Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
25 สิงหาคม 2554

Kamakura : Engaku-ji Temple




เราลงที่สถานีเล็กๆ ชื่อ Kita-kamakura พร้อมกับคนมากมาย
หลังจากที่เงยหน้าจากการถ่ายรูป คนที่ลงมาพร้อมกันก็หายไปหมด
เห็นหลังคนสุดท้ายไวไว ก็เลยรีบตามเค้าไป มีคุณลุงเจ้าหน้าที่รถไฟ
ถือตะกร้ารับตั๋ว เรายื่นลงไปแบบงงๆ นึกว่าที่กั้นประตูคงชำรุดมั้ง

จากนั้นก็เดินข้ามทางรถไฟ เพื่อไปที่ตัวสถานีเนื่องจากไม่รู้ทิศทาง
คุณลงคนเดิมรีบวิ่งมา เอาตั๋วใส่มือ เพราะข้างหน้าเรามีที่กั้นตรวจตั๋ว
เราออกจากสถานีด้วยความงงหนักว่าทำไม ที่กั้นไม่ได้เสียนี่นา

แม้จะงงๆ แต่ก็เดินออกจากสถานีไม้เล็กๆ แต่สวยงาม
เห็นร้านป้ายขนมรูปนกพิราบสีเหลืองขนาดใหญ่ เราก็แถเข้าไปเดินเล่น
จากข้อมูลที่หามา ทำให้รู้ว่ามันเป็นขนมขึ้นชื่อของ Kamakura
แต่เราไม่ซื้อ เพราะที่อื่นก็มีขาย แต่ต้องเข้าใจว่า คำว่ามีขายนั้นหมายถึง
ขายในเมืองนี้ ไม่เหมือนบ้านเรา แหนมเชียงใหม่ซื้อที่กรุงเทพก็ได้

เดินไปตามถนนเห็นป้ายของวัดแรกในเส้นทาง ก็คือวัด Enkaku-ji
ทันใดนั้นเราก็ข้าใจว่าทำไมคุณลุงถึงยืนรอเก็บตั๋วรถไฟ
เพราะตอนลงจากรถไฟ ทุกคนเดินบนถนนเล็กๆ เลียบทางรถไฟมานิดเดียว
ก็เจอทางเข้าวัดแล้ว ไม่ได้ผ่านสถานีรถไฟ เราเดินอ้อมมานี่เอง



ที่คุณลุงคอยยืนรับตั๋วก็คือคนที่มาเที่ยววัดนี้ แทนที่จะบังคับให้
คนเดินอ้อมสถานีหรือทำเครื่องกั้นเพิ่ม เค้าเลือกที่จะใช้พนักงานมายืนรับตั๋วแทน
นี่ล่ะคือ การแก้ปัญหาแบบญี่ปุ่น ก็คือการแก้ปัญหาด้วยหัวใจ ไม่ใช่เครื่องมือ
เห็นแบบนี้แล้ว ไม่ต้องแปลกใจที่ญี่ปุ่นทำไมไม่จำเป็นต้องมีระบบ ISO

ซื้อตั๋วค่าเข้าชมราคามาตรฐาน 300 เยน แล้วก็ผ่านประตูเข้าไป
วัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเป็นวัดที่เก่าแก่ของนิกายเซ็น
กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน ในสมัยราชวงซ์ถัง
โดยมีโรงเรียนหรือมีสำนักที่ถ่ายทอดคำสอนอยู่ 5 สำนัก

ในปี 1282 Hojo Tokimune ซึ่งถ้าอ่าน blog ก่อนก็คงจำได้ว่าเป็น Shikken
หรือผู้สำเร็จราชการของรัฐบาลทหารของระบบโชกุนได้ขับไล่มองโกล
ออกจากประเทศได้สำเร็จ จึงได้เชิญครูของตนที่เป็นพระชาวจีน
ชื่อ Mugaku Sogen หรือ Wuxue Zuyuan

เข้ามาสร้างวัดที่เนินเขาแห่งหนึ่งในเมือง เพื่อไว้สำหรับเป็นที่พักพิง
ของดวงวิญญานของผู้ที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนั้น และได้รับการ
จัดอันดับความสำคัญว่าเป็น 1 ใน 5 สำนักนิกายเซ็นในประเทศญี่ปุ่น



ตามบันทึกกล่าวว่า มีการขุดพบคัมภีร์พระไตรปิฏกในไหล่เขา
จึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ แปลว่า Sutra of Perfect Enlightenment
สมบัติอันล้ำค่านี้ ถูกเก็บรักษาไว้อย่างมิดชิดเป็นเวลาหลายร้อยปี
ก่อนที่จะถูกค้นพบ เมื่อมีการบูรณะวัดในสมัยปลาย Edo

ในสมัย Meiji วัดนี้ถือว่าศูนย์กลางของเป็นวัดนิกายเซ็นในเขต Kanto
ในระยะเวลาหลายร้อยปี วัดนี้เกิดเพลิงไหม้หลายครั้ง จึงมีการบูรณะ
หลายครั้ง แต่ครั้งที่รุนแรงที่สุดก็คือการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ Kanto
ดังนั้นที่เราเห็นส่วนใหญ่ ล้วนถูกบูรณะหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น

ภายในวัดนี้มีสิ่งสำคัญอยู่หลายอย่าง เริ่มจากประตูทางเข้าที่เป็นเสาโทริอิ
ถัดไปเป็นอาคารไม้ขนาดใหญ่ มีการเข้าสลักด้วยไม้ที่สวยงาม
เดาว่าน่าจะใช้เป็นที่สอนหนังสือของพระในสมัยก่อน ด้านขวาของอาคารนี้
มีระฆังใบใหญ่สีเขียว ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสมบัติของชาติชิ้นที่หนึ่งของวัดนี้

ตรงเข้าไปเป็นอาคารไม้ Butsu den ภายในมีพระพุทธรูป เหมือนวัดทั่วไป ระหว่างสองอาคารนี้ มีที่นั่งพักให้เราได้ชมความสวยงามของอาคารทั้งสอง
เดินต่อไปข้างซ้ายของอาคาร จะเป็นทางขึ้นเขาไม่ค่อยชันนัก
ข้างซ้ายของทางเดินมีอาคารไม้เล็กๆ เรียงรายอยู่หลายหลัง



เช่น อาคารที่ประดิษฐานรูปเจ้าแม่กวนอิม อาคารที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฏก
มีอาคารที่ดูธรรมดา แต่เค้าบอกว่าสร้างในสมัยศตวรรษที่ 16
เลียนแบบศิลปะของราชวงศ์ถัง นั้นก็คือ Shariden หรือที่เก็บทันตธาตุ
ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติชิ้นที่สองของวัดนี้

เดินขึ้นเนินเขาไปเรื่อยๆ ผ่านอาคารที่เราไม่รู้จัก เพราะป้ายทั้งหมดเขียนด้วย
ภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด สุดทางเดินเป็นอาคารที่ดูคล้ายสุสาน เดาว่าน่าจะเป็น
หลุมฝังศพของผู้ที่ก่อตั้งวัดนี้ หรือ Hojo Tokimune

เดือนพฤษภาคม เป็นช่วง low season จึงมีคนไม่เยอะมาก
แม้เราจะพลาดความสวยงามของดอกซากุระ
แต่ก็ทดแทนด้วยดอกไม้สวยงาม
ละลานตาหลากลายสีสันของฤดูใบไม้ผลิมาทดแทน



Create Date : 25 สิงหาคม 2554
Last Update : 26 สิงหาคม 2554 12:26:28 น. 1 comments
Counter : 1669 Pageviews.  

 
เราว่าเรารู้สึกได้ถึงความสุขที่ได้ไปเที่ยวนะคะ

ปล. จากบล็อกเราก็คิดว่าจะใช้คำอ้อม ๆ แบบไหนดีหนอ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:16:19:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]