 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
|
ย้ำเฉพาะที่อีกที
อินทรียภาวนา: “ดูกรอานนท์ ก็อินทรียภาวนา อย่างยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน เป็นอย่างไร ? ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) อย่างนี้ว่า สภาพที่น่าชอบใจ สภาพที่ไม่น่าชอบใจ สภาพที่ทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้วแก่เราเช่นนี้ ก็แต่ว่า สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจนั้นแล เป็นภาวะปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สภาวะนี้จึงสงบ สภาวะนี้จึงประณีต กล่าวคืออุเบกขา (ใจเฉยโดยตระหนักรู้อยู่ในดุล) , สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้น ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท. ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือหลับตาแล้วลืมตา ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน; “ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู ... เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ทำนองเดียวกับข้อก่อน) ... ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ที่สภาพน่าชอบใจ สภาพไม่น่าชอบใจ สภาพทั้งน่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหาย อุเบกขาตั้งได้ที่สนิท โดยเร็ว โดยพลันทันที โดยไม่ยากลำบาก เหมือนดังบุรุษมีกำลัง เอาหยาดน้ำสองหรือสามหยาด หยดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน การหยดลงไปแห่งหยาดน้ำนั้นยังช้า (ไม่ทันที่) หยาดน้ำนั้นจะถึงความเหือดหาย หมดสิ้นไปฉับพลันทันใด โดยแน่แท้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อินทรียภาวนาในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน; “ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอินทรียภาวนา อันยอดเยี่ยม ในวินัยของอริยชน.
Create Date : 27 พฤษภาคม 2567 |
Last Update : 27 พฤษภาคม 2567 11:07:45 น. |
|
0 comments
|
Counter : 209 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|