ราคะ ๕ สายใหญ่
ราคะ ๕ สายใหญ่

    ราคะในการใฝ่หาสิ่งที่จะมาสนองอารมณ์ตนเอง มี ๕ สายหลักใหญ่ๆ คือ ๑) ราคะสายสนองอารมณ์ความสะใจ ๒) ราคะสาย สายสนองอารมณ์ยึดครอง ๓) ราคะสายทำลาย ๔) ราคะสายไม่ได้ดั่งใจ อิจฉา ริษยา สร้างเรื่อง เล่าขวัญ ๕) ราคะสายกาม มีดังนี้

๑. สายสนองอารมณ์ความสะใจ 

    สายสนองอารมณ์ความสะใจ คือ ความเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบ โกหกหลอกลวง ความละโมบเพ่งเล็งเอาจนเกินไป

    ๑.๑ อยากจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง คือ ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก ความโลภอย่างแรงกล้าจ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร เช่น การลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น

     ๑.๒ ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่น การยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์ ทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น (ปาปิจฉา)

    ๑.๓ ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา) เช่น การรับประทานอาหารในวงเดียวกัน เลือกตักกินแต่ของอร่อยๆ ในจานของตนเอง โดยไม่สนใจใคร ไม่เกรงใจใคร ไม่สนใจว่าเขาจะได้กินหรือไม่ได้กิน

    ๑.๔ ความโลภมาก คือ ความอยากนำสิ่งของมาสนองเจตนาที่ตัวเองต้องการ,  สนองความต้องการของตัวเอง

    ๑.๕ ทะยานอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไป คือ เมื่อได้สิ่งนี้แล้วก็อยากจะได้สิ่งนั้นมากๆ ขึ้นไปอีก

    วิธีแก้ไขคือ 

    ๑. จะต้องมีมุฑิตาจิต ซึ่งจะตรงข้ามกับราคะ มุฑิตาจิตจะมาลบราคะได้

    ๒. สันโดษ คือ จำเป็นแต่พอเหตุโดยธรรม พอเรามีตัวธรรมสันโดษ ตัวละโมบก็จะไม่ขึ้น ถ้าเราไม่มีสันโดษก็จะเกิดความละโมบ

    บางคนบอกว่า อย่าไปโลภ แต่คำว่า "โลภ" เราอยู่ภูมิเช่นนี้เราต้องมีความโลภไหม? เราก็ต้องมีความโลภ แต่เราจะเอาตัวอะไรไปผสม ถ้าเราเอาตัวมิจฉามาผสมกับความโลภก็จะกลายเป็นละโมบ ก็จะก่อเรื่องเดือดร้อน แต่ถ้าเรามีความโลภผสมกับสันโดษ ก็จะไม่เดือดร้อน

    ๓. อกเขาอกเรา คือ 

    ๔. พิจารณากรรม ๕ พิจารณาวิบาก ๗



๒. สายสนองอารมณ์ยึดครอง    

    สายสนองอารมณ์ยึดครอง อยากเอาเป็นเจ้าของ คือ ขี้หึง หวง เรารักเขาพยายามจะเป็นเจ้าของ พอเรายึดครองเป็นเจ้าของเรามักจะทำอะไรตามอำเภอใจตนเอง โดยไม่สนใจว่าคู่รักของเราจะชอบหรือไม่ชอบ

    ๒.๑ บังคับ คือ (๑)  (โบ) น. การว่ากล่าวปกครอง, อำนาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ (ข. บงฺคาบ่).

    (๒) น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. (ข. บงฺคาบ่).

    (๓) ก. ใช้อำนาจสั่งให้ทำหรือให้ปฏิบัติหรือให้จำต้องทำ เช่น เขาถูกสถานการณ์บังคับ, ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง (ข. บงฺคาบ่).

    (๔) ก. ทำให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การใช้ภาษา เช่น บังคับให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเมื่ออ้างถึงคำพูดของผู้อื่น ภาษาไทยไม่บังคับการใช้เครื่องหมายมหัพภาคเคร่งครัดนัก (ข. บงฺคาบ่).

    (๕) ก. ทำตามสภาพที่ถูกกำหนดไว้ เช่น ทางนี้บังคับให้เลี้ยวซ้าย ประตูนี้บังคับให้ผลักเข้า. (ข. บงฺคาบ่). (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)

    ๒.๒ ขู่เข็ญ คือ (๑) ก. ทำให้กลัวโดยบังคับ

    (๒)  (กฎ) ก. แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม. (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)

    ๒.๓ ข่มขืน คือ ก. บังคับ, ขืนใจ, ขู่เข็ญ. (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)

    ข่มขืนกระทำชำเรา แปลว่า เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ชำเราบุคคลอื่น ไม่ว่าผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำจะเป็นชายหรือหญิง และจะเป็นคู่สมรสของตนหรือไม่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น

    ข่มขืนใจ     แปลว่า บังคับจิตใจหรือฝืนใจให้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน

    ประเภทการข่มขืน

        ๒.๓.๑ ผู้อื่นข่มขืนเรา คือ เขามาบังคับเราให้กระทำ โดยที่ใจของเราไม่ยินยิม มีดังนี้

            ๑) ถูกข่มขืนทางร่างกาย คือ เขามากระทำชำเราหรือทางเพศเรา หรือบีบบังคับ ทำร้ายร่างกายเราเป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลหรือต่อสัตว์ โดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น ต่อสัตว์เหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ

            การข่มขืนนี้มิได้มีแต่การข่มขืนทางเพศเพียงอย่างเดียว แม้มีการบังคับให้เราทำโน้นทำนี่แล้วเราไม่อยากทำ ก็ถือว่าเป็นการบังคับขืนขืนเราเช่นเดียวกัน

            ๒) ถูกข่มขืนทางจิตใจ คือ เขามาบีบบังคับให้เราทำในสิ่งที่เราไม่อยากทำ คือ เขาไม่อยากจะทำ ก็บังคับให้เขาทำ เช่น เราซื้อเสื้อตัวใหม่มาให้ เขาไม่อยากใส่ แต่เราก็บังคับให้เขาใส่ตัวนี้ เป็นต้น

        ๒.๓.๒ เราข่มขืนตนเอง คือ เราทำร้ายตนเอง 

            ๑) ข่มขืนตนเองทางร่างกาย เช่น เราเจ็บป่วยแล้วบอกว่าเราไม่ได้เจ็บป่วย ไม่เป็นอะไร ยังฝืนร่างกายไปทำงานหนักๆ ฯลฯ เป็นการทรมานร่างกาย ฝืนร่างกาย ถือว่าเป็นการข่มขืนร่างกายของตนเอง

            ๒) ข่มขืนตนเองทางจิตใจ เช่น เราเห็นว่าทำสิ่งนี้มันไม่ดีก็ยังขืนทำลงไป ผลที่ตามมาทำให้จิตใจย่ำแย่ลงไปอีก เช่น วางแต้มให้เขาได้รับความเสียหาย หรือต่อว่าให้เขาได้รับการอับอายทำให้บั่นทอนจิตกุศลของตนเอง


    ก. ผู้อื่นข่มขืนเรา

        ๑. ข่มขืนด้วยความรัก        โทษเบา

        ๒. ข่มขืนด้วยโทสะ        โทษน้อย

        ๓. ข่มขืนด้วยการข่มเหง เย้ยหยัน ถากถาง ซ้ำเติม    โทษปานกลาง    

        ๔. ข่มขืนแล้วทำร้าย ทำลาย    โทษหนักมาก

        ๕. ข่มขืนแล้วสังเวย ฆ่าทิ้ง    โทษหนักมากที่สุด


    ข. ข่มขืนตัวเอง ข่มเหงตัวเอง

        ๑. ย้ำคิด ย้ำทำว่าตนเองไม่ดี อคติกับตนเองว่าไม่ดี     โทษเบา

        ๒. พอเราคิดว่าตนเองไม่ดี ก็จะจมปลัก จมอยู่กับความเศร้า ทำสิ่งเลวร้ายกับตนเอง ทำไม่ดีกับตนเอง เช่น กินยาบ้า เพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่ไม่ดี ฯลฯ    โทษน้อย

        ๓. พฤติกรรมทำร้ายตนเอง เช่น กินเหล้าเมายา และเพื่อหาพฤติกรรมอะไรต่างๆ ที่จะมาทำร้ายตนเอง        โทษปานกลาง

        ๔. สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง ทำร้ายตนเอง บางคนชอบเอาใบมีดโกนกรีดข้อมือเป็นต้น            โทษหนักมาก

        ๕. สังเวยตนเอง ฆ่าตัวตาย    โทษหนักมากที่สุด

        คนที่ข่มขืนผู้อื่นและข่มขืนตนเองมีโทษหนักเบา ๕ ข้อ คือ

            ๑. เบา

            ๒. น้อย

            ๓. กลาง

            ๔. หนักมาก

            ๕. หนักมากที่สุด

        กรณีที่ ๑ ถ้ามีคนจะฆ่าเราแล้วเราป้องกันตัว ฆ่าเขาตาย ได้รับโทษหนักมากที่สุด แต่โทษนี้ก็ต้องมาหารกับคนที่เราฆ่าเขาตาย ได้รับโทษคนละครึ่ง เพราะว่าเขาจะมาทำร้ายเรา เขาก็ผิดเหมือนกัน เราถึงจะไปป้องกันตัวแล้วทำให้เขาตาย นี่แหละได้รับโทษหนักที่สุด แต่โทษนี้ก็ต้องมาแบ่งหารกับคนที่เราฆ่าตาย เพราะว่ามีเหตุอันควรต้องแบ่ง

        กรณีที่ ๒ มีคนอยู่ ๑๐ คน มารุมตี ๑ คนแล้วเขาตาย เขาทำผิดขั้นข้อที่ ๕ คือทำเขาตายแล้วเป็นโทษหนักมาก อย่างนี้ไม่ต้องแบ่งโทษเฉลี่ยให้ทั้ง ๑๐ คน เพราะว่า เพราะว่าเรากระทำทุกคน ถ้าศาลตัดสินจำคุก ๒๐ ปี ก็ต้อง ๒๐ ปีเท่ากันหมดทุกคน แต่ถ้าใครเป็นคนหัวโจกก็ต้องหนักขึ้น ใครมาร่วมทีหลังก็เบาลง

        กรณีที่ ๓ มีคนอยู่ ๑๐ คน แต่ผู้ที่ไปทำร้ายให้เขาตายมีอยู่คนเดียว อีก ๙ คนมีส่วนรู้ส่วนเห็น ดูราดราว เป็นต้น เมื่อได้รับโทษก็ต้องมาหารอีก ๙ คน แต่ผู้ที่ทำร้ายจะได้รับโทษมากกว่า อย่างเช่น จำคุก ๒๐ ปี ก็ต้องมาเฉลี่ยให้กับอีก ๙ คน เป็นต้น
        สิ่งนี้เป็นการยกตัวอย่าง สุดแล้วแต่เหตุการณ์และศาลจะไปพิจารณา

    ๒.๔ หึงหวง ขี้หึง คือ ก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง. (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)

    ๒.๕ หลอกลวง คือ สร้างเรื่องหลอกลวงเอาไว้ให้เขาเชื่อเราแล้วยึดครองเอาไว้

    ๒.๖ สร้างเงื่อนไขให้เป็นไปตามตัณหาของเรา คือ สร้างเงื่อนไข ข้อตกลง หรือแผนการต่างๆ ให้เป็นไปตามใจเราต้องการที่จะให้เป็นไป

    ๒.๗ ใช้มารยา ตอแหลให้เกิดความสงสาร เอ็นดู ทำให้เขาติดกับดักเรา คือ บางคนไม่อยากให้เขาจากเราไป เขาก็จะใช้บทร้องไห้ ทำให้เราสงสารไม่อยากจากเขาไป ทำให้เขามาติดกับดักของเรา มาสนองตามที่เราต้องการ เช่น บางคนร้องไห้ คร่ำครวญให้เราเกิดความสงสารแก่เขาแล้วเราไปทำตามที่เขาบอก เขาต้องการ
    

    วิธีแก้ไข

    ๑. อกเขา อกเรา คือ สมมติว่า เขาให้วิธีการมิจฉาที่ไม่ถูกต้องตามธรรม มาใช้หลอกลวงเราแล้วเราชอบไหม? ถ้าเราไม่ชอบเราก็ไม่ควรใช้วิธีการนี้กับใคร หากว่า บางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องทำ ก็อย่าทำจนเกินไป บางคนใช้อำนาจจนเกินไปก็เกิดปัญหาขึ้นได้

    ๒. มีมุทิตาจิต

    ๓. พิจารณากรรม ๕ คือ เมื่อเราทำตรงนี้ผลที่ตามมาเราจะต้องได้รับอะไร? ผลที่ตามมาเราเดือดร้อน ไม่ดีเป็นทุกข์แล้วเราจะเอาไหม?

    สมมติว่า เราบอกว่าสิ่งนี้ทำแล้วดีแต่เรารู้อยู่แก่ใจแล้วว่ามันทำแล้วบาป ตรงนี้มันบาป แต่ผลที่ตามมามันบาป ผลแห่งบาปตามมาเราจะเอาไหม? ถ้าเราไม่เอาตรงนี้เราก็ต้องลดแล้ว ฉะนั้น การพิจารณากรรม ๕ การพิจารณาวิบาก ๗ นี่แหละจะเป็นสติเตือนเรา เป็นข้อเปรียบเทียบเตือนเรา ใช้ได้ทุกโอกาส

     
๓. สายทำลาย

    สายทำลาย คือ มุ่งร้าย หวังร้าย ทำร้าย ทำลาย สังเวย หมายความว่า พยายามทำร้าย ทำลายให้สิ้นไป มีความรังเกลียด 

    การทำลายจะเข้าสู่การสังเวย เป็นการสร้างปรปักษ์มุ่งร้ายต่อกัน จะตรงข้ามกับมุฑิตา มุฑิตานี้จะปรารถนาดีต่อกัน

    ๓.๑ สายมุ่งทำร้ายคนอื่น

    ลำดับขั้นตอนของการมุ่งทำร้ายคนอื่น มีดังนี้

        ๑) เคืองใจกัน (ปฏิฆะ) คือ การขัดใจกัน หมองใจกัน ผิดใจกัน ไม่พอใจกัน เช่น เรามีคติไม่ชอบอย่างหนึ่ง แต่เขาดันมาทำสิ่งที่เราไม่ชอบ แม้จะเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรามองว่ามันไม่ธรรมดา เช่น เรากำลังกินข้าวอยู่ แล้วมีเพื่อนมาจักจี้ บีบที่หัวไหล่ ทำให้เราแทบจะสำลัก รู้สึกล่วงล้ำสิทธิตนเอง ทำให้ไม่พอใจ แสดงความไม่พอใจออกมา และอีกกรณีหนึ่ง เขาหยิบปากกาของเราไปโดยไม่บอกเรา แล้วเราไม่ชอบใจ ขัดเคืองใจ ทั้งๆ เรื่องนิดเดียว แต่เป็นเพราะว่าเรามีอคติที่ไม่ชอบเรื่องแบบนี้ เราจึงเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงแสดงความไม่พอใจออกมา ไม่ว่าเรื่องอะไรแต่ละคนมักจะมีอคติที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อเราเห็นว่าเพื่อนหรือใครไม่ชอบสิ่งใด เราก็ไม่ควรที่จะไปแหย่ หรือไปทำสิ่งนั้น แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม แต่ในความคิดของเขาแล้วเป็นเรื่องใหญ่

        ๒) คับข้องใจ คือ เกิดจากความหงุดหงิดกระวนกระวายใจ กลุ้มใจ ต่อต้านซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อมีผู้ขัดขวางไม่ให้เราดำเนินงานให้สำเร็จ เราอาจคับข้องใจและแสดงความก้าวร้าวออกมาได้ทางสีหน้า กิริยา และวาจาน้ำเสียง และอีกกรณีหนึ่ง เขาบอกว่าใช่ แต่ฉันบอกว่าไม่ใช่

        ๓) จูงครอบงำ บังคับให้เป็นไปตามความคิดของตน เอาตามความต้องการของตนเอง คือ เมื่อตนตัดสินใจสิ่งใดแล้ว ก็จะพยายามจูงชักนำให้คนอื่นเห็นคล้อยตามความคิดของตน ใครดีกว่า ใครถูกกว่า ก็จะจูงฝ่ายตรงข้าม

        ๔) มุ่งร้ายกัน คือ คิดที่จะเอาคืน หรือคิดที่จะทำร้ายแต่ยังไม่ได้ลงมือ เพียงแต่วางแผนที่จะทำร้าย คือ พอเราจูงเขาไม่สำเร็จก็จะมุ่งร้ายต่อกัน

        ๕) พยายาท คือ ความปองร้ายผู้อื่น ความผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น คิดหาอุบาย วิธีการ แผนการที่จะทำให้ผู้อื่นประสบความพินาศ ย่อยยับ โดยความคิดปองร้ายของผู้มุ่งจะทำร้ายชีวิตของผู้อื่น เช่น สาปแช่งมึงต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้, ผมจะฆ่าคุณให้ได้สักวัน, ครอบครัวคุณจะต้องเดือดร้อนเพราะผม คอยดูนะ..., ฉันจะเล่นงานคุณคอยดูนะ

        ๖) อาฆาต คือ กล่าวโทษจะทำร้าย หมายความว่า หากว่าเขาพยาบาทและทำอย่างนั้นแล้วยังไม่เพียงพอก็จะเกิดอาฆาตมากขึ้น คำว่าอาฆาตนี้คือจองเวรให้มากขึ้น เช่น เที่ยวนี้แค่ปากนะ แต่เที่ยวหน้าจะกูจะตัดคอมึง คือ เป็นการประกาศความมุ่งร้าย

        ซึ่งความอาฆาตนี้จะเป็นหมวดใกล้เคียงกับคำว่าพยาบาท เพราะเป็นผลสืบเนื่องกัน

        ๗) แค้น คือ ่ควบคุมไม่อยู่จะทำร้าย, เจ็บใจไม่หายจะเอาคืน

        ในความแค้นจะอยู่ท่ามกลางทุกข้อที่กล่าวมานี้ แต่ที่มาอยู่ในข้อนี้นั้นหมายความว่า ความแค้นเป็นประธาน เป็นการแค้นหนัก เช่น เขาแค้นทำร้ายแต่ทำไม่ได้ก็ยิ่งแค้นหนักไปอีก ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เช่น เราจะทำให้เขาเจ็บ แต่เขาไม่เจ็บ แล้วเราจะแค้นไหม? เราก็จะเอาให้หนักขึ้น แต่ทุกขั้นตอนจะมีความแค้นผสมอยู่ในนั้น

        ๘) กล่าวร้าย คือ ใช้แต่เพียงวาจา คำพูดไปกล่าวร้ายเขา ยังไม่ลงมือกระทำ คือ กล่าวหาให้เขา แต่สำหรับการกล่าวหานี้เบากว่าการกล่าวร้ายเยอะ

        การกล่าวร้าย คือ พูดว่าร้ายเขา กล่าวหาว่าเขาผิดอย่างนั้นอย่างนี้

        แต่ถ้าให้ร้าย คือ สร้างเรื่องให้เขาได้รับความผิด ต้องได้รับความผิด มีจุดหรือเงื่อนไขขึ้นมา มีเหตุผลขึ้นมารองรับ อย่างนี้เรียกว่าให้ร้ายแล้ว

         ๙) ทำร้าย คือ ทำร้ายเลย ลงมือทุบ ตี เล่นงาน

        ๑๐) วางแผน คือ ให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม อย่างต่อเนื่อง วางแผนจะให้ทำสำเร็จ การวางแผนเพื่อให้สำเร็จตามที่ต้องการของเขา และจะต้องวางแผนให้ต่อเนื่องยังไงจะให้สำเร็จได้อย่างสะใจว่าเขาเป็นคนร้ายจริงๆ แต่การวางแผนก็มีอยู่ในทุกขั้นตอนแต่ไม่ใช่ประธาน แต่ถ้าเรียงลำดับมาถึงขั้นนี้จะเป็นประธาน จะวางแผนอย่างเป็นทางการมากขึ้น

        ๑๑) จองเวร คือ ผูกอาฆาตพยาบาท กัดไม่ปล่อย

        ๑๒) ผูกพัน ก็คือ เราจะทำร้ายเขาให้ได้ เราจองเวรเขาแล้วเราก็จะหมั่นหาวิธีมาทำร้ายเขาให้ได้ วิธีนี้ไม่สำเร็จก็จะพยายามหาวิธีการอื่นมาทำร้ายให้สำเร็จ ยังไงๆ ก็จะทำร้ายเขาให้ได้ ก็จะมาเข้าคำว่าจองร้าย ผูกพันที่จะทำร้ายตลอดอย่างต่อเนื่อง

        ๑๓) ทำลาย คือ ทำให้แตกหัก หรือพังทลาย ทำให้ฉิบหาย ทำให้เสียหาย

        ๑๔) สังเวย คือ ทำให้หลุดออกจากสิ่งนั้น ให้ถูกครอบงำอยู่ตรงนี้ไม่ให้ได้ผุดได้เกิด

        ๑๕) สาปแช่ง คือ แช่งไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ไม่ให้ได้ดี 

        ๑๖) หาพิธีกรรมที่จะให้สิ่งนั้นเป็นเช่นนั้นตามที่เราเจตนาปรารถนาให้สำเร็จ

    ๓.๒ สายมุ่งทำร้ายตนเอง

        ๑) คับข้องใจ คือ ตนเองทำไมต้องเป็นเช่นนี้ ท้อแท้ต่อว่า คับแค้นใจ ไม่พอใจว่าตัวเองถึงต้องเป็นเช่นนี้ โทษน้อยใจ มองลบตนเอง มองตัวเองต่ำด้อยค่า ไม่เห็นคุณค่าของตัว

        ๒) คร่ำครวญ คือ ร้องไห้ ไม่ใคร่หยุด, ร้องร่ำรำพัน การคิดตัดสินใจแล้วเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจ คิดซ้ำ ๆจนคิดหนักขึ้นก็จะร้องไห้ พร่ำบ่น ยิ่งคร่ำครวญ ใจยิ่งเหนื่อย ในสมองจะคิดอะไรไม่ออก จะรู้สึกเหมือนอับจนปัญญา เจอปัญหาก็เหมือนหมดหนทางแก้ไข มืดแปดด้าน ๑ นาทีแห่งการคร่ำครวญ คือ ๑ นาทีแห่งการนับถอยหลัง

        เรียกร้องความเห็นใจ ความรัดทด เริ่มบทของคำว่า อนาถตัวเอง กลายเป็นคนอนาถา  ไม่มีที่พึ่ง คำว่าอนาถนี้จะเป็นตัวที่เข้ามาสอดแทรกทุกข้อ

        การคร่ำครวญก็เหมือนกับการปิดกั้นตนเอง ปิดกั้นความเจริญทางสติปัญญา ยิ่งคร่ำครวญมากเท่าไหร่ก็ยิ่งบิดเบือนการรับรู้ความจริง ซึ่งทำให้เสียเวลา กว่าจะหลุดออกมา บางทีก็เสียเวลานานมาก เหมือนหลงทางตอนมืดๆ เราต้องหากัลยาณมิตรหรือครูบาอาจารย์ฉุดดึงเราออกมาจากมุมมืดวังวนแห่งการคร่ำครวญนั้น เช่น ทำไมเป็นเช่นนี้ด้วย ทำไมเราต้องโดนอย่างนี้ด้วย 

        ๓) รันทด คือ สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด เช่น กล่าวตนเองว่าบุญน้อย, กล่าวร้ายตนเอง, แช่งตนเอง

        ๔) แช่งตนเอง คือ ทำอะไรก็ไม่ขึ้น

        ๕) เบื่อภพ เบื่อชาติ คือ เบื่อหน่ายเพราะอารมณ์ อยากเปลี่ยนภพชาติของตน ฆ่าตัวตาย ซึ่งการเบื่อหน่ายในที่นี่แตกต่างจาก นิพพิทา ความเบื่อหน่ายทางโลก เพราะเป็นการเบื่อหน่ายเพราะเกิดปัญญา เพื่อจะหลุดพ้นจากภาวะภูมิต่ำไปสู่ภูมิที่สูง

        เช่น รำคาญเมียคนนี้ แต่อยากได้เมียอีกแบบ

        ขั้นตอนแห่งการเบื่อ มีดังนี้

            ๕.๑) อิจฉา มีการเปรียบเทียบ

            ๕. ๒)  ริษยาคนอื่น 

            ๕. ๓) ประชดตนเอง ประชดผู้อื่น ประชดสังคม ฯลฯ

            ๕. ๔) มุ่งร้าย ให้ร้ายคนอื่นได้ อาฆาต

        ๖) ทำร้ายตัวเอง เพื่อเปลี่ยนภพภูมิตนเอง ทำให้ตนเองสิ้นชาติสิ้นภพ อยากจะเปลี่ยนแปลงตนเอง เป็นความเข้าใจผิด เช่น บางคนฆ่าตัวตายเขาไม่ได้บอกว่าตนเองทำผิด เพียงแต่เขาต้องการเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ เปลี่ยนให้ดีกว่าเดิม

        ๗) ต่อเนื่องหลายชาติ สืบเนื่องหลายชาติ บางคนฆ่าตัวตาย ๓ ชาติ ๑๐ ชาติ เรื่อยๆ ถ้าไม่มีปัญญาเข้าใจภาวะของตน

    มิจฉาทิฏฐิมานะ ก็จะทำให้ข้ามชาติข้ามภพ ยาวเลย


๔. สายไม่ได้ดั่งใจ อิจฉา ริษยา สร้างเรื่อง เล่าขวัญ

    สายไม่ได้ดั่งใจ อิจฉา ริษยา สร้างเรื่อง เล่าขวัญ คือ อิจฉาริษยา เกิดจากการไม่ถูกสบอารมณ์ คือ ตัวเองอยากได้อย่างนั้น แล้วตนเองไม่สามารถมีได้อย่างนั้น แล้วก็จะเกิดความอิจฉา นี่เป็นสายราคะ เบียดเบียน ก็จะตามมาด้วยกันจองอาฆาต พยาบาท เพราะว่าอยากได้ อยากชิง ก็จะต้องเบียดเบียน ก็จะต้องมีกลยุทธ์ที่ไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดริษยา เป็นการทำร้ายกัน

    สายอิจฉา ริษยา จอง อาฆาต แค้น พยาบาท

    สร้างกุศลช่วยคนเจ็บป่วย ปลดทุกข์ให้ท่าน

    โทสะจะเป็นอาการ ไม่ได้ดั่งใจจะเป็นตัวต้น

    เราไม่ได้ดั่งใจเกิดจากการเปรียบเทียบ แล้วเราไม่ได้ดั่งใจที่เราปรารถนาตั้งไว้ สมมติว่า เวลานี้เราอยากสวยเหมือนนางสาวไทย แล้วเราไม่ได้ พอเราสวยไม่เหมือนนางสาวไทยเราก็จะเกิดโมโหนางสาวไทย บางครั้งทำไมต้องอิจฉา บางครั้งทำไมชอบแกล้งคนที่เขาสวยกว่า คนที่เรียนเก่ง ก็ชอบไปแกล้งเขา เพราะว่าไปเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นแล้วเกิดอิจฉาเขา แล้วสิ่งที่จะตามมาก็คือ ให้ร้าย ใส่ร้าย มุ่งร้าย แล้วก็จะเข้าสู่หมวดทำร้าย


๕. สายกาม 

    ๕.๑ ความหมายของ "กาม" ตามหลักสัททนัย

    พระมหาสมปอง มุทิโต  (๒๕๔๗ : ๘๒) กล่าวว่า กาม (กมุ อิจฺฉาย + ณ) มาร, กิเลสมาร,

    วิ. กามยยติ รติจฺฉ อุปปาทยตีติ กาโม กิเลสมารที่ทาความยินดีในกามให้เกิดขึ้น ชื่อว่า กามะ (ลบ ณฺ วุทธิ อ เป็น อา)

    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) (๒๕๕๐ : ๑๖๒) กล่าวว่า กาเมตีติ กาโม อาการที่ปราถนา (มี วิ. เคราะห์เหมือน วิ. ต้น)

    กามิยตีติ กาโม ภาวะอันสัตว์โลกปรารถนา (เหมือน วิ. วิเคราะห์ต้น)

    กาเมตีติ กามโน ผู้ใคร่ (กมุ ธาตุในความหมายว่า ปรารถนา, ต้องการ ยุ ปัจจัย, พ ฤทธิ์ อ เป็น อา, แปลง ยุ เป็น อน)

    มทน (มท มทเน + ยุ) มาร, กิเลสมาร,

    วิ. ปํฺจคุเณสุ มทยตีติ มทโน มารที่มัวเมาในกามคุณ ๕ ชื่อว่ามทนะ (อาเทส ยุ เป็น อน)

    กามคุณ (กาม + คุณ) กาม แปลว่า สิ่งที่สัตว์ใคร่, ยินดี, ต้องการ, อยากได้ , เหตุใคร่ คุณ แปลว่า หมู่ ,หรือ การผูกมัด, อันผูกมัด สัตว์ไว้ใน (วัฏฏะสงสาร) รวมกัน แปลว่า หมู่สิ่งที่สัตว์ ใคร่, ยินดี, ต้องการ, อยากได้, หมู่เหตุใคร่ ได้แก่ , ตัณหา หรือ รูป, เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือ เครื่องผูกมัดคือความใคร่ ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส

    คำว่า กาม มาจาก กมุ ธาตุ ณ ปัจจัย ปุงลิงค์ แปลว่า ความต้องการ, ความอยากได้, ความใคร่ หรือ เหตุใคร่

    สารตฺถ.ฏีกา (บาลี) ๑/๒๐๗ กล่าวว่า กิเลสกามสฺส วตฺถุภูตตฺตา รูปาทโย ปํฺจ กามคุณา วตฺถุกาโม.

    หมู่ความใคร่ ๕ ประการ มีรูปเป็นต้น ได้แก่ เหตุความใคร่ เพราะเป็นเหตุแห่งกิเลสกาม (ตัณหา ความโลภ, ความอยากได้ , ความต้องการ)

    วิสุทฺธิมรรค มหาฎีกา (บาลี) ๒/๑๑๕. กล่าวว่า วิ. วตฺถุกาโม กิเลสกาโมติ ทฺเว กามา. เตสุ วตฺถุกาโม วิเสสโต ปํฺจ กามคุณา กามียนฺตีติ, กิเลสกาโม ตณฺหา กาเมตีติ.

    ๕.๒ ความหมายของ "กาม" ตามหลักอัตถนัย

    พระมหาวีรวงศ์ ปญฺญาวุฑฺโฒ (โกยรัมย์) (๒๕๕๔ : ๓๕) กามคุณ แปลว่า "กลุ่มของสิ่งที่บุคคลไปกาหนดว่าน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ หรือโดยนัยหนึ่งก็คือ คุณของกาม ซึ่งหมายความว่าพวกวัตถุกามนั้น ในระดับหนึ่งในกรณีหนึ่งก็เป็นคุณเพราะเป็นเรื่องของโลก คือเป็นคุณประเภทโลก ๆ อานวยประโยชน์ในระดับโลก ๆ ดังนั้นเรื่องรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เกิดขึ้นมาจากสัมผัส แล้วใจไปกาหนดหมายถึงสิ่งเหล่านั้นว่า น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ กิเลสสายโลภะ ตัณหา ความยินดี ก็บังเกิดขึ้น ถ้าเกิดกาหนดใหม่ว่ารูปไม่สวยเสียงไม่เพราะ กลิ่นไม่หอม รสไม่อร่อย สัมผัสไม่น่าจับต้องก็เกิดขึ้น ปฏิฆะ คือ ความไม่พอใจ ไม่ยินดี ไม่ต้องการ จนถึงกับมุ่งที่จะทาลายล้างไปและในขณะเดียวกัน รูป เสียง กล่น รส โผฏฐัพพะ นี้ก็เป็นทางให้เกิดธรรมะได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกาหนดหมายของบุคคลเป็นประการสาคัญ"

    ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๔๔๑/๑๓๖. กล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า เพราะกามทั้งหลายสวยงามมีรสอร่อยน่ารื่นเริงใจยั่วยวนจิตด้วยอารมณ์หลายรูปแบบ เราเห็นโทษในกามคุณแล้วจึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือน นอแรด

    ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๖๖-๖๗/๘. กล่าวว่า กาม ในคำว่าเพราะกามทั้งหลายสวยงามมีรสอร่อยน่ารื่นเริงใจได้แก่กาม ๒ อย่างแบ่งตามหมวดคือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม คำว่าสวยงามอธิบายว่ามีรูปชนิดต่างๆ มีเสียงชนิดต่างๆ มีกลิ่นชนิดต่างๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่างๆ น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจชวนให้รักชักให้ใคร่พาใจให้กำหนัด คำว่ามีรสอร่อยอธิบายว่าสมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่ากามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ

    ๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาให้กำหนัด

    ๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู

    ๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก

    ๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น

    ๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รักชักให้ใคร่พาใจให้กำหนัด 

    สรุป กาม คือ ความใคร่ ความอยาก ความปรารถนา ที่จะให้สมสู่ที่จะให้สุขสมแก่เรา กามคือสิ่งที่มากระทบ จุงอารมณ์ให้อารมณ์เป็นไป เรียกว่า "กาม"

    คำว่า "กาม" นี้ คนส่วนใหญ่จะไปเพ่งเล็งที่ชายหญิง และมีเพศสัมพันธ์ต่อกัน แต่จริงๆ แล้วกามนี้มีมากกว่าหญิงชาย เช่น นาฬิกาเรือนนี้เราเห็นแล้วเราชอบมากเลย สวยมากเลย นี่ก็เป็นกามเช่นเดียวกัน แล้วเราจะสนองกามได้อย่างไร บางคนมีเงินก็ไปซื้อมาใส่ บางคนไม่มีเงินก็ไปแย่ง ชิง ปล้นเขามา นี่เป็นหมวดที่คล้ายกันข้างต้น ไม่ได้ดั่งใจ คือการเปรียบเทียบ

    พึงระวังความผิดเล็กน้อย ข้อเล็กน้อยจะนำพาเราไปสู่ความฉิบหาย จงระวังให้ดี เป็นภัยเงียบ

    กามแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

    ๑. สิ่งที่เราชอบ พึงพอใจ (สายบวก) คือ ผู้หญิง หรือผู้ชาย เราติดใจตรงนี้ เราชอบคนนี้ เราคลั่งตรงนี้แล้วมีความสุข เช่น เราไปอาบ อบ นวด แล้วเรามีความสุข กินเหล้ามีความสุข กินยาเสพติด มีความสุข ฯลฯ เช่น ชอบทางเพศ สมสู่กัน คนนี้เขาสวย คนนี้เขาร้องเพลงเก่ง คนนี้เรียนหนังสือเก่ง เป็นแวดล้อมจูง ครอบงำให้อารมณ์ของเราเป็นไป เรากินข้าวผัดกะเพราหมูกรอบแล้วเราติดใจกินทุกวันก็เป็นกามเช่นเดียวกัน

    ๒. สิ่งที่เรารังเกียจ ไม่ชอบ ไม่พึงพอใจ (สายลบ) คือ สมมติว่าตรงนี้เราไม่ชอบ ก็อยากให้ตรงนี้เป็นไปตามใจที่เราต้องการ เขาด่าเราเราไม่ชอบ เสียงอย่างนี้เราไม่ชอบ เราได้ฟังเสียงแล้วอยากปิดโทรทัศน์ ตรงข้ามกับสิ่งที่เราชอบนี่ก็เป็นกามราคะเช่นเดียวกัน

    กามคือสิ่งที่มากระทบจุงอารมณ์ให้อารมณ์เป็นไป

    กามเป็นส่วนหนึ่งของราคะ คนที่ติดเหล้าก็เป็นกาม คนที่นั่งสมาธิแล้วติดในสมาธิก็เป็นกามอย่างหนึ่ง

    กามก็ไม่พ้นอายตนะ ๖ ประตู ที่จะเข้ามา ก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ที่เกิดกับใจ กามเข้ามาทาง ๖ ประตูนี้ เข้ามาครอบงำเราให้จิตใจคล้อยตามเรา ให้เราสุขสม ตรงนั้นดี ตรงนั้นไม่ดี

    การนั่งสมาธิแล้วเราติดใจในสมาธิ เราไม่ได้นั่งทำสมาธิแล้วจิตไม่ดี วุ่นวาย อย่างนี้ หรืออยากเห็นโน่นนี่ก็เป็นกามเช่นเดียวกัน

    วิธีแก้กรรมกามราคะ ก็คือ ให้เราพิจารณากรรม ๕ พิจารณาวิบาก ๗ แล้วเราไม่ยึดมั่นถือมั่น เห็นความเป็นจริงของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ภาวนาอย่างนี้ แล้วก็จะลดตัวกามเบาบางลง ไม่ให้แน่นแฟ้นเกินไป ไม่ให้จมปลัก นี่แหละเป็นตัวแก้กาม

        การพิจารณากรรม ๕ 

            ๑. ทำ ทำไม คือ ต้องถามตัวเองว่าทำทำไม มีเจตนาอะไรทำเช่นนั้น มีเจตนาอะไรที่จะทำ
            ๒. ทำไมถึงทำ คือ เราทำเพื่อจะตอบสนองสิ่งใด อารมณ์ใดจึงต้องทำสิ่งนั้น ต้องการได้อะไร
            ๓. ผลขณะกระทำ คือ ปัจจุบันที่กำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้รับผลอะไร เช่น เรากินน้ำ ขณะที่เรากระทำแก้กระหายน้ำ
            ๔. ผลที่ตามมา คือ พิจารณาสิ่งที่เรากระทำแล้ว ผลลัพธ์ที่จะตามมา วิบากที่จะตามมา

        พิจารณาวิบาก ๗

            ๑. ชอบธรรม คือ การพิจารณาว่าถูกต้องตามครรลองครองธรรมหรือไม่ มีสิทธิหรือไม่ที่จะกระทำต่อบุคคลหรือเหตุการณ์นั้นๆ หรือไม่ คือ จะไม่ยึดว่าถูกต้องตามตนเอง ผู้อื่น หรือใครบุคคลคนหนึ่ง เช่น      การขโมย เรามีสิทธิ์จับแต่ไม่มีสิทธิ์ขังเขา เพราะไม่มีความชอบธรรม แม้ตำรวจจับก็ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสิน ต้องเป็นศาลมีสิทธิ์ในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก

            ๒. สมควร คือ การพิจารณาว่าสิ่งที่ทำนั้นสมควรทำหรือไม่ และหากสมควรทำเราจะทำอย่างไร สมควรในที่นี้ คือ สมควรแค่ไหน คือเรามีสิทธิแล้ว เช่น จะตีก้นเด็ก จะตีแรงแค่ไหน สมควรจะคาดโทษ ให้มีความพอเหมาะ พอดี 

            แล้วเรามีสิทธิ์ในการทำเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด และทำได้แค่ไหน หากเราไม่มีคำว่า "สมควร" เราก็จะทำสิ่งเหล่านั้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผล แต่จะกลับกลายสร้างปัญหาตามมา เพราะว่ามันเกิน เราต้องทำให้มัน "พอดี" จึงจะเกิดคำว่า "สมควร"

            ๓. เหมาะสม คือ เหมาะสมกับภาวะการณ์นั้นๆ เช่น คนนี้เขาทำผิด แต่เขาป่วยก็ไม่เหมาะสมที่จะไปลงโทษเขา และถ้าเขาเป็นโจรแต่ได้รับบาดเจ็บต้องนำส่งโรงพยาบาลรักษาก่อน ก่อนที่จะส่งเข้าคุก

            การพิจารณาถึงความเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์นั้นๆ หรือเราทำสิ่งหนึ่งแล้วเรานำสิ่งนั้นมาผสมเข้ากับสิ่งนั้นหรือไม่

            ๔. บุคคล คือ การพิจารณาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เรากระทำ นิสัยบุคคล ความสัมพันธ์กับอุปนิสัย จริต และภาวะการณ์ของบุคคลนั้นๆ เช่น คนบ้าเราไม่ควรเอาความกับเขา และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเราเป็นเจ้านายจะด่า ตำหนิติเตียนลูกน้อง ถ้าเขาเป็นคนขี้โมโห ถ้าเราไปด่าเขาแรงๆ เราอาจจะถูกเขาฆ่าตายแน่นอน และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเขาเป็นคนไม่เอาไหนแล้วให้ไปเฝ้าของ เขาก็ไม่เฝ้าของ

            ๕. สถานที่ คือ การพิจารณาถึงสถานที่ ที่นั้นๆ และสภาพ           แวดล้อมนั้นๆ เช่น คนคนนี้เขาผิดจริง แต่ว่าอยู่ในงานเลี้ยง เราไม่ควรไปด่าเขา เขาจะได้รับความอับอายอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่เลย

            ๖. กาล คือ การพิจารณาความเหมาะสมของเวลา ก่อนทำ ขณะกระทำ หลังการทำ และกาลเวลาที่เลยผ่าน คือ กาลเทศะจะเหมาะสมหรือไม่ เช่น เวลานั้นเขากำลังโมโห หรือเขาเมา เราไปต่อว่าเขา แล้วเราจะเดือดร้อน

            ๗. การณ์ คือ พิจารณาเรื่องราว ภาวะการณ์นั้นๆ เหตุการณ์ เช่น รถชนกันอยู่ เขาบาดเจ็บ แล้วไปถามเรื่องกุญแจว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งไม่ถูกกับเหตุการณ์ และอีกกรณีหนึ่ง ผัวเมียกำลังทะเลาะกัน เราเข้าไปพูดคุยอาจได้รับอันตรายได้
        รวมความแล้ว ให้เห็นความสัปปายะว่าจะทำสิ่งนั้นเหมาะไหม มีสัปปายะไหม


รายการอ้างอิง
พระมหาวีรวงศ์ ปญฺญาวุฑฺโฒ (โกยรัมย์).  ๒๕๕๔.  ศึกษาหลักปฏิบัติเพื่อละกามคุณ ๕ ในปาสราสิสูตร.  วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมปอง มุทิโต.  ๒๕๔๗.  คัมภีร์ อภิธานวรรณนา.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์พริ้นติ้งจากัด.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช).  ๒๕๕๐.  ศัพท์วิเคราะห์.  กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชียง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  ๒๕๓๙.  พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

 



Create Date : 20 ตุลาคม 2564
Last Update : 20 ตุลาคม 2564 22:42:50 น.
Counter : 143 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
ตุลาคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog