 |
|
|
|
 |
|
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้อย่างไร พบเห็นอะไรถึงตรัสรู้ |
|
ฟังเล่าลำดับความก่อน เพื่อให้เห็นภาพสังคมของคนในยุคนั้น แม้ศาสดาของคริสต์ อิสลาม ข้างล่างก็เช่นกัน แล้วจะเห็นต้นกำเนิดของคริสต์ของอิสลาม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้อย่างไร ไปพบเห็นอะไรถึงตรัสรู้? | Point of View (youtube.com)
ใจความอริยสัจ ๔ สั้นๆ
๑. ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ กล่าวให้ลึกลงไปอีก หมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลาย ที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้างความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดปัญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหนึ่ง ในรูปใดรูปหนึ่ง แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน
๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้นๆว่า สมุทัย แปลว่า เหตุแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ความอยาก ที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพเสวย ที่จะได้ จะเป็น จะไม่เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัด ในรูปใดรูปหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้ อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุข ชนิดที่เรียกว่า ไร้ไฝฝ้า และไม่อืดเฟ้อ
๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจ หรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้นๆว่า นิพพาน
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้นๆว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรคหรือทางประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้อง หรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกามสุข) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=16-11-2023&group=82&gblog=118
ดูให้จบอริยสัจ
ทุกขสมุทัย ข้อ ๒ คนจะรู้เข้าใจ ต้องผ่านจากประสบการณ์ตรงด้วยตนเองจากตัวเอง
- ลมหายใจหาย อึดอัดทนไม่ไหว ไปต่อไม่ได้ ไม่รู้วิธี กรุณาช่วยให้คำแนะนำด้วยเถอะครับ
- ประเด็นที่พบ
->การนั่งครั้งหลังๆ มานี้ เกิดสภาวะคล้ายๆเดิม ตลอดเกือบทุกครั้ง คือ มือหายไปจากความรู้สึก ไม่รู้สึกว่ามีมืออยู่ (รู้ว่ามี แต่รู้สึกว่าไม่มี ผมอธิบายไม่ถูก เชื่อว่าท่านผู้รู้คงเข้าใจผม) ก้นและต้นขาที่นั่งทับพื้นยังรู้สึกว่ามีอยู่ หลังที่นั่งพิงเก้าอี้ก็รู้สึกว่ายังมีอยู่ คือ สรุปว่ามือหายทั้งสองข้าง อย่างอื่นที่เหลือยังรู้สึกถึงได้ อยู่ครบยังไม่หาย มีอาการตัวพองๆยุบๆบ้างแต่ก็ไม่บ่อย มีอาการหายเกือบทั้งตัวบ้างแต่น้อยมาก แต่ที่แน่ๆคือ มือทั้งสองข้างหายทุกครั้ง, ทุกครั้งจริงๆครับ นั่งแป๊บเดียวก็หายแล้ว และหายไปจากความรู้สึกตลอดเวลาที่ยังนั่งอยู่ ลมหายใจเริ่มแผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเหมือนลมหายไป เหมือนไม่ได้หายใจ ในครั้งแรกๆที่เจอสภาวะนี้ ผมตกใจทำอะไรไม่ถูก ตะลีตะลานรีบควานหาลม แล้วก็กลับมาหายใจแบบปกติ, แต่ในครั้งหลังๆ ผมจะพยายามทนอยู่กับสภาวะนี้ ซึ่งผมจะอึดอัดมาก และในที่สุดผมก็ทนไม่ไหว จนต้องบังคับให้ตัวเองหายใจด้วยการสูดยาว จึงจะกลับมารู้สึกว่าผมหายใจแล้ว ผมจึงเริ่มรู้ลมใหม่ .. แล้วลมก็แผ่ว .. แล้วลมก็หาย .. แล้วผมก็ทน .. แล้วผมก็ทนไม่ไหว .. แล้วผมก็สูดลม .. แล้วผมก็รู้ลม .. แล้วลมก็แผ่ว .. ฯลฯ วนรอบอยู่อย่างนี้ ซ้ำรอบอยู่อย่างนี้
เบื้องต้นพุทธก็อาศัยศรัทธาเหมือนทุกๆศาสนา แต่พุทธมิใช่แค่ศรัทธามีเลยศรัทธาไปอีก ไปจนรู้เข้าใจเองเห็นเอง (เกิดญาณทัสสนะ) ก็ไม่ต้องเชื่อต่อใครๆ"อัสสัทธะ" ขุ.ธ.25/17/28 ในเรื่องที่ตนรู้เห็นชัดด้วยตนเองอยู่แล้ว
Create Date : 20 กรกฎาคม 2567 |
Last Update : 24 กรกฎาคม 2567 20:30:02 น. |
|
0 comments
|
Counter : 250 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|