สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ปรับความเสี่ยง เลี่ยงการหกล้ม

สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุมีทั้งที่หลีกเลี่ยงได้และไม่ได้ แต่สิ่งที่สามารถทำได้คือ เรียนรู้ว่าอะไรบ้างที่ทำให้ผู้สูงอายุตกอยู่ในความเสี่ยง และจะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร

การหกล้ม สำหรับเด็กๆ และหนุ่มสาวอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่สภาพร่างกายที่เสื่อมไปตามกาลเวลาของผู้สูงอายุอาจทำให้การหกล้มกลายเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด นับตั้งแต่กระดูกหัก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือแม้แต่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับบางรายที่หกล้มแล้วไม่ได้บาดเจ็บอะไรมากก็อาจกลัวจนไม่กล้าเดินเหิน ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ยิ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มขึ้นไปอีก ก่อนจะต้องมารับมือกับผลเสียที่เกิดตามมาหลังจากการหกล้ม ลองมาประเมินความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ถูกต้องกันดีกว่าค่ะ

คุณเสี่ยงต่อการหกล้มมากแค่ไหน?
ทำเครื่องหมาย หน้าข้อที่คุณคิดว่า “ใช่” และตรงกับข้อมูลของคุณ
Ö คุณเป็นเพศหญิง
Ö อายุมากกว่า 65 ปี
Ö เคยหกล้มหรือสะดุดมาก่อนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
Ö มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด
Ö ลุกขึ้นลงอ่างอาบน้ำหรือใช้โถส้วมลำบาก
Ö ต้องคอยเกาะหรือพิงสิ่งต่างๆ ขณะเดิน
Ö ต้องการแว่นสายตาอันใหม่หรือเครื่องมือที่ช่วยในการได้ยิน
Ö มีโรคประจำตัว 2 โรคขึ้นไป
Ö กินยามากกว่า 3 ชนิด
Ö รู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า
Ö มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดความจำมากขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา
Ö ภายในบ้านมีสิ่งที่อาจทำให้ล้มได้ เช่น พรมที่ปูไม่เรียบ สัตว์เลี้ยงที่อาจกระโจนใส่ทำให้ล้ม เป็นต้น
Ö คุณหยุดออกกำลังกายจากที่เคยทำเป็นปกติ


ถ้าคุณตอบว่า ‘ใช่’ ไม่เกิน 3 ข้อ คุณมีความเสี่ยงต่อการหกล้มต่ำ
ถ้าคุณตอบว่า ‘ใช่’ 4-5 ข้อ คุณมีความเสี่ยงต่อการหกล้มปานกลาง และ
ถ้าคุณตอบว่า ‘ใช่’ 6 ข้อขึ้นไป คุณมีความเสี่ยงสูงมากต่อการหกล้ม

หากพบว่าคุณมีความเสี่ยงสูง ก็ถึงเวลาแล้วที่ควรจะเริ่มป้องกันอย่างจริงจังกันเสียที เริ่มจากสถานที่ใกล้ตัวซึ่งทำให้เกิดการหกล้มได้บ่อยที่สุดก็คือ ‘บ้าน’ ของเรานั่นเอง

จัดบ้านใหม่ป้องกันการหกล้ม
ลองทำการสำรวจบ้านของคุณดูนะคะ ว่ามีปัจจัยใดที่จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการหกล้มได้บ้างหรือไม่ เรามีคำแนะนำในการจัดบ้านเพื่อป้องกันการหกล้มดังนี้ค่ะ

พื้นบ้าน
• เคลื่อนย้ายอุปกรณ์เครื่องเรือนไม่ให้กีดขวางทางเดิน แต่ไม่ควรย้ายหรือเปลี่ยนที่บ่อยจนเกินไป
• หากพื้นห้องปูพรม ให้นำพรมออก หรือใช้เทปกาวสองหน้าหรือเทปกันลื่นติดยึดไว้ไม่ให้พรมเลื่อนไปมาได้
• เก็บกระดาษ หนังสือ กล่อง รองเท้า ผ้าขนหนู ฯลฯ เข้าที่ให้เรียบร้อย อย่าให้มีสิ่งของหรือวัตถุใดๆ วางระเกะระกะบนพื้น
• หากคุณต้องเดินข้ามสายไฟหรือสายโทรศัพท์ที่อยู่ตามพื้น ให้ม้วนหรือรวบสายเหล่านั้นวางไว้ข้างผนัง หรืออาจต้องให้ช่างไฟฟ้าช่วยย้ายตำแหน่งไม่ให้กีดขวางทางเดิน
ขั้นบันได
• เก็บของ เช่น กระดาษ รองเท้า หนังสือ หรือสิ่งของอื่นๆ ออกจากบริเวณบันได และพยายามอย่าวางสิ่งของตามขั้นบันได
• ถ้ามีขั้นบันไดที่ชำรุดหรือพื้นบันไดไม่เรียบ ให้สมาชิกในครอบครัวหรือช่างช่วยซ่อมแซมให้เรียบร้อย
• ติดไฟให้มีแสงสว่างบริเวณบันไดเพียงพอ
• หากหลอดไฟบริเวณบันไดผ่านการใช้งานมานานจนมีคราบดำเกาะมาก ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยเปลี่ยนหลอดไฟให้ใหม่
• ควรติดตั้งสวิตช์เปิด-ปิดไฟ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง
• ซ่อมแซมราวจับบันไดที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ และควรมีราวจับบันไดที่มีความยาวตลอดทางของบันไดอยู่ทั้ง 2 ข้าง
• สำรวจให้แน่ใจว่าพรมที่ปูบนขั้นบันไดนั้นเรียบสนิทไปกับขั้นบันได หรือนำพรมออกแล้วติดแผ่นยางกันลื่นบนขั้นบันไดแทน
ห้องครัว
• ย้ายสิ่งของที่ต้องใช้บ่อยลงมาไว้ในลิ้นชักหรือชั้นวางของชั้นล่าง ซึ่งควรจะอยู่สูงในระดับเอว
• เปลี่ยนเก้าอี้สำหรับปีนหยิบของให้มีราวจับ ไม่ควรใช้เก้าอี้ธรรมดาแทนเก้าอี้สำหรับปีนหยิบของ
ห้องนอน
• ขยับโคมไฟหัวเตียงให้อยู่ใกล้เตียงเพื่อให้เอื้อมเปิด-ปิดไฟได้ง่ายขึ้น
• หากทางเดินระหว่างเตียงนอนไปยังห้องน้ำมืดเกินไป ควรติดตั้งไฟให้แสงสว่างในเวลากลางคืนเพิ่ม อาจเลือกแบบที่เปิดได้เองโดยอัตโนมัติเมื่อห้องมืดลงก็ได้
ห้องน้ำ
• ติดแผ่นยางหรือแถบกันลื่นที่พื้นอ่างอาบน้ำหรือพื้นห้องน้ำ
• ติดราวจับที่แข็งแรงในอ่างอาบน้ำและบริเวณโถส้วม เพื่อเป็นเครื่องช่วยพยุงหรือยึดเกาะเมื่อจะเข้าไปใช้หรือลุกออกจากอ่างอาบน้ำหรือโถส้วม

เพียงปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการหกล้มลงได้แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่าสุขภาพที่แข็งแรงของผู้สูงอายุก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ดังนั้นอย่าลืมออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ตรวจสายตาปีละครั้งรวมทั้งการได้ยินและสุขภาพภายในช่องหู ไม่เดินเหินลุกนั่งเร็วจนเกินไป ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากยาที่ใช้อยู่มีผลให้มึนงง เวียนศีรษะ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการหกล้ม เพียงเท่านี้สุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะอยู่กับคุณไปอีกนาน


TIPS
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้น คุณควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการป้องกันการหกล้มต่อไป
• หน้ามืด เวียนศีรษะมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน
• เสียการทรงตัว ก้าวเดินไม่มั่นคง
• รู้สึกชาบริเวณขาหรือเท้า หรือสังเกตเห็นว่าลักษณะการเดินแปลกไป
• ความจำแย่ลง




ข้อมูลจาก
//www.healthtodaythailand.com/




 

Create Date : 01 มีนาคม 2555
0 comments
Last Update : 1 มีนาคม 2555 9:16:19 น.
Counter : 827 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.