กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
7 สิงหาคม 2567
space
space
space

ศาสนาเปรียบเทียบ

235 หลักเทวนิยม กับ หลักอเทวนิยม 
 


 
มัทธิว 19:26
พระเยซูทอดพระเนตรดูพวกสาวกและตรัสว่า  “ฝ่ายมนุษย์ก็เหลือกำลังที่จะทำได้  แต่พระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จได้ทุกสิ่ง

(20+) Facebook



     “ธรรมนี้   เป็นของสำหรับผู้ปรารภความเพียร   มิใช่สำหรับคนเกียจคร้าน”

         “ภิกษุทั้งหลาย   เรารู้ชัดถึงคุณของธรรม ๒ ประการ คือ

           ๑) ความเป็นผู้ไม่สันโดษ  ในกุศลธรรมทั้งหลาย

           ๒) ความเป็นผู้ไม่ยอมถอยหลัง ในการบำเพ็ญเพียร

       ... เพราะฉะนั้นแล   เธอทั้งหลาย   พึงศึกษาดังนี้ว่า:  เราจักตั้งความเพียร  อันไม่ถอยหลัง ถึงจะเหลือแต่หนังเอ็นและกระดูก  เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งเหือดไปก็ตามที  ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงลุถึงได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ  ด้วยความเพียรของบุรุษ  ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว ที่จะหยุดยั้งความเพียรเสีย  เป็นอันไม่มี  เธอทั้งหลาย  พึงศึกษาฉะนี้แล”  (องฺ.ทุก.20/251/64)


     การที่ต้องเน้นความสำคัญของความเพียรนั้น   นอกจากเหตุผลอย่างอื่นแล้ว  ย่อมสืบเนื่องมาจากหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนาที่ว่า สัจธรรมเป็นกฎธรรมชาติ หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา พระพุทธเจ้า หรือ ศาสดามีฐานะเป็นผู้พบหลักความจริงนั้น  แล้วนำมาเปิดเผยแก่ผู้อื่น  การได้รับผลจากการปฏิบัติ  เป็นเรื่องของความเป็นไปอันเที่ยงธรรมตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติ  ศาสดามิใช่ผู้บันดาล  เมื่อเป็นเช่นนี้  ทุกคนจึงจำเป็นต้องเพียรพยายามสร้างผลสำเร็จด้วยเรี่ยวแรงของตน ไม่ควรคิดหวัง และอ้อนวอนขอผลที่ต้องการโดยไม่ทำ หลักพุทธศาสนาในเรื่องนี้ จึงมีว่า

             “ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา"

        "ความเพียร   ท่านทั้งหลายต้องทำเอง   ตถาคตทั้งหลาย   เป็นแต่ผู้บอก (ทาง) ให้”  (ขุ.ธ.25/30/51)

     อย่างไรก็ตาม   การทำความเพียร   ก็เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมข้ออื่นๆ จะต้องเริ่มก่อตัวขึ้นในใจให้พร้อมและถูกต้องก่อน   แล้วจึงขยายออกไปเป็นการกระทำในภายนอกให้ประสานกลมกลืนกัน  มิใช่คิดอยากทำความเพียร  ก็สักแต่ว่าระดมใช้กำลังกาย  เอาแรงเข้าทุ่ม  ซึ่งอาจกลายเป็นการทรมานตนเองทำให้เกิดผลเสียได้มาก


     โดยนัยนี้  การทำความเพียรจึงต้องสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับธรรมข้ออื่นๆด้วย  โดยเฉพาะสติสัมปชัญญะ มีความรู้เข้าใจ   ใช้ปัญญาดำเนินความเพียรให้พอเหมาะ  อย่างที่เรียกว่าไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=28-10-2023&group=82&gblog=79


     ด้านอิสลามก็มุ่งตรงต่อพระเจ้า คือ พระอัลลอฮ์เป็นศูนย์กลางเช่นกัน   
 



อ.ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม  พูดถึงละหมาดวันละ ๕ เวลา วนๆๆ เดี๋ยวก็จะได้เวลาๆๆๆ  เราจะยุ่งขนาดไหนในโลกดุลยาต้องเข้าเฝ้าพระอัลเลาะห์กลับไปหาอัลเลาะห์ 
 

https://www.facebook.com/reel/3462194150739661

วิธีละหมาด

(20+) Facebook


 
ชีวประวัติ คุรุ นานัก ศาสดาของศาสนาซิกข์ (youtube.com)

 - ซิกซ์หลักคำสอน คือ สามัคคี  เสมอภาค  ศรัทธา และภักดีในพระเป็นเจ้า

235 ซิกซ์เกิดตอนที่สังคมมนุษย์เผชิญหน้ากันระหว่างอิสลาม กับ ฮินดู จึงเน้นเรื่องความสามัคคี ความเสมอภาค 

 



Create Date : 07 สิงหาคม 2567
Last Update : 14 สิงหาคม 2567 10:53:53 น. 0 comments
Counter : 256 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space