กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤษภาคม 2567
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
27 พฤษภาคม 2567
space
space
space

ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา


235 ยังมีเหลือประเด็นที่น่าสนใจ  450 

 ปัญญาในทางโลก กับ ปัญญาในทางพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไร  ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงมีความศรัทธาตั้งมั่น

เป็นคำถามที่ว่าเราศรัทธาพระรัตนตรัยแล้วหรือยัง  แล้วมีการพูดถึงว่าความศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา ขอผู้รู้ช่วยขยายความเข้าใจให้ด้วยค่ะ

https://pantip.com/topic/42720792/comment16


     ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้.  แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น  ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง และอาศัยความรู้ของผู้อื่น หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน  ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้น ก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือ แหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา  แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงาย คือ ไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง  ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น

     ปัญญา   แปลกันว่า   ความรอบรู้    เติมเข้าอีกว่า   ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ  เช่นว่า  รู้เหตุรู้ผล  รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร  รู้คุณรู้โทษ  รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์  รู้เท่าทันสังขาร  รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย  รู้ที่ไปที่มา  รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย  รู้ตามความเป็นจริง  รู้ถ่องแท้  เข้าใจถ่องแท้  รู้เข้าใจสภาวะ  รู้คิด  รู้พินิจพิจารณา  รู้วินิจฉัย  รู้ที่จะจัดแจงจัดการ หรือดำเนินการอย่างไรๆ

     แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือ ความเข้าใจ  (หมายถึง เข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)  เป็นการมองทะลุสภาวะ หรือ มองทะลุปัญหา  ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไป และลึกซึ้งยิ่งขึ้น  ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น  เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด  ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น  เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง  เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ   คิดแก้ปัญหาได้แล้ว   ก็มีเรื่องให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปอีก


เนื่องกับองค์ธรรมตัวอื่นด้วย  ดูเพิ่มที่ 450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=04-08-2023&group=88&gblog=7


*ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงมีความศรัทธาตั้งมั่น*

- ศรัทธาไม่หวั่นไหว, ศรัทธาตั้งมั่น  มีศัพท์เฉพาะ ได้แก่  อจลศรัทธา  ต้องปฏิบัติอย่างไร นี่เรื่องใหญ่เรื่องโตเลย    (เถียงกันสนั่นลั่น 1000 ทิพ  121)   ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา, ศีล สมถะ วิปัสสนา อย่างถูกวิธีแล้วจิตเดิน  (พัฒนา) จนถึงสภาวะที่รู้เข้าใจชีวิตขั้นต้นที่เรียกเป็นศัพท์ว่าโสดาบันบคคล โน่นแหละเขาจึงเป็นคนอจลศรัทธา (ดูหัวข้อภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต  ภาวิตปัญญา ประกอบด้วย)  9


235 นิดหนึ่งคุณสมบัติของโสดาบันบุคคล  450 ว่าเขารู้เห็นอะไรก่อน  ก่อนได้ชื่อว่าโสดาบัน 

    คุณสมบัติฝ่ายหมดและฝ่ายมี นี้ ว่าโดยสาระสำคัญ  ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ จะละสักกายทิฏฐิได้  ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้  วิจิกิจฉาคือความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป  ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น

    พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ   ตามความมุ่งหมายกลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีลที่อริยชนชื่นชมยอมรับ  สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป  เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง   ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง  ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลกและชีวิต  ทำให้คลายความยึดติด  เมื่อสิ้นยึดติด  ถือมั่นน้อยลง  ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=08-07-2023&group=86&gblog=3


235 ตัวอย่างความสุขที่ประณีตเล็กๆ   450  ซึ่งพ้นจากความสุขจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ 

- >  หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ 

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔  แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือ ไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า  "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้ว คิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆ ตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น
 


Create Date : 27 พฤษภาคม 2567
Last Update : 29 พฤษภาคม 2567 5:39:10 น. 0 comments
Counter : 209 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space