กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2567
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
3 มิถุนายน 2567
space
space
space

ตัณหา = สมุทัย


(โยงกับข้อข้างล่าง)

ฯลฯ

     เมื่อกำหนดจับลงที่ขณะหนึ่งขณะใดก็ตาม   จะปรากฏว่า    มนุษย์กำลังแส่หาภาวะที่เป็นสุขกว่าขณะที่กำหนดนั้นเสมอไป    ปุถุชนจึงปัดหรือผละทิ้งจากขณะปัจจุบันทุกขณะ  ขณะปัจจุบันแต่ละขณะ  เป็นภาวะชีวิตที่ทนอยู่ไม่ได้   อยากให้ดับสูญหมดไปเสีย   อยากให้ตนพ้นไป  ไปหาภาวะที่สนองความอยากได้ต่อไป   ความอยากได้   อยากอยู่   อยากไม่อยู่   จึงหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ปุถุชน   แต่เป็นวงจรที่ละเอียดชนิดทุกขณะจิต   อย่างที่แต่ละคนไม่รู้ตัวเลยว่า ชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะของตน  ก็คือ  การดิ้นรนให้พ้นไปจากภาวะชีวิตในขณะเก่า และแส่หาสิ่งสนองความต้องการในภาวะชีวิตใหม่อยู่ทุกขณะนั่นเอง
 
     เมื่อสืบสาวลงไป   ย่อมเห็นได้ว่า   ตัณหาเหล่านี้   สืบเนื่องมาจากอวิชชานั่นเอง  กล่าวคือเพราะไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น   ไม่รู้จักมันในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน   จึงเกิดความเห็นผิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องตัวตนขึ้นมาในรูปใดรูปหนึ่ง คือ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายมีตัวมีตน   เป็นชิ้นเป็นอัน  เป็นแน่นอนตายตัวซึ่งจะยั่งยืนอยู่ได้ หรือไม่ก็เห็นว่าสิ่งทั้งหลายแตกดับสูญสิ้นสลายตัวหมดไปได้เป็นสิ่งๆ เป็นชิ้นๆ เป็นอันๆ ไป
 
     มนุษย์ปุถุชนทุกคนมีความเห็นผิดในรูปละเอียดอยู่ในตัวทั้งสองอย่าง   จึงมีตัณหา ๓ อย่างนั้น คือ เพราะเข้าใจมืดมัวอยู่ในจิตส่วนลึกว่า  สิ่งทั้งหลายมีตัวตนยั่งยืนแน่นอนเป็นชิ้นเป็นอัน จึงเกิดความอยาก ในความเป็นอยู่ หรือภวตัณหาได้  และในอีกด้านหนึ่ง   ด้วยความไม่รู้ไม่แน่ใจ ก็เข้าใจไปได้อีกแนวหนึ่งว่า  สิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตน  เป็นชิ้นเป็นอันแต่ละส่วนละส่วนไป มันสูญสิ้นหมดไป ขาดหายไปได้  จึงเกิดความอยาก ในความไม่เป็นอยู่ หรือวิภวตัณหาได้
 
     ความเห็นผิดทั้งสองนี้  สัมพันธ์กับตัณหาในรูปของการเปิดโอกาสหรือช่องทางให้ ถ้ารู้เข้าใจเห็นเสียแล้วว่า  สิ่งทั้งหลายเป็นกระแส  เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ก็ย่อมไม่มีตัวตนที่จะยั่งยืนตายตัวเป็นชิ้นเป็นอันได้ และก็ย่อมไม่มีตัวตนเป็นชิ้นเป็นอันที่จะหายจะขาดสูญไปได้  ภวตัณหาและวิภวตัณหาก็ไม่มีฐานที่ก่อตัวได้   ส่วนกามตัณหานั้น   ก็ย่อมสืบเนื่องมาจากความเห็นผิดทั้งสองนั้นด้วย เพราะกลัวว่าตัวตน หรือสุขเวทนาก็ตามจะขาดสูญ สิ้นหายหมดไปเสีย จึงเร่าร้อนแส่หาสุขเวทนาแก่ตน และเพราะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตนเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนคงตัวอยู่ได้ จึงดิ้นรนไขว่คว้า กระทำย้ำให้หนักแน่นให้มั่นคงอยู่ให้ได้
 
     ในรูปที่หยาบ  ตัณหาแสดงอาการออกมาเป็นการดิ้นรนแส่หาสิ่งสนองความต้องการต่างๆ การแส่หาภาวะชีวิตที่ให้สิ่งสนองความต้องการเหล่านั้น  ความเบื่อหน่ายสิ่งที่มีแล้ว ได้แล้ว เป็นแล้ว ความหมดอาลัยตายอยาก  ทนอยู่ไม่ได้โดยไม่มีสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆ เรื่อยๆ ไป
 
     ภาพที่เห็นได้ชัดก็คือ  มนุษย์ที่เป็นตัวของตัวเองไม่ได้  ถ้าปราศจากสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ แล้ว ก็มีแต่ความเบื่อหน่ายว้าเหว่ทนไม่ไหว ต้องเที่ยวดิ้นรนไขว่คว้าสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อหนีจากภาวะเบื่อหน่ายตัวเอง ถ้าขาดสิ่งสนองความต้องการ หรือไม่ได้ตามที่ต้องการเมื่อใด ก็ผิดหวัง หมดอาลัยตายอยาก เบื่อตัวเอง ชังตัวเอง ความสุขความทุกข์จึงขึ้นต่อปัจจัยภายนอกอย่างเดียว   เวลาว่างจึงกลับเป็นโทษเป็นภัยแก่มนุษย์ได้ทั้งส่วนบุคคลและสังคม

     ความเบื่อหน่าย   ความซึมเศร้า   ความว้าเหว่   ความไม่พอใจ  จึงมีมากขึ้น ทั้งที่มีสิ่งสนองความต้องการมากขึ้น และการแสวงหาความปรนปรือทางประสาทสัมผัสต่างๆ จึงหยาบและร้อนแรงยิ่งขึ้น  การติดสิ่งเสพติดต่างๆ ก็ดี  การใช้เวลาว่างทำความผิดความชั่วของเด็กวัยรุ่นก็ดี  ถ้าสืบค้นลงไปในจิตใจอย่างลึกซึ้งแล้ว  จะเห็นว่าสาเหตุสำคัญ  ก็คือ  ความทนอยู่ไม่ได้  ความเบื่อหน่ายจะหนีไปให้พ้นจากภพที่เขาเกิดอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง
 
 https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=07-11-2023&group=88&gblog=65


 

สังเกตขณะฝึกหัดพัฒนาจิต
 



Create Date : 03 มิถุนายน 2567
Last Update : 3 มิถุนายน 2567 16:25:25 น. 0 comments
Counter : 241 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space