กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤษภาคม 2567
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
26 พฤษภาคม 2567
space
space
space

ชีวิตด้านสมมติท่านว่าเราต้องพัฒนา

235ชีวิตด้านนี้คนต้องพัฒนามัน


- ชีวิต ๓ ด้าน ของคนเรานี้  ที่พัฒนาไปด้วยกัน มีอะไรบ้าง ?  ก็แยกเป็น
 
      ๑. ด้านสื่อกับโลก   ได้แก่    การรับรู้ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ พฤติกรรม ความประพฤติ และการแสดงออกต่อหรือกับเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ผ่านทวาร (ช่องทาง,ประตู) ๒ ชุด คือ
 
            ก) ผัสสทวาร   (ทางรับรู้)  คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย  (รวมทั้งชุมทางคือ ใจ เป็น ๖)
 
            ข) กรรมทวาร  (ทางทำกรรม)  คือ กาย วาจา   (รวมชุมทางคือ ใจ ด้วยเป็น ๓)
 
      ด้านนี้  พูดง่ายๆ ว่า  แดนหรือด้านที่สื่อกับโลก  เรียกสั้นๆ  คำเดียวว่า  “ศีล
 
      ๒. ด้านจิตใจ   ได้แก่    การทำงานของจิตใจ ซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องมากมาย เริ่มแต่ต้องมีเจตนา หรือเจตจำนง ความจงใจ ตั้งใจ มีแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความดี-ความชั่ว ความสามารถหรือความอ่อนด้อย พร้อมทั้งความรู้สึกสุข-ทุกข์ สบาย-ไม่สบาย หรือเฉยๆ เพลินๆ และปฏิกิริยาต่อจากสุข-ทุกข์นั้น เช่น ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อยากจะได้ อยากจะเอา หรืออยากจะหนี หรืออยากจะทำลาย ที่ควบคุมชักนำการรับรู้และพฤติกรรมทั้งหลาย เช่นว่าจะให้ดูอะไร หรือไม่ดูอะไร จะพูดอะไร จะพูดกับใครว่าอย่างไร  ด้านนี้  เรียกสั้นๆ ว่า “จิต” หรือแดนของ “สมาธิ
 
      ๓. ด้านปัญญา   ได้แก่  ความรู้ความเข้าใจ  ตั้งแต่สุตะ   คือ  ความรู้ที่ได้เรียนสดับ หรือข่าวสารข้อมูล จนถึงการพัฒนาทุกอย่าง ในจินตาวิสัย และญาณวิสัย เช่น แนวคิด  ทิฏฐิ  ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยม ความยึดถือตามความรู้ความคิดความเข้าใจ แง่มุมในการมอง ในการพิจารณา อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้านนี้ เรียกสั้นๆ ตรงๆ ว่า “ปัญญา
 
     องค์ประกอบของชีวิต ๓ ด้านนี้ ทำงานไปด้วยกัน ประสานกันไป และเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ไม่แยกต่างหากจากกัน ขออธิบายเพียงสั้นๆ พอให้เห็นเป็นแนว
 
     การสัมพันธ์กับโลกด้วยอินทรีย์  คือ  ผัสสทวารและด้วยพฤติกรรมทางกายวาจา (ด้านที่ ๑) จะเป็นไปอย่างไร ก็ขึ้นต่อเจตนา ขึ้นต่อสภาพความรู้สึก ภาวะและคุณสมบัติต่างๆ ของจิตใจ (ด้านที่ ๒) และทั้งหมดนั้น ทำได้เท่าที่ปัญญาชี้ช่องส่องทางให้ รู้แค่ไหน ก็คิดและทำได้แค่นั้น คือภายในขอบเขตของปัญญา (ด้านที่ ๓)
 
     ความตั้งใจและความต้องการเป็นต้น ของจิตใจ (ด้านที่ ๒) ต้องอาศัยการสื่อทางอินทรีย์และพฤติกรรมกายวาจาเป็นเครื่องสนอง (ด้านที่ ๑) ต้องถูกกำหนด และจำกัดขอบเขต ตลอดจนปรับเปลี่ยน โดยความเชื่อถือ ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ และที่เพิ่มหรือเปลี่ยนไป (ด้านที่ ๓)
 
     ปัญญาจะทำงานและจะพัฒนาได้ดีหรือไม่ (ด้านที่ ๓) ต้องอาศัยอินทรีย์ เช่น ดู ฟัง อาศัยกายเคลื่อนไหว เช่น เดินไป จับ จัด ค้น ฯลฯ ใช้วาจาสื่อสารไถ่ถาม ตามทักษะเท่าที่มี (ด้านที่ ๑) ต้องอาศัยภาวะและคุณสมบัติของจิตใจ เช่น ความสนใจ ใฝ่ใจ ความมีใจเข้มแข็งสู้ปัญหา ความขยันอดทน ความรอบคอบ มีสติ ความมีใจสงบแน่วแน่ มีสมาธิ หรือไม่เพียงใด เป็นต้น (ด้านที่ ๒)
 
     นี้คือการดำเนินไปของชีวิต ที่องค์ประกอบ ๓ ด้านทำงานไปด้วยกัน อาศัยกัน ประสานกัน เป็นปัจจัยแก่กัน ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตนั้น  ตามธรรมดาของมัน เป็นเรื่องของธรรมชาติ และจึงเป็นเหตุผลที่บอกอยู่ในตัวว่าทำไมจะต้องแยกชีวิตหรือการดำเนินชีวิตเป็น ๓ ด้าน จะแบ่งมากหรือน้อยกว่านี้ไม่ได้
 
     เมื่อชีวิตที่ดำเนินไปมี ๓ ด้านอย่างนี้ การศึกษาที่ฝึกคนให้ดำเนินชีวิตได้ดี ก็ต้องฝึกฝนพัฒนาที่ ๓ ด้านของชีวิตนั้น
 
     ดังนั้น การฝึกหรือศึกษา คือ สิกขา จึงแยกเป็น ๓ ส่วน ดังที่เรียกว่า ไตรสิกขา  เพื่อฝึกฝนพัฒนา ๓ ด้านของชีวิตนั้น ให้ตรงให้ครบตามธรรมดาแห่งธรรมชาติของมัน โดยเป็นการพัฒนาพร้อมไปด้วยกันอย่างประสานเป็นระบบสัมพันธ์อันหนึ่งอันเดียว
 
     เวลาดูอย่างกว้างๆ หยาบๆ ก็จะมองเห็นเหมือนอย่างที่บางทีท่านพูดแยกออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ว่า ขั้นศีล ขั้นสมาธิ และขั้นปัญญา เหมือนจะให้ฝึกอบรมพัฒนาเป็นคนละส่วนคนละตอน ทีละขั้น ตามลำดับ คือ ฝึกอบรมศีลดีแล้ว จึงเจริญสมาธิ แล้วจึงพัฒนาปัญญา
 
     เมื่อมองไตรสิกขาแบบนี้  ก็จะเห็นเป็นภาพรวมที่เป็นระบบใหญ่ของการฝึก ซึ่งมีองค์ ๓ นั้นเด่นขึ้นมาทีละอย่าง  จากหยาบแล้วละเอียดประณีตขึ้นไปเป็นช่วงๆ หรือเป็นขั้นๆ ตามลำดับ คือ
 
      ช่วงแรก   เด่นออกมาข้างนอก  ที่อินทรีย์  (ผัสสทวาร) และกายวาจา ก็เป็นขั้น ศีล
 
      ช่วงที่สอง   เด่นด้านภายใน  ที่จิตใจ  ก็เป็นขั้น สมาธิ
 
      ช่วงที่สาม   เด่นที่ความรู้ความคิดเข้าใจ  ก็เป็นขั้น  ปัญญา
 
     แต่ในทุกขั้นนั้นเอง องค์อีก ๒ อย่างก็ทำงานร่วมอยู่ด้วยโดยตลอด


https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=12-11-2023&group=88&gblog=113

 


Create Date : 26 พฤษภาคม 2567
Last Update : 26 พฤษภาคม 2567 13:54:52 น. 0 comments
Counter : 127 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space