กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2567
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
2 มิถุนายน 2567
space
space
space

จุดสำคัญที่เข้าใจไขว้เขวและหลงผิด


     จุดสำคัญที่มีความเข้าใจไขว้เขวและหลงผิดกันมาก  ก็คือความรู้สึกว่า มีตัวผู้คิด ต่างหากจากความคิด  (= ผู้คิดความคิด)  มีผู้จงใจหรือเจตนาต่างหากจากเจตนา  มีผู้เสวยเสวยเวทนา ต่างหากจากเวทนา  ตลอดจนมีตัวผู้ทำกรรม  ต่างหากจากกรรม หรือต่างหากจากการกระทำ

     แม้แต่นักปราชญ์ใหญ่ๆ มากมาย  ก็พากันติดอยู่ในกับดักของความหลงผิดอันนี้ จึงไม่สามารถเข้าถึงความจริงที่ล้วนๆ บริสุทธิ์ปราศจากการเคลือบคลุมของความรู้สึกที่เป็นอัตตวิสัย ดังเช่น นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง  พิจารณาไตร่ตรองเป็นนักหนาเกี่ยวกับความสงสัย  ครุ่นคิดไปมาแล้ว  ก็ลงข้อสรุปว่า “ฉันคิด เพราะฉะนั้น ฉันจึงมี

     ความรู้สึกในตัวตน คืออัตตา หรืออาตมัน  ที่แยกออกมาอย่างนี้ เป็นความรู้สึกสามัญของปุถุชนโดยทั่วไป เป็นความรู้สึกที่นึกน่าสมจริงและคล้ายจะสมเหตุสมผลโดยสามัญสำนึก แต่เมื่อสืบสาวลึกลงไปให้ตลอดสาย จะมีความขัดแย้งในตัวเอง

     คำถามทำนองนี้ได้มีผู้ยกขึ้นทูลถามพระพุทธเจ้ามาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล  เช่นว่า  “ใครหนอผัสสะ (ใครรับรู้) ?  ใครเสวยเวทนา ?  ใครอยาก ?  ใครยึด ?”  พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า คำถามเช่นนั้นใช้ไม่ได้   เป็นคำถามที่ตั้งขึ้นตามความรู้สึก ไม่สอดคล้องกับสภาวะ เข้ากับสภาพความเป็นจริงที่แท้ไม่ได้   ถ้าจะให้ถูก  ต้องถามว่า   อะไรเป็นปัจจัยให้มีการรับรู้ ?  อะไรเป็นปัจจัยให้มีเวทนา ?  อะไรเป็นปัจจัยให้มีการอยาก การยึด ? (เนื่องกับข้อข้างบนอีก)

     อธิบายว่า  การคิด ก็ดี  ความจงใจเจตนา ก็ดี  การอยากการปรารถนา ก็ดี การเสวยเวทนา ก็ดี  เป็นองค์ประกอบอยู่ในกระบวนการแห่งรูปธรรมและนามธรรม  ฉันใด  ความรู้สึกถึงตัวผู้คิด หรือตัวผู้เจตนา เป็นต้น  ก็เป็นองค์ประกอบอยู่ในกระบวนธรรมนั้น  ฉันนั้น และองค์ประกอบเหล่านั้นก็สัมพันธ์โดยอาการเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบทอดต่อกัน  มีแต่การคิดและความรู้สึกถึงตัวผู้คิด (คือความหลงผิดว่ามีตัวผู้คิด  ไม่ใช่มีตัวผู้คิดเอง)  เป็นต้น  ที่เกิดสืบต่อกันอยู่ในกระบวนธรรมเดียวกัน

     ว่าที่จริง  ความรู้สึกว่ามีตัวผู้คิด  ก็เป็นอาการคิดอย่างหนึ่ง  พูดอย่างง่ายๆ ว่า เป็นขณะหนึ่งในกระบวนการคิด การที่เกิดความหลงผิด (คิดผิด) รู้สึกว่ามีตัวผู้คิด ก็เพราะไม่รู้จักแยกองค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์สืบต่อกันอยู่ในกระบวนธรรม และไม่สามารถกำหนดแยกความเป็นไปในแต่ละขณะๆ

     ในขณะกำลังคิด  ย่อมไม่มีความรู้สึกถึงตัวผู้คิด และในขณะกำลังรู้สึกถึงตัวผู้คิด  ก็ไม่มีการคิด กล่าวคือ  ในขณะกำลังคิดเรื่องที่พิจารณา  ย่อมไม่มีการคิดถึงตัวผู้คิด และในขณะกำลังคิดถึงตัวผู้คิด  ก็ย่อมไม่มีการคิดเรื่องที่กำลังพิจารณา

     แท้จริงแล้ว   การคิดเรื่อง ก็ดี  ความรู้สึกถึงตัวผู้คิดหรือความคิดว่ามีตัวผู้คิด ก็ดี  ต่างก็เป็นความคิดต่างขณะกัน   ที่อยู่ในกระบวนธรรมเดียวกัน   ส่วนตัวผู้คิด   ก็เป็นเพียง (ภาพ) ความคิดปรุงแต่ง ที่กลับมาเป็นอารมณ์ (ส่วนประกอบอย่างหนึ่ง) ของความคิดอีกขณะหนึ่งเท่านั้นเอง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=04-11-2023&group=88&gblog=39

235 ตัวอย่างเทียบ  450 ดังว่าข้างบน  451

- > มีคนนึงเขาโพสต์ปรึกษาในกลุ่มเกี่ยวกับปรึกษาปัญหาชีวิตที่ผมอยู่  เขาเล่าว่าเขาเคยติดคุกในคดีที่ร้ายแรงมากๆมากจนสังคมไม่อาจให้อภัยได้ เพราะเป็นคดีที่ละเมิดหลักมนุษยธรรมร้ายแรง   แต่ตอนนี้เขาออกจากคุกมาแล้วต้องการเริ่มต้นใหม่  ผมโกรธมากๆเพราะความผิดที่เขาเคยทำจนด่าว่าเขาเป็นเดนมนุษย์ลงในคอมเม้นท์  มีคนมากมายเห็นคอมเม้นนั้น ผมปล่อยคอมเม้นนั้นไว้เป็นชั่วโมง  
จนรู้สึกว่าพระเจ้าทำงานในใจให้ผมกลับไปลบ  แต่ผมเลือกจะไม่สนใจแล้วปล่อยไว้อีก   สักพักนึงพระเจ้าทำงานในใจผมอีกครั้งให้ผมกลับไปลบ  ผมรู้สึกว่าผมทำผิดที่ไปพูดแบบนั้น  แต่พอจะกลับไปลบ  โพสต์นั้นก็หายไปแล้ว  ผมสามารถอธิษฐานสารภาพบาปผิดต่อพระเจ้าเมื่อไหร่ก็ได้   
แต่กับคนคนนั้นที่ผมไปว่าเขา  ผมคงไม่มีโอกาสได้ขอโทษเขาอีกแล้ว เพราะเขาใช้โหมดไม่ระบุตัวตนผมไม่รู้ว่าเขาคือใคร  ตอนนี้ยังรู้สึกผิดอยู่เลยครับ
 

 



Create Date : 02 มิถุนายน 2567
Last Update : 9 มิถุนายน 2567 13:46:56 น. 0 comments
Counter : 174 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space