้งแรกหรือเป็นการฉีดซ้ำ ผู้รับการรักษาอายุเท่าใด ซึ่งการที่ผลการรักษาอยู่ไม่ถาวรนั้น ที่จริงอาจนับได้ว่าเป็นข้อดี เพราะหากผลที่ได้รับไม่เป็นที่น่าพอใจ ในที่สุดก็จะค่อยๆ หายไปเองได้ ข้อเสียก็คือสิ้นเปลือง เพราะหากได้ผลดี ถูกใจก็ต้องฉีดซ้ำเรื่อยๆ


โบท็อกซ์ อันตรายหรือไม่

จากการรวบรวมผู้ป่วยที่ได้รับการฉีด โบทูลินั่ม ท็อกซิน จำนวนมาก ในต่างประเทศ พบว่าไม่มีอันตรายถึงชีวิต เมื่อใช้โดยผู้เชี่ยวชาญและใช้ฉีดเพื่อความสวยงาม

ผลข้างเคียงส่วนมากที่เกิดขึ้นมักเป็นแบบเฉพาะที่ เช่น หนังตาตก กลืนอาหารลำบาก หน้าไม่สมมาตร หรือจุดเลือดออกในบริเวณที่ฉีด ซึ่งเกิดได้แม้ในมือผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้น แพทย์ และ ผู้ทำการรักษา จึงควรคุยกันโดยละเอียดก่อนการฉีดทุกครั้ง


เมื่อเกิดผลข้างเคียงแล้วจะทำอย่างไร?

ดังที่ได้กล่าวแล้วตอนต้นว่าผลจากการฉีด โบทูลินั่มท็อกซิน นั้นจะค่อยๆ หมดไปเองภายในเวลาเป็นเดือน ดังนั้นผู้รับการรักษาจึงใจเย็นๆ และค่อยๆ รอให้ผลของ โบทูลินั่ม ท็อกซิน หมดไปเองก็ได้

ส่วนในกรณีที่เกิดหนังตาตกนั้น ผู้รับการรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นกรณีไป


---------------------------------------------------------------------------------

แพทยสภาเตือนแพทย์ฉีดโบท็อกซ์ปลอม มีโทษถึงพักใช้ใบอนุญาตฯ

ตามที่ปรากฏข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีมีการจับกุมผู้จำหน่าย Botulinum Toxin ปลอมนั้น  นายแพทย์สัมพันธ์  คมฤทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การเสริมสวย และการโฆษณาของแพทยสภา ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การเสริมสวย และการโฆษณาของแพทยสภา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวและเห็นควรให้แจ้งเตือนแพทย์และประชาชนทราบดังต่อไปนี้

สาร Botulinum Toxin เป็นสารชีวพิษ แต่นำมาใช้ทางการแพทย์ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ การผลิตและการใช้สารนี้ต้องควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

จากการจับกุมครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามีการปลอมสารนี้ และมีการจำหน่ายในราคาถูกมาก(โดยคิดราคาต่ำกว่าของจริง 10 เท่า) และยังมีสารอื่น เช่น Filler จำหน่ายในราคาถูกกว่าของจริง ซึ่งผู้ที่ปลอมแปลงมีความผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว มีการลอบการนำสารที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้ามาและมาใส่ package ใหม่ โดยใช้ package ที่คล้ายกับของจริงที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ในการนี้ทราบว่ามีการกระทำเช่นนี้และใช้กันอย่างกว้างขวางโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน

โดยคณะอนุกรรมการฯ มีความเป็นห่วงในความปลอดภัยของประชาชนเป็นอย่างยิ่งจึงแจ้งเตือนมายังแพทย์และประชาชน ดังนี้

1.ขอให้แพทย์ ใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้จำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจาก อย.เท่านั้น และห้ามใช้ของปลอมโดยเด็ดขาด ถ้าแพทย์ท่านใดฉีดสารปลอม ท่านจะถูกลงโทษตามข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549

2.ประชาชน ควรทราบว่า ของปลอมอาจไม่ได้ผลการรักษาตามต้องการ และอาจเกิดอันตราย หรืออันตรายแก่ชีวิตจากการใช้ของปลอมนี้ ถ้าประชาชนที่พบเห็นแหล่งผลิต แหล่งซื้อขายของปลอม โปรดแจ้ง อย.

ถ้าประชาชนพบว่าแพทย์ใช้ของปลอมโปรดแจ้งแพทยสภาที่เบอร์โทร 02-5901886

3.แพทยสภาจะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ขาย นำเข้า ของปลอมและจะดำเนินคดีตามกฎหมาย

4.พบว่าการปลอมแปลงมักจะทำโดยการลักลอบนำสารปลอมนี้เข้ามาเอง (โดยลักลอบ และ หลีกเลี่ยงการรับรองจาก อย.) หรือนำของปลอมมาใส่ใน package ที่เป็นของจริงทำให้ดูเหมือนของจริง

ทั้งนี้คณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การเสริมสวย และการโฆษณาของแพทยสภา จะเสนอต่อคณะกรรมการแพทยสภา ให้กำหนดโทษต่อแพทย์ที่ฉีดของปลอมอย่างรุนแรง เช่น พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยประชาชน

หากประชาชนต้องการทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่างๆ สามารถโทร.สอบถามได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ รับฟังข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


..........................................


โบท็อกซ์ คืออะไร

ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์
ฝ่ายบริหารจัดการความรู้   ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BioTec)
นักเขียนประจำ วิชาการ.คอม

https://www.vcharkarn.com/varticle/244


โบท็อกซ์ คืออะไร ?

คำว่า “โบท็อกซ์ (Botox?) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของสารชีวภาพชนิดหนึ่งคือ โบทูลินัม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ซึ่งถ้าใครไปค้นคำว่า “โบทูลินัม” ดู ก็จะพบว่าเป็นชื่อของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือ คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์

คำว่า “ท็อกซิน” นั้นแปลตรงตัวว่า “สารพิษ” แต่ว่าคำนี้เป็นคำกลางๆ นะครับ กล่าวคือ อาจจะเป็นสารพิษต่อมนุษย์หรือไม่ก็ได้ เช่น สารพิษบางอย่างเป็นพิษต่อแมลงบางชนิด แต่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ในกรณีนี้ก็เรียกสารดังกล่าวว่า “ท็อกซิน” ได้เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า “เอ” นั้นระบุว่า ท็อกซินชนิดนี้เป็นหนึ่งในท็อกซินที่สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ผลิตได้ (มีทั้งหมด 7 ชนิด)

ในบทความนี้ ผมจะขออนุญาตเรียกว่า “ท็อกซิน” ทับศัพท์ไป แทนที่จะใช้ว่า “สารพิษ” หรือ “ชีวพิษ” (ตามการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน) เพราะต้องการหลีกเลี่ยงความหมายที่เหลื่อมล้ำกันเล็กน้อยสำหรับคำในภาษาอังกฤษและไทยนะครับ

ขอสรุปง่ายๆ เสียตรงนี้ก่อนว่า “โบท็อกซ์” นั้นมีที่มาจากท็อกซิน ที่พบในแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์นั่นเอง

ท็อกซินชนิดนี้พบตามธรรมชาติตั้งแต่ปี 1817 โดยนายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ จัสทินัส เคอร์เนอร์ (Justinus Kerner) ท็อกซินชนิดนี้มีอันตรายไม่น้อย กล่าวคือ อาจมีความรุนแรง ถึงขนาดทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว เนื่องจากท็อกซินดังกล่าว จะออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาท ไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ชนิดหนึ่ง คือ อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ได้ มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่อาจหดตัวได้ ซึ่งในผู้ป่วยรายที่เสียชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากว่า กล้ามเนื้อหน้าอกซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ นั่นเอง

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วสินะครับว่า ถ้าการมีท็อกซินดังกล่าวมีอันตรายเช่นนั้นแล้ว ทำไมยังจะมีคนต้องการฉีด “โบท็อกซ์” อยู่อีก หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะสงสัยว่า ก็แล้ว “โบท็อกซ์” มาเกี่ยวข้องกับการลบรอยเหี่ยวย่นได้อย่างไร คำตอบเรื่องนี้ง่ายนิดเดียวนั่นก็คือ …
การที่กล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ (หรือเป็นอัมพาตไป) ก็จะมีผลข้างเคียงสำคัญคือ มันจะไม่สามารถทำให้เกิด “รอยเหี่ยวย่น” ได้นั่นเองครับ

จากการเยียวยาโรคสู่ “ศัลยกรรมความงาม”

ในระยะแรกของการนำ “โบท็อกซ์” มาใช้งานนั้น จุดประสงค์หลักๆ ก็คือ เพื่อใช้สำหรับรักษาอาการกระตุกของกล้ามเนื้อตา อาการตาเหล่หรือตาเข ตลอดไปจนถึงอาการปวดตึง ผิดธรรมดาของกล้ามเนื้อคอ  โดยมีการอนุญาตให้ใช้ได้ในประเทศสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2532

แต่เรื่องของการฉีดโบท็อกซ์มาฮือฮากันจริงๆ ก็ตอนที่องค์การอาหารและยา สหรัฐฯ หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า เอฟดีเอ (FDA, Food and Drug Administration) อนุมัติให้ใช้ “โบท็อกซ์” เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมความงามในเดือนเมษายน 2545 เพราะฉะนั้น ใครไปฉีดโบท็อกซ์กันมาก่อนหน้านั้น ก็ควรจะรับทราบกันไว้ด้วยว่า เป็นการทำศัลยกรรมแบบผิดกฎหมายนะครับ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานไหนในโลก รับรองความปลอดภัยให้นะครับ ส่วนของประเทศไทยนั้น องค์การอาหารและยา (หรือ อย.) อนุญาตให้ใช้ได้หรือไม่ ผมยังค้นข้อมูลแบบเป็นทางการไม่พบนะครับ ถ้าใครพอทราบช่วยบอกให้ทราบด้วยนะครับ

ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งก็คือ การฉีดโบท็อกซ์นั้นจะเห็นผลได้เร็วมากคือ อาจจะเพียงไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึง 2-3 วันภายหลังจากการฉีด แต่ผลจากการฉีดจะไม่คงอยู่อย่างถาวรนะครับคือ มีรายงานว่าจะอยู่ได้ราว 3-6 เดือน (อาจนานได้ถึง 8 เดือน) หากต้องการลบรอยย่นอีก ก็ต้องฉีดซ้ำอีก โดยจะต้องเป็นการฉีดโดยตรง ที่กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ เพื่อลดความเสี่ยง จากการแพร่กระจายของท็อกซิน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ความคลั่งไคล้ “ความงามแบบเปลือกๆ” นั้นมีอย่างมากมายมหาศาลจนเหลือเชื่อเลยล่ะครับ สมาคมศัลยกรรมพลาสติก เพื่อความงามแห่งอเมริกา (ASAPS, the American Society for Aesthetic Plastic Surgery) ระบุว่า การฉีดโบท็อกซ์ เป็นกระบวนการที่เติบโตเร็วที่สุด ในอุตสาหกรรมเสริมความงามในปี 2544 โดยพบว่ามีชาวอเมริกันจำนวน มากกว่า 1.6 ล้านคน ที่ฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าปีก่อนนั้นราว 46 เปอร์เซ็นต์

จำนวนดังกล่าวมากจน แซงหน้าจำนวนผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอก (ซึ่งเป็นศัลยกรรมความงาม อีกแบบหนึ่งที่ฮิตมากในสหรัฐฯ) ในปีนั้นเสียอีก และถ้าใครช่างสังเกตสักนิด ก็จะสังเกตเห็นได้ว่า ตัวเลขที่ผมยกมาเป็นของปี 2544 ซึ่งเป็นปีก่อนหน้าที่ FDA จะอนุมัติ ให้ใช้โบท็อกซ์ เพื่อประโยชน์ด้านความงามเสียอีก!!!

ไม่แน่ว่าสาเหตุหลักๆ ของเรื่องนี้อาจจะมาจากคำโฆษณา ประเภทที่ว่า “คุณสามารถกลับเป็นหนุ่มสาวได้ง่ายๆ เพียงแค่การฉีดโบท็อกซ์เพียงเข็มเดียว” หรือไม่ก็ “ลบรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกาได้ผลทันใจ” อะไรประมาณนั้น … ก็เป็นได้นะครับ

ไหนๆ ก็พาดพิงถึงเรื่องการผ่าตัดเสริมอกแล้ว ก็ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า ข้อมูลที่ได้จากนิตยสาร Time ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2548 ระบุว่า FDA ประกาศยกเลิกการใช้ “ซิลิโคน” สำหรับการผ่าตัดเสริมหน้าอกไปก่อนหน้านี้แล้วถึง 13 ปี สาเหตุหลักก็คือความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีสถิติที่ชี้ว่า ... มีโอกาสเสี่ยงสูงถึง 74 เปอร์เซ็นต์สำหรับคนไข้ ที่จะเกิดการแตกของถุงซิลิโคน ภายในระยะเวลา 10 ปีภายหลังการผ่าตัด!!!

สูงจนน่าตกใจเลยนะครับ ... เอ ว่าแต่เมืองไทยยังใช้ “ซิลิโคน” สำหรับการผ่าตัดเสริมหน้าอกกันอยู่ (อย่างถูกกฎหมาย) หรือเปล่า ใครพอจะทราบไหมครับ ?


สวยแบบสุ่มเสี่ยง
ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่น่าจะไม่ทราบกันก็คือ ในสหรัฐฯ นั้น การฉีดโบท็อกซ์เพื่อลบรอยเหี่ยวย่นหรือรอยตีนกา สามารถทำให้กับคนไข้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ ศัลยกรรมความงามด้วยโบท็อกซ์ที่ทำกันอยู่นั้น จำนวนมากเป็นการทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผมก็ยังสงสัยว่า … ในหมู่คนไทยนั้น ไม่ว่าแพทย์หรือคนไข้จะมีสักกี่คนที่ทราบเรื่องนี้ เพราะเห็นโฆษณากันโครมครามจนดูเหมือนว่า ใครที่ต้องการก็น่าจะทำได้ (ถ้ามีเงินพอจ่าย)!

นอกเหนือจากข้อควรระวังบางประการ จากการฉีดโบท็อกซ์ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์อาจจะมีผลทำให้โบท็อกซ์ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี หรืออาจแย่ไปกว่านั้นอีกก็คือ ทำให้เกิดรอยแผล บริเวณตำแหน่งที่ฉีดโบท็อกซ์ได้อีกด้วย แต่คำเตือนที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นที่ FDA เตือนไว้เช่นกันก็คือ ในระหว่างการฉีดโบท็อกซ์ อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้เสมอ (มักจะเกิดกับคนไข้ราว 3-10 เปอร์เซ็นต์) จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแล อย่างใกล้ชิดของแพทย์ และต้องทำการฉีดในสถานที่ซึ่งมีเครื่องมือ พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้

ผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อกซ์นั้น มีหลายรูปแบบด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่ปวดศีรษะ คลื่นไส้ คัน เจ็บคอ มีไข้ มีอาการคล้ายเป็นหวัด ไปจนถึงเกิดอาการเจ็บปวดและเกิดแผลช้ำบริเวณที่ฉีด เกิดอาการกล้ามเนื้อเปลือกตาหย่อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เป็นต้น

ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดนั้น การฉีดโบท็อกซ์ที่ผิดขนาดไปมากๆ อาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้เช่นกัน
ในเอกสารการวิจัยทางการแพทย์ก็มีระบุว่า ผู้ที่ฉีดโบท็อกซ์บ่อยๆ นั้นมีผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีใบหน้าที่ “ดูคล้ายหน้ากาก” คือ แลดูไม่มีอารมณ์ ความรู้สึกมากขึ้นทุกที ซึ่งก็คล้ายกับอาการ ที่พบในผู้ป่วยที่โดนพิษโบท็อกซ์ ตามธรรมชาติบางราย ที่เป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าบางส่วน เนื่องจากโบท็อกซ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายและได้มาก การควบคุมปริมาณหรือโดส (dose) ของโบท็อกซ์ให้ถูกต้องเหมาะสม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

วิทยาศาสตร์ฟุ่มเฟือย
= วิทยาศาสตร์เทียม?

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้ว่าเรื่องของโบท็อกซ์นั้น จะมีข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับอยู่จริง และไม่ได้เป็น “วิทยาศาสตร์เทียม” ด้วยตัวของมันเองก็ตามที แต่ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า การที่เริ่มต้นจากเจตนาดีที่ต้องการนำ โบท็อกซ์มาใช้ในการรักษาโรค

แต่ต่อมาก็เกิดเลยเถิดมาเป็นเรื่องของการทำศัลยกรรมความงามไปเสียได้ (เรียกว่า “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา” ไปเสียนี่) ทำให้ช่วยเน้นย้ำว่า ...

ตัวความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ได้มีความดีหรือความเลว โดยตัวของมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับ “ผู้นำไปใช้” และ “จุดประสงค์ของการนำไปใช้” มากกว่า ว่าเป็นไป “เพื่อประโยชน์” หรือ “เพื่อผลประโยชน์”

นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกแต่จริงนะครับ … เวลาอ่านนิยายกำลังภายในจีนแล้ว เราอาจจะพบว่าในเนื้อเรื่องมีการ “ใช้พิษไปแก้พิษ” (เข้าทำนองสุภาษิตไทยที่ว่า “หนามยอกให้เอาหนามบ่ง”) ซึ่งฟังดูออกจะแปลกประหลาดพิกลมากแล้ว แต่การใช้พิษแก้พิษก็จะกลับกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปเลย ... เมื่อเทียบกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการ “ใช้พิษเสริมความงาม” กันอย่างมากมายบานตะไท (ชนิดไม่กลัวตายกันเลยทีเดียว) !!!

บทความต่อ: ดีท็อกซ์: ล้างพิษร่างกาย ... ทำได้จริงหรือ? ได้ที่ https://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=329


แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์

สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับโบท็อกซ์หรือมาตรฐานเกี่ยวกับอาหารและยาชนิดต่างๆ ท่านสามารถหาความรู้ได้จากเว็บไซต์ของ FDA ที่ https://www.fda.gov/ อีกเว็บไซต์หนึ่งที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียดละออเกี่ยวกับโบท็อกซ์และเรื่องอื่นๆ ทางการแพทย์ได้แก่ https://www.emedicine.com/

บทความนี้บางส่วนดัดแปลงจาก
นำชัย ชีววิวรรธน์ (2548), โบท็อกซ์ (Botox):สวยด้วยยาพิษ, คอลัมน์ ‘จับผิดวิทย์เก๊’, วารสารอัพเดท (UpDATE), ฉบับที่ 214

....................................

 เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนประชาชน อย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ ที่โฆษณา การฉีดโบท็อกซ์ โดยเฉพาะการฉีดสารกลูตาไธโอน ที่อวดอ้างสรรพคุณทำให้ผิวขาวใส เพราะเป็นการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เนื่องจากเป็นการนำสารกลูตาไธโอนมาใช้ในทางที่ผิด เพราะสารกลูตาไธโอนไม่ได้มีข้อบ่งชี้ ในการช่วยทำให้ผิวขาวใสขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประโยชน์ที่อาจนำมาใช้ในทางการแพทย์ตามที่ระบุในเอกสารวิชาการ คือ การรักษาพิษจากยาพาราเซตามอล โดยใช้เบื้องต้นสำหรับรักษาโรคมะเร็งบางชนิด และขณะนี้ อย.ไม่ได้มีการรับขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ใช้สารนี้แต่อย่างใด

       นอกจากนี้ หากผู้ฉีดยาเป็นหมอเถื่อนที่ไม่ได้จบแพทย์ และไม่มีความรู้ด้านการรักษาหรือการฉีดยา ผู้บริโภคอาจได้รับอันตราย และเสียเงินทองจำนวนมาก พร้อมกันนี้ ขอเตือนมายังเจ้าของเว็บไซต์ทุกราย หรือแหล่งใดๆ ที่โฆษณาฉีดโบท็อกซ์ ฉีดกลูตาไธโอน หรือฉีดสารใดๆ ก็ตามเข้าไปในร่างกาย เพื่อทำให้ผิวขาวใส พร้อมการขายยา หรืออาหารเสริม อวดสรรพคุณทำให้ผิวขาว อย่าได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ หากเป็นเว็บไซต์จะประสานไปยังกระทรวงไอซีที ดำเนินการตรวจสอบและสั่งปิดเว็บไซต์ พร้อมดำเนินคดีต่อเจ้าของเว็บไซต์อย่างเคร่งครัด มีโทษทั้งจำและปรับ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย หรือโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อต่างๆ สามารถร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบการกระทำความผิด

..................................



โบท็อกซ์ปลอม: อันตรายที่แท้จริง
https://www.vcharkarn.com/varticle/41560
ปลอมอย่างแนบเนียน
            เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "โบท็อกซ์" ผ่านหูกันมาบ้าง คนส่วนใหญ่รู้จักโบท็อกซ์ในฐานะสารที่ฉีดเพื่อลบริ้วรอยบนใบหน้า โบท็อกซ์ (Botox) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของโปรตีนสารพิษ "โบทูลินัมท็อกซิน เอ" (Botulinum toxin A)  ซึ่งผลิตจากแบคทีเรีย คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum)  แรกเริ่มเดิมทีโบท็อกซ์ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้รักษาอาการกระตุกของกล้ามเนื้อตา แต่เมื่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ อนุมัติให้ใช้โบท็อกซ์ในการศัลยกรรมเสริมความงามได้ เรื่องการฉีดโบท็อกซ์จึงได้รับความสนใจจากผู้รักสวยรักงามอย่างมาก ตลาดของโบท็อกซ์จึงเปลี่ยนจากการรักษาไปเป็นศัลยกรรมความงามอย่างรวดเร็ว

กระแสคลั่งไคล้โบท็อกซ์
             แม้ผลกระทบจากการฉีดโบท็อกซ์จะยังหาข้อสรุปไม่ได้และยังถกเถียงกันอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีความหมายต่อผู้ที่ต้องการฉีดโบท็อกซ์เท่าใดนัก ผู้คนยอมเสี่ยงเพื่อแลกกับความงาม สมาคมศัลยแพทย์ศัลยกรรมพลาสติกของสหรัฐอเมริการายงานว่า ปี 2552 มีผู้ฉีดโบท็อกซ์ถึง 4.8 ล้านคน เป็นหญิง 4.5 ล้านคน ชาย 3 แสนคน ในจำนวนนี้เป็นวัยรุ่น (อายุ 18-19 ปี) กว่า 1,1000 คน! แม้ว่ากฎหมายสหรัฐฯ และอีกหลายประเทศจะห้ามผู้ประกอบการไม่ให้ฉีดโบท็อกซ์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ก็มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ฉีดโบท็อกซ์อยู่บ่อยๆ ตัวอย่างเช่น ข่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2553 รายงานว่า Hannah Burge เด็กสาวชาวอังกฤษ อายุ 16 ปี กล่าวว่าเธอได้ฉีดโบท็อกซ์ตั้งแต่เธออายุ 15 ปี! โดยแม่ของเธอเป็นผู้ฉีดให้ เด็กสาวให้เหตุผลว่าเธอต้องการลบรอยย่นที่หน้าผาก 2 เส้น และรอบๆ ปาก เธอไม่อยากรอให้ใบหน้าเธอน่าเกลียดตอนอายุ 25 เธอยังบอกอีกว่าเพื่อนที่โรงเรียนใครๆ ก็พูดถึงโบท็อกซ์กันทั้งนั้น และเธอคิดว่าใครๆ ก็ฉีดกันทั้งนั้น เพียงแต่เธอฉีดเร็วกว่าคนอื่นนิดหน่อย เท่านั้นเอง

      กระแสนิยมความงามที่เปลือกนอกผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตโบท๊อกซ์เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้จะมีกฎหมายควบคุมแต่ดูเหมือนผู้ที่ต้องการโบท็อกซ์ก็สามารถดิ้นรนหามาใช้จนได้ โดยไม่สนใจว่าจะได้มาอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ อย่างกรณีของ Hannah Burge แม่ของเธอผู้ผ่านการทำศัลยกรรมพลาสติกมามากว่า 100 ครั้ง สั่งซื้อโบท็อกซ์จากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผลกำไรมหาศาลในธุรกิจโบท็อกซ์ดึงดูดผู้ประกอบการจำนวนมากให้เข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากธุรกิจนี้ การผลิต การขายและการให้บริการอย่างผิดกฎหมายจึงเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ แล้ว "โบท็อกซ์ปลอม" จำนวนมากจึงมาถึงมือผู้บริโภคในที่สุด มีการประเมินจากผู้ผลิตโบท็อกซ์ว่าบริษัทเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับโบท็อกซ์ปลอมคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียหลายร้อยดอลลาร์ต่อปี

โบท็อกซ์ปลอมมีหลายระดับ
             ในช่วงแรกที่โบท็อกซ์ถูกนำมาใช้เสริมความงาม โบท็อกซ์ของแท้ยังผลิตได้ไม่มากนักและมีราคาสูง จึงมีพ่อค้าหัวใสอาศัยช่องว่างนี้นำสินค้าโบท็อกซ์ปลอมมาขาย จากการสำรวจพบว่า 80% ของโบท็อกซ์ปลอมแปลงที่ขายในช่วงนี้ไม่มีโบทูลินัมท็อกซินอยู่เลย โบท็อกซ์ปลอมอาจทำมาจากน้ำเปล่า น้ำเกลือ หรือวิตามินก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ คือ ไม่มีสารออกฤทธิ์อยู่เลย เรียกได้ว่าเป็น "โบท็อกซ์ปลอมล้วนๆ" ใช้การหลอกขายกันอย่างซึ่งๆหน้า บางรายใช้วิธีพื้นๆ อย่างการตั้งชื่อให้พ้องเสียงกับของแท้ เช่น "Butox” หรือ “Beauteous" (ของแท้คือ Botox) ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการเสริมความงามซึ่งนำไปใช้ฉีดน่องเพื่อเพิ่มความกระชับให้กับผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตามผู้ที่ซื้อโบท็อกซ์ปลอมล้วนๆ ไปใช้ยังถือว่าโชคดี เพราะการฉีดน้ำเกลือหรือวิตามินที่ใส่ขวดหลอกขายเป็นโบท็อกซ์อย่างน้อยก็ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

             โบท๊อกซ์ปลอมล้วนๆ ย่อมไม่สามารถหลอกใครได้นานนัก เพราะการใช้เพียงครั้งเดียวก็ทำให้ทราบว่าถูกหลอกขายของปลอม และเมื่อการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลบริ้วรอยได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ให้บริการด้านความงามก็ต้องพยายามสรรหาช่องทางและวีธีการให้ได้มาซึ่งโบท็อกซ์ที่ราคาถูกและลูกค้าพึงพอใจในผลลัพธ์ จึงต้องเข้มงวดขึ้นเลือกซื้อโบท็อกซ์จากตัวแทนจำหน่าย แต่ผู้ผลิตสินค้าปลอมเองก็ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ มีการพัฒนาโบท็อกซ์ปลอมด้วยเช่นกัน

             ที่โบท็อกซ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะปัจจุบันผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตโบทูลินัมท็อกซินความบริสุทธิ์สูง (pharmaceutical grade) สำหรับฉีด ทั่วโลกมีเพียง 7 ราย เท่านั้น ที่จริงยังมีผู้ผลิตโบทูลินัมท็อกซินรายอื่นอยู่อีก เพียงแต่ได้รับอนุญาตและมีความสามารถในการผลิตโบทูลินัมท็อกซินที่มีความบริสุทธิ์ต่ำกว่า สำหรับการทดลองทางวิยาศาสตร์ (reagent grade) เท่านั้น แต่ที่สำคัญคือมีราคาถูกกว่ามาก ทั่วโลกมีผู้ผลิตโบทูลินัมท็อกซินสำหรับการทดลองหลายสิบราย จึงเป็นช่องทางในการผลิตโบท็อกซ์ปลอม โบทูลินัมท็อกซินสำหรับทดลองนี้ถูกนำไปบรรจุในหลอดแก้วติดฉลากเป็นโบท็อกซ์แล้วนำไปขายปะปนกับของแท้ ซึ่งก็สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการเพราะสามารถออกฤทธิ์ได้จริงขณะเดียวกันผู้ให้บริการก็พอใจเพราะราคาถูก และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นผู้ให้บริการก็สามารถอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากผลกระทบของการฉีดโบท็อกซ์ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ รวมทั้งผู้ใช้บริการยังเซ็นยินยอมไว้แล้ว

            "โบท็อกซ์ปลอมเกรดสำหรับการทดลอง" ส่วนใหญ่มาจากเอเชียผ่านทางตัวแทนจำหน่ายเถื่อน ไม่มีใครทราบว่าโบทูลินัมท็อกซินสำหรับการทดลองถูกแจกจ่ายให้กับธุรกิจโบท็อกซ์ปลอมได้อย่างไร ทางโรงงานหรือผู้ผลิตมีส่วนรู้เห็นกับการกระบวนการผลิตโบท็อกซ์ปลอมหรือไม่ พ่อค้าคนกลางอาจซื้อโบทูลินัมท็อกซินจากผู้ผลิตเหล่านี้แล้วนำไปบรรจุในหลอดแก้วติดฉลากเป็นโบท็อกซ์แล้วขายให้กับผู้ให้บริการศัลยกรรมความงาม หรือผู้ให้บริการศัลยกรรมความงามเถื่อนอาจสั่งซื้อโบทูลินัมท็อกซินในราคาถูกจากผู้ผลิตสำหรับการทดลองแล้วนำมาฉีดให้กับผู้ใช้บริการ โบท็อกซ์ปลอมแบบนี้คล้ายกับโบท็อกซ์ของแท้มาก ในประเทศจีนมีตัวแทนจำหน่ายเถื่อนอย่างน้อย 20 ราย ทุกรายอ้างตัวเป็นบริษัท มีเวปไซต์ที่ดูน่าเชื่อถือ ประกาศตัวว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายทีได้รับอนุญาตอย่างแนบเนียน เพียงแต่ที่ตั้งของบริษัทที่อยู่บนเวปไซต์ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ที่ไม่มีอยู่จริงหรือเป็นที่ตั้งของสำนักงานร้าง ตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้ขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้นจึงไม่น่าแปลกใจถ้าผู้ให้บริการเสริมความงามหลายรายจะถูกหลอก

            การลักลอบนำโบทูลินัมท็อกซินที่มีความบริสุทธิ์ต่ำไปผลิตโบท็อกซ์ปลอมเป็นวิธีการที่แนบเนียนและมีประสิทธิภาพ แต่ใช่ว่าจะผลิตโบท็อกซ์ปลอมได้มากมายนัก เพราะโบทูลินัมท็อกซินความบริสุทธิ์ต่ำที่ลักลอบมาขายเป็นเพียงบางส่วนที่ผลิตได้ การจะลักลอบนำมาขายให้มากขึ้นก็เป็นไปได้ยาก จำนวนโรงงานก็มีอยู่จำกัด ทางออกสำหรับผู้ผลิตโบท็อกซ์ปลอมก็คือ ตั้งโรงงานเพื่อผลิตโบทูลินัมท็อกซินเอง วิธีนี้ทำให้สามารถผลิตโบท็อกซ์ปลอมได้เท่าที่ต้องการและยังได้กำไรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วย มีหลักฐานว่าสหภาพโซเวียตเก่าเป็นแหล่งผลิตโบท็อกซ์ปลอมโดยมีแก๊งอาชญากรเกี่ยวข้องด้วย ที่นี่สามารถตั้งโรงงานเถื่อนเพื่อผลิตโบทูลินัมท็อกซินได้เอง เพราะเดิมมีโรงงานผลิตยาปลอมอยู่จำนวนมาก ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงคนหนึ่งกล่าวว่าการผลิตโบท็อกซ์ปลอมนี้ดำเนินมานานกว่า 3 ปีแล้ว โดยมีโรงงานผลิตโบทูลินัมท็อกซินอยู่ในสาธารณรัฐเชชเนียและนำมาบรรจุหลอดแก้วที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ทั้งหลอดแก้ว ฉลาก และห่อบรรจุเหมือนกับโบท็อกซ์ของแท้จนแยกไม่ออก เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมโบท็อกซ์ปลอมแบบครบวงจร

อันตรายจากโบท็อกซ์ปลอม
            โบท็อกซ์ปลอมไม่ว่าจะมาจากการผลิตโดยโรงงานเถื่อนหรือจากการนำโบทูลินัมท็อกซินสำหรับการทดลองทางวิยาศาสตร์มาปลอมแปลงล้วนแล้วแต่มีสิ่งเจือปนสูงกว่าของแท้ทั้งสิ้น สิ่งเจือปนทั้งหลายอาจเป็นพิษโดยตรงหรือก่อให้เกิดภูมิแพ้แก่ผู้ฉีด นอกจากนี้สิ่งที่อันตรายยิ่งกว่าคือโบท็อกซ์ปลอมมีความเข้มข้นของโบทูลินัมท็อกซินไม่แน่นอน โดยปกติการฉีดโบท็อกซ์ต้องคำนวณปริมาณที่ใช้ฉีดให้เหมาะสม การฉีดเกินไปเพียงเล็กน้อยเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อความเข้มข้นแต่ละหลอดที่นำมาใช้ความเข้มข้นไม่เท่ากัน แม้แพทย์จะคำนวณปริมาณการฉีดได้ถูกต้องแต่คนไข้อาจได้รับโบทูลินัมท็อกซินไม่ตรงตามที่คำนวณ ถ้าได้รับน้อยไปก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าได้รับมากไปก็อาจทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิต อย่างไรก็ตามอันตรายทั้งหลายที่กล่าวเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลเพียงไม่กี่คนเท่านั้นซึ่งส่วนใหญ่ก็ยอมรับความเสี่ยงจากโบท็อกซ์อยู่แล้ว  ดังนั้นจึงเทียบไม่ได้เลยกับการที่โบท็อกซ์ปลอมเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ!

อันตรายที่แท้จริง
             อันตรายที่แท้จริงจากโบท็อกซ์ปลอมคือการที่โบทูลินัมท็อกซินตกไปอยู่ในมือผู้ก่อการร้าย นี่ไม่ใช่การวิตกกังวัลจนเกินเหตุแต่อย่างใด โบท็อกซ์ปลอมจำนวนมากที่มีขายปะปนอยู่กับของแท้จนแยกแยะแทบไม่ออกเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การผลิตโบท็อกซ์ทั้งกระบวนการอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่มีใครสามารถควบคุมการตั้งโรงงานผลิตจนมีโรงงานเถื่อนผลิตโบทูลินัมท็อกซินทั่วโลกซึ่งไม่ทราบว่ามีอยู่เท่าใด มีกำลังการผลิตโบทูลินัมท็อกซินเท่าใด มีตัวแทนจำหน่ายเถื่อนอยู่มากมายและพร้อมที่จะขายโบท็อกซ์ปลอมให้ใครก็ตามพี่มีเงินซื้อ แม้แต่ผู้ก่อการร้าย

การแก้ปัญหา?
             ผู้ผลิตโบท็อกซ์ของแท้รายหนึ่งพยามแก้ปัญหาด้วยแนวคิดที่ว่าหากความต้องการโบท็อกซ์ปลอมลดลงจะทำให้โรงงานผลิตโบท็อกซ์เถื่อนขายไม่ออกและต้องปิดไป จึงใส่หมายเลขผลิตภัณฑ์กำกับไว้ทุกขวด เปลี่ยนฉลากและห่อบรรจุที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงยากจะเลียนแบบ รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ใช้ "โบท็อกซ์ของแท้สังเกตอย่างไร" หรือ "อันตรายจากการใช้โบท็อกซ์ปลอม" เป็นต้น ซึ่งก็อาจคนใช้โบท็อกซ์ปลอมลดลงและใช้ของแท้มากขึ้น แต่คงไม่ทำให้โรงงานผลิตโบท็อกซ์ปลอมต้องปิดตัวลงเพราะขายโบท็อกซ์ปลอมไม่ได้ เพราะโรงงานเถื่อนก็ยังมีตลาดอื่นอย่างผู้ก่อการร้ายหรือประเทศที่กำลังมีสงครามอยู่ แล้วการผลิตโบทูลินัมท็อกซินเพื่อใช้เป็นอาวุธก็ง่ายกว่าผลิตไปใช้เสริมความงามด้วย
            ผู้ผลิตโบท็อกซ์ของแท้อีกรายพยายามแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าโดยการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อสืบสวนหาและปิดโรงงานเถื่อน ซึ่งแม้จะปิดได้สำเร็จ แต่ก็มีโรงงานเถื่อนเปิดขึ้นใหม่ด้วยอัตราที่เร็วกว่า เพราะมีเงินทุนมหาศาลจากการขายโบท็อกซ์ปลอมและยังคงมีผู้ต้องการโบท็อกซ์ปลอมอยู่

โบท็อกซ์ในประเทศไทย
             ในประเทศไทยนั้นไม่พบข้อมูลว่าองค์การอาหารและยามีมาตรการควบคุมดูแลโบท็อกซ์อย่างไร มีเพียงแพทย์หรือผู้เชี่่ยวชาญให้คำแนะนำว่าถ้าต้องการฉีดโบท๊อกซ์ ให้รับการฉีดจากแพทย์ที่เชื่อถือได้ โดยสถาบันที่เชื่อถือได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครหรือที่ไหนที่เชื่อถือได้? ในเมื่อสถานบริการด้านความงามทุกแห่งอ้างว่าตัวเองใช้ของที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ จริงอยู่สถานบริการด้านความงามอาจจะซื่อสัตย์ต่อลูกค้าไม่ซื้อของปลอมมาใช้ แต่สถานบริการอาจถูกตัวแทนจำหน่ายหลอกขายโบท็อกซ์ปลอม หรือตัวแทนจำหน่ายอาจจะรับโบท็อกซ์ปลอมมาจากโรงงานเถื่อนโดยไม่รู้ ผู้ใช้อาจตรวจสอบจากหมายเลขหรือฉลากที่ยากจะเลียนแบบ แต่อย่าได้ประมาทเทคโนโลยีของผู้ผลิตสินค้าปลอม เพราะผู้ผลิตของปลอมก็พร้อมที่จะลงทุนปลอมแปลงให้เหมือนที่สุดเช่นกันเพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่อยากลองฉีดโบท็อกซ์ก็ลองคิดดูให้ดีว่า ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไร "ของแท้" หรือ "ของปลอม" อันไหนหาง่ายกว่ากัน?

เอกสารอ้างอิง
"2010 REPORT of the 2009 STATISTICS", American Society of Plastic Surgeons®, 2010
"Fake Botox, Real Threat", Coleman and Zilinskas, Scientific American, June 2010
"Why the 'Human Barbie' is now injecting her own 16-year-old daughter with Botox", Lucy Ballinger, MailOnline, March 2010
https://www.fakebotoxrealthreat.com/

..................................

เตือนระวังสารโบท็อกซ์ปลอม
https://www.banmuang.co.th/news/bangkok/14854

ถ้าพูดถึงเรื่องความงามจาก “สารท็อกซิน” หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า “สารโบท็อกซ์” เป็นอีกหนึ่งวิวัฒนาการด้านความงามที่ทั้งหญิงและชายต่างให้การยอมรับในประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม และเห็นผลชัดเจน ในเรื่องของการลดริ้วรอย เมื่อนำมารักษาด้านความงามได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังมีรายงานจากสมาคมศัลยแพทย์ศัลยกรรมพลาสติกของสหรัฐอเมริกาว่า ในปี 2552 มีผู้ฉีดสารท็อกซินถึง 4.8 ล้านคน เป็นหญิง 4.5 ล้านคน ชาย 3 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นวัยรุ่นกว่า 11,000 คน จำนวนนี้สะท้อนให้เห็นถึงการได้รับความสนใจจากผู้รักความสวยความงามเป็นอย่างมาก ไม่เว้นแต่สารท็อกซินจากเกาหลี ประเทศที่ได้ชื่อเป็นผู้นำเทรนด์เรื่องความสวยความงาม ก็ได้รับการตอบรับดีไม่แพ้กันเลยทีเดียว เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก จึงทำให้ผู้เสพความงามทั้งหลายยิ้มกลับบ้านไปแบบสบายกระเป๋าอีกด้วย ข้อดีเหล่านี้ จึงทำให้กลไกการตลาดด้านความงามเติบโตสูงขึ้น และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เมื่อมีความต้องการมากทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าหัวใส หิ้วสารท็อกซินปลอม หรือขายตามโลกออนไลน์มากขึ้นเช่นเดียวกัน


ภญ.หญิง สิเนหา มังกรแก้ว เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญและผู้จัดการ บริษัท เซเลส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สารโบท็อกซ์ของแท้ คือ สารโปรตีนบริสุทธิ์ ซึ่งจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาจะใช้ได้เฉพาะคลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ดังนั้นสารท็อกซินที่หิ้วขายกันอยู่เกลื่อนกลาดให้เห็นกันทั่วไปบนโลกอินเตอร์เน็ต ขอชี้ชัดว่า ส่วนมากจะเป็นสารท็อกซินที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจเป็นผงแป้งไม่มีฤทธิ์ทางการรักษา หรือไม่ก็เป็นสารโปรตีนที่ไม่มีคุณภาพจากประเทศจีน แปะฉลากปลอม แต่สิ่งที่อันตรายยิ่งกว่า คือ สารท็อกซินปลอมมีความเข้มข้นของโบทูลินัมท็อกซินไม่แน่นอน อาจมีปริมาณเกินมาตรฐาน ซึ่งโดยปกติการฉีดท็อกซินต้องคำนวณปริมาณที่เหมาะสม การฉีดเกินไปเพียงเล็กน้อยก็เป็นอันตรายเกิดใบหน้าผิดธรรมชาติได้ และถ้าได้รับมากไป ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตชั่วคราวและยังไม่มีวิธีแก้ไขผลข้างเคียงจากการฉีดสารท็อกซินที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากรอให้ยาหมดฤทธิ์ไปเองระยะเวลานาน 4-6 เดือน และที่สำคัญการฉีดสารท็อกซินปลอมซ้ำๆ มีโอกาสทำให้ดื้อยาและผลที่ตามมา คือ เมื่อกลับไปฉีดสารโปรตีนบริสุทธิ์ที่มีมาตรฐานในครั้งต่อไป ก็อาจไม่ได้ผลแล้ว”


อย่างไรก็ตาม ภญ.สิเนหา แนะนำอีกว่า สารโปรตีนบริสุทธิ์เป็นสารที่มีความปลอดภัยเพราะจะสลายหมดไปในร่างกาย จึงสามารถฉีดซ้ำได้ทุกๆ 4 เดือน โดยมีการแนะนำในการฉีดแต่ละครั้งคือไม่เกิน 200 ยูนิต และไม่ควรฉีดบ่อยกว่าทุกๆ 4 เดือน ยกเว้นแต่การแก้ไขโดยผ่านมือแพทย์เท่านั้น


กระแสนิยมความงามได้ผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตสารท็อกซินเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในยุคไฟเบอร์เข้าถึงง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว ถึงแม้สารท็อกซินจะมีกฎหมายควบคุมอยู่ แต่ดูเหมือนว่ามันไม่ยากเกินความสามารถของผู้ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงว่า สิ่งที่เลือกมีความปลอดภัย มั่นใจได้100% จริงหรือ เพียงเพราะราคาถูกกว่า แต่มันไม่คุ้มค่าที่ต้องแลกกับความงามที่ต้องมาพร้อมกับความเสี่ยง อยากจะสวยก็ควรดูให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อจะได้สวยอย่างคุ้มค่าและปลอดภัย!!!


..........................................



๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙
Ittaporn Kanacharoen
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1180923298635141

"น่าเศร้า..บอดอีกราย สาวไทยห่วงสวย.."

วันนี้ผมรับเรื่องร้องเรียนมาอีกราย
..ด้วยความเศร้าใจ
สาวน้อยอนาคตไกล.. ต้องตาบอดเฉียบพลัน
จากอยากสวยด้วย filler...
เพราะเหตุจากแรงเชียร์ของ เจ้าหน้าที่คลินิก..
หลังจากฉีดแล้วตาบอดคาเข็ม...
เด็กสาวกลายเป็นคนตาบอด ..

เมื่อเกิดปัญหา เราจะต้องมีขั้นตอนดังนี้

1.ตรวจสอบคนที่ฉีด

2.ตรวจสอบคลินิกที่ฉีด

3.ตรวจสอบสารที่ฉีด ต้องขอขวดมาด้วยทุกครั้งนะครับ ยาบางอย่างห้ามใช้แล้ว บางที่เอามาใช้ทำให้ตาบอด

4.รีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับมหาวิทยาลัยให้แก้ไข เร็วที่สุด (แต่มักไม่สำเร็จนะครับ)

กรณีต้องการร้องเรียน

1.ตามพรบ.วิชาชีพเวชกรรม โดยตรวจว่าหมอเถื่อนหรือหมอจริงจาก เว็บแพทยสภา https://tmc.or.th/check_md/ แล้วพิมพ์ออกมา
ถ้าหมอจริงฟ้องมาที่ ฝ่ายจริยธรรม 02 589 7700 email tmc@tmc.or.th (เพื่อตรวจมาตรฐานแพทย์ ลงโทษแพทย์ ไม่เกี่ยวกับเรียกร้องเงิน ประมาณคดีอาญา)

2.ถ้าไม่ใช่แพทย์ แจ้งความโรงพักเป็นคดีได้เลยครับ เราเรียกว่า "หมอเถื่อน"

3.แจ้งดำเนินคดีคลินิก ตาม พรบ.สถานพยาบาล ที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลป์ ที่คุมคลินิก เพื่อเรียกค่าเสียหาย ดูที่นี่ https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/index.php
โทรร้องเรียนได้ 24 ชม. ที่นี่ 02-193-7999

ถ้าเอาหมอเถื่อนมายิ่งโทษหนัก..

แต่อยากขอเตือนเพื่อนๆด้วยนะครับ ฉีดรอบๆตา อันตราย โดยเฉพาะถ้าใช้สารที่ไม่ได้รับอนุญาตยิ่งอันตราย สลายไม่ได้ (แพทยสภาเคยประกาศเตือนไปแล้วครับ) ถ้าหมอเถื่อนราคาถูกยิ่งไปกันใหญ่..อยากสวยอย่าให้เสี่ยงอันตรายนะครับ

ปรึกษา อาจารย์ Pravit Asawanonda และ Rungsima Wanitphakdeedecha ช่วยผมแนะนำเพิ่มเติมหน่อยนะครับ

ขอปรึกษาท่านอธิบดี สบส.คนต่อไป Wisit Tangnapakorn และ อ.Akom Praditsuwan ด้วยครับ

บทความอ่านประกอบ

ในไทย มีคนฉีดฟีลเลอร์แล้วตาบอดกี่ราย? ในต่างประเทศรายงานตาบอดแล้วกว่า 98 ราย และตาย 1คน ฉีดฟีลเลอร์ปลอดภัยจริงไหม ????
https://pantip.com/topic/35380193






 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2552   
Last Update : 31 สิงหาคม 2561 15:04:59 น.   
Counter : 17915 Pageviews.  

โรคน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด .... ( ความรู้ ประกอบ การติดตามข่าว )



โรคน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด (Amniotic fluid embolism)



เหตุการณ์แล้วเหตุการณ์เล่าที่หลายครอบครัวต้องสูญเสียทั้งแม่และลูกไปจากการคลอดซึ่งมีมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีสาเหตุได้หลายประการ

การเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าสลดนี้เกิดขึ้นในรอยต่อช่วงชีวิตอันงดงามที่ ทุกครอบครัวต่างเฝ้ารอคอยลูกที่น่ารัก และต้องกลับมาเสียทั้งแม่และลูกไปด้วยโดยไม่ได้ร่ำลา

ยังความโศกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งต่อสามี,แพทย์ผู้รักษาและต่อสังคมอย่างมาก หลายรายนำไปสู่การฟ้องต่อสื่อมวลชน ตำรวจ และศาล จากความรู้สึกผิดหวังร่วมกับความเสียใจที่สูญเสียคนรักไป..

บทความนี้ขอนำท่านมารู้จักเพชฌฆาตร้ายรายนี้ในเบื้องต้นดังนี้


1. น้ำคร่ำคืออะไร ..

เมื่อแม่ตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัว มีเด็กล่องลอยอยู่ในถุงบางๆภายในบรรจุน้ำที่ทำให้เด็กลอยไปมา ชื่อว่า “น้ำคร่ำ” เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีการขับถ่ายของเสีย รวมถึงขี้ไคลจากผิวหนังหลุดออกมาและลอยละล่องปะปนอยู่ในน้ำคร่ำ...

ดังนั้นน้ำคร่ำจึงเต็มไปด้วยของเสียมากมายรวมถึงเศษเซลล์เล็กๆที่ลอกออกมาจา กตัวเด็ก ที่มักไม่ใช่กลุ่มเลือดเดียวกับแม่ ถุงน้ำคร่ำนี้ ปิดเหนียวแน่นจนของเสียเหล่านี้จะไม่สัมผัสกับแม่เลย ..จึงไม่เกิดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์


2. น้ำคร่ำเป็นน้ำ ทำไมไปอุดตันจนแม่ตายได้..

โรคน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด (Amniotic fluid embolism) ชื่อนี้มาจากสมัยก่อนเวลามีการคลอดแล้วแม่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ จะมีการนำไปผ่าศพชันสูตร พบว่าปอดแม่จะมีเศษเนื้อ(เซลล์)ของเด็กอยู่ในเส้นเลือด จึงคิดเอาว่าแม่ตายจากการที่มีเศษขี้ไคลทารกจากน้ำคร่ำเข้าไปอุดตันที่ปอดจน ปอดเสียหาย หายใจไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด

... แต่ภายหลังก็ได้มีการศึกษาเรื่องอาการและกลไกต่างๆ จึงได้รู้ว่าแท้จริงแล้ว มันไม่ใช่แค่การที่ปอดทำงานไม่ได้เท่านั้น ความตาย เกิดจากหลายกลไกร่วมกัน..


3. แม่ตายจากอะไร..

จากน้ำคร่ำซึ่งเป็นของเสียของเด็ก ปกติจะต้องคลอดพร้อมเด็กและออกสู่ภายนอก ไม่มีการไหลย้อนเข้าไปในเลือดของแม่ เพราะจะเกิดปฏิกิริยา เช่นเดียวกับอาการแพ้รุนแรงได้ เนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และสารต่างๆเป็นคนละกรุ๊ปกัน

ลองคิดง่ายๆ ว่าคล้ายกับการตายจากให้เลือดผิดกรุ๊ปนั่นเอง กระบวนการแพ้ชนิดรุนแรง หัวใจ ปอด ล้มเหลว เลือดไหลไม่หยุด และแม่ครึ่งหนึ่งตายใน 60 นาทีแรกหลังน้ำคร่ำรั่วเข้าไป


4. แม่ตายคลอดจากน้ำคร่ำอุดตันปอดมีมากเท่าไร...

โรคนี้น่ากลัวมากเพราะมีอัตรา การเกิดถึงหนึ่งในแปดพันถึงสามหมื่น

คนไทยคลอดปีละกว่าเจ็ดแสนคน (เฉลี่ยวันละสองพันคน) จะเกิดโรคนี้ ปีละ 26-100 คน หรือ ราว 2-8 คนต่อเดือน ทำให้มีข่าว มารดาเสียชีวิตขณะคลอด อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะหากอ่านแต่ข่าวโดยที่ไม่รู้จักโรคนี้ อาจจะสงสัยไปว่าทำไมการคลอดที่น่าจะปลอดภัยจึงกลับกลายเป็นเรื่องที่ถึงตายไ ด้ง่ายๆ และโทษสาเหตุต่างๆนาๆได้


5. ความร้ายแรงขนาดไหน..

ความรุนแรงสูงน่ากลัวมาก แม้ว่าจะอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือครบถ้วน เช่นโรงเรียนแพทย์ ก็ตายได้ ไม่ใช่เฉพาะแต่ รพ.บ้านนอก ทั้งที่มีหมอล้อมรอบเตียงคนไข้ และรักษาอย่างเต็มที่ท่ามกลางยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตครบถ้วนก็ตาม

สถิติบ่งว่า แม่

6 ใน10 รายจะเสียชีวิต

3 รายพิการทางสมอง หรือเป็นเจ้าหญิงนิทรา

และมี 1 จาก10 รายเท่านั้น ที่รอดเป็นปกติ


6. ทำนายล่วงหน้าได้ก่อนไหมว่าจะเป็น..

ยากมากๆ ..เวลาเป็นข่าวมักพูดถึงอาการหลายๆอย่างที่มีนำมาก่อนเป็นวันๆหรือเป็นชั่วโมง เช่นเจ็บท้อง แน่น เหนื่อย เพลีย ... แต่หากถามคนเคยคลอด อาการเหล่าก็พบว่าเป็นกันแทบทุกคน ไม่มีอาการใดบ่งเฉพาะโรคนี้เลย..

และกลไกที่เกิดการรั่วของน้ำคร่ำ ใช้เวลาเป็นนาที เข้ากระแสร์เลือด ไปอุดปอด แพ้ช๊อก เลือดออกไม่หยุด ทันที เหมือนฉีดสารที่เราแพ้เข้าไปในเส้นเลือดฉับพลัน แม้รู้ล่วงหน้าว่ารักษาอย่างไรก็แทบจะใส่ยาแก้ไม่ทัน อาการที่รุนแรงทันที หัวใจหยุดเต้นและตายได้ หากรอดจากนาทีแรกๆ จะตายในชั่วโมงต่อไปด้วยเลือดไม่ยอมแข็งตัว ไหลจากแผลไม่หยุดตาย(คล้ายพิษงูบางชนิดของกัดตายนั่นเอง) และเกิดเลือดออกในสมอง หากรอดได้จะทำให้ส่วนหนึ่งเป็นอัมพาต หรือกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราไป


7. สาเหตุจากอะไร

- วงการแพทย์ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ทราบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดคือ การที่มารดาอายุมาก, ตั้งครรภ์หลายท้อง, เบ่งแรง, เด็กตัวโตเกินไป,น้ำคร่ำมาก,เด็กผิดปกติ,มีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ เป็นต้น


8. ป้องกันได้ไหม

-โรคนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณมาจวบจนทุกวันนี้ แต่กลับเป็นสิ่งที่วิทยาการการแพทย์ปัจจุบันยังเอาชนะไม่ได้ แม้การฝากท้องที่ดีและสม่ำเสมอ จะลดปัจจัยเสี่ยงได้ ในระดับหนึ่ง ทำให้โอกาสเกิดลดลง แต่การจะป้องกันให้ได้100%คงจะยังทำไม่ได้ ในยุคปัจจุบัน


9. การรักษาอย่างไร

-มีมาตรฐานการรักษาตามแนวทางราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ ชัดเจน สูติแพทย์ทุกท่านเรียนรู้อย่างดียิ่ง และในมาตรฐานเหล่านั้นก็ระบุว่าโรคฉับพลันนี้ แม้ให้การรักษาเต็มที่แล้วส่วนใหญ่จะเสียชีวิต มีโอกาสรอดปกติเพียง 1 ใน 10 ราย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลดีที่สุด ในมืออาจารย์สูติแพทย์ ที่ทำคลอดมาชั่วชีวิต ให้กำเนิดเด็กนับพันราย มีเครื่องมือพร้อมมูล ก็ไม่อาจช่วยชีวิตแม่ได้ทันเหมือนกัน..

และหลายโอกาสที่แพทย์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจช่วยชีวิตลูกในครรภ์ยามที่แม่มีอาการรุนแรงจนไม่สามารถฟื้นคืนได้อีก ..ท่ามกลางความเจ็บปวดของวิชาชีพที่ต้องรักษาชีวิตน้อยๆเหล่านั้นแม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่สำเร็จ หรือหากสำเร็จก็กลายเป็นลูกกำพร้าแม่ตั้งแต่วันแรกเกิดซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีแพทย์ผู้ใดอยากให้เป็นเช่นนั้น..


10. การวินิจฉัยโรคนี้

- ต้องพิสูจน์ด้วยผลการผ่าชันสูตรชิ้นเนื้อเป็นมาตรฐาน เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นๆที่อาจเกิดการเสียชีวิตในลักษณะเดียวกัน เช่น มดลูกแตก จากเหตุอื่นๆ หรือโรคอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน



หากวันนี้ท่านเติบโต มีคุณแม่ดูแล จนมาได้อ่านบทความนี้ แสดงว่าท่านรอดพ้นจากเพชฌฆาตน้ำคร่ำ ที่จะหลุดไปในกระแสร์เลือดของแม่ขณะคลอด ซึ่งเกิดขึ้นเดือนละ 2-8รายนี้ จากเด็กทารกไทยที่เกิดใหม่ปีละกว่าเจ็ดแสนคน

โรคนี้เป็นโรคที่หมอสูติทุกคนกลัวเกรงความร้ายกาจ จากการเกิดฉับพลัน ป้องกันไม่ได้ ไม่รู้ล่วงหน้าและเกือบทุกรายตายหรือพิการ

ที่สำคัญคือทุกการคลอด..แม่ของเราทุกคน ต้องเสี่ยงชีวิตกับเพชฌฆาตน้ำคร่ำ ในวันที่เราเกิดมาด้วยกันทั้งนั้น หากแต่ไม่มีผู้ใดรู้ว่า ใครจะเป็นผู้โชคร้าย..รายต่อไป




นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ





 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552   
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2552 16:35:08 น.   
Counter : 5270 Pageviews.  

............. มดลูกแตก ..... ( ความรู้ ประกอบการติดตามข่าว )


นำมาฝาก เป็นความรู้ ประกอบการติดตามข่าว ...





มดลูกแตก


ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์สุวชัย อินทรประเสริฐ

ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย



ภาวะมดลูกแตกนั้นเป็นกรณีฉุกเฉินอันนำมาซึ่งอันตรายต่อชีวิตของแม่และทารกในครรภ์ เป็นสภาวะที่พบน้อยแต่รุนแรงมาก และเป็นฝันร้ายของคุณแม่และหมอสูติฯทุกคนในประเทศไทย ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของแม่และลูกในครรภ์ได้ ขอแนะนำเบื้องต้นดังนี้

๑) มดลูกแตก เป็นภาวะที่ผนังมดลูกแตกหรือปริออก ทำให้ทารกในครรภ์รวมน้ำคร่ำแตกออกเข้าไปในช่องท้อง ทารกจะขาดเลือดและเสียชีวิต ในบางรายแม่ก็เสียชีวิตด้วย


๒) สาเหตุ อาจจะเกิดได้หลายอย่าง

· ตั้งแต่ยังไม่เจ็บครรภ์ มดลูกก็แตกได้โดยมีจุดอ่อนบริเวณผนังมดลูก ซึ่งอาจจะเกิดจากเคยได้รับการผ่าตัดผนังมดลูกมาก่อน เคยขูดมดลูกหรือไปทำแท้งมา หรือผนังมดลูกบางผิดปกติ หรือบางรายรกฝังตัวลึกไปในผนังมดลูก แล้วทะลุออกมาด้านนอกมดลูก ที่พบบ่อยอีกอย่างคือการที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ กระทบกระเทือนมดลูก บาดเจ็บจากการกระแทกมาก่อน

· ในขณะเจ็บครรภ์ มดลูกก็อาจจะแตกได้โดยเกิดจาก การเจ็บครรภ์นานเกินไป มดลูกหดรัดตัวแรง แต่ปากมดลูกไม่ขยายเท่าที่ควร หรือตัวเด็กใหญ่เกินไป หรือมีจุดอ่อนที่ ผนังมดลูก ดังกล่าวข้างต้น


๓) อาการ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่มีอาการแสดงใดๆที่จำเพาะก่อนที่มดลูกใกล้จะแตก อาจมีอาการปวดมดลูกหรือ มีไม่มาก หลังจากนั้นจะตามมาด้วยอาการแสดงของภาวะช็อค ได้แก่ชีพจรเต้นเร็ว ความดันต่ำ เนื่องจากมีการเสียเลือดมีเลือดออกในช่องท้อง

การแตกของมดลูกสามารถเกิดได้ในทุกระยะของการ ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามส่วนมากมักเกิดขึ้นในระยะเจ็บครรภ์


๔) การป้องกัน ต้องป้องกันที่สาเหตุเป็นหลัก

· ถ้าต้องรับการผ่าตัดมดลูก โดยการผ่าตัดเนื้องอกออก (เหลือมดลูกไว้) หรือผ่าตัดคลอดก็ต้องทำโดยแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญ และต้องถามว่าต่อไปถ้าตั้งครรภ์ จะเกิดอันตรายหรือไม่ หรือต้องผ่าตัดคลอดอย่างเดียว

· หลีกเลี่ยงการทำแท้งโดยเฉพาะการทำแท้งเถื่อน

· กรณีที่เจ็บครรภ์ ก็ต้องรีบไปโรงพยาบาล หมอหรือพยาบาล จะได้มีโอกาสตรวจติดตามอาการ อย่างไรก็ตามบางกรณีที่มดลูกแตกก็วินิจฉัยได้ยาก บางครั้งเกิดเหตุฉุกเฉิน ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ผู้ป่วยก็ช็อคหมดสติ เสียชีวิตได้เฉียบพลัน แม้อยู่ใน โรงพยาบาล


๕) อัตราตายสูง ผู้ป่วยมักเสียชีวิตเพราะช๊อกจากการขาดเลือดในช่วงเวลาสั้นๆ จะมีโอกาสรอดได้ ในกรณีความรุนแรงไม่มาก และในช่วงนาทีวิกฤตินั้นให้เลือดและผ่าตัดได้ทัน แต่มักต้องตัดมดลูกออก เพื่อช่วยชีวิตแม่ ส่วนน้อยที่เย็บซ่อมได้ ทารกส่วนใหญ่จะเสียชีวิต

ในรายที่เกิดอาการเฉียบพลันรุนแรงมากตายในช่วงนาที ถึงจะอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงเรียนแพทย์ ที่ห้อมล้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเครื่องมือทันสมัยพร้อมมูล ก็อาจไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทัน

เพราะอาการช๊อกจะเกิดจากการเสียเลือดอย่างรวดเร็วนั้น จำต้องได้รับเลือดกลุ่มที่เข้ากันได้ทดแทนจำนวนมาก ให้เร็วเพียงพอและทันท่วงที ซึ่งมีโอกาสทำได้จริงไม่มาก




ข้อแนะนำสำหรับผู้ตั้งครรภ์


· ควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะตั้งครรภ์ ถ้าไม่พร้อม ควรคุมกำเนิดไว้ก่อน การปล่อยให้ท้องแล้วไปทำแท้ง จะมีอันตรายมากกว่า

· เมื่อตั้งครรภ์ควรจำประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้ายให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการคำนวณอายุครรภ์ ว่าตั้งครรภ์กี่เดือนหรือกี่สัปดาห์แล้ว ถ้าเกิดเหตุจำเป็นจะให้คลอดได้หรือยัง ถ้าจำประจำเดือนไม่ได้แน่นอน ทำให้แพทย์วินิจฉัยยาก

· ควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล รวมทั้งไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ

· เมื่อมีความผิดปกติให้ไปโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์



โรคนี้จึงเป็นปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งของวงการแพทย์ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในมารดาก่อนคลอด ซึ่งไม่เพียงแต่ครอบครัวของแม่เท่านั้นที่เสียใจ แพทย์ พยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์ทุกคนต่างไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้น นอกจากเป็นโรคที่แพทย์ไม่มีโอกาสตั้งตัวและรู้ล่วงหน้าแล้ว

หากเกิดยังหลีกเลี่ยงผลเสียหายได้ยาก ผลที่ได้นำไปสู่ความสูญเสีย ผิดหวัง ของคู่สมรสที่เฝ้ารอคอยทารกน้อยนานนับเดือน การฝากท้องที่ดี การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และการลดความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด…






 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552   
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2552 19:30:54 น.   
Counter : 4090 Pageviews.  

... ทำแ้ท้ง ..... ปัญหาที่ยังไร้ทางออก ....

มีผู้ตั้งกระทู้ ไว้ในห้องสวนลุม ... ผมก็ไปค้นหาข้อมูลมาตอบ เห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์ จึงนำมาบันทึกไว้ ให้ได้อ่านกัน ...



//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L7432300/L7432300.html#4

ฝากท้อง รพ.aaaaaa ต้องระวังและคิดให้ดี ในกรณีตรวจโครโมโซมลูก

ที่นี่ หากตรวจพบว่าลูกของท่านเป็นดาวน์ซินโดรม แล้วท่านต้องการยุติการตั้งครรภ์ รพ.จะไม่ทำการยุติให้ คุณต้องแบกท้อง แบกทุกข์และความสับสนไปตระเวณตามรพ.ต่างๆที่เขารับทำ ด้วยตัวของคุณเอง

ปวดร้าวมากๆ ฉันเจอมาแล้ว ความรู้สึกบรรยายไม่ถูก รู้แต่ว่าน่ากลัวจนไม่อยากพบความรู้สึกแบบนี้อีกเลย

จากคุณ : toom59




ในกรณี นี้ ผมคิดว่า ไม่ได้เป็นความผิด ของ รพ. หรือ แพทย์ หรือ จขกท.....

มีสิ่งที่ต้องพิจารณาเบื้องต้น ๒ เรื่อง

๑. ความรุนแรงของโรคนี้ มีตั้งแต่น้อยมาก ( ไม่มีอาการ ) จนมีอาการรุนแรง (ส่วนใหญ่ ก็จะแท้งเองตามธรรมชาติ หรือ เสียชีวิตในครรภ์ ) ซึ่งแพทย์อาจบอกไม่ได้ว่าเป็นแบบไหนแน่ จึงไม่กล้าที่จะทำให้ ...

๒. เนื่องจากมี ข้อกฏหมายกำหนดไว้ แบบนั้น ....



การ ทำแท้ง ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายสำหรับประเทศไทยเรา ตามกฎหมายแล้ว การทำแท้งนั้น ไม่ว่าหญิงที่ตั้งครรภ์นั้นจะยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกก็ ตาม

ผู้ที่ทำให้หญิงนั้นแท้งลูกมีความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูก

ส่วนตัวผู้หญิงหากทำแท้งเอง หรือยอมให้ผู้อื่นทำแท้งให้ ก็มีความผิดเช่นกัน


ซึ่งยกเว้นเพียง 2 กรณีคือ

กรณี แรกเนื่องจากมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติของทารกในครรภ์ ทารกในครรภ์เสียชีวิต หรือเมื่อการตั้งครรภ์จะเป็นอันตราย ต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์นั้น มารดามีปัญหาทางสุขภาพ มารดาป่วยด้วยโรคต่อมไร้ท่อ โรคหัวใจ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ภาวะปัญญาอ่อน ติดเชื้อหัดเยอรมัน โรคเบาหวานอย่างรุนแรง และมะเร็ง เป็นต้น

กรณีที่ 2 คือถูกข่มขืน


ตอนนี้ก็มีความพยายามที่จะแก้ไขกฏหมายให้เปิดกว้างมากขึ้น .. แต่ก็ยังคงต้องรอกันต่อไป ..

//familyplaning.in.th/abortion/

//www.elib-online.com/doctors3/news_abortion05.html

//gotoknow.org/blog/writen-by-drpae/112052

//www.srisangworn.go.th/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=982&mode=thread&order=0&thold=0&POSTNUKESID=b64ba847e3cd781e892de3a6a141502f

//www.herbalone.net/index.php?option=com_content&task=view&id=408&Itemid=41


ประเด็น เหล่านี้ ก็ถือว่า ยังเป็นประเด็นขัดแย้งของสังคม ทั้งทางด้านกฏหมาย และ ความรู้สึก ทางจริยธรรม คงต้องใช้เวลาพูดคุยกันอีกนาน ....


อ้อ .. ก็อยากจะขอความเห็นใจกับแพทย์ โดยเฉพาะ หมอสูตินรีเวช ซึ่ง ถึงแม้จะมีข้อบ่งชี้ว่า ควรจะทำในทางกฏหมาย แต่แพทย์ ก็ยังมีความรู้สึกผิดในใจ ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง ...




ไปค้นเจอเวบนี้มา มีประเด็นทางกฏหมาย ที่น่าสนใจ ... แล้วยังมีกระทู้พูดคุยโต้เถียงแสดงความเห็นให้ได้อ่านด้วย ...ถึงแม้จะผ่านมา ๑๐ กว่าปี แต่ประเด็นเหล่านี้ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรนัก ...

คัดมาบางส่วน ยาวหน่อย แต่ก็อยากให้ลองอ่าน ลองศึกษา นะครับ ... ถ้าใครสนใจอ่านความเห็นต่าง ๆ ก้ปแวะไปที่เวบนี้เลยครับ ..

//www.geocities.com/nongcan1999/doc/abort.html


:: รวมกฏหมาย ประมวลกฎหมายอาญา


:: หมวด3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก

มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงสี่หมื่นบาท

มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 301 หรือ มาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 301 และ มาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์และ

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ

(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือ มาตรา 284

ผู้กระทำไม่มีความผิด


ตาเด็กใหม่ (203.156.65.240)
9 ธ.ค. 2546 14:24:46


ความคิดเห็นที่ 32
มาอีกครับ มาฟังคุณหมอทั้งหลายและเอ็นจีโอ

..........................................................

สรุปประเด็นเรื่อง

กฎหมาย มาตรา 305 ควรแก้ไขหรือไม่อย่างไร


ศ.กิตติคุณ น.พ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, ร.ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ

ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

ดร.กิตติพงษ์ - วันนี้คงพูดคุยกันในประเด็นเรื่องการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 305 ว่าควรแก้ไขอย่างไร กฎหมายอาญามาตร 305 เป็นกฎหมายที่ได้รับการกล่าวขาน มากที่สุดในทางลบ เพราะ

ไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงในขณะที่เขาต้องการความช่วยเหลือ โดยไม่คำนึงถึงสภาพปัญหา

มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย เปิดช่องให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

กฎหมายนี้ขัดขวางการพัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือผู้หญิง

ร.ศ.ดร.ทวีเกียรติ - ขอขอบคุณผู้วิจัยที่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงเรื่องทำแท้งออกมา ในขณะที่ทางด้านกฎหมายไม่ได้สนใจข้อเท็จจริงมากเท่าไหร่ มาตรา 305 เป็นอำนาจกระทำ ไม่ใช่ลงโทษ

โดยกฎหมาย ความผิดฐานทำแท้งเกิดขึ้นนับตั้งแต่การตั้งครรภ์ถึงการคลอดที่สมบูรณ์ การตั้งครรภ์ต้องเป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นโดยวิธีธรรมชาติ คือ นับตั้งแต่ตัวสเปอร์ ผสมกับไข่เกิดการปฏิสนธิ ต่อมาคำจำกัดความนี้ใช้ไม่ได้เพราะมีการผสมในหลอดแก้ว เพราะฉะนั้น ความผิดฐานทำแท้งน่าจะเริ่มต้นเมื่อมีการฝังตัวของตัวอ่อน


ความผิดฐานทำแท้งเริ่มต้นเมื่อใด ในทางศาสนาพระคัมภีร์ บอกว่า 40 วัน หลังฏิสนธิ ตอนคลอดต้องคลอดออกมาทั้งตัว ถ้าหากหัวเท้าติดอยู่ในช่องคลอดถือว่า ยังไม่คลอด ก็ถือเป็นการทำแท้ง ถ้าคลอดออกมาแล้วเด็กเสียชีวิตภายหลังกรณีนี้ ไม่มีความผิด


แนวคิดของกฎหมายไทย กฎหมายไม่ห้ามการทำแท้ง เพราะสมัยก่อน ไม่เคยมีการทำแท้ง แต่ต่อมาเขียนกฎหมายไปลอกเลียนจากเยอรมัน โดยไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวคริสต์แคทอลิก ซึ่งถือว่าเด็กในครรภ์ เป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานมาให้ (Gift of god) กฎหมายฝรั่งเศสจึงมีการห้ามทำแท้ง รวมทั้งการฆ่าตัวตายถือเป็นความผิดในกฎหมายอาญาห้ามเด็ดขาด มีโทษร้ายแรง ดังนั้น เมื่อไทยกำหนดกฎหมายอาญาเรื่องความผิดฐานทำแท้งขึ้นมา โดยเอาอย่างประเทศที่ถือศาสนาคริสเตียน จึงไม่มีเหตุยกเว้นใดๆ เลย กฎหมายอาญามาตรา 127


กฎหมายฝรั่งเศสห้ามทำแท้งเด็ดขาด แม้แต่พยายามทำแท้งก็โทษเท่ากับ ความผิดสำเร็จ แต่มีทางออก คือ

ในช่วง 10 สัปดาห์แรกผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ ซึ่งอยู่ในกฎหมายสุขภาพของผู้หญิง (กฎหมายสาธารณสุข) ช่วงเวลานี้เป็นการทำแท้งเสรี ก่อนทำแท้งจะมีนักสังคมสงเคราะห์ให้คำแนะนำว่า ถ้าไม่ทำแท้งรัฐบาลจะให้ การช่วยเหลือเด็ก เลี้ยงดูให้

แต่ถ้าครรภ์เกิน 10 สัปดาห์ จะถือว่าผิดกฎหมายอาญา ถ้าหากผู้หญิงตัดสินใจทำแท้งภายในอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ จะถือว่า ผิดกฎหมายอาญา ถ้าหากผู้หญิงตัดสินใจทำแท้งภายในอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ถือว่าเป็นสิทธิที่กระทำได้ ผู้ห้ามจะติดคุก 1 ปี ฐานขัดขวางการทำแท้ง


กฎหมายเยอรมันทำแท้งได้โดย กำหนดอายุครรภ์ 3 เดือน ตอนคลอดถือว่า ขณะที่เจ็บครรภ์ชีวิตได้เกิดขึ้นแล้ว หากมีการทำร้ายเด็กตรงนี้ ถือว่าเป็นการทำแท้ง และผิดกฎหมาย


อังกฤษได้มีการแบ่งระยะเวลาของการตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรก สามารถทำแท้งได้ ไม่มีความผิดทางกฎหมาย หลังจาก 3

7 เดือน ถือเป็นการทำแท้งและหลัง 7 เดือน เป็นการฆ่าเด็กซึ่งมีความผิด


สหรัฐอเมริกา ถือว่าการทำแท้งเป็นสิทธิที่เสมอภาคของผู้หญิง แต่มีปัญหาว่า คนจนไม่มีเงินจ่ายค่าทำแท้ง แต่ไม่มีกฎหมายโดยตรง ศาลสูงเป็นคนตัดสินใจ ซึ่งระยะเวลาการตั้งครรภ์ที่กำหนดให้ทำแท้งได้ จะแตกต่างไปในแต่ละรัฐ


ประเทศไทยร่างกฎหมาย 305 ไม่ได้พิจารณาถึงแนวคิดว่าเป็นอย่างไร แต่นำเอากฎหมายต่างประเทศมาเป็นแนวทางในการร่างกฎหมาย สรุปได้ว่า งานวิจัยนี้มีประโยชน์มาก และควรเสนอข้อเท็จจริงนี้ต่อสังคมเพื่อให้เห็นปัญหาการทำแท้ง และร่วมกันแก้ไขปัญหา

ดร.กิตติพงษ์ - ขอขอบคุณ ดร.ทวีเกียรติ และก่อนที่จะขอรับฟังข้อคิดเห็น ของ ดร.วิฑูรย์ ผมขอเสนอประเด็นที่ว่า เรากำลังเผชิญอะไรกับชีวิตของนักกฎหมาย กับกระบวนการร่างกฎหมายที่มีปัญหา ปัญหาของกฎหมายทำแท้งค่อนข้างแสดง ให้เห็นชัดว่า ส่วนหนึ่งเป็นปัญหามาจากที่รับเอากฎหมายมา 2 ระบบ คือ

1. Civil Law ระบบที่เขียนเป็นประมวล แล้วตีความจากประมวลถ้อยคำ

2. Common Law เป็นของอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ได้เอากฎเกณฑ์ จากประมวลเป็นหลัก แต่มีปรัชญาแนวคิดซึ่งต้องปรับเข้ากับสังคม

ยกตัวอย่างเรื่องทำแท้ง แนวคิดของ Common Law ถือว่าการทำแท้ง เป็นสิทธิส่วนตัวของแม่ แต่ชีวิตในครรภ์ก็มีความสำคัญ กฎหมายทำแท้งของต่างประเทศ เป็นกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม


ในช่วงต่อไปขอเรียนเชิญ ศ.น.พ.วิฑูรย์ เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า ในอดีตที่ผ่านมา ท่านได้ทำอย่างไรไปแล้วบ้าง จากอดีตที่อาจารย์วิฑูรย์ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้กฎหมาย ซึ่งอาจจะไม่เรียกว่าล้มเหลว แต่ก็ไม่สำเร็จ และถ้าเราจะแก้กฎหมายทำแท้ง ควรจะแก้อย่างไรบ้าง และโดยวิธีใดจึงจะสำเร็จ

มีการอภิปรายกันว่า กรณีคุมกำเนิดผิดพลาด และกรณีเด็กในครรภ์จะพิการ จะทราบได้อย่างไร เพราะขณะนั้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก และอาจก่อให้เกิดการทำแท้งเสรีได้ จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องการทำแท้งเสรีมาก มีการต่อต้านและกฎหมายนี้ไม่ได้เขียนข้อกำหนดในทางปฏิบัติไว้ เขียนไว้เพียงตัวบทกฎหมาย แต่ปัจจุบันนี้การวินิจฉัยระหว่างตั้งครรภ์มีความก้าวหน้ามา สามารถทราบได้ว่าเด็กที่จะเกิดมาจะพิการหรือไม่ และมีการยอมรับเรื่องความสำคัญ ของสุขภาพจิตมากขึ้น ดังนั้น ถ้าการแก้ไขกฎหมายทำแท้งมีการทำแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน น่าจะมีความเป็นไปได้ และถ้าเราเสนอให้สังคมรับรู้ปัญหา


ศ.น.พ.วิฑูรย์ - กฎหมายทำแท้งของไทย มีการเปลี่ยนแปลง 2 ระยะ คือ


ระยะที่ 1 ในกฎหมายลักษณะอาญา รศ.127 ที่รับอิทธิพลมาจากฝรั่ง ไม่มีข้อยกเว้นเลย เป็นความผิดฐานรีดลูก ซึ่งสังคมก็ยอมรับ เพราะถือว่า เป็นการกระทำทารุณต่อร่างกายผู้หญิง อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีคนทำมาก และในระยะนี้แนวคิดควบคุมคุ้มครองเด็กยังไม่เกิด จึงไม่มีความผิดฐานนี้


ระยะที่ 2 พอเรารับแนวคิดทางตะวันตก ซึ่งยึดมั่นทางด้านชีวิต เป็นเรื่องใหญ่ ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคาทอลิก จึงเอาความผิดฐานรีดลูกเข้ามาใช้ เข้ามาปรับเป็นไทยว่า ความผิดฐานรีดลูก พร้อมๆ กันนั้น ก็กำหนดความผิดอีกอันหนึ่งคือ ความผิดฐานกระทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์ มาร่วมด้วย ช่วงนี้แพทย์ทำแท้งได้ ถึงแม้กฎหมายจะถือว่าเป็นความผิดฐานรีดลูก เพราะมีข้อยกเว้นความผิดอันหนึ่งคือ กระทำด้วยความจำเป็นเพราะช่วยให้คนอื่นพ้นจากอันตราย ซึ่งถือว่าเป็นการทำแท้ง เพื่อการรักษา เช่น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นพิษ โรคหัวใจ

ในระยะนี้มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงกฎหมายเสมอมา ต่อจากนั้นมีแนวคิดสมัยใหม่เข้ามา โดยคิดว่า การจะห้ามทำแท้งโดยเด็ดขาด คงจะเป็นไปไม่ได้ จึงเปิดช่องว่างยกเว้นความผิดว่า ถ้าการทำแท้งเป็นความจำเป็นเพื่อสุขภาพของหญิง คำว่าสุขภาพในความเห็นของผม น่าจะหมายถึง สุขภาพกายและจิตใจ แต่แนวคิดของนักกฎหมายยังยึดคิดว่า สุขภาพหมายถึงสุขภาพกายเท่านั้น จึงทำให้การตีความของมาตรา 305 ค่อนข้างแคบ

ปัจจุบันความหมายของคำว่าสุขภาพยิ่งกว้างขึ้น โดยเฉพาะในความหมายของ องค์การอนามัยโลก แต่นักกฎหมายมักจะตีความภาษาโดยยึดติดกับพจนานุกรม ตอนที่ออกกฎหมายอาญา 305 เมื่อปี พ.ศ.2500 สังคมไม่มีปฏิกิริยาอะไร ปัญหาของกฎหมายนี้ คือ การตีความของคำว่าสุขภาพ ซึ่งดูเหมือนกว้าง แต่พอวินิจฉัยแล้วกลับแคบ ทำให้แพทย์บางส่วนไม่กล้าทำแท้ง

ปัจจุบันเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงไปมาก การตีความต้องอิงเทคโนโลยีด้วย ต่อมาปัญหาการทำแท้งเถื่อน โดยผู้ที่ไม่มีความชำนาญทางการแพทย์ ทำให้ผู้หญิงที่ทำแท้งมีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น จึงมีการผลักดันเรื่องเสนอแก้กฎหมาย โดยนายแพทย์บุญเทียม เขมาภิรัตน์ โดยขอขยายข้อยกเว้นกรณีที่การตั้งครรภ์เกิดจากการคุมกำเนิดล้มเหลว และเพื่อสุขภาพทางกายและทางจิตของแม่ รวมทั้งกรณีทารกในครรภ์ที่เกิดมาติดเชื้อ หรือเกิดมามีความผิดปกติ

จุดอ่อนของการเสนอแก้กฎหมายในครั้งนี้คือ ช่วงนั้นกฎหมาย ที่เสนอแก้ไขจะต้องถูกกลั่นกรองโดยกรรมาธิการวิสามัญ จนกระทั่งได้เข้าไปพิจารณาในสภา แต่ก็ต้องตกไปในสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ถ้าหากไม่มีปัญหาด้านการเมือง คนจะต่อต้านน้อยมาก ถ้าหากพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งมีแนวคิดที่ชัดเจนไปได้ ปัจจุบันประชาพิจารณ์ ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ เพราะมันตรงไปตรงมา ต้องการช่วยคน ต้องการให้สังคมรับรู้ตรงนี เพราะศาสนาพุทธไม่ตายตัวเหมือนศาสนาคริสต์ ซึ่งอยู่กับการตีความมากกว่า ศาสนาไม่ได้เป็นอุปสรรคในการแก้กฎหมาย


ดร.กิตติพงษ์ - สรุปได้แนวทางเดิมที่พยายามจะขยายมาตรา 305 ก็คือว่า พยายามจะขยายคำว่าสุขภาพซึ่งความเห็นของ อจ.วิฑูรย์บอกว่าไม่ต้องขยายก็ได้ เพราะสุขภาพก็ไม่ได้เขียนว่าเฉพาะสุขภายกายอยู่แล้ว ถ้าจะตีความก็ตีความได้อยู่แล้ว ถ้าขยายเป็นสุขภาพกายและจิตโดยไม่มีแนวทางที่ชัดก็ไม่ช่วยอะไรและอีกกรณีหนึ่ง คือ ถ้ามีคุมกำเนิดผิดพลาดให้ทำแท้งได้ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ ถ้าไม่มีการกำหนดแนวทางชัดเจน ก็จะนำไปสู่การทำแท้งเสรีได้

ส่วนประเด็นชีวิตในครรภ์ไม่ค่อยมีปัญหาถูกโต้แย้งเท่าไหร่นัก อยากให้แสดงความคิดเห็นเรื่องสุขภาพ การแก้จะแก้กฎหมายในส่วนของการตีความของคำว่า "สุขภาพ" ผมเป็นห่วงว่า ถ้าเราไม่แก้ปัญหาที่ต้นตอ ที่ว่าผู้หญิงมีสิทธิหรือไม่ในการตัดสินใจ เรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง นี่คือปัญหาจริงๆ จริงๆ แล้วอยู่ที่ว่าสิทธิของผู้หญิงและสิทธิในชีวิต ของเด็กในครรภ์ นี่เป็นปัญหาพื้นฐานที่ที่เป็นปรัชญาที่สุด ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญทั้ง 2 ส่วน

เราเลือกที่จะไม่ใช้วิธีเดียวกับในต่างประเทศ เช่น อเมริกา ที่มองว่า ผู้หญิงมีสิทธิ ที่จะเลือกในช่วงเวลาแรกของการตั้งครรภ์ แต่เราเลือกที่จะตีความของคำว่า สุขภาพ ว่าผู้หญิงอาจจะมีความจำเป็น เช่น เด็กนักเรียนหญิงเกิดผิดพลาดไปเสียอนาคตไม่พร้อม จะตีความขนาดไหนในเรื่องสุขภาพเพื่อที่จะให้เขาทำแท้งได้

อีกมุมหนึ่งก็มองว่า เราให้ความคุ้มครองชีวิตในครรภ์พอเพียงหรือไม่ด้วย นักกฎหมายบางส่วนมองว่า จำเป็นต้องทำเพราะสุขภาพผู้หญิง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ "สุขภาพ" หรืออยู่ที่คำว่า "จำเป็น" หากอยู่ที่คำว่า "จำเป็น" แม้ว่า "จำเป็น" จะมีในมาตรา 67 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งคุณหมอวิฑูรย์บอกว่าถ้าถึงตายก็ทำได้อยู่แล้ว อยู่ที่ความจำเป็นนั้นๆ ต้องชั่งระหว่าง ผลประโยชน์ของชีวิตในครรภ์กับสุขภาพของแม่ อาจไม่ถึงตายแต่ต้องมีมาตรฐาน อย่างใดอย่างหนึ่ง

ความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายมาตลอดนั้น เน้นอยู่ 2 เรื่อง คือ เรื่องสุขภาพ และการคุมกำเนิดผิดพลาด อีกส่วนหนึ่งที่นายแพทย์วิฑูรย์ได้เคยเสนอแนวคิดไว้ นอกจากนี้ มีแนวคิดยกเลิกมาตรา 305 แล้วมีกฎหมายพิเศษออกมาฉบับหนึ่งหรือกำหนดว่า การทำแท้งที่ทำโดยแพทย์ใน ร.พ.หรือ สถานพยาบาลแล้วไปกำหนดเกณฑ์อีกว่าจะทำอย่างไร


รศ.ดร.ทวีเกียรติ - การใช้คำว่าเป็นจำเป็น เพื่อต่อสู้ให้คนมีทางเลือก สังคมที่เป็นธรรมต้องให้โอกาสคนมีทางเลือกได้ เช่น ในฝรั่งเศส ซึ่งเราไปเอากฎหมาย ของเขามาใช้ แต่ไม่ได้เอามาทั้งหมด ในฝรั่งเศสเคร่งครัดก็จริง แต่ถ้าไม่ทำแท้ง ก็จะมีทางเลือกให้คือ เลี้ยงดูลูกให้ แต่ของเราไม่ให้ทำแท้งและถ้าไม่ทำก็ตั้งท้อง และเลี้ยงลูกจนตาย ไม่เปิดทางเลือกให้เลย ฝรั่งเศสก็มีทำแท้งเถื่อน ปัญหาภาวะแทรกซ้อน จากการทำแท้ง มีการตาย มีค่าใช้จ่ายการทำแท้งสูง จึงมีการทำวิจัยเหมือนกับวิจัยฉบับนี้ ของกรมอนามัย และรัฐสภาเขาก็เชื่อผลงานวิจัย และเมื่อแก้ไขกฎหมาย ปัญหาก็ลดลง หมอเถื่อนหายไป ตายน้อยลง ค่าใช้จ่ายลดลง


การแก้ไขกฎหมายนั้น ควรแก้ไขแน่ มาตรา 301 เป็นมาตรเดียวที่ลงโทษหญิง มาตราอื่นๆ ใช้คำว่าผู้ใด หากดูจากงานวิจัยนี้จะเห็นว่าการทำแท้งจะมีอยู่ช่วงอายุเดียว ที่กระทำผิด เพราะเขามีปัญหา ทำแล้วเขาก็เจ็บตัว เจ็บปวดมากพอแล้ว บางคนทำครั้งเดียว ในชีวิตก็ไม่เคยลืมความเจ็บปวดเลย ดังนั้นคนที่ทำแท้งควรถูกลงโทษหรือไม่

และมาตรา 305 ควรกำหนดเวลาด้วย เช่น อายุครรภ์ 1-3 เดือน ถ้าทำแท้งก็เพื่อสุขภาพแม่ไว้ก่อน จะชั่งน้ำหนักก็ต่อเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ดูว่าเด็กในครรภ์มีชีวิตรอดไหม จึงจะมาตีความว่า จะทำอย่างไร จำเป็นต้องทำแท้งหรือรักษาเด็กไว้ มาตรา 305 จริงๆ แล้วเป็นอำนาจกระทำ ไม่ใช่อำนาจลงโทษ มาตรา 305 จริงๆเป็นเหตุยกเว้นกระทำผิด ทำอย่างไรจึงจะไม่ผิด ซึ่งเป็นประโยชน์กับจำเลย กฤษฎีกากลับไปตีความกลับกับความจริง จึงทำให้เป็นผลร้าย กับผู้กระทำ ควรจะขยายความให้เห็นคุณต่อผู้กระทำ


คำอภิปราย และคำถามจากผู้ร่วมประชุม


ร.ศ.ดร.กฤตยา - ประเด็นที่ 1 การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ทำงาน ด้านสิทธิมนุษยชน ก็เพื่อให้เท่าเทียมกันทั้งหญิงและชายทุกด้าน จากข้อเท็จจริง คนที่หากินกับผู้หญิงมีทั้งหญิงและชาย ถ้าจะลงโทษทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตาม


ประเด็นที่ 2 อยากจะทำความเข้าใจคำว่า "การทำแท้งเสรี" ที่มีการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ผ่านมาไม่ได้ทำเพื่อให้สามารถทำแท้งเสรีได้ แต่คำนี้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองในสมัยคุณจำลอง มีการต่อต้านทางจริยธรรม มีการสร้างกรอบว่าการทำแท้งเสรีคือ การฆ่า ซึ่งบาปมาก ทำให้คนเข้าใจผิดกับคำว่า "ทำแท้งเสรี" คือ ทำเมื่อไรก็ได้ ใครอยากทำก็ทำ ซึ่งปัจจุบันไม่มีการทำแท้งเสรีในโลก

ทุกวันนี้การต่อสู้ที่ให้เกิดขึ้น ก็เพื่อให้มีทางเลือกมากขึ้นแก่คนที่มีปัญหา ให้อยู่ใต้สถานการณ์ที่ทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ทางเลือกนี้ไม่ได้ไปสู่ การทำแท้งจริงๆ แล้วก่อนทำแท้งผู้หญิงทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการพูดคุยปรึกษาหารือ ทุกคนต้องหาข้อมูล ทุกคนกลัวตาย เพราะฉะนั้นเขาต้องหาข้อมูลว่า ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงบริการที่สามารถจ่ายได้ บางคนไม่รู้กฎหมายว่าเป็นการทำผิด

ถ้าหากเขาไม่ต้องการทำแท้ง รัฐจะต้องเข้ามาดูแลด้วยว่า ควรจะให้บริการอย่างไร เหมือนกับฝรั่งเศส ควรจะต้องสื่อสารกับสาธารณชนให้เข้าใจชัดเจนว่า จากงานวิจัย ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ทำมาทำให้เห็นภาพภาพหนึ่ง และมีงานวิจัยอื่นที่กำลังทำ ก็เห็นภาพสอดคล้องกันว่า ข้อกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันนี้เป็นกฎหมายที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้ และไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง และดิฉันเห็นพ้องไปในแนวที่คิดว่าควรยกเลิกกฎหมาย มาตรา 301-305 แล้วต้องมีลักษณะของกฎหมายใหม่ ซึ่งกฎหมายใหม่จะเป็นกฎหมาย ที่เกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิง ไม่ใช่เป็นตัวบทกฎหมาย แต่เป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้ ซึ่งอยู่ในตัวกฎหมายนั้น ทำให้เห็นความชัดเจน


ศ.น.พ.ประมวล - ผมมีเรื่องที่จะเรียนในที่ประชุมให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เรื่องแรก เป็นเรื่องทางการแพทย์ที่พูดถึงการปฏิสนธิเป็นข้อมูลที่ทุกคนยอมรับเชื่อถือ ได้ทั้ง นักศาสนา นักชีววิทยา คือ เมื่อไข่กับตัวอสุจิผสมกันแล้ว ถือว่าชีวินเริ่มต้น พุทธศาสนาบอกว่า มีปฏิสนธิทางวิญญาณเกิดขึ้น ในขณะนั้น 3 องค์ประกอบคือ วิญญาณ ไข่ อสุจิ รวมกันเป็นชีวิต เริ่มต้นใช้เวลา 6-7 วัน ตัวอ่อนจะฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นถ้ามีการกระทำใดๆ ถือว่าเป็นการยุติการตั้งครรภ์

หากมองว่าการใช้เทคโนโลยีป้องกันการตั้งครรภ์ วิธีการคุมกำเนิดทุกอย่างเป็นการยุติไม่ให้ไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิเป็น ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 เมื่อปฏิสนธิกันแล้ว อีก 6-7 วัน จะไปยับยั้งการตั้งครรภ์โดยไม่ให้มีการฝังตัว ของไข่ที่ผสมแล้วทั้ง 2 ขั้นตอนนี้ ถือว่าเป็นการยับยั้งการตั้งครรภ์ คือการใช้เทคโนโลยี การคุมกำเนิดต่างๆ ทั้งด้านการใช้ยา หรือหัตถการ ถือเป็นวิธีการยับยั้งการตั้งครรภ์ ซึ่งก็ตรงกับที่ ดร.ทวีเกียรติ บอกว่าอังกฤษถือว่าการใส่ห่วงไม่ใช่การทำแท้ง


เรื่องที่สอง จะพูดเรื่องจิตใจ พระธรรมปิฏก พูดถึงเรื่องบาปบุญ ท่านได้แสดงปาฐกถาเรื่องทำแท้งว่า ผิดก็ส่วนผิด ถูกก็ส่วนถูก ท่านบอกว่าพระพุทธเจ้า ให้ข้อคิด 2 อย่าง ถ้าการกระทำนั้นบนพื้นฐานของเจตนา ความตั้งใจให้ผู้อื่นเป็นสุข ประกอบกับได้มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ถ้า 2 อย่างประกอบกันท่านบอกว่า ทำไปไม่บาป ขอเรียนถาม ดร.ทวีเกียรติ ว่ากฎหมายมาตรา 305 ที่จริงใช้ได้ แต่ตีความผิดใช่ไหม


ร.ศ.ดร.ทวีเกียรติ - ความเห็นของกฤษฎีกา นักกฎหมาย ถือว่าถ้าตัดสิน มาแล้วก็เชื่อไปก่อน จนกว่าจะมีเหตุผลที่ดีกว่ามาลบล้าง จะมีผลจริงๆ คือขึ้นศาลฎีกา แล้วตัดสินมา แต่คดีทำแท้งไม่เคยขึ้นศาลฎีกา คำถามว่า ถ้าศาลฎีกาจะตัดสินจะถามอย่างไร ศาลฎีกาก็ต้องกลับมาถามแพทย์อีกว่า คำจำกัดความเรื่องสุขภาพว่าอย่างไรบ้าง แบบนี้เข้าข่ายไหม ดังนั้น ทางการแพทย์ควรจะวางแนวไว้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ก็จะช่วยการตัดสินของศาลได้ ก็จะช่วยศาลได้ในเรื่องการตีความ


ศ.น.พ.วิฑูรย์ - คณะกรรมการกฤษฎีกา มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล และสามารถจะรับคำปรึกษาจากหน่วยราชการต่างๆ แต่ไม่ได้ผูกมัดว่าปรึกษาไปแล้ว จะต้องปฏิบัติตามหรือไม่ พอตีความไปแล้วแพทย์ก็เลยไม่กล้าปฏิบัติตาม


ดร.กิตติพงษ์ - จากประสบการณ์เรื่องคลินิกดาวพระศุกร์ คิดว่า ถ้าแก้กฎหมายไม่ได้ ก็น่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาไปก่อนได้ จุดยืนตอนนั้น ถ้ามีความโปร่งใส ก็ตรวจสอบได้ ถ้ากำหนดไว้เรื่องอายุครรภ์ กำหนดให้ชัดเจนว่าเงื่อนไขมีอะไรบ้าง แม้จะผิดกฎหมายแต่ถ้านำคดีไปสู่ศาลก็เป็นจุดสำคัญที่ทำได้


น.พ.ทศพร - ในฐานะผู้ปฏิบัติมองว่า กรมอนามัยรับผิดชอบเรื่องสุขภาพของผู้หญิง เช่น วางแผนครอบครัว หรือการตั้งครรภ์ก็ดี เป็นข้อที่ควรนำไปปฏิบัติได้เลย โดยไม่ต้องไปรอแก้ไขกฎหมาย 301-305 โดยกรมอนามัยมีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขตต่างๆ สามารถรับยุติการตั้งครรภ์ แต่ต้องมีเงื่อนไข มีกรอบที่ชัดเจน มีการให้คำปรึกษาก่อน และอาจกำหนดอายุครรภ์ คืออายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์


คุณ กนกวรรณ -

ไม่เห็นด้วยกับการตีความกฎหมาย แล้วยกให้แพทย์ตัดสินใจว่า ตีความสุขภาพ แล้วให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจจะทำแท้งหรือไม่

กฎหมายทำแท้งนี้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายอาญาเป็นกฎหมาย ที่พยายามเอาผิดกับผู้ที่ทำร้ายผู้อื่น หรือฆ่าผู้อื่น ดังนั้น กฎหมายทำแท้งตามหลักการแล้ว ไม่ควรอยู่ภายใต้กฎหมายอาญา หมายถึงยกทิ้งไปเลย

ควรอาศัยสหวิชาชีพเข้ามาคุยกัน แล้วประมวลออกมาด้วยกันว่าแท้จริงแล้ว กฎหมายทำแท้ง ซึ่งจะเอื้อสิทธิประโยชน์สูงสุดของผู้ที่อยู่ในปัญหา และสร้างทางเลือก ให้มากที่สุดควรจะเป็นอย่างไร

ศ.น.พ.วิฑูรย์ - กฎหมายมาตรา 305 กำหนดไว้ว่า หญิงนั้นต้องยินยอมด้วย ถึงจะทำแท้งได้


ศ.น.พ.สุพร - ความรู้สึกของสูตินรีแพทย์ทั่วไปคิดอย่างไร เกี่ยวกับการทำแท้ง

1. เมื่อมองถึงความรู้สึกของคนที่จะทำแท้ง ไม่มีใครอยากทำสักคนเดียว ที่ทำเพราะอยากช่วย หมอที่ทำแท้งจะมีความรู้สึกขัดแย้งกัน ต่อสู้กันระหว่างความคิดว่า อยากจะช่วยแม่ ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่า กำลังทำอะไรกับเด็ก


2. ข้อบังคับเรื่องอายุครรภ์ ถ้ากฎหมายเขียนไว้ ก็อาจเป็นผลเสียได้ อายุครรภ์ขนาดนี้ทำแล้วจะปลอดภัยกับแม่ไหม เช่น 4 เดือนขึ้นไป และถ้าไม่มีเหตุผลมากไม่มีใครคิดทำ ขณะที่อายุครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป เด็กออกมาแล้วยังไม่ตายจะทำอย่างไรก็ต้องเลี้ยงดูต่อไป


3. ถ้ามองว่าให้แพทย์ทำได้โดยต้องตีความในกฎหมาย ทำอย่างไรให้การพิจารณาว่าจะทำแท้งหรือไม่ทำ ควรมีการให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะทำแท้งหรือตั้งครรภ์ต่อ

กฎหมายจะแก้ดี หรือไม่แก้ดี


ประการแรก ปฏิกิริยาอันหนึ่งที่มีต่อการแก้ไขกฎหมายนี้ คือ มีการต่อต้าน เป็นเหตุให้กระบวนการต่างๆ ที่แพทย์จะช่วยคนไข้นั้นยากขึ้น


ประการที่สอง ทางเลือกเกี่ยวกับกฎหมายทำแท้ง จะทำได้มี 3 อย่างคือ

คงกฎหมายเหมือนเดิม แล้วตีความ ซึ่งดูเหมือนจะง่ายที่สุด

แก้ไขเฉพาะเหตุผลทางการแพทย์ เช่น กรณีเด็กพิการ เด็กที่มีปัญหาทางพันธุกรรม น่าจะผ่านไม่ยาก

เป็นไปได้หรือไม่ ถ้าจะเขียนรวมเหตุผลทางเศรษฐกิจ และสังคมเข้าไปด้วย โดยจะเขียนอย่างไรออกมาเป็นกฎหมายได้ มีขอบเขตที่แน่นอนซึ่งค่อนข้างยากที่จะกำหนดว่าจนแค่ไหน ลูกมากแค่ไหน และต้องหาวิธีการว่าจะทำอย่างไร ให้คนทั่วไปมองเห็นภาพว่าการทำแท้ง มันโหดร้ายทารุณต่อผู้หญิงมากแค่ไหน ถ้าหากให้ผู้หญิงไปทำแท้งเองตามยถากรรม

น. พ.สมบูรณ์ศักดิ์ - ความเห็นตรงกับ อาจารย์ น.พ.สุพร คือ ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ หมอก็จะไม่ทำแท้งให้ และเห็นด้วยกับ น.พ.ทศพร คือ ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนที่ทำให้กลุ่มที่มีปัญหาจริงๆ มาหาเราได้ หรือมีแหล่ง ให้บริการแก่เขามีการให้คำปรึกษา ซึ่งพบว่า ส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนใจกลับไปตั้งครรภ์ต่อ การทำแท้งในกรณีที่ตั้งครรภ์จากความผิดพลาดทางเทคโนโลยี จะใส่เข้าไป ในกฎหมายใหม่ไหม การจะแก้ไขกฎหมาย ควรแก้ไขให้ครอบคลุม ให้ใช้ได้อีกหลายสิบปี ไม่ควรต้องมาแก้กฎหมายทุกปี


ดร.กิตติพงษ์ - ขอสรุปประเด็นดังนี้ ก่อนที่จะเปิดให้อภิปรายต่อไป

มีกระบวนการอย่างไร ที่จะให้ขบวนการของนักกฎหมายที่เป็นศาลเอง สะท้อนความเป็นจริงในสังคม และรับฟังข้อมูล

การคำนึงถึงเรื่องสิทธิของผู้หญิงที่จะเลือก ที่คุณกนกวรรณ ยกประเด็นขึ้นมา ขึ้นมาไม่ใช่เพียงแต่ให้คนอื่นตัดสินใจให้

น.พ.สมชาย -

ที่คุยกันมาเป็นเรื่องเทคนิคทางกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีใครพูดถึง พระราชบัญญัติสุขภาพ ซึ่งกำลังเป็นกระแสหลักในปัจจุบันนี้ และการร่างพระราชบัญญัต ิสุขภาพแห่งชาติ จะมีบทนิยามเกี่ยวกับคำว่าสุขภาพ ถ้านำออกมาใช้ประกอบกัน จะครอบคลุมถึงการใช้กฎหมายอาญาด้วย ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาการตีความคำว่า สุขภาพในกฎหมายการทำแท้ง

ถ้าหากมีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ มีนิยามคำว่า สุขภาพที่เป็นประโยชน์ จำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่หรือไม่

ถ้าไม่มีคดีขึ้นศาลฎีกา ก็ไม่มีบรรทัดฐาน ซึ่งบรรทัดฐานนี้แพทยสภา และกรมอนามัยสามารถสร้างแนวทางปฏิบัติออกมาได้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ ที่อยากจะช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหานั้น ให้ถือปฏิบัติชั่วคราว แล้วจะแก้ไขได้ไหม

ดร.กิตติพงษ์ - เห็นด้วยกับข้อเสนอของคุณหมอสมชาย ที่จะต้องมีการตั้งเกณฑ์ใน การถือปฏิบัติของแพทย์ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่มีปัญหา


คุณกนกวรรณ -

จากการทำงานวิจัยโดยสัมภาษณ์ผู้หญิงที่ทำแท้ง พบว่าจริงๆ แล้วผู้หญิงรู้สึก ผิดบาปมากๆ ที่ตัวเองต้องไปทำแท้ง

ไม่เฉพาะแพทย์เท่านั้น ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาก็รู้สึกผิดบาป ดังนั้น ควรต้องมองความเป็นมนุษย์ด้วย ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วทุกคนเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เขาจะพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวเองก่อน จึงเป็นเหตุให้ เมื่อไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อมีครรภ์ใหญ่ขึ้นแล้วประกอบกับไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วจะไปขอความช่วยเหลือจากใครได้

ควรนำความรู้สึกนึกคิดของผู้หญิงเหล่านี้มาพิจารณาในการแก้ปัญหา ให้เขาด้วย

ซึ่งอาจจะลดปัญหาการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เราจะทำอย่างไร ในทุกช่วงอายุครรภ์ มิใช่มองแค่ครรภ์ 0-3 เดือน

ในผู้หญิงที่อายุครรภ์มากกว่านั้น ถ้าเขาอยากจะทำแท้ง ก็ต้องช่วยให้เขาปลอดภัยด้วย

ร.ศ.ดร.กฤตยา -

ไม่มีผู้หญิงคนใดในโลกที่ตั้งใจท้องเพื่อคิดจะไปทำแท้ง นอกจากเขา มีความจำเป็นจริงๆ และความพยายามที่เขาจะแก้ไขปัญหามีหลายรูปแบบ


ในสังคมไทยถือว่า การฆ่าเป็นบาป ดังนั้น การให้คำปรึกษาควรมีเรื่องผิดบาป ที่จะต้องพูดให้ผู้ที่ต้องการทำแท้งฟังด้วย


คำสุขภาพ อยากสนับสนุนให้ทุกส่วนของสังคมให้คำจำกัดความของคำว่า สุขภาพของตนเอง แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพควรกำหนดนิยามของคำว่า สุขภาพด้วย และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ควรมีพระราชบัญญัติสุขภาพผู้หญิงออกมา


ในกระบวนการที่ยังไม่มีทางแก้ไขกฎหมายเห็นด้วยกับ น.พ.ทศพร ควรจะต้องสร้างแนวทางใดทางหนึ่ง ในการปฏิบัติที่ทำให้บรรเทาปัญหาในขณะนี้ลงได้ และสร้างความสบายใจให้กับแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเผชิญปัญหานี้ หลังจากผู้หญิงได้พยายามทำแท้งแล้วมีภาวะแทรกซ้อนเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล ปัจจุบันนี้ในทางปฏิบัติก็มีระบบให้ความช่วยเหลือจากผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งอยู่แล้ว ตามโรงพยาบาล สถานีอนามัย มีการส่งต่อกันเพียงแต่ไม่เป็นที่เปิดเผย


ในองค์กรเอกชนขณะนี้ก็มี ถ้าของรับทำไม่ได้ผลก็มีการประสานงานภายใน โดยการส่งต่อไปยังองค์กรเอกชนนั่นคือ คลินิกที่มีแพทย์ปริญญา ซึ่งจะปลอดภัย มีการลดราคาให้ หากส่งผ่านจากมูลนิธิมา ซึ่งก็ทำกันอยู่แล้วเพื่อจะช่วยเหลือ แต่ที่เราเรียกร้องกันขณะนี้ก็เพื่อให้เกิดความให้เท่าเทียมกัน ให้ผู้ที่มีปัญหาแต่ไม่รู้ข้อมูล นักเรียน นักศึกษา คนจนได้เข้าถึงบริการ


แนวทางในการทำงาน เราไม่สามารถทำงานในกลุ่มที่ทำงานเพื่อสิทธิสตรี ได้เพียงผู้เดียว ควรจะต้องทำงานกับวิชาชีพแพทย์ นักกฎหมาย สื่อมวลชน และประชาสังคมโดยรวม นั่นคือ การแก้ปัญหานี้ต้องเป็นองค์กรสหวิชาชีพทำงานร่วมกัน เราต้องฟังเสียงสูตินรีแพทย์ ว่ารู้สึกอย่างไร นักกฎหมายมองเรื่องนี้อย่างไร สื่อมวลชนจะช่วยสื่อสารเรื่องนี้อย่างไร เราต้องต่อสู้กับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทุกฉบับ กฎหมายมาตรา 305 เป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติอย่างยิ่งกับผู้หญิง ไม่มีความชัดเจน ในการที่จะปฏิบัติ ควรจะต้องแก้ไขและมีกฎหมายเฉพาะเรื่องนี้ออกมาประกอบ

ศ.น.พ.ประมวล-

คำจำกัดของคำว่า "สุขภาพ" เท่าที่ฟังมาทุกครั้ง ใช้ตามคำจำกัดความ ขององค์การอนามัยโลก สุขภาพ คือ ภาวะสมบูรณ์ของ ร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ในสังคมที่ดีและไม่เพียงแต่การปราศจากโรค หรือความทุพพลภาพเท่านั้น (Health is a state of complete physical, mental, and social well being and not merely the absence of disease or infirmity)


ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขต่างๆ ต้องการให้มองเป็นภาพรวม ที่สามารถปฏิบัติได้บนพื้นฐานของวัฒนธรรม ประเพณีไทย ที่สามารถเกื้อกูล ซึ่งกันและกันได้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


เท่าที่ฟังข้อเสนอจากหลายๆ ท่าน คิดว่าควรมีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งเป็นไปได้ 3 ทาง คือ

1. กฎหมาย 301-305 สามารถเขียนเพิ่มเติมเพื่อให้เปิดช่องทาง ให้ลดหย่อนได้ไหม เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้เลย

2. คงไว้อย่างเดิม แล้วไปปิดกั้นอยู่ที่สำนักอัยการสูงสุด

3. แก้กฎหมายหรือยกเลิกไปเลย ซึ่งน่าจะยาก

พ.ญ.นันทา -

เรื่องคำนิยามสุขภาพต่างๆ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำนิยามออกมาแล้ว และเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมากมาย


ไม่เห็นด้วยกับ น.พ.ทศพร ที่เสนอให้ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต มีบริการทำแท้ง ในทางปฏิบัติควรให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านมีความเข้าใจและตระหนักในเรื่องนี้ การมีบริการที่กว้างขวางจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการ ขณะเดียวกันผู้ให้บริการ ไม่รู้สึกว่ามีบางคนเท่านั้นต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ ที่จริงทุกสถานบริการ โรงพยาบาล เคยมีแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว มีการจัดตั้งคลินิกดาวพระศุกร์ และในกรณีที่จะต้องทำแท้ง จะต้องมีการให้คำปรึกษา และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการการแพทย์ 3 คน เพียงแต่แนวทางนี้อาจจะเยิ่นเย่อหรือไม่ได้ถือปฏิบัติเหมือนกันทุกแห่ง

พ.ญ.สุวรรณา-

ใน ฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ทำการวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ก็เพื่อจะหามาตราการมาป้องกัน ลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และเพื่อจะนำข้อมูลนี้ไปช่วยอาจารย์ ทางด้านกฎหมายปรับแก้กฎหมายได้ขอช่วยดูว่า ข้อมูลที่รวบรวมมามีส่วนไหนที่จะสามารถสนับสนุนในระดับใดได้บ้างและขาด ข้อมูลอะไรอีก จะได้รวบรวมมาให้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้


เรื่องคำจำกัดความสุขภาพที่ WHO เพิ่มเรื่องจิตวิญญาณ (Spiritual) เข้ามา ซึ่งไม่มีความชัดเจนและไม่ทราบว่าจะวัดได้อย่างไร สำหรับจิตใจยังพอจะรู้สึกได้วัดได้


การที่ น.พ.ทศพร เสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต เป็นหน่วยงานเฉพาะที่ให้บริการ ถ้าทำก็ต้องทำพร้อมๆ กัน ทำตามจริยธรรม และความเหมาะสม ที่ทำทำกันปัจจุบันแบบใต้ดิน เพราะไม่มีความปลอดภัย ที่จะทำอย่างเปิดเผย


จะมีแนวทางที่สื่อสาร หรือประชาสัมพันธ์ทางอ้อมได้อย่างไรบ้าง ว่าถ้าผู้หญิงมีการตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะไปขอรับบริการได้ที่ไหน

คุณเมธินี - ในฐานะที่ทำงานกับผู้ด้อยโอกาสในสังคม มองว่ากติกาทางสังคม ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิที่จะเลือก ปิดทางเลือกสำหรับผู้ด้อยโอกาส ในสังคมในการที่จะกำหนด หรือเลือกชะตาชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะควรมองความต้องการ ทุกๆ ด้านของผู้หญิงควบคู่ไปกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุน เช่น แพทย์ นักกฎหมาย


น.พ.สมชาย -

คำว่า "จิตวิญญาณที่ดี" (Spiritual well being) เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญของคน ในแต่ละวัฒนธรรม ซึ่งจะมีเรื่องความสงบของจิตใจ (Peace of mind) ต่างกัน คำว่า Spiritual เอามิติทางสังคม วัฒนธรรม เข้ามารวมด้วย เพราะฉะนั้นจะเปลี่ยนไปจากเดิม ที่มองแต่ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผสมกลมกลืนเข้าไปกับภูมิหลังของวัฒนธรรม (Cultural background) และเรื่องของมิติทางสังคมที่ลุ่มลึกขึ้น ทำให้คนมีทั้งภูมิปัญญา การพัฒนาตนเองในความเชื่อบริบท (Context) ทางวัฒนธรรมที่ต่างกันด้วย


ในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งกรมอนามัยจะจัดในวงใหญ่ขึ้น จะต้องมีสิ่งที่เป็นผลผลิต (Product) ที่ผู้คนจับต้องได้อธิบายได้ว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างไร เท่าที่พูดมาจาก การประชุมทั้ง 2 ครั้ง เป็นการพูดโดยมีฐานจากประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งหลากหลายมาก พูดในเชิงนามธรรม (Abstract) ยังไม่ลงไปถึงการปฏิบัติ หลายคนมีความคาดหวังในกรมอนามัยมาก จึงเสนอว่า ควรเขียนแผนแม่บท (Master plan) ว่ามีมาตรการ ที่ต้องจัดการมีอะไรบ้าง กำหนดยุทธศาสตร์ขึ้นมา รวมทั้งมีกิจกรรมในเชิงระยะสั้น กลาง และยาวออกมาชุดหนึ่ง เพื่อเป็นตุ๊กตาให้ทางกลุ่มต่างฯ เช่น กลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มแพทย์ลงความเห็นว่าดีไหม ขาดอะไรบ้าง ปฏิบัติได้ไหม ทุกกลุ่มควรมีจุดยืนของตัวเอง ถ้าเดินไปด้วยกันก็ขอให้เป็นขบวนเดียวกัน

รศ.ดร.อรทัย - ปัญหาวัยรุ่นที่มั่วสุ่มกันในสถานบริการ ทั้งๆ ที่มีกฎหมายบังคับ เรื่องอายุ และเวลาเปิดปิดสถานบริการ ดังนั้น ปัญหานี้เป็นไปได้หรือไม่ที่จะออกกฎข้อห้าม สำหรับวัยรุ่น กำหนดช่วงเวลาที่ห้ามออกนอกบ้านไปเลยว่ากี่ทุ่มไม่ควรออกนอกบ้าน เพื่อที่จะลดปัญหา ถ้าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ได้ ก็ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ทราบว่า จะขัดกับสิทธิมนุษยชนด้วยหรือเปล่า


ดร.กิตติพงษ์ - ปัญหาของบ้านเราคือ มีกฎหมายดี แต่บังคับใช้ไม่ได้


ศ.น.พ.วิฑูรย์ -

งานวิจัยที่มาสนับสนุนทางด้านแท้งมีไม่มากนัก เพราะไปมองทางด้านสุขภาพกาย เสียส่วนใหญ่ ข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจและสังคม ไม่มีอะไรสนับสนุน แต่ผลงานวิจัย ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าปัญหาการทำแท้งไม่ปลอดภัยมีมากขึ้น


กฎหมายมาตรา 305 วงเล็บ 1 เรื่องสุขภาพ ถ้ามองสุขภาพตรงนี้แล้วขยายความ ให้กว้างขึ้น แล้วก็ให้แพทยสภาเป็นตัวกำหนดอันหนึ่ง แล้วมีสำนักงานอัยการสูงสุด เห็นพ้องเรื่องไม่ต้องเสี่ยงถึงขึ้นศาล สิ่งที่ทำมาในอดีตที่ทำกันแบลับๆ ก็จะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน


แนวทางที่จะทำให้ชาวบ้านและประชาชนเข้าใจมีดังนี้

1. ทำให้คนที่ต้องการใช้บริการทุกคนเข้ามาใช้บริการได้ การที่ทำแบบปิดๆ เปิดๆ คนที่มีเส้นสายเท่านั้นเข้ามาได้ ชาวบ้านเข้าไม่ถึง ถ้าทำแบบเปิดเผยแบบนี้ไม่ต้องแก้กฎหมาย

2. ทำแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนขึ้น ทำให้แพทย์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น แพทยสภาเป็นตัวตั้งว่าไปลงถึงผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งหมด ทุกสังกัดของกระทรวง สาธารณสุขและนอกกระทรวงสาธารณสุข ถ้ากรมอนามัยแตะอยู่แค่นี้ ทบวงมหาวิทยาลัย จะไม่เกี่ยวข้องด้วย นี่คือข้อจำกัด ถ้าเปิดกว้างจะปกป้องแพทย์ได้ เมื่อถูกฟ้อง อย่างไรก็ตามถ้าให้สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นพ้องด้วยก็ไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้อง

ผมเสนอแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่จะทำแท้ง เพื่อตั้งครรภ์ ขอรับทำแท้งเนื่องมนจากปัญหาสุขภาพ แล้วเสนอให้อัยการสูงสุดรับรอง ตรงนี้จะเอาไปอ้างได้ ตำรวจไม่กล้าจับ ขอเสนอแนวทางปฏิบัติดังนี้

1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่สังกัดในหน่วยงานของรัฐ หากจะเปิดช่องให้เอกชน อาจเพิ่มว่าหน่วยงานของรัฐ หรือที่แพทยสภารับรอง

2.ให้หน่วยงานของรัฐนั้นจัดตั้งคณะกรรมการประเมินสุขภาพขึ้นมาก่อนที่จะทำแท้ง คณะกรรมการดังกล่าวมีจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอยู่ด้วย เนื่องจากเราอ้างเรื่องสุขภาพทั้งกาย และจิต

3. มีแนวทางประเมินปัญหาสุขภาพทางกายมีอะไรบ้าง เช่น เป็นโรคอะไร ให้เป็นแนวทางให้คณะกรรมการประเมินอีกครั้งหนึ่ง

4. มีแนวทางประเมินปัญหาสุขภาพทางกายทางจิต รวมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

5. คำนึงถึงเรื่องของวิธีปฏิบัติด้วย เช่น อายุครรภ์เท่าไหร่ ถ้าเราทำตรงนี้ได้ การทำแท้งโดยวิธีปรับประจำเดือน (Menstruation Regulation-MR) ก็จะนำมาใช้ได้ เท่าที่ทราบ ว่าองค์กรระหว่างประเทศเคยเสนอให้เครื่องมือ MR ให้ไทย แต่พอทราบว่า ประเทศไทยไม่อนุญาตให้ทำเขาเลยไม่ให้ ซึ่งถ้าได้จะช่วยลดปัญหาได้มาก

6. มีแนวทางช่วยเหลือผู้ตั้งครรภ์ที่ไม่ผ่านการประเมินของคณะกรรมการด้วย เช่น มีการติดต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือต่อ

7. ให้บริการในอัตราที่เป็นธรรม หรือฟรีสำหรับผู้ด้อยโอกาส ถ้าทำตรงนี้ได้ ก็จะครบวงจรโดยไม่ต้องไปแก้กฎหมาย

ร.ศ.ดร.ทวีเกียรติ-

การกำหนดเวลาออกนอกบ้านของเด็กจะมีปัญหามากขึ้นเพราะเด็กจะอ้างว่า กลับบ้านไม่ได้ อาจจะกลับตอนเช้าเลย

ขณะนี้กฎหมาย 301-305 ยังมีอยู่ก็ทำอย่าง น.พ.วิฑูรย์ เสนอไว้ ขณะเดียวกันก็ทำอย่างอื่น เช่น มีกฎหมายสุขภาพ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งขณะนี้ผมทำอยู่คือแทรกไปในการสอน

1. แทรกไปในการสอนนักศึกษาเรื่องกฎหมายทำแท้ง ก็จะสอนการตีความ เรื่องสุขภาพออกไปให้กว้าง

2. เรื่องนิยามคำว่า สุขภาพ ที่เสนอให้ใส่ไปในพจนานุกรม ถ้าสามารถทำให้ ราชบัณฑิตรับรองคำนี้ได้ คงจะช่วยได้อีกทาง เพราะศาลก็ต้องเปิดดู

3. แพทยสภาต้องรับผิดชอบด้วย เราสามารถที่จะวางเกณฑ์เหล่านี้ได้ โดยเสนอให้ราชบัณฑิตบรรจุความหมายของคำว่าสุขภาพในพจนานุกรม

ดร.กิตติพงษ์ - ผมขอสรุปดังนี้

หัวข้ออภิปรายที่ตั้งไว้ว่า กฎหมายอาญา มาตรา 305 ควรแก้หรือไม่อย่างไร ผมคิดว่า ควรแก้หรือไม่นั้น ชัดเจนแล้วว่าควร เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง เลือกปฏิบัติไม่ให้ความช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ต้องการให้ช่วยเหลือมากที่สุด ไม่คำนึงถึงความเป็นจริง ซึ่งสถิติที่ชัดเจนของกรมอนามัยได้นำเสนอผลการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งชัดเจนที่สุดตั้งแต่เราเคยรณรงค์เรื่องนี้มา นอกจากนั้นประสิทธิภาพของการบังคับใช้ ก็มีปัญหาทำให้มีคนได้ประโยชน์จากนี้มากมาย แล้วก็มีผู้หญิงที่เสียประโยชน์มากมายเช่นกัน มันขัดขวางการพัฒนาระบบที่เราจะช่วยเรื่องการให้คำปรึกษาระบบรองรับ ขัดรัฐธรรมนูญ โดยสรุปแล้วเวรกรรมจึงตกแก่ผู้หญิง


จะแก้อย่างไร มีแนวคิดดังนี้

1. แก้มาตรา 305 เน้นการตีความของคำว่าสุขภาพ ที่จะเป็นกรอบปกป้อง จะทำอย่างไร แค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ในอดีต กระบวนการแก้กฎหมาย ไม่ค่อยได้เตรียมตัวเท่าไร เพราะไม่คาดคิดว่าจะเจอกระแสต่อต้าน ลักษณะการแก้ก็ทำโดย อยากแก้อย่างไรก็เขียนไปอย่างนั้น โดยไม่มีการบอกว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ สถิติ ปัญหาชัดเจน ทำให้กระบวนการต่อต้านเข้มแข็งมากขึ้น เพราะคำว่าแท้งเสรี ติดตลาด ทำให้การดำเนินงานต่ออยากขึ้น


- เรื่องสุขภาพเด็ก การแก้ไขต้องทำ เทคโนโลยีสมัยใหม่คงไม่มีปัญหา

- ถ้าผู้หญิงต้องการทำแท้งเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคมจริงๆ แล้วจะเขียนใน มาตรา 305 อย่างไร ซึ่งคนละเรื่องกับสุขภาพ


2. ถ้ายังแก้ไม่ได้จะทำอย่างไร พูดกันมากเรื่องเกณฑ์ทางแพทย์ ซึ่งได้รับการรับรองเป็นเกณฑ์ของสำนักงานอัยการที่จะใช้ดุลยพินิจสั่งไม่ฟ้องด้วย ตรงนี้ก็ต้องทำควบคู่กันไป ซึ่งคงจะเป็นฉันทามติที่เราจะต้องเคลื่อนไหวต่อ


3.เพิ่มกฎหมายใหม่ทั้งฉบับโดยยกเลิกมาตรา 301-305 กลยุทธ์ในอนาคตคือ การเคลื่อนไหวครั้งต่อไปต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมที่ชัดเจนและรับรู้ด้วย ประเด็นที่ต้องขยายความให้ชัดเจนคือว่า ไม่ใช่เรื่องทำแท้งเสรี แต่เป็นการต่อสู้กฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมและเลือกปฏิบัติทางเลือกของผู้หญิง เป็นเรื่องความปลอดภัยของผู้หญิง

ความเป็นธรรมพื้นฐานต้องเน้นให้มาก ต้องพยายามมองเป้าหมายจริงๆ ที่จะให้ ความช่วยเหลือคือคนยากจน คนที่มีปัญหา คนที่ไม่มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือ เราไม่ได้ส่งเสริมการทำแท้ง แต่ต้องการลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย และกรณีที่จำเป็น ต้องทำแท้ง ต้องเป็นการทำแท้งที่ปลอดภัย จะครบวงจรนี้ได้ต้องมีระบบรองรับทางสังคมที่ดี ซึ่งบ่ายนี้จะพูดกันถึงเรื่องระบบรองรับให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหา สุดท้ายคือสำคัญ คือต้องรณรงค์เรื่องกำหนดคำนิยามของสุขภาพในพจนานุกรม

พ.ญ.สุวรรณา - ขั้นตอนในการดำเนินงานต่อไปของกรมอนามัย คือ หาแนวทางในการป้องกัน ซึ่งจะทำโครงการต่อ อยากทราบว่าหน่วยงานอื่นจะมีแนวทาง การเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป เช่น กระบวนการแก้มาตรา 305 หรือการเพิ่มเติมข้อความเข้าไป ซึ่งควรจะกำหนดแนวทางเคลื่อนไหวต่อไปไว้ด้วย


ดร.กิตติพงษ์ - ก่อนที่จะเคลื่อนไหวทางกฎหมายต่อไป ต้องอาศัยข้อมูลงานวิจัย ที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุน ที่จริงมีข้อมูลทางสังคมและระบบรองรับมากพอที่จะเคลื่อนไหวได้ เพียงแต่ไม่มีใครหยิบยกทุกเรื่องมาปะติดปะต่อกัน เพื่อให้เป็นพลังที่เข้มแข็ง ผมดีใจที่กรมอนามัยหยิบเรื่องนี้มาพูดกันเป็นจริงเป็นจัง บ่ายนี้คงจะพูดกันถึงเรื่องที่ว่า จะทำอย่างไรกันต่อไป


(update 30 สิงหาคม 2001)

[ ที่มา...เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง "ปัญหายุติการตั้งครรภ์"







 

Create Date : 18 มกราคม 2552   
Last Update : 18 มกราคม 2552 18:48:00 น.   
Counter : 3394 Pageviews.  

มะเร็งเต้านม โรคร้ายอันดับ ๑ ของหญิงไทย



กรมการแพทย์เผยเดือนตุลาคม...ทั่วโลกรณรงค์ให้ตระหนักถึงภัยของมะเร็งเต้านม

https://www.facebook.com/643148052494633/photos/a.644390729037032/1918921521583940/

กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้มะเร็งเต้านมภัยร้ายของผู้หญิง พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ออกมารณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในเรื่อง “ภัยของมะเร็งเต้านม” ซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานว่าปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.1 ล้านคน เสียชีวิตราว 630,000 คน

สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย แต่ละปีจะมีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 14,800 คน หรือคิดเป็น 41 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตถึง 12 คนต่อวัน ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย และดื่มสุรา รวมถึงบางปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม และอายุที่มากขึ้น เป็นต้น

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า มะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมแล้วเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง อาจลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นของร่างกายได้

มะเร็งเต้านมสามารถพบทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการและมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้ อาการอื่น ๆ อาจสังเกตได้จากขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นแผลและอาจมีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมาหรือเป็นผื่นบริเวณหัวนม

ในด้านการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยเคมีบำบัด และฮอร์โมน หรือแพทย์อาจใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษาซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมแพทย์และระยะของโรค สุขภาพและความต้องการของ แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ก็เป็นมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายขาดหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เราสามารถตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลเป็นครั้งคราว ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม

#กรมการแพทย์ #สถาบันมะเร็งแห่งชาติ #มะเร็งเต้านม - ขอขอบคุณ - 12 ตุลาคม 2563


*******************************************************

มะเร็งเต้านม โรคร้ายอันดับ ๑ ของผู้หญิงชาวกรุง

ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเท่าเทียมกัน วงการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่ามะเร็งเต้านมเกิดจากสาเหตุใด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลเด็ดขาด

วิธีที่ดีที่สุดที่ทำได้ขณะนี้คือ ต้องค้นหามะเร็งเต้านมให้พบโดยเร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ และทำให้เสียชีวิต

ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงบางคนมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ คือ เรื่องของกรรมพันธุ์ และ วิถีในการดำเนินชีวิต

ผู้หญิงควรหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขนาด และรูปร่างของเต้านม อาการบวมที่รักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต ผิวหนังที่เปลี่ยนแปลง เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ หรือ บางส่วนเป็นสะเก็ด หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม (ร้อยละ ๒๐ ของการมีเลือดออกเป็นมะเร็ง)

จากสถิติพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๙๐) มีก้อนที่เต้านม แต่อย่าตกใจไป เพราะก้อนในเต้านมที่พบ ใน ๑๐๐ รายมีเพียง ๑๕-๒๐ ราย เท่านั้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม



ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม

๑. สาเหตุของการเป็นมะเร็งเต้านม ไม่เกี่ยวกับการถูกกระแทก การถูก จับหรือลูบคลำ และมะเร็งเต้านมไม่ใช่เป็นโรคติดต่อ

๒. ถ้าประวัติครอบครัวมีแม่เป็นมะเร็งเต้านม ลูกสาวก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม ยิ่งถ้าทั้งแม่ พี่สาว หรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านมพร้อมกัน จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น

๓. ผู้หญิงที่ไม่เคยมีลูก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงที่เคยมีลูกและผู้หญิงที่มีลูกหลังอายุ ๓๐ ปี จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มมากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีลูก

๔. ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย เช่น อายุ ๑๑ ปี ก็เริ่มมีประจำเดือนแล้วและอีกกลุ่มหนึ่งผู้หญิงที่อยู่ในวัยทอง ระหว่างอายุ ๕๐-๕๕ ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

๕. ผู้หญิงที่มีประวัติการเป็นซีสต์ (cyst) หรือถุงน้ำ ไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ควรจะตรวจเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์

๖. การกินอาหารที่มีไขมันสูงอาจส่งผลและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงควรกินอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม เน้นอาหารที่มีกากใยมากและอาหารไขมันต่ำ รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

๗. ฮอร์โมนไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่ถ้ามีการใช้ฮอร์โมนในขณะที่มีมะเร็งเต้านมจะทำให้มะเร็งเต้านมเติบโตเร็วขึ้น

สรุปคือ ผู้หญิงทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมเท่าๆ กัน เพราะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ ๗๕ ไม่ได้มีความเสี่ยงที่กล่าวข้างต้น


ขอขอบคุณ:

ศูนย์ถันยรักษ์ มูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

โทรศัพท์. ๐-๒๔๑๙-๘๗๔๙-๕๑

บทความจาก : นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ ๒๘๐ สิงหาคม ๒๕๔๕



บทความนี้มีประโยชน์ โปรดเก็บไว้และส่งต่อให้ผู้อื่น

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

“โครงการเพื่อการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง”

36/6 ประดิพัทธ์ ซอย 10 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400

ข้อมูลเพิ่มเติม
www.doctor.or.th

หากท่านต้องการแสดงความคิดเห็น หรือถ้าท่านไม่ต้องการรับข่าวของมูลนิธิกรุณาแจ้งได้ที่

โทร 0-2618-4710 ต่อ 16
e-mail : fdf2pr@doctor.or.th

 




 

Create Date : 18 ธันวาคม 2551   
Last Update : 12 ตุลาคม 2563 14:39:10 น.   
Counter : 3982 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]