 |
|
|
|
 |
|
ปุถุชนมีปกติเป็นทาสความคิด (จิต) |
|
- ลักษณะศาสน์เทวนิยม กับ อเทวนิยม
เทวนิยมรายหนึ่ง 
-> มีคนนึงเขาโพสต์ปรึกษาในกลุ่มเกี่ยวกับปรึกษาปัญหาชีวิตที่ผมอยู่ เขาเล่าว่าเขาเคยติดคุกในคดีที่ร้ายแรงมากๆมาก จนสังคมไม่อาจให้อภัยได้ เพราะเป็นคดีที่ละเมิดหลักมนุษยธรรมร้ายแรง แต่ตอนนี้เขาออกจากคุกมาแล้วต้องการเริ่มต้นใหม่ ผมโกรธมากๆเพราะความผิดที่เขาเคยทำจนด่าว่าเขาเป็นเดนมนุษย์ลงในคอมเม้นท์มีคนมากมายเห็นคอมเม้นนั้น ผมปล่อยคอมเม้นนั้นไว้เป็นชั่วโมง จนรู้สึกว่าพระเจ้าทำงานในใจให้ผมกลับไปลบ แต่ผมเลือกจะไม่สนใจแล้วปล่อยไว้อีก สักพักนึงพระเจ้าทำงานในใจผมอีกครั้งให้ผมกลับไปลบ ผมรู้สึกว่าผมทำผิดที่ไปพูดแบบนั้น แต่พอจะกลับไปลบโพสต์นั้นก็หายไปแล้ว ผมสามารถอธิษฐานสารภาพบาปผิดต่อพระเจ้าเมื่อไหร่ก็ได้ แต่กับคนคนนั้นที่ผมไปว่าเขา ผมคงไม่มีโอกาสได้ขอโทษเขาอีกแล้ว เพราะเขาใช้โหมดไม่ระบุตัวตน ผมไม่รู้ว่าเขาคือใคร ตอนนี้ยังรู้สึกผิดอยู่เลยครับ
https://www.facebook.com/groups/567112164040959/?hoisted_section_header_type=recently_seen&multi_permalinks=1566807164071449
เทวนิยมอีกรายหนึ่ง แนวๆเดียวกัน
- สงสัยว่าเพราะตัวผมเองหรือไซตอนที่มากระซิบ
- >วันหนึ่งในใจผมนึกมาเเบบนี้เลยว่าอัลลอห์มีจริงหรือเปล่า เเล้ว ทันใดนั้นตัวผมคิดว่าอัลลอห์ก็มีจริงสิ เหมือนในหัวมีสองความคิดกำลังต้อสู้กัน เเล้ว ใจเราตั้งคำถามสงสัยทุกอย่างในเรื่องไม่ควรคิดเเละสงสัย หลังจากนั้นในหัวผมมันมีความคิดเเบบนี้เลยมีพระเจ้าอื่นนอกจากอัลลอห์ เเล้วหลังจากความคิดนั้นเข้ามาในหัวเเล้วเราคุยกับตัวเองทำไม่เราคิดถึงมีความคิดในเรื่องเเบบนี้ว่ะ นี้เป็นบ้าหรือเปล่าถึงคิดเเบบนี้ เอาเเต่โทษตัวเองจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองไม่มีความคิดเเบบนี้ว่ะ เเละทั้งทีเมื่อก่อนไม่มีความคิดเเบบนี้ ตอนผมรู้สึกสับสนมากเลยครับ ทำไม่ถึงความคิดเเบบนี้ให้หัว เเล้ว ผมควรทำยังไวควรเตาบัตดีไหมครับ ผมไม่อยากตกศาสนาครับ ขอคำเเนะนำจากเพื่อนๆมุสลิมหน่อยครับ
https://pantip.com/topic/42832744
การเตาบัต หมายถึง การที่ผู้ทำผิดสำนึกตนและกลับไปหาอัลลอฮฺ ด้วยการขออภัยโทษจากพระองค์ มนุษย์ทุกคนนั้นล้วนหนีไม่พ้นจากการทำความผิดไม่ว่าจะมากหรือน้อย ยกเว้นผู้ที่อัลลอฮฺทรงปกป้อง เช่น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อมนุษย์ทำผิดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลบล้างความผิดนั้นด้วยการเตาบัต(ขออภัย) ต่อพระองค์อัลลอฮฺ
https://www.islammore.com/view/1653
ชัยฏอนหรือญิน หรือที่เรียกกันว่าปีศาจ
https://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=26&id=243
วิธีแก้แนวพุทธ (ขั้นนี้ขั้นเหนือศรัทธาโดยใช้ปัญญาของตนเอง)
- วิธีคิดแบบปลุกเร้ากุศล
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=10-07-2024&group=103&gblog=16
วิธีแก้ของศาสน์เทวนิยมเมื่อจิตมันคิดไปคิดมาอย่างนั้นแล้ว ก็คิดดุจดั่งมีตัวมีตนนั่นจริงๆ จึงแก้ด้วยการขอโทษขออภัยกัน สัญญาต่อไปจะไม่คิดอย่างนั้นอีก

ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด (มีภาวะจิตเหนือชัยฎอนเหนือญินเหนือปีศาจ)
"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ดำริข้อดำรินั้น ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" * (องฺ.จตุกฺก.21/35/46)
* บาลีที่มานี้ หมายถึงพระพุทธเจ้า ในฐานะทรงเป็นมหาบุรุษ แต่หลักฐานอื่นๆ แสดงว่า คุณสมบัตินี้มีแก่พระขีณาสพทั่วไป ดู ม.มู.12/262/247
ตัวอย่างพุทธศาสนิกชนบ้าง
-> คือมีอาการย้ำคิดย้ำทำ คือ แบบกังวลใจค่ะ วันนี้ขอสอบถามประเด็นเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นะคะ แบบเราขับรถจะเข้าคอนโด เหมือนในใจเราไปพูด ว่า จะยกมือไหว้ทุกวัน ที่จริงการไหว้ก็เป็นสิ่งที่ดีนะคะ แต่บางครั้งเราอาจมีลืม หรือ รีบบ้างก็มีไม่ไหว้บ้าง พอเรารู้สึกไม่ได้ไหว้ ก็มีความกังวลใจขึ้นมาค่ะ จึงต้องกลับมาไหว้ ล่าสุดโอนทำบุญออนไลน์ วันพระ ความคิดอยู่ว่าจะต้องโอนทำบุญวันพระ แล้ว มีอีกความคิดแทรกมาว่าไม่ๆ เราจะทำเมื่อใจอยากทำ บางช่วงเราไม่พร้อมทำก็ไม่เป็นไร แล้วมันก็เกิดความกังวลขึ้นมาอีก กลัวไม่ทำจะเป็นไรไหม ไม่ไหว้ศาลจะเป็นไรไหม ทั้งที่บางทีรู้ตัวว่าความคิดไม่สมเหตุสมผล แต่ก็หยุดคิดไม่ได้ค่ะ มีใครพอที่มีอาการแบบเราบางค่ะ จัดการความกังวลยังไง
https://pantip.com/topic/42512008
ตัวอย่างคริสต์ชน
-> หลังจากเราได้รับการเจิมแล้ว มีวันหนึ่งมารซาตานมารบกวนทางความคิดหมายถึงอะไร ต้องทำยังไงคะ
https://pantip.com/topic/42836881
จิตใจเป็นนามธรรมมองไม่เห็นตัว แต่สำคัญมากมาย ถ้าจิตใจเสียแล้วก็พาร่างกายเสียดุลไปด้วย
Create Date : 10 กรกฎาคม 2567 |
Last Update : 15 กรกฎาคม 2567 9:09:28 น. |
|
0 comments
|
Counter : 191 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|